กรมการข้าวคัด 3 พันธุ์ข้าวเฉลิมพระเกียรติ ให้กรมศิลป์จัดภูมิสถาปัตยกรรมรอบพระเมรุมาศ คันนาออกแบบเป็นเลขเก้าไทยสีดินทอง เผย ช่วงพระราชพิธี 25 - 29 ต.ค. จะเป็นทุ่งรวงทอง สะท้อนความร่มเย็นแผ่นดิน ร.๙
นายกฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า หลังจากสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ได้ทำการออกแบบพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยยึดคติความเชื่อแต่โบราณราชประเพณี คำนึงความสวยงาม สมพระเกียรติถ่ายทอดพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริที่โดดเด่นที่คัดมาจาก 4,000 กว่าโครงการ มาจัดแสดงผ่านการก่อสร้างและปรับแต่งภูมิทัศน์ ทั้งนี้ กรมการข้าวได้รับการประสานงานจากกรมศิลปากรให้เป็นหน่วยงานหลักในการให้คำปรึกษาในการจัดภูมิสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับแปลงนาข้าวรอบพระเมรุมาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระราชดำริที่จะนำมาแสดงบริเวณพื้นที่ด้านนอกรั้วราชวัติทางทิศเหนือทางเข้าออกหลักของพระเมรุมาศ ซึ่งมีการออกแบบจัดแสดงแปลงนา โดยมีขอบคันนาออกแบบเชิงสัญลักษณ์ให้เห็นเป็นเลขเก้าไทยสีดินทองเพื่อถวายในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทยให้มีความอยู่ดีกินดี
นายกฤษณพงศ์ กล่าวว่า กรมศิลปากรต้องการให้ข้าวที่นำมาปลูกในแปลงนานั้นเป็นพันธุ์ข้าวที่มีกลิ่นหอม และแสดงถึงการเจริญเติบโตของต้นข้าวในระยะต่างๆ ตั้งแต่ต้นกล้า แตกกอ และออกรวง กรมการข้าวจึงให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแปลงนา ว่า ควรจะใช้กลุ่มพันธุ์ข้าวที่มีกลิ่นหอม จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ ระยะต้นกล้า คือ พันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นตัวแทนของข้าวภาคกลางซึ่งนิยมปลูกกันมาก ถือเป็นข้าวพรีเมียมเป็นที่ต้องการของตลาด ให้ผลผลิตสูงประมาณ 650 - 774 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกแล้วจะมีทรงกอตั้ง ใบสีเขียวมีขนเหมาะที่จะนำมาจัดแสดงในระยะต้นกล้า
สำหรับระยะแตกกอได้แนะนำให้ปลูกพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นตัวแทนของข้าวในภาคอีสานและเหนือที่นิยมปลูกข้าวพันธุ์นี้กันมากถึง 1 ใน 3 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ หรือ ราว 25 ล้านไร่ เป็นพันธุ์ข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้ผู้บริโภคในต่างประเทศรู้จักข้าวไทยเรื่องคุณภาพการหุงต้มที่อ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอม เมื่อนำมาจัดแสดงระยะแตกกอจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกมาจากลำต้น ตอบโจทย์ที่ต้องการให้แปลงนาที่จัดแสดงมีกลิ่นหอม
ส่วนระยะออกรวง คือ พันธุ์ข้าว กข 31 หรือพันธุ์ปทุมธานี 80 เป็นพันธุ์ข้าวที่ตั้งชื่อเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสในหลวง ร.๙ พระชนมายุครบ 80 พรรษา มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่ออยู่ในระยะออกรวงจะชูรวงสวยงาม ไม่โน้มรวงลงกับพื้นเหมือนพันธุ์อื่นๆ ในการจัดแสดงครั้งนี้จะนำข้าวที่อยู่ในระยะพลับพลึงเกือบเป็นสีเหลืองทองมาจัดแสดงในแปลงนา
