xs
xsm
sm
md
lg

“ไขข้อข้องใจโรคดึงผม”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


อ.พญ.กิติกานต์ ธนะอุดม
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

พฤติกรรมการดึงผมตนเอง ทำให้ผมบางหรือล้านเป็นหย่อมๆ จะแก้ได้อย่างไร จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้กัน

โรคดึงผมตนเอง หรือ hair-pulling disorder มีอีกชื่อหนึ่งคือ trichotillomania จัดเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางจิตเวชในกลุ่มโรคย้ำคิดย้ำทำ โดยอาการหลักของผู้ป่วย คือ พฤติกรรมดึงผม หรือขนตามบริเวณต่างๆ เช่น คิ้ว ขนตาของตนเองเป็นประจำ โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วย เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รู้ตัวขณะดึงผม เนื่องจากการดึงผมทำให้ผ่อนคลาย หรือทำให้ความเครียด ความกังวลลดลง และกลุ่มที่ดึงผมโดยไม่รู้ตัว ขณะกำลังทำกิจกรรมอื่น

การดึงผมตนเองทำให้เกิดปัญหาต่อสภาพผมโดยตรง เช่น ผมหลุดร่วงเป็นหย่อมๆ อาจเกิดการขาดของเส้นผม ผมงอกใหม่แตกปลาย ไม่แข็งแรงบริเวณที่ผม หรือขนถูกดึง อาจพบอาการคันได้ แต่ไม่ควรมีอาการปวด และผลกระทบที่สำคัญ คือ ทำให้เสียบุคลิกภาพ และรบกวนการทำกิจวัตรประจำวันอื่น ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ไปพบแพทย์ผิวหนังก่อนมาพบจิตแพทย์ เนื่องจากโรคนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก และผู้ป่วยมักพบแพทย์เมื่ออาการของโรคดำเนินมาเป็นระยะเวลานาน ส่วนใหญ่อาการของโรคเริ่มเกิดใน 2 ช่วงอายุ คือ วัยเด็ก และวัยรุ่น โดยอายุที่เริ่มเป็นโรคยิ่งน้อย ยิ่งสัมพันธ์กับการพยากรณ์โรคที่ดี

สำหรับสาเหตุของโรคนี้ยังสรุปไม่ได้แน่ชัด แต่จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าโรคนี้สัมพันธ์กับความผิดปกติของการทำงานของสมองบางส่วน และสารสื่อประสาทไม่สมดุล นอกจากนี้ ยังพบว่าโรคดึงผมมีความสัมพันธ์กับโรควิตกกังวล โรคเครียด โรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ เช่น อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซา (anorexia nervosa), บูลิเมีย เนอร์โวซา (bulimia nervosa) เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคดึงผม อาศัยการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก ในรายที่มีอาการแยกยากจากโรคผิวหนังอื่น อาจต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมโดยแพทย์ผิวหนังก่อน การรักษาของโรคดึงผมให้ได้ผลดีที่สุด คือ การปรับพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็น biofeedback การผ่อนคลาย หรือ การทำจิตบำบัดรูปแบบต่างๆ ร่วมกับ การรักษาด้วยยาที่เพิ่ม serotonin เช่น ยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) อีกทั้งหากมีโรคร่วมอื่น เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า ก็ควรรักษาร่วมกัน เพื่อให้หายจากโรคดึงผม และไม่กลับมารบกวนชีวิตประจำวันอีก

-------------

กิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
#ขอเชิญผู้ปกครองและนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม “เปิดประตูสู่ศิริราช” ในวันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม 2560 เวลา 08.30 - 11.30 น. ณ ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 1 (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) สำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่ http://www.educationsi.sicsc.net/ สอบถามเพิ่มเพิ่มเติม งานบริการการศึกษา โทร. 0 2411 4142

#โรงพยาบาลศิริราชได้มีการพัฒนา Web Application เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยของโรงพยาบาลที่ต้องการแก้ไข ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ตลอดจนเข้าใช้งานเพื่อปรับปรุงข้อมูลในกรณีเลื่อนนัดหมายและติดต่อกรณีฉุกเฉิน ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยสามารถเข้าไปแก้ไขเพิ่มเติมที่ www.si.mahidol.ac.th/mrupdate สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยเวชระเบียนผู้ป่วยนอก รพ.ศิริราช โทร. 0 2419 7321, 0 2419 7323 (ในวันเวลาราชการ)

