มหรสพดนตรีสากลในงานพระราชพิธี ระดม 7 วงดนตรี 889 ชีวิต บรรเลง 44 เพลงพระราชนิพนธ์ถ่ายทอดพระอัจฉริยภาพด้านดนตรี เตรียมชุดแสดงมโนราห์บัลเล่ต์ ระบำปลายเท้า ในหลวง ร.๙ เคยทอดพระเนตรที่ยุโรป
น.ส.อโณทัย นิติพน คณบดีสำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา กล่าวว่า การจัดแสดงมหรสพในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 26 ตุลาคม 2560 ซึ่งจะมีเวทีโขนและหนังใหญ่ เวทีละคร และ เวทีดนตรีสากล สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่วมแสดงในเวทีดนตรีสากล โดยจะมีวงดนตรี 7 วง ประกอบด้วยวงดนตรีสี่เหล่าทัพ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ วงดนตรีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CU BAND และวงของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ทำการแสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ไม่ซ้ำกัน โดย รศ.คุณหญิง วงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์ อธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา มอบให้ตนทำกรอบการแสดงของสถาบันฯ ครั้งนี้ ในเบื้องต้นจะมีนักศึกษาของสถาบันฯ และวงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ประมาณ 40 คน ที่มีความสามารถด้านขับร้องประสานเสียงและเล่นดนตรีเข้าร่วมแสดงดนตรีในชุด “ดุจหยาดทิพย์ชโลมหล้า” ร่วมกับวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร สมาชิกวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ วงสหายพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โรงเรียนราชินี และวง Royal Bangkok Symphony Orchestra (RBSO) สำหรับบทเพลงที่จะบรรเลงประกอบไปด้วย บทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งหมด ได้แก่ แผ่นดินของเรา, Alexandra, ไร้จันทร์, ไร้เดือน และ No Moon นอกจากนี้ จะมีการแสดงบัลเล่ต์ เรื่อง “มโนราห์” หรือ “Kinari Suite” หนึ่งในบทพระราชนิพนธ์ ซึ่งประกอบด้วย เพลง Nature Waltz, The Hunter, Kinari Waltz, A love Story, ภิรมย์รัก และ Blue day แล้วยังมีบทเพลงเทิดพระเกียรติที่ทางสถาบันฯ จะแสดง 2 เพลง คือ พระราชาผู้ทรงธรรม และ ในหลวงของแผ่นดิน โดยนักร้องประสานเสียง 89 คน มีอาจารย์วานิช โปตะวณิช เป็นคอนดักเตอร์ และทันทีที่ได้โน้ตเพลงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร จากนั้นแต่ละวงจะแยกกันฝึกซ้อม ทั้งนี้ ในเดือนกันยายน จะนัดฝึกรวมซ้อมใหญ่ ณ เวทีจริง ก่อนวันประกอบพระราชพิธีจริงวันที่ 26 ต.ค. นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังได้รับมอบหมายให้จัดการแสดงดนตรีภายหลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพอีกด้วย โดยจะใช้วงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาทำการแสดงเพลงพระราชนิพนธ์ รวมถึงจะมีศิลปินรับเชิญจากต่างประเทศที่จะร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านด้วย
“เวทีดนตรีสากลเป็นความร่วมมือของ 7 วงออร์เคสตราชั้นนำ จำนวน 889 คน บรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณในหลวง ร.๙ องค์คีตราชัน และถ่ายทอดพระอัจฉริยภาพทางดนตรีเพราะภาษาดนตรีของพระองค์ท่านเป็นที่ประจักษ์กว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ” น.ส.อโณทัย กล่าวด้วยว่า นอกเหนือจากงานพระบรมศพ ตลอดปีนี้สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาจะจัดกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาแสดงทุกครั้ง
นายสมเกียรติ ศรีคำ หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์สากล กรมศิลปากร กล่าวว่า เวทีดนตรีสากลในงานมหรสพครั้งนี้วงดนตรีทั้ง 7 วง จะแสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์ จำนวน 44 บทเพลง เริ่มการแสดงวงแรกตั้งแต่ 23.00 น.ของวันที่ 26 ต.ค. ต่อเนื่องถึงเวลา 06.00 น. วันที่ 27 ต.ค. โดยวงของสถาบันกัลยาณิวัฒนาจะเปิดการแสดงวงแรก ตามด้วยวงดนตรีสี่เหล่าทัพ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ปิดท้ายด้วย CU BAND ของจุฬาฯ โดยกรมศิลปากรควบคุมตลอดการแสดง
“ทุกรายการแสดงเพื่อเทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ ๙ โดยเฉพาะการแสดงบัลเล่ต์ เรื่อง “มโนราห์” จำนวน 6 องก์ ประกอบด้วย นักดนตรี 89 คน นักแสดงบัลเล่ต์ 89 คน ออกแบบการแสดงเหมือนเมื่อครั้งพระองค์ได้ทอดพระเนตรมโนราห์บัลเล่ต์ในยุโรป เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ประกอบระบำปลายเท้าที่หาชมได้ยาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งใจสร้างสรรค์ถวายพระองค์ท่านครั้งสุดท้าย อีกทั้งการแสดงเชิญสมาชิกวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ ร่วมบรรเลงเพลงมโนราห์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านด้วย” นายสมเกียรติ กล่าว