“ในหลวง ร.๙ ทรงห่วงใยและช่วยเหลือชาวนา พระราชทานแนวพระราชดำริอนุรักษ์พันธุ์ข้าว ทั้งพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ใหม่ ทรงมีพระราชดำรัสข้าวคือชีวิต ข้าวต้องปลูก ซึ่งข้าว 3 สายพันธุ์ในการจัดแสดงครั้งนี้ล้วนใช้พื้นที่ทดลองและขยายพันธุ์ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาจนเกิดสายพันธุ์ที่ดีในการเพาะปลูก ทำให้ชาวนามีรายได้มั่นคง มีความร่มเย็นเป็นสุข และสร้างชื่อเสียงให้ชาวต่างชาติรู้จักข้าวไทย ช่วงพระราชพิธีฯ ระหว่างวันที่ 25 - 29 ต.ค.นี้ จะเป็นทุ่งรวงทองงามสง่าด้วยพันธุ์ข้าวเฉลิมพระเกียรติที่มีกลิ่นหอม สมพระเกียรติ” นายกฤษณพงศ์ กล่าว
นายกฤษณพงศ์ กล่าวต่อว่า ในการเพาะปลูกและดูแลข้าวนั้นได้แนะนำเพื่อให้การจัดแสดงข้าวเป็นไปตามการออกแบบ พร้อมสำหรับพระราชพิธี โดยเพาะต้นข้าวในกระถางเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนต้นใหม่หลังจากผ่านพระราชพิธีไปแล้วอีก 1 เดือน สำหรับการเตรียมดินในแปลงนาแนะนำให้ขุดแปลงนาและขังน้ำให้ท่วมผิวดินประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร เพื่อเลี้ยงต้นข้าวในระยะต่างๆ ให้คงอยู่ ส่วนการคำนวณระยะเวลาที่เริ่มเพาะปลูกทั้ง 3 ระยะ ระยะกล้า ควรเริ่มเพาะกล้าวันที่ 15 ก.ย. ระยะแตกกอ คือ ควรเริ่มเพาะกล้าวันที่ 16 ส.ค. ส่วนระยะออกรวงให้เริ่มเพาะกล้าวันที่ 7 ก.ค. พร้อมกันนี้ จะสำรองต้นข้าวในระยะต่างๆ 2 - 3 ชุด เพื่อสำรองกระถางที่อาจเสียหาย โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวที่อยู่ในระยะออกรวงจะอยู่ได้ประมาณ 10 วัน เมล็ดข้าวจะโรยพร้อมเก็บเกี่ยว ต้องเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 10 วัน
อย่างไรก็ตาม ทางกรมการข้าวพร้อมให้คำแนะนำผู้ดำเนินการหากมีข้อติดขัด โดยมีนักวิจัยและนักวิชาการ โดยเฉพาะสภาพอากาศในช่วงนี้ที่มีฝนตกเป็นระยะและอาจมีลมพัด ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์เมื่อมีการตกแต่งต้นข้าวในแปลงนาต่อไป
นายพรธรรม ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิก สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กล่าวว่า ในการออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบพระเมรุมาศจะมีการสร้างสระน้ำบริเวณ 4 มุม และได้จำลองนาขั้นบันได หญ้าแฝก แก้มลิง และกังหันน้ำชัยพัฒนาจำนวน 3 ตัว ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริในการออกแบบภูมิทัศน์ โดยมีบริษัทที่มีประสบการณ์เป็นผู้ดำเนินงานภายใต้การให้คำปรึกษาของกรมการข้าว ทั้งชนิดพันธุ์ ระดับน้ำที่สูงจากผิวดิน การเพาะปลูก ขณะที่ภูมิสถาปนิกจะดูแลภาพรวมของภูมิทัศน์ให้สวยงาม ส่วนหญ้าแฝกตนได้แนะนำให้บริษัทไปศึกษาเรื่องศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริใช้หญ้าแฝกในการพัฒนาดิน คืนความสมบูรณ์ให้พื้นที่ ซึ่งบริษัทจะประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ต่อไป เช่นเดียวกับโครงการแก้มลิงต่างๆ ต้องทำข้อมูลก่อน ทั้งนี้ การทำงานในพื้นที่จริงจะเริ่มในเดือนมิถุนายน หลังจากคืนพื้นที่บริเวณสนามหลวงทิศเหนือแล้ว
นายกฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล รองอธิบดีกรมการข้าว กล่าวว่า หลังจากสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร ได้ทำการออกแบบพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยยึดคติความเชื่อแต่โบราณราชประเพณี คำนึงความสวยงาม สมพระเกียรติถ่ายทอดพระราชกรณียกิจและโครงการในพระราชดำริที่โดดเด่นที่คัดมาจาก 4,000 กว่าโครงการ มาจัดแสดงผ่านการก่อสร้างและปรับแต่งภูมิทัศน์ ทั้งนี้ กรมการข้าวได้รับการประสานงานจากกรมศิลปากรให้เป็นหน่วยงานหลักในการให้คำปรึกษาในการจัดภูมิสถาปัตยกรรมเกี่ยวกับแปลงนาข้าวรอบพระเมรุมาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระราชดำริที่จะนำมาแสดงบริเวณพื้นที่ด้านนอกรั้วราชวัติทางทิศเหนือทางเข้าออกหลักของพระเมรุมาศ ซึ่งมีการออกแบบจัดแสดงแปลงนา โดยมีขอบคันนาออกแบบเชิงสัญลักษณ์ให้เห็นเป็นเลขเก้าไทยสีดินทองเพื่อถวายในหลวง รัชกาลที่ ๙ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อปวงชนชาวไทยให้มีความอยู่ดีกินดี
นายกฤษณพงศ์ กล่าวว่า กรมศิลปากรต้องการให้ข้าวที่นำมาปลูกในแปลงนานั้นเป็นพันธุ์ข้าวที่มีกลิ่นหอม และแสดงถึงการเจริญเติบโตของต้นข้าวในระยะต่างๆ ตั้งแต่ต้นกล้า แตกกอ และออกรวง กรมการข้าวจึงให้คำแนะนำแก่ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแปลงนา ว่า ควรจะใช้กลุ่มพันธุ์ข้าวที่มีกลิ่นหอม จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ ระยะต้นกล้า คือ พันธุ์ปทุมธานี 1 เป็นตัวแทนของข้าวภาคกลางซึ่งนิยมปลูกกันมาก ถือเป็นข้าวพรีเมียมเป็นที่ต้องการของตลาด ให้ผลผลิตสูงประมาณ 650 - 774 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกแล้วจะมีทรงกอตั้ง ใบสีเขียวมีขนเหมาะที่จะนำมาจัดแสดงในระยะต้นกล้า
สำหรับระยะแตกกอได้แนะนำให้ปลูกพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นตัวแทนของข้าวในภาคอีสานและเหนือที่นิยมปลูกข้าวพันธุ์นี้กันมากถึง 1 ใน 3 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ หรือ ราว 25 ล้านไร่ เป็นพันธุ์ข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้ผู้บริโภคในต่างประเทศรู้จักข้าวไทยเรื่องคุณภาพการหุงต้มที่อ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอม เมื่อนำมาจัดแสดงระยะแตกกอจะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกมาจากลำต้น ตอบโจทย์ที่ต้องการให้แปลงนาที่จัดแสดงมีกลิ่นหอม
ส่วนระยะออกรวง คือ พันธุ์ข้าว กข 31 หรือพันธุ์ปทุมธานี 80 เป็นพันธุ์ข้าวที่ตั้งชื่อเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสในหลวง ร.๙ พระชนมายุครบ 80 พรรษา มีคุณสมบัติพิเศษ คือ เมื่ออยู่ในระยะออกรวงจะชูรวงสวยงาม ไม่โน้มรวงลงกับพื้นเหมือนพันธุ์อื่นๆ ในการจัดแสดงครั้งนี้จะนำข้าวที่อยู่ในระยะพลับพลึงเกือบเป็นสีเหลืองทองมาจัดแสดงในแปลงนา
