โดย…สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
ไข่มุกแห่งอันดามันนาม “ภูเก็ต” ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีการใช้ “เห็ด” ในการประกอบอาหารเป็นอย่างมาก แต่ละวันภูเก็ตมีการใช้เห็ด โดยเฉพาะ “เห็ดนางฟ้า” มากถึงวันละ 3 - 5 ตัน แต่การผลิตภายในจังหวัดกลับผลิตได้เพียงวันละตันกว่าๆ เท่านั้น หรือประมาณ 30 - 40% เท่านั้น
นายคณุตน์ ศิโรทศ ประธานวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเพาะเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร - บ่อแร่ ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต กล่าวว่า ภูเก็ตมีความต้องการเห็ดสูงมาก ซึ่งทุกวันนี้ภูเก็ตต้องนำเข้าเป็นจำนวนมาก ทั้งจากกระบี่ สุราษฎร์ธานี พังงา ชุมพร รวมถึงราชบุรี แต่เห็ดจากจังหวัดเหล่านี้จะไม่มีความสดใหม่เท่าเห็ดที่ผลิตในภูเก็ต เพราะจะเก็บตอนเย็นกว่าจะส่งถึงภูเก็ตก็เช้า เห็ดมีความช้ำ ต่างจากเห็ดที่เพาะในภูเก็ตที่เก็บตอนเช้าแล้วส่งตลาดได้ทันที เรียกได้ว่าเห็ดมีคุณภาพกว่า จึงเกิดความคิดที่จะรวมกลุ่มกันผลิตเห็ดขึ้น เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้กับจังหวัด จนกลายเป็น “ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร - บ่อแร่” ในการผลิตก้อนเชื้อเห็ดเพื่อจัดจำหน่าย ซึ่งการรวมตัวกันเช่นนี้ไม่ได้เพียงแต่เป็นการสร้างรายได้ให้แก่คนในพื้นที่เท่านั้น ยังเป็นการเดินตามรอยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชด้วย
“การทำกิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้เมื่อปี 2554 หมู่บ้านลิพอนหัวหาร - บ่อแร่ ได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับอยู่ดีกินดี เพราะเกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใน 5 ด้าน คือ 1. ด้านความรักสามัคคีเอื้ออาทร 2. ความปลอดภัย 3. เรื่องสังคม วัฒนธรรม 4. ความเป็นอยู่ของชุมชน และ 5. เศรษฐกิจ ซึ่งหลังจากการดำเนินการ ทำให้ชุมชนเกิดการตื่นตัว เกิดความรักสามัคคี ร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองและชุมชนสู่กระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางของในหลวงรัชกาลที่ ๙” นายคณุตน์ กล่าว
นายคณุตน์ กล่าวว่า หลังจากได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการพัฒนาศักยภาพของการทำงานเพาะเห็ดและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด การให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเพาะเห็ดแบบครบวงจร การผลิตหัวเชื้อที่มีคุณภาพ การทำเชื้อและเพาะเห็ดเศรษฐกิจ ทำให้ ปี 2557 หมู่บ้านฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งแรกใน จ.ภูเก็ต