น.ส.อโณทัย นิติพน คณบดีสำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา กล่าวว่า การจัดแสดงมหรสพในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 26 ตุลาคม 2560 ซึ่งจะมีเวทีโขนและหนังใหญ่ เวทีละคร และ เวทีดนตรีสากล สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่วมแสดงในเวทีดนตรีสากล โดยจะมีวงดนตรี 7 วง ประกอบด้วยวงดนตรีสี่เหล่าทัพ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ วงดนตรีแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CU BAND และวงของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ทำการแสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ไม่ซ้ำกัน โดย รศ.คุณหญิง วงจันทร์ พินัยนิติศาสตร์ อธิการบดีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา มอบให้ตนทำกรอบการแสดงของสถาบันฯ ครั้งนี้ ในเบื้องต้นจะมีนักศึกษาของสถาบันฯ และวงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ประมาณ 40 คน ที่มีความสามารถด้านขับร้องประสานเสียงและเล่นดนตรีเข้าร่วมแสดงดนตรีในชุด “ดุจหยาดทิพย์ชโลมหล้า” ร่วมกับวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร สมาชิกวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ วงสหายพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โรงเรียนราชินี และวง Royal Bangkok Symphony Orchestra (RBSO) สำหรับบทเพลงที่จะบรรเลงประกอบไปด้วย บทเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งหมด ได้แก่ แผ่นดินของเรา, Alexandra, ไร้จันทร์, ไร้เดือน และ No Moon นอกจากนี้ จะมีการแสดงบัลเล่ต์ เรื่อง “มโนราห์” หรือ “Kinari Suite” หนึ่งในบทพระราชนิพนธ์ ซึ่งประกอบด้วย เพลง Nature Waltz, The Hunter, Kinari Waltz, A love Story, ภิรมย์รัก และ Blue day แล้วยังมีบทเพลงเทิดพระเกียรติที่ทางสถาบันฯ จะแสดง 2 เพลง คือ พระราชาผู้ทรงธรรม และ ในหลวงของแผ่นดิน โดยนักร้องประสานเสียง 89 คน มีอาจารย์วานิช โปตะวณิช เป็นคอนดักเตอร์ และทันทีที่ได้โน้ตเพลงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร จากนั้นแต่ละวงจะแยกกันฝึกซ้อม ทั้งนี้ ในเดือนกันยายน จะนัดฝึกรวมซ้อมใหญ่ ณ เวทีจริง ก่อนวันประกอบพระราชพิธีจริงวันที่ 26 ต.ค. นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังได้รับมอบหมายให้จัดการแสดงดนตรีภายหลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพอีกด้วย โดยจะใช้วงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาทำการแสดงเพลงพระราชนิพนธ์ รวมถึงจะมีศิลปินรับเชิญจากต่างประเทศที่จะร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านด้วย
“เวทีดนตรีสากลเป็นความร่วมมือของ 7 วงออร์เคสตราชั้นนำ จำนวน 889 คน บรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณในหลวง ร.๙ องค์คีตราชัน และถ่ายทอดพระอัจฉริยภาพทางดนตรีเพราะภาษาดนตรีของพระองค์ท่านเป็นที่ประจักษ์กว้างขวางทั้งในและต่างประเทศ” น.ส.อโณทัย กล่าวด้วยว่า นอกเหนือจากงานพระบรมศพ ตลอดปีนี้สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาจะจัดกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในหลวง รัชกาลที่ ๙ อัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาแสดงทุกครั้ง
นายสมเกียรติ ศรีคำ หัวหน้ากลุ่มดุริยางค์สากล กรมศิลปากร กล่าวว่า เวทีดนตรีสากลในงานมหรสพครั้งนี้วงดนตรีทั้ง 7 วง จะแสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์ จำนวน 44 บทเพลง เริ่มการแสดงวงแรกตั้งแต่ 23.00 น.ของวันที่ 26 ต.ค. ต่อเนื่องถึงเวลา 06.00 น. วันที่ 27 ต.ค. โดยวงของสถาบันกัลยาณิวัฒนาจะเปิดการแสดงวงแรก ตามด้วยวงดนตรีสี่เหล่าทัพ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ปิดท้ายด้วย CU BAND ของจุฬาฯ โดยกรมศิลปากรควบคุมตลอดการแสดง
“ทุกรายการแสดงเพื่อเทิดพระเกียรติในหลวง รัชกาลที่ ๙ โดยเฉพาะการแสดงบัลเล่ต์ เรื่อง “มโนราห์” จำนวน 6 องก์ ประกอบด้วย นักดนตรี 89 คน นักแสดงบัลเล่ต์ 89 คน ออกแบบการแสดงเหมือนเมื่อครั้งพระองค์ได้ทอดพระเนตรมโนราห์บัลเล่ต์ในยุโรป เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ประกอบระบำปลายเท้าที่หาชมได้ยาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตั้งใจสร้างสรรค์ถวายพระองค์ท่านครั้งสุดท้าย อีกทั้งการแสดงเชิญสมาชิกวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ ร่วมบรรเลงเพลงมโนราห์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านด้วย” นายสมเกียรติ กล่าว