“ในหลวง ร.๙ ทรงห่วงใยและช่วยเหลือชาวนา พระราชทานแนวพระราชดำริอนุรักษ์พันธุ์ข้าว ทั้งพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ใหม่ ทรงมีพระราชดำรัสข้าวคือชีวิต ข้าวต้องปลูก ซึ่งข้าว 3 สายพันธุ์ในการจัดแสดงครั้งนี้ล้วนใช้พื้นที่ทดลองและขยายพันธุ์ในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาจนเกิดสายพันธุ์ที่ดีในการเพาะปลูก ทำให้ชาวนามีรายได้มั่นคง มีความร่มเย็นเป็นสุข และสร้างชื่อเสียงให้ชาวต่างชาติรู้จักข้าวไทย ช่วงพระราชพิธีฯ ระหว่างวันที่ 25 - 29 ต.ค.นี้ จะเป็นทุ่งรวงทองงามสง่าด้วยพันธุ์ข้าวเฉลิมพระเกียรติที่มีกลิ่นหอม สมพระเกียรติ” นายกฤษณพงศ์ กล่าว
นายกฤษณพงศ์ กล่าวต่อว่า ในการเพาะปลูกและดูแลข้าวนั้นได้แนะนำเพื่อให้การจัดแสดงข้าวเป็นไปตามการออกแบบ พร้อมสำหรับพระราชพิธี โดยเพาะต้นข้าวในกระถางเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและเปลี่ยนต้นใหม่หลังจากผ่านพระราชพิธีไปแล้วอีก 1 เดือน สำหรับการเตรียมดินในแปลงนาแนะนำให้ขุดแปลงนาและขังน้ำให้ท่วมผิวดินประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร เพื่อเลี้ยงต้นข้าวในระยะต่างๆ ให้คงอยู่ ส่วนการคำนวณระยะเวลาที่เริ่มเพาะปลูกทั้ง 3 ระยะ ระยะกล้า ควรเริ่มเพาะกล้าวันที่ 15 ก.ย. ระยะแตกกอ คือ ควรเริ่มเพาะกล้าวันที่ 16 ส.ค. ส่วนระยะออกรวงให้เริ่มเพาะกล้าวันที่ 7 ก.ค. พร้อมกันนี้ จะสำรองต้นข้าวในระยะต่างๆ 2 - 3 ชุด เพื่อสำรองกระถางที่อาจเสียหาย โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวที่อยู่ในระยะออกรวงจะอยู่ได้ประมาณ 10 วัน เมล็ดข้าวจะโรยพร้อมเก็บเกี่ยว ต้องเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 10 วัน
อย่างไรก็ตาม ทางกรมการข้าวพร้อมให้คำแนะนำผู้ดำเนินการหากมีข้อติดขัด โดยมีนักวิจัยและนักวิชาการ โดยเฉพาะสภาพอากาศในช่วงนี้ที่มีฝนตกเป็นระยะและอาจมีลมพัด ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์เมื่อมีการตกแต่งต้นข้าวในแปลงนาต่อไป
นายพรธรรม ธรรมวิมล ภูมิสถาปนิก สำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร กล่าวว่า ในการออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบพระเมรุมาศจะมีการสร้างสระน้ำบริเวณ 4 มุม และได้จำลองนาขั้นบันได หญ้าแฝก แก้มลิง และกังหันน้ำชัยพัฒนาจำนวน 3 ตัว ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริในการออกแบบภูมิทัศน์ โดยมีบริษัทที่มีประสบการณ์เป็นผู้ดำเนินงานภายใต้การให้คำปรึกษาของกรมการข้าว ทั้งชนิดพันธุ์ ระดับน้ำที่สูงจากผิวดิน การเพาะปลูก ขณะที่ภูมิสถาปนิกจะดูแลภาพรวมของภูมิทัศน์ให้สวยงาม ส่วนหญ้าแฝกตนได้แนะนำให้บริษัทไปศึกษาเรื่องศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริใช้หญ้าแฝกในการพัฒนาดิน คืนความสมบูรณ์ให้พื้นที่ ซึ่งบริษัทจะประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ต่อไป เช่นเดียวกับโครงการแก้มลิงต่างๆ ต้องทำข้อมูลก่อน ทั้งนี้ การทำงานในพื้นที่จริงจะเริ่มในเดือนมิถุนายน หลังจากคืนพื้นที่บริเวณสนามหลวงทิศเหนือแล้ว