กรมศิลป์เฟ้น 189 กลอนประชาชนแต่งอาลัยในหลวง รัชกาลที่ 9 จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึกงานพระราชพิธีถวายพระเพลิง เน้นฉันทลักษณ์ถูกต้อง ภาษาไพเราะงดงาม สื่ออารมณ์ความสูญเสีย-ความผูกพันลึกซึ้ง ระบุกวีนิพนธ์จะบันทึก หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ ส่วนหนังสือที่ระลึกนวมินทราศิรวาทราชสดุดี ร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติฯ 9 กวีรัตนโกสินทร์ต้นฉบับส่งครบกลาง ก.ค. จัดพิมพ์เสร็จ ก.ย.นี้
นางสาวอรสา สายบัว ผู้อำนวยการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กล่าวว่า ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ กระทรวงวัฒนธรรม มอบให้สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ได้รวบรวมบทกวีและข้อความไว้อาลัย ซึ่งประชาชนได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเผยแพร่ทางสื่อสารสนเทศ สื่อออนไลน์ต่างๆ ด้วยบทประพันธ์ดังกล่าวเปรียบเสมือนเอกสารจดหมายเหตุของประชาชนที่ร่วมบันทึกประวัติศาสตร์สำคัญของชาติด้วยถ้อยคำที่งดงามทางวรรณศิลป์ สมควรเก็บรักษาไว้ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมทั้งพิจารณาคัดเลือกบทกวีนิพนธ์ที่มีสำนวนโวหารไพเราะ มีความประณีตในการใช้ถ้อยคำ มีความถูกต้องตามหลักภาษาและฉันทลักษณ์ร้อยกรองไทย รวมถึงสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความสูญเสียของคนไทยทั้งประเทศได้อย่างลึกซึ้ง เพื่อจัดพิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึกงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เผยแพร่ให้โลกได้ประจักษ์ถึงความจงรักภักดีและความผูกพันที่ประชาชนมีต่อในหลวง รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งและเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจ
นางสาวอรสา กล่าวว่า การพิจารณาคัดเลือกบทกวีนิพนธ์ของประชาชนในรอบแรก คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือบทกวีนิพนธ์โครงการกานท์กวีคีตปวงประชาชนน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมี ม.ร.ว.อรฉัตร ซองทอง เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการ ได้พิจารณาคัดเลือก 600 เรื่อง จากกวีนิพนธ์มากกว่า 2,000 เรื่อง และได้ส่งบทกวีที่ผ่านรอบคัดเลือกทั้งหมดให้คณะกรรมการได้อ่านเรียบร้อยแล้ว โดยคณะอนุกรรมการฯ กำหนดประชุมคัดเลือกบทกวีรอบสุดท้าย วันที่ 6 ก.ค. 2560 ที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อคัดเลือกให้เหลือบทกวีจำนวน 189 เรื่อง ซึ่งภาพรวมของกวีนิพนธ์ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกแต่งโดยใช้ฉันทลักษณ์ไทย พบใช้กลอนมากที่สุด ถัดมาเป็นโคลง กาพย์ และฉันท์
นางสาวอรสา กล่าวต่อว่า หากคัดเลือกกวีนิพนธ์แล้วเสร็จ จะจัดทำต้นฉบับและจัดหาภาพประกอบ ซึ่งได้รับอนุญาตให้คัดเลือกภาพประกอบจากนิทรรศการ"อัครศิลปินเหนือเกล้า" ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมเคยจัดนิทรรศการเพื่อแสดงความอาลัยและเผยแพร่พระอัจฉริยะภาพด้านศิลปะองค์อัครศิลปิน ส่วนกวีนิพนธ์ที่ไม่ได้รับคัดเลือกเพื่อจัดพิมพ์หนังสือจะเก็บบันทึกไว้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อย่างเป็นระบบ ถือเป็นบันทึกจดหมายเหตุประชาชนอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประชาชนได้ถวายพระองค์เป็นครั้งสุดท้าย
" หนังสือกวีนิพนธ์ฉบับกวีประชาชนเพื่อเทิดพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นหนึ่งในหนังสือที่ระลึกในงานพระเมรุมาศครั้งนี้ คาดว่าจะจัดพิมพ์แล้วเสร็จเดือนกันยายนนี้ เป็นการรวบรวม 189 บทกวีที่ประชาชนประพันธ์ขึ้นอย่างลึกซึ้งด้วยความจงรักภักดี กลั่นความรู้สึกจากใจหลังเหตุการณ์ความสูญเสียร่วมกันของชาวไทยทั้งประเทศ ส่วนหนังสือที่ระลึกนวมินทราศิรวาทราชสดุดี ร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 9 ขณะนี้ได้ต้นฉบับส่วนหนึ่งจากกวีรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 9 แล้ว คาดว่าจะครบทั้ง 9 บท กลางเดือน ก.ค.นี้ ก่อนจัดพิมพ์หนังสือในจำนวนเท่ากันเพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ " นางสาวอรสา กล่าว
นางสาวอรสา สายบัว ผู้อำนวยการสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กล่าวว่า ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ กระทรวงวัฒนธรรม มอบให้สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ได้รวบรวมบทกวีและข้อความไว้อาลัย ซึ่งประชาชนได้ประพันธ์ขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเผยแพร่ทางสื่อสารสนเทศ สื่อออนไลน์ต่างๆ ด้วยบทประพันธ์ดังกล่าวเปรียบเสมือนเอกสารจดหมายเหตุของประชาชนที่ร่วมบันทึกประวัติศาสตร์สำคัญของชาติด้วยถ้อยคำที่งดงามทางวรรณศิลป์ สมควรเก็บรักษาไว้ ณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมทั้งพิจารณาคัดเลือกบทกวีนิพนธ์ที่มีสำนวนโวหารไพเราะ มีความประณีตในการใช้ถ้อยคำ มีความถูกต้องตามหลักภาษาและฉันทลักษณ์ร้อยกรองไทย รวมถึงสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความสูญเสียของคนไทยทั้งประเทศได้อย่างลึกซึ้ง เพื่อจัดพิมพ์เป็นหนังสือที่ระลึกงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เผยแพร่ให้โลกได้ประจักษ์ถึงความจงรักภักดีและความผูกพันที่ประชาชนมีต่อในหลวง รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งและเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจ
นางสาวอรสา กล่าวว่า การพิจารณาคัดเลือกบทกวีนิพนธ์ของประชาชนในรอบแรก คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือบทกวีนิพนธ์โครงการกานท์กวีคีตปวงประชาชนน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งมี ม.ร.ว.อรฉัตร ซองทอง เป็นประธานคณะอนุกรรมการฯ ผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการ ได้พิจารณาคัดเลือก 600 เรื่อง จากกวีนิพนธ์มากกว่า 2,000 เรื่อง และได้ส่งบทกวีที่ผ่านรอบคัดเลือกทั้งหมดให้คณะกรรมการได้อ่านเรียบร้อยแล้ว โดยคณะอนุกรรมการฯ กำหนดประชุมคัดเลือกบทกวีรอบสุดท้าย วันที่ 6 ก.ค. 2560 ที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ เพื่อคัดเลือกให้เหลือบทกวีจำนวน 189 เรื่อง ซึ่งภาพรวมของกวีนิพนธ์ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกแต่งโดยใช้ฉันทลักษณ์ไทย พบใช้กลอนมากที่สุด ถัดมาเป็นโคลง กาพย์ และฉันท์
นางสาวอรสา กล่าวต่อว่า หากคัดเลือกกวีนิพนธ์แล้วเสร็จ จะจัดทำต้นฉบับและจัดหาภาพประกอบ ซึ่งได้รับอนุญาตให้คัดเลือกภาพประกอบจากนิทรรศการ"อัครศิลปินเหนือเกล้า" ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมเคยจัดนิทรรศการเพื่อแสดงความอาลัยและเผยแพร่พระอัจฉริยะภาพด้านศิลปะองค์อัครศิลปิน ส่วนกวีนิพนธ์ที่ไม่ได้รับคัดเลือกเพื่อจัดพิมพ์หนังสือจะเก็บบันทึกไว้ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อย่างเป็นระบบ ถือเป็นบันทึกจดหมายเหตุประชาชนอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งประชาชนได้ถวายพระองค์เป็นครั้งสุดท้าย
" หนังสือกวีนิพนธ์ฉบับกวีประชาชนเพื่อเทิดพระเกียรติและแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวง รัชกาลที่ 9 เป็นหนึ่งในหนังสือที่ระลึกในงานพระเมรุมาศครั้งนี้ คาดว่าจะจัดพิมพ์แล้วเสร็จเดือนกันยายนนี้ เป็นการรวบรวม 189 บทกวีที่ประชาชนประพันธ์ขึ้นอย่างลึกซึ้งด้วยความจงรักภักดี กลั่นความรู้สึกจากใจหลังเหตุการณ์ความสูญเสียร่วมกันของชาวไทยทั้งประเทศ ส่วนหนังสือที่ระลึกนวมินทราศิรวาทราชสดุดี ร้อยกรองเฉลิมพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ 9 ขณะนี้ได้ต้นฉบับส่วนหนึ่งจากกวีรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 9 แล้ว คาดว่าจะครบทั้ง 9 บท กลางเดือน ก.ค.นี้ ก่อนจัดพิมพ์หนังสือในจำนวนเท่ากันเพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ " นางสาวอรสา กล่าว