โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
จะเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ ชาวสังคมออนไลน์ก็พร้อมขยายประเด็นให้ “ดรามา” ยิ่งขึ้นได้เสมอ จนบางเรื่องกลายเป็น “วาระ” ระดับประเทศเลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนั้นสาเหตุหนึ่งเพราะแต่ละคนต่างซ่อนอยู่ภายใต้ “หน้ากากคีย์บอร์ด” ที่มีอิสระที่จะพิมพ์แสดงความคิดเห็น หรือแสดงอารมณ์ลงไปอย่างไรก็ได้ จนโลกเสมือนเหล่านี้เต็มไปด้วย “ข้อความ” ที่แสดงถึงความรุนแรง ความเกลียดชัง ไม่รับฟังซึ่งกันและกัน แต่ที่แปลกคือ คนไทยก็พร้อมที่จะเสพดรามา และรับประทานเผือกกันอย่างเอร็ดอร่อยในทุกๆ วัน
อย่างดรามาเรื่องการเปิด “หน้ากากทุเรียน” ในรายการ The Mask Singer ถือเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรวดเร็วของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ที่ช่วงแรกก็ชื่นชม พอสักพักก็ต่อว่า หรืออย่างกรณี “ห้ามนั่งแค็บ” ก็เป็นอีกตัวอย่างของการแสดงความคิดเห็นที่แสดงออกถึงอารมณ์และความรุนแรงผ่านหน้าจอกันอย่างจริงจัง จึงไม่แปลกที่ “เพจ” จำนวนหนึ่ง ที่นำเสนอเรื่องราวดรามา สื่อด้วยถ้อยคำรุนแรง จะได้รับความสนใจอย่างท่วมท้น และมีคนกดติดตามจำนวนมาก
แล้วทำไม “คนไทย” ถึงชอบเสพดรามา
ประเด็นนี้ทีมข่าวคุณภาพชีวิต MGROnline มีโอกาสได้พูดคุยกับจิตแพทย์ระดับแถวหน้าของประเทศไทย โดย นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อธิบายว่า วัฒนธรรมของแต่ละสังคมจะมีความชอบหรือไม่ชอบที่ต่างกัน บางสังคมชอบความเป็นอิสระในการคิด บางสังคมชอบเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งสังคมไทยเองก็มีชื่อมานานแล้วในเรื่องของสังคมที่ชอบในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก อย่างสมัยก่อนที่สะท้อนเห็นเด่นชัดที่สุด ก็คือ “ละครทีวี” ในการเสพอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ จากละครเพราะเหมือนเราได้ระบาย ได้ชดเชยอารมณ์บางอย่างที่เรามี แต่คราวนี้เมื่อลักษณะของสังคมเปลี่ยนไป รูปแบบเปลี่ยนเป็นสังคมออนไลน์มากขึ้น คนก็เลยมาแสดงออกเรื่องของความรู้สึกกันในสังคมออนไลน์นี้
“ส่วนสาเหตุที่แต่ละคนแสดงความคิดเห็นรุนแรง แสดงอารมณ์ความรู้สึกเกลียดชังใส่กันในสังคมออนไลน์อย่าง่ายดาย ตามหลักจิตวิทยาแล้วนั้น พบว่า การส่งสารไม่เหมาะสมออกไปนั้น เพราะนึกว่าจะไม่มีใครเห็น จึงทำให้เวลาอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หน้าโซเชียลมีเดีย จึงมักจะส่งสารที่รุนแรงกว่าธรรมดาออกไป เพราะนึกว่าจะไม่มีใครเห็น แต่จริงๆ แล้วมีคนเห็นเยอะมาก” นพ.ยงยุทธ กล่าว
การที่มีผู้คนเห็นข้อความที่แสดงออกถึงความรุนแรง อารมณ์ความรู้สึกเกลียดชังมากๆ ถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะ นพ.ยงยุทธ ชี้ชัดว่า ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้เสพดรามาด้วย
“การเสพดรามา การเสพอารมณ์ความรู้สึก โดยเฉพาะความรุนแรงต่างๆ ในสังคมออนไลน์ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างแน่นอน ที่แน่ชัดคือ อ่านแล้วเครียดขึ้น นอกจากนี้การใส่อารมณ์ความรู้สึกเกลียดชังลงไปในสื่อออนไลน์มากๆ และส่งต่อออกไปมากๆ ก็จะมีคนรับสารเหล่านี้ซ้ำๆ มากขึ้นเรื่อยๆ มีผลต่อจิตใจแน่นอน โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงหรือมีความล่อแหลม เช่น มีความเปราะบางด้านจิตใจอยู่แล้ว อาจเสียสุขภาพด้วยเหตุต่างๆ อาจมีความเครียดมากขึ้น แนวโน้มอารมณ์รุนแรงมากขึ้น และนำไปสู่ความรุนแรงทางกายภาพได้ ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่คนในสังคมต้องช่วยกันแก้ไข” นพ.ยงยุทธ กล่าว
อาจเรียกได้ว่า การเสพดรามาในปัจจุบันเท่ากับการที่เราไปรับอารมณ์ความรุนแรงจากผู้อื่นมา และหากจิตใจไม่มีความสตรองพอที่จะต่อสู้กับอารมณ์ความรู้สึกด้านลบเหล่านี้ เราก็จะเป็นผู้แพ้และกลายเป็นผู้ที่นิยมความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่บ่งบอกว่าเราเริ่มเสพติดความรุนแรงเข้าแล้วนั้น นพ.ยงยุทธ บอกว่า การรับความรุนแรงมาแล้วไปกระทำความรุนแรงต่อคนอื่นต่อนั้น จะมีระดับอยู่ โดยจะเริ่มไต่ระดับจากน้อยไปหามาก คือเริ่มจากในจิตใจก่อน แล้วค่อยแสดงออกมาในรูปแบบของวาจา การสื่อสารในโซเชียลมีเดียที่เริ่มรุนแรงขึ้น มีการดูหมิ่นเหยียดหยาม ด่าทอกัน เร่งเร้าอารมณ์โกรธกันก่อน และสุดท้ายก็จะเป็นการกระทำ ซึ่งอาจนำไปสู่การของการทำร้ายกันได้
ส่วนความเข้าใจที่ว่าเสพดรามาหรือความรุนแรงแล้วรู้สึกว่าตัวเองหายเครียดนั้น นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า เป็นความเข้าใจที่ผิด ซึ่งการเสพดรามาไม่ใช่วิธีการคลายเครียดทางสุขภาพจิต ไม่ได้เป็นการลดความเครียดที่ดี แต่ที่ดูเหมือนเราหายเครียดนั้น แท้จริงแล้วเป็นการเบี่ยงเบนให้เรามีอารมณ์อะไรต่างๆ เข้ามาแทนที่ เช่น ความสะใจ เป็นต้น แต่ความเครียดจริงๆ ไม่ได้ลดลงเลยแม้แต่น้อย ซึ่งการจะลดความเครียดได้นั้น ก็อย่างที่ทราบคือต้องอาศัยการออกกำลังกาย การฝึกหายใจ คลายเครียด ฝึกสมาธิ ฝึกโยคะ เป็นต้น จึงจะเป็นการลดความเครียดที่แท้จริง นอกจากนี้ หากมีปัญหาอะไรก็สามารถพูดคุยกันในครอบครัวก็จะช่วยบรรเทาปัญหาหรือความเครียดลงไปได้ หากมีปัญหามากก็อาจเข้ารับบริการทางการแพทย์ ซึ่งก็จะสามารถช่วยบรรเทาความเครียดลงไปได้
ส่วนการแก้ปัญหาการเสพดรามา หรือการแสดงออกอย่างรุนแรงในสื่อสังคมออนไลน์ นพ.ยงยุทธ แนะนำว่า ก่อนอื่นต้องเริ่มที่จากตัวเองก่อน อาจจะลดการเสพสิ่งเหล่านี้ลง หากจะแสดงความคิดเห็นอะไรต่างๆ ก็ขอให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ อย่าไปเติมความรุนแรงลงไปในสื่อ สรุปง่ายๆ คือ ไม่ริเริ่ม และไม่ส่งต่อความรุนแรงออกไป นอกจากนี้ เมื่อเห็นคนใกล้ตัวที่แสดงออกด้วยความรุนแรงในสื่อสังคมออนไลน์ก็อาจช่วยกันเตือน ก็จะช่วยให้คนใช้สื่อสังคมออนไลน์ใช้กันอย่างมีสติมากขึ้น
“ส่วนในระดับนโยบายอย่างหน่วยงานหรือบุคลากรทางด้านมนุษย์ เช่น กระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น ก็จะต้องเข้ามาช่วยในเรื่องของการลดวัฒนธรรมการเสพดรามาหรือเสพความรุนแรงลงไป เพิ่มการคิดวิเคราะห์ให้ประชาชนรวมไปถึงเยาวชนให้เพิ่มมากขึ้น เน้นเรื่องการตักเตือนกันมากขึ้น ไม่ส่งต่อความรุนแรงออกไป เหล่านี้ถือเป็นการช่วยออกแอคชันกันคนละเล็กคนละน้อย เรียกได้ว่ามีความเป็น “พลเมืองสื่อ” ก็จะทำให้ปัญหาพวกนี้ไม่มากไปกว่านี้หรือลดน้อยลง” นพ.ยงยุทธ ระบุ
สำหรับการป้องกันจิตใจตัวเองต่อความรุนแรงหรือการเสพดรามานั้น นพ.ยงยุทธ ย้ำชัดว่า การมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เครียดก็ต้องเริ่มจากออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงการมีวิธีการคลายเครียดที่ดี เช่น การฝึกหายใจคลายเครียด ฝึกสมาธิ โยคะ ชี่กง พวกนี้ถือเป็นพื้นฐานที่ดี ทำให้สามารถกลายเป็นเกราะช่วยเรารับมือกับอารมณ์ด้านลบและลดความเครียดในตัวของเราได้
คราวนี้ใครที่ยังชอบรับประทาน “เผือก” หรือยังอยากเสพดรามาอยู่ อาจจะต้องยึดคาถาของ “แม่ช่า” มาช่า วัฒนพานิช อดีตเมนเทอร์แห่ง เดอะเฟส ไทยแลนด์ ซีซั่น 3 ที่ว่า “อย่าอินเกิน!!” จะได้แฮฟสติ ไม่น็อตหลุดไปผสมโรงคอมเมนต์แบบแรงๆ ร่วมกับคนอื่น
จะเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ ชาวสังคมออนไลน์ก็พร้อมขยายประเด็นให้ “ดรามา” ยิ่งขึ้นได้เสมอ จนบางเรื่องกลายเป็น “วาระ” ระดับประเทศเลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนั้นสาเหตุหนึ่งเพราะแต่ละคนต่างซ่อนอยู่ภายใต้ “หน้ากากคีย์บอร์ด” ที่มีอิสระที่จะพิมพ์แสดงความคิดเห็น หรือแสดงอารมณ์ลงไปอย่างไรก็ได้ จนโลกเสมือนเหล่านี้เต็มไปด้วย “ข้อความ” ที่แสดงถึงความรุนแรง ความเกลียดชัง ไม่รับฟังซึ่งกันและกัน แต่ที่แปลกคือ คนไทยก็พร้อมที่จะเสพดรามา และรับประทานเผือกกันอย่างเอร็ดอร่อยในทุกๆ วัน
อย่างดรามาเรื่องการเปิด “หน้ากากทุเรียน” ในรายการ The Mask Singer ถือเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์อย่างรวดเร็วของผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ที่ช่วงแรกก็ชื่นชม พอสักพักก็ต่อว่า หรืออย่างกรณี “ห้ามนั่งแค็บ” ก็เป็นอีกตัวอย่างของการแสดงความคิดเห็นที่แสดงออกถึงอารมณ์และความรุนแรงผ่านหน้าจอกันอย่างจริงจัง จึงไม่แปลกที่ “เพจ” จำนวนหนึ่ง ที่นำเสนอเรื่องราวดรามา สื่อด้วยถ้อยคำรุนแรง จะได้รับความสนใจอย่างท่วมท้น และมีคนกดติดตามจำนวนมาก
แล้วทำไม “คนไทย” ถึงชอบเสพดรามา
