xs
xsm
sm
md
lg

ไทยลงนาม “ไจก้า” พัฒนาระบบดูแล “วัยชรา” จาก รพ.กลับไปฟื้นฟูที่บ้าน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ลงนาม 4 ฝ่าย สปสช. สธ. พม. และ ไจก้า ลงนามความร่วมมือพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุไร้รอยต่อจาก รพ. กลับไปฟื้นฟูที่บ้าน โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

นพ.ชูชัย ศรชำนิ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) โดย นพ.สมศักด์ อรรฆศิลป์ รองปลัด สธ., กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดย นางปิยะพร เฉลิมช่วง ผู้อำนวยการกองส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอาย. หน่วยงาน กรมกิจการผู้สูงอายุ และ สปสช. ได้ลงนามร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่นหรือ JAICA โดยนายชินทาโร นากามูระ หัวหน้าทีมสำรวจการวางแผนรายละเอียดซึ่งเป็นความร่วมมือ 5 ปี โดยทั้ง 4 ฝ่าย จะร่วมกันขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุอย่างไร้รอยต่อ เชิงวิชาการเรียกว่าการดูแลระยะกึ่งเฉียบพลัน หรือ Intermediate care คือ การดูแลผู้ป่วยจาก รพ. ซึ่งต้องกลับมารักษาต่อที่บ้าน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูผู้ป่วยจากความเจ็บป่วย ป้องกันการเข้ารักษาใน รพ. อย่างฉุกเฉินโดยไม่จำเป็น สนับสนุนให้ผู้ป่วยออกจาก รพ.เร็วขึ้น และอยู่อย่างพึ่งพาตนเองมากที่สุด

ด้าน นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การดูแลผู้ป่วยระยะกึ่งเฉียบพลันมีความสำคัญมาก โดยเฉพาะการที่ไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และการมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น ที่มักทำให้เกิดความพิการซึ่งต้องการการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังการรักษา เช่น โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด การส่งผู้ป่วยกลับบ้านในสภาพที่ยังไม่พร้อม จะทำให้ขาดโอกาสการดูแลอย่างต่อเนื่อง ขาดโอกาสฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาใกล้เคียงเหมือนเดิม ความร่วมมือ 4 ฝ่ายครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะกึ่งเฉลียบพลันโดยการใช้ชุมชนเป็นฐาน

นายนากามูระ กล่าวว่า ประเทศไทยมีความโดดเด่นด้านกลไกของท้องถิ่นและระบบจิตอาสาในรูปแบบ อสม.ในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เมื่อผนวกเข้ากับประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นที่เดินหน้าเรื่อง Intermediate care มานานแล้ว ความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้ทั้งไทยและญี่ปุ่นนำจุดเด่นของแต่ละที่ไปปรับใช้กับบริบทของแต่ละประเทศได้
กำลังโหลดความคิดเห็น