“เดิมทีผลจบเชฟมา ไม่ได้มีความรู้เรื่องพวกนี้เลย จึงไปเรียนรู้จากเกษตรศาสตร์ เชิญอาจารย์ นักวิชาการมาสอนถ่ายทอดวิชา จากนั้นจึงมาเพาะเองทำเองจนได้ประสบการณ์และถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อในเรื่องของการเพาะเชื้อเห็ด การทำเนื้อเยื่อ ซึ่งขณะนี้ทำมาได้ประมาณ 5 ปีกว่าแล้ว ก็ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น” นายคณุตน์ กล่าว
สำหรับรายได้จากการปลูกเห็ดนับว่าสูงมาก โดย นายคณุตน์ อธิบายว่า จากการลองเพาะเห็ดต่างๆ นั้น เห็ดนางฟ้าถือเป็นเห็ดตลาดที่ทำรายได้สูงมาก ซึ่งจากเดิมเห็ดนางฟ้ากิโลกรัมและ 50 - 60 บาท ขณะนี้ก็กลายเป็นกิโลกรัมละ 120 บาท ส่วนเห็ดอื่นๆ กิโลกรัมนึงแพงมากเดี๋ยวนี้ก็ราคาถูกลง โดยผลิตภัณฑ์หลักของศูนย์ฯ คือ ก้อนเห็ด ซึ่งขายก้อนละ 10 บาท ได้กำไรก้อนละ 3 บาท โดยแต่ละเดือนผลิตได้ประมาณ 8,000 - 12,000 ก้อน ซึ่งหากผลิตได้ 10,000 ก้อน ก็กำไรอยู่ที่ประมาณ 20,000 กว่าบาท ปีหนึ่งก็ประมาณ 1.2 แสนบาท ซึ่งยังไม่รวมผลิตภัณฑ์อื่นอย่าง น้ำเห็ด และแหนมเห็ด ที่เราไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่าย แต่เป็นการผลิตตามออเดอร์อย่างเดียวตามงามสัมมนา โรงแรม สถานที่ราชการ
“จริงๆ แล้วสิ่งที่ทำกำไรมากที่สุด คือ น้ำเห็ด ขนาด 230 มิลลิลิตร ซึ่งขายขวดละ 15 บาท กำไรประมาณ 40% โดยแต่ละวันผลิตได้ประมาณ 900 ขวด ถ้าขายวันละ 500 ขวด สมมติได้วันละ 5,000 บาท ก็จะได้กำไรอยู่ที่ 2,000 บาท หรือกำไรประมาณ 60,000 บาทต่อเดือน ซึ่งหากหักค่าต่างๆ อีกประมาณ 50% ก็อยู่ที่เดือนละ 30,000 บาท อยู่ดี ปีหนึ่งก็ประมาณ 3.2 แสนบาท ซึ่งถือว่าไม่น้อยสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแค่ตามออเดอร์เท่านั้น” นายคณุตน์ กล่าว
นายคณุตน์ กล่าวว่า สำหรับน้ำเห็ดยังถือว่ามีค่าการตลาดที่แพงอยู่ เพราะสติกเกอร์แปะขวดอยู่ที่ประมาณ 2.80 บาท ซึ่งไม่คุ้ม โดยหลังจากได้ อย. จะปรับขนาดขวดใหม่เป็น 180 มิลลิลิตร เพราะขนาด 230 มิลลิลิตร ถือว่าใหญ่เกินไป โดยคนเรากินน้ำประมาณ 180 มิลลิลิตร ถือว่ากำลังอิ่ม และปรับเป็นสติกเกอร์ธรรมดาประมาณ 35 สตางค์เท่านั้น ซึ่งขณะนี้กำลังสั่งพิมพ์แล้ว ก็จะสร้างรายได้ได้มากขึ้น
สำหรับการปันผลนั้น นายคณุตน์ กล่าวว่า อย่างก้อนเห็ดขาย 10 บาทนั้น ก็จะเข้าชุมชนบ้านเรา 3 บาท ปันผลหุ้น 50 สตางค์ อีก 2.5 บาท เป็นค่าบริหารจัดการ ค่าสถานที่ กำลังคน น้ำไฟ คือ คนในชุมชนสามารถเลี้ยงตัวเองได้ แม้จะไม่ใช่เดือนละหมื่นสองหมื่น แต่ไม่ได้เป็นหนี้เพิ่ม ไม่ได้มีค่าใช้จายมากขึ้น เป็นการเดินตามเศรษฐกิจพอเพียง เพราะอย่างน้อยก็ลดต้นทุนค่ากับข้าว ถือเป็นรายได้ชนิดหนึ่ง รวมถึงรายได้จากใจจากการทำงาน ชุมชนมีความรักสามัคคี นอกจากนี้ ยังมีการนำเงินไปทำสาธารณประโยชน์ด้วย เช่น หลังคาห้องน้ำ โรงเรียน ทำขนมไปช่วยงานสาธารณะ เป็นต้น
นอกจากการสร้างรายได้เพิ่มในชุมชนตนเอง ยังมีการขยายไปสร้างรายได้ให้ชุมชนอื่นด้วย โดย นายคณุตน์ เล่าว่า เคยมีการถามว่าสมาชิก 29 คน จะไม่ได้รับเพิ่มแล้วหรือ ซึ่งจริงๆ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ เรามีความพอเหมาะกับคนเท่านี้ หากเทียบกับการปลูกต้นไม้ ก็คือ จำนวนต้นไม้ที่พอดีกับกระถาง หากมากเกินไปก็จะแตก แต่เราต้องขยายโดยการไปสร้างกลุ่มใหม่ๆ แบบนี้เพิ่มขึ้น จึงเป็นความยั่งยืนอย่างแท้จริง กลายเป็นต้นไม้หลายกระถาง พาชุมชนให้เจริญได้ ซึ่งตอนนี้ก็มีการขยายกลุ่มมากมาย แบ่งเป็นในภูเก็ต 20 แห่ง พังงา 3 แห่ง ชุมชนหมู่บ้านอีก 10 กว่าแห่ง โรงเรียนอีก 20 กว่าแห่ง นักเรียนก็มาเรียนรู้ที่นี่ ปีที่แล้วก็พันกว่าคน สามารถสร้างรายได้อย่างมาก เพราะเพียงแค่การขายหน้าโรงเรียนช่วงก่อนเข้าเรียนและหลังเลิกเรียนก็แทบไม่พอขายแล้ว
“การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด เดิมทีเราไม่คิดที่จะขอ อย. เพราะมองว่าไม่มีความจำเป็น แต่หลังจากไปประกวดระดับประเทศ ผลกลับมาทำให้รู้ว่าถ้าอยากให้ชุมชนเกิด ไปไกลกว่านี้ ก็ต้องทำ อย. ซึ่งทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ก็แนะนำว่าให้ทำ เพราะจะเป็นผลดีต่อชุมชนเอง เพราะเมื่อเราตั้งเป้าจะส่งขายทั่วประเทศ หรือให้ต่างชาติมาซื้อกลับไป การมี อย. รองรับก็เหมือนเป็นการการันตีคุณภาพ สร้างแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งตอบโจทย์ของการทำให้การทำงานในชุมชน การดูงานในชุมชน ความรักสามัคคี และสุดท้ายชุมชนเป็นเจ้าของชุมชนเรื่องการบริหารจัดการ ซึ่งเราเพิ่งได้ อย. ประมาณ 1 - 2 ปี และปีนี้เพิ่งได้มาตรฐาน Primary GMP” นายคณุตน์ กล่าว
นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า อย. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำวัตถุดิบภายในประเทศมาผลิตเป็นอาหาร รวมถึงเพิ่มศักยภาพให้ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนคิดค้นนวัตกรรมด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างโอกาสและรายได้ให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยศูนย์เรียนรู้การผลิตเห็ดอินทรีย์บ้านลิพอนฯ เป็นแหล่งผลิตก้อนเห็ดอินทรีย์ครบวงจร ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยใช้นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง สร้างงาน สร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน พร้อมทั้งยกระดับให้เห็ดอินทรีย์เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ต่อยอดสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่น แหนมเห็ด วุ้นเห็ด น้ำเห็ดสกัด และ ไวน์เห็ด
หมู่บ้านลิพอนหัวหาร - บ่อแร่ จึงถือเป็นอีกหนึ่งชุมชนต้นแบบของการเดินตามรอยเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง
ไข่มุกแห่งอันดามันนาม “ภูเก็ต” ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีการใช้ “เห็ด” ในการประกอบอาหารเป็นอย่างมาก แต่ละวันภูเก็ตมีการใช้เห็ด โดยเฉพาะ “เห็ดนางฟ้า” มากถึงวันละ 3 - 5 ตัน แต่การผลิตภายในจังหวัดกลับผลิตได้เพียงวันละตันกว่าๆ เท่านั้น หรือประมาณ 30 - 40% เท่านั้น
นายคณุตน์ ศิโรทศ ประธานวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเพาะเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร - บ่อแร่ ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต กล่าวว่า ภูเก็ตมีความต้องการเห็ดสูงมาก ซึ่งทุกวันนี้ภูเก็ตต้องนำเข้าเป็นจำนวนมาก ทั้งจากกระบี่ สุราษฎร์ธานี พังงา ชุมพร รวมถึงราชบุรี แต่เห็ดจากจังหวัดเหล่านี้จะไม่มีความสดใหม่เท่าเห็ดที่ผลิตในภูเก็ต เพราะจะเก็บตอนเย็นกว่าจะส่งถึงภูเก็ตก็เช้า เห็ดมีความช้ำ ต่างจากเห็ดที่เพาะในภูเก็ตที่เก็บตอนเช้าแล้วส่งตลาดได้ทันที เรียกได้ว่าเห็ดมีคุณภาพกว่า จึงเกิดความคิดที่จะรวมกลุ่มกันผลิตเห็ดขึ้น เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้กับจังหวัด จนกลายเป็น “ศูนย์การเรียนรู้การผลิตเห็ดอินทรีย์ บ้านลิพอนหัวหาร - บ่อแร่” ในการผลิตก้อนเชื้อเห็ดเพื่อจัดจำหน่าย ซึ่งการรวมตัวกันเช่นนี้ไม่ได้เพียงแต่เป็นการสร้างรายได้ให้แก่คนในพื้นที่เท่านั้น ยังเป็นการเดินตามรอยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชด้วย
“การทำกิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้เมื่อปี 2554 หมู่บ้านลิพอนหัวหาร - บ่อแร่ ได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบระดับอยู่ดีกินดี เพราะเกิดการพัฒนาองค์ความรู้ใน 5 ด้าน คือ 1. ด้านความรักสามัคคีเอื้ออาทร 2. ความปลอดภัย 3. เรื่องสังคม วัฒนธรรม 4. ความเป็นอยู่ของชุมชน และ 5. เศรษฐกิจ ซึ่งหลังจากการดำเนินการ ทำให้ชุมชนเกิดการตื่นตัว เกิดความรักสามัคคี ร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองและชุมชนสู่กระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางของในหลวงรัชกาลที่ ๙” นายคณุตน์ กล่าว
นายคณุตน์ กล่าวว่า หลังจากได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการพัฒนาศักยภาพของการทำงานเพาะเห็ดและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด การให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเพาะเห็ดแบบครบวงจร การผลิตหัวเชื้อที่มีคุณภาพ การทำเชื้อและเพาะเห็ดเศรษฐกิจ ทำให้ ปี 2557 หมู่บ้านฯ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งแรกใน จ.ภูเก็ต
“เดิมทีผลจบเชฟมา ไม่ได้มีความรู้เรื่องพวกนี้เลย จึงไปเรียนรู้จากเกษตรศาสตร์ เชิญอาจารย์ นักวิชาการมาสอนถ่ายทอดวิชา จากนั้นจึงมาเพาะเองทำเองจนได้ประสบการณ์และถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อในเรื่องของการเพาะเชื้อเห็ด การทำเนื้อเยื่อ ซึ่งขณะนี้ทำมาได้ประมาณ 5 ปีกว่าแล้ว ก็ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น” นายคณุตน์ กล่าว
สำหรับรายได้จากการปลูกเห็ดนับว่าสูงมาก โดย นายคณุตน์ อธิบายว่า จากการลองเพาะเห็ดต่างๆ นั้น เห็ดนางฟ้าถือเป็นเห็ดตลาดที่ทำรายได้สูงมาก ซึ่งจากเดิมเห็ดนางฟ้ากิโลกรัมและ 50 - 60 บาท ขณะนี้ก็กลายเป็นกิโลกรัมละ 120 บาท ส่วนเห็ดอื่นๆ กิโลกรัมนึงแพงมากเดี๋ยวนี้ก็ราคาถูกลง โดยผลิตภัณฑ์หลักของศูนย์ฯ คือ ก้อนเห็ด ซึ่งขายก้อนละ 10 บาท ได้กำไรก้อนละ 3 บาท โดยแต่ละเดือนผลิตได้ประมาณ 8,000 - 12,000 ก้อน ซึ่งหากผลิตได้ 10,000 ก้อน ก็กำไรอยู่ที่ประมาณ 20,000 กว่าบาท ปีหนึ่งก็ประมาณ 1.2 แสนบาท ซึ่งยังไม่รวมผลิตภัณฑ์อื่นอย่าง น้ำเห็ด และแหนมเห็ด ที่เราไม่ได้ผลิตเพื่อจำหน่าย แต่เป็นการผลิตตามออเดอร์อย่างเดียวตามงามสัมมนา โรงแรม สถานที่ราชการ
“จริงๆ แล้วสิ่งที่ทำกำไรมากที่สุด คือ น้ำเห็ด ขนาด 230 มิลลิลิตร ซึ่งขายขวดละ 15 บาท กำไรประมาณ 40% โดยแต่ละวันผลิตได้ประมาณ 900 ขวด ถ้าขายวันละ 500 ขวด สมมติได้วันละ 5,000 บาท ก็จะได้กำไรอยู่ที่ 2,000 บาท หรือกำไรประมาณ 60,000 บาทต่อเดือน ซึ่งหากหักค่าต่างๆ อีกประมาณ 50% ก็อยู่ที่เดือนละ 30,000 บาท อยู่ดี ปีหนึ่งก็ประมาณ 3.2 แสนบาท ซึ่งถือว่าไม่น้อยสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแค่ตามออเดอร์เท่านั้น” นายคณุตน์ กล่าว
นายคณุตน์ กล่าวว่า สำหรับน้ำเห็ดยังถือว่ามีค่าการตลาดที่แพงอยู่ เพราะสติกเกอร์แปะขวดอยู่ที่ประมาณ 2.80 บาท ซึ่งไม่คุ้ม โดยหลังจากได้ อย. จะปรับขนาดขวดใหม่เป็น 180 มิลลิลิตร เพราะขนาด 230 มิลลิลิตร ถือว่าใหญ่เกินไป โดยคนเรากินน้ำประมาณ 180 มิลลิลิตร ถือว่ากำลังอิ่ม และปรับเป็นสติกเกอร์ธรรมดาประมาณ 35 สตางค์เท่านั้น ซึ่งขณะนี้กำลังสั่งพิมพ์แล้ว ก็จะสร้างรายได้ได้มากขึ้น
สำหรับการปันผลนั้น นายคณุตน์ กล่าวว่า อย่างก้อนเห็ดขาย 10 บาทนั้น ก็จะเข้าชุมชนบ้านเรา 3 บาท ปันผลหุ้น 50 สตางค์ อีก 2.5 บาท เป็นค่าบริหารจัดการ ค่าสถานที่ กำลังคน น้ำไฟ คือ คนในชุมชนสามารถเลี้ยงตัวเองได้ แม้จะไม่ใช่เดือนละหมื่นสองหมื่น แต่ไม่ได้เป็นหนี้เพิ่ม ไม่ได้มีค่าใช้จายมากขึ้น เป็นการเดินตามเศรษฐกิจพอเพียง เพราะอย่างน้อยก็ลดต้นทุนค่ากับข้าว ถือเป็นรายได้ชนิดหนึ่ง รวมถึงรายได้จากใจจากการทำงาน ชุมชนมีความรักสามัคคี นอกจากนี้ ยังมีการนำเงินไปทำสาธารณประโยชน์ด้วย เช่น หลังคาห้องน้ำ โรงเรียน ทำขนมไปช่วยงานสาธารณะ เป็นต้น
นอกจากการสร้างรายได้เพิ่มในชุมชนตนเอง ยังมีการขยายไปสร้างรายได้ให้ชุมชนอื่นด้วย โดย นายคณุตน์ เล่าว่า เคยมีการถามว่าสมาชิก 29 คน จะไม่ได้รับเพิ่มแล้วหรือ ซึ่งจริงๆ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ก็คือ เรามีความพอเหมาะกับคนเท่านี้ หากเทียบกับการปลูกต้นไม้ ก็คือ จำนวนต้นไม้ที่พอดีกับกระถาง หากมากเกินไปก็จะแตก แต่เราต้องขยายโดยการไปสร้างกลุ่มใหม่ๆ แบบนี้เพิ่มขึ้น จึงเป็นความยั่งยืนอย่างแท้จริง กลายเป็นต้นไม้หลายกระถาง พาชุมชนให้เจริญได้ ซึ่งตอนนี้ก็มีการขยายกลุ่มมากมาย แบ่งเป็นในภูเก็ต 20 แห่ง พังงา 3 แห่ง ชุมชนหมู่บ้านอีก 10 กว่าแห่ง โรงเรียนอีก 20 กว่าแห่ง นักเรียนก็มาเรียนรู้ที่นี่ ปีที่แล้วก็พันกว่าคน สามารถสร้างรายได้อย่างมาก เพราะเพียงแค่การขายหน้าโรงเรียนช่วงก่อนเข้าเรียนและหลังเลิกเรียนก็แทบไม่พอขายแล้ว
“การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด เดิมทีเราไม่คิดที่จะขอ อย. เพราะมองว่าไม่มีความจำเป็น แต่หลังจากไปประกวดระดับประเทศ ผลกลับมาทำให้รู้ว่าถ้าอยากให้ชุมชนเกิด ไปไกลกว่านี้ ก็ต้องทำ อย. ซึ่งทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ก็แนะนำว่าให้ทำ เพราะจะเป็นผลดีต่อชุมชนเอง เพราะเมื่อเราตั้งเป้าจะส่งขายทั่วประเทศ หรือให้ต่างชาติมาซื้อกลับไป การมี อย. รองรับก็เหมือนเป็นการการันตีคุณภาพ สร้างแรงงานเพิ่มขึ้น ซึ่งตอบโจทย์ของการทำให้การทำงานในชุมชน การดูงานในชุมชน ความรักสามัคคี และสุดท้ายชุมชนเป็นเจ้าของชุมชนเรื่องการบริหารจัดการ ซึ่งเราเพิ่งได้ อย. ประมาณ 1 - 2 ปี และปีนี้เพิ่งได้มาตรฐาน Primary GMP” นายคณุตน์ กล่าว
นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า อย. ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการนำวัตถุดิบภายในประเทศมาผลิตเป็นอาหาร รวมถึงเพิ่มศักยภาพให้ประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนคิดค้นนวัตกรรมด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างโอกาสและรายได้ให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน สนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยศูนย์เรียนรู้การผลิตเห็ดอินทรีย์บ้านลิพอนฯ เป็นแหล่งผลิตก้อนเห็ดอินทรีย์ครบวงจร ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ โดยใช้นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่งผลให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถพึ่งพาตนเอง สร้างงาน สร้างรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน พร้อมทั้งยกระดับให้เห็ดอินทรีย์เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ต ต่อยอดสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่น แหนมเห็ด วุ้นเห็ด น้ำเห็ดสกัด และ ไวน์เห็ด
หมู่บ้านลิพอนหัวหาร - บ่อแร่ จึงถือเป็นอีกหนึ่งชุมชนต้นแบบของการเดินตามรอยเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง