กัญชงและกัญชาเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจากพืชชนิดเดียวกัน และมีสารสำคัญ 3 ชนิด คือ CBD, CBN, THC ซึ่งสาร THC (Tetrahydrocannabinol) นี้เอง ที่เป็นสารที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หากเสพต่อเนื่องจะทำให้มีอาการเสพติด โดยในกัญชาจะมีสาร THC สูง 1 - 10% แต่ในกัญชงจะมีน้อยกว่า 0.3% และลักษณะภายนอกกัญชาจะมีลำต้นเป็นพุ่ม ใบเรียวยาวเป็นแฉก 5 - 7 แฉก เปลือกแข็งลอกยาก ส่วนกัญชงใบเป็นแฉก 7 - 9 แฉก ลำต้นสูงเรียว เปลือกนิ่มลอกง่าย
ซึ่งเราสามารถนำต้นกัญชงมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น การใช้เส้นใยนำมาทอผ้า เครื่องนุ่งหุ่ม ผลิตกระดาษ และทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกร รัฐบาลจึงได้ปรับแก้กฎหมายควบคุมและเพื่อส่งเสริมกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2560 โดยจะมีผลบังคับใช้หลังจากนี้อีก 360 วัน
โดยใน 3 ปีแรก ประชาชนทั่วไปยังไม่สามารถขออนุญาตปลูกได้ ยกเว้นเกษตรกรที่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานภาครัฐ ที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น เพราะกัญชงยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 อยู่ เบื้องต้นอนุญาตให้ปลูกในพื้นที่นำร่อง 6 จังหวัด 15 อำเภอ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ และหลังจากนั้น 3 ปี รัฐบาลจะพิจารณาขยายขอบเขตการปลูก และอนุญาตให้ประชาชนสามารถลงได้ต่อไป
#สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด #สำนักงานปปส #ปปส
ที่มา : สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม
(พื้นที่ประชาสัมพันธ์)