อ.พญ.กิติกานต์ ธนะอุดม
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์

พฤติกรรมการดึงผมตนเอง ทำให้ผมบางหรือล้านเป็นหย่อมๆ จะแก้ได้อย่างไร จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้กัน

โรคดึงผมตนเอง หรือ hair-pulling disorder มีอีกชื่อหนึ่งคือ trichotillomania จัดเป็นโรคที่มีความผิดปกติทางจิตเวชในกลุ่มโรคย้ำคิดย้ำทำ โดยอาการหลักของผู้ป่วย คือ พฤติกรรมดึงผม หรือขนตามบริเวณต่างๆ เช่น คิ้ว ขนตาของตนเองเป็นประจำ โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วย เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รู้ตัวขณะดึงผม เนื่องจากการดึงผมทำให้ผ่อนคลาย หรือทำให้ความเครียด ความกังวลลดลง และกลุ่มที่ดึงผมโดยไม่รู้ตัว ขณะกำลังทำกิจกรรมอื่น

การดึงผมตนเองทำให้เกิดปัญหาต่อสภาพผมโดยตรง เช่น ผมหลุดร่วงเป็นหย่อมๆ อาจเกิดการขาดของเส้นผม ผมงอกใหม่แตกปลาย ไม่แข็งแรงบริเวณที่ผม หรือขนถูกดึง อาจพบอาการคันได้ แต่ไม่ควรมีอาการปวด และผลกระทบที่สำคัญ คือ ทำให้เสียบุคลิกภาพ และรบกวนการทำกิจวัตรประจำวันอื่น ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อย ไปพบแพทย์ผิวหนังก่อนมาพบจิตแพทย์ เนื่องจากโรคนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก และผู้ป่วยมักพบแพทย์เมื่ออาการของโรคดำเนินมาเป็นระยะเวลานาน ส่วนใหญ่อาการของโรคเริ่มเกิดใน 2 ช่วงอายุ คือ วัยเด็ก และวัยรุ่น โดยอายุที่เริ่มเป็นโรคยิ่งน้อย ยิ่งสัมพันธ์กับการพยากรณ์โรคที่ดี

สำหรับสาเหตุของโรคนี้ยังสรุปไม่ได้แน่ชัด แต่จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าโรคนี้สัมพันธ์กับความผิดปกติของการทำงานของสมองบางส่วน และสารสื่อประสาทไม่สมดุล นอกจากนี้ ยังพบว่าโรคดึงผมมีความสัมพันธ์กับโรควิตกกังวล โรคเครียด โรคที่มีพฤติกรรมการกินผิดปกติ เช่น อะนอเร็กเซีย เนอร์โวซา (anorexia nervosa), บูลิเมีย เนอร์โวซา (bulimia nervosa) เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคดึงผม อาศัยการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก ในรายที่มีอาการแยกยากจากโรคผิวหนังอื่น อาจต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมโดยแพทย์ผิวหนังก่อน การรักษาของโรคดึงผมให้ได้ผลดีที่สุด คือ การปรับพฤติกรรม ไม่ว่าจะเป็น biofeedback การผ่อนคลาย หรือ การทำจิตบำบัดรูปแบบต่างๆ ร่วมกับ การรักษาด้วยยาที่เพิ่ม serotonin เช่น ยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) อีกทั้งหากมีโรคร่วมอื่น เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า ก็ควรรักษาร่วมกัน เพื่อให้หายจากโรคดึงผม และไม่กลับมารบกวนชีวิตประจำวันอีก

-------------

กิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
#ขอเชิญผู้ปกครองและนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม “เปิดประตูสู่ศิริราช” ในวันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม 2560 เวลา 08.30 - 11.30 น. ณ ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 1 (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) สำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ที่ http://www.educationsi.sicsc.net/ สอบถามเพิ่มเพิ่มเติม งานบริการการศึกษา โทร. 0 2411 4142

#โรงพยาบาลศิริราชได้มีการพัฒนา Web Application เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วยของโรงพยาบาลที่ต้องการแก้ไข ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ตลอดจนเข้าใช้งานเพื่อปรับปรุงข้อมูลในกรณีเลื่อนนัดหมายและติดต่อกรณีฉุกเฉิน ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดยสามารถเข้าไปแก้ไขเพิ่มเติมที่ www.si.mahidol.ac.th/mrupdate สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยเวชระเบียนผู้ป่วยนอก รพ.ศิริราช โทร. 0 2419 7321, 0 2419 7323 (ในวันเวลาราชการ)
กำลังโหลดความคิดเห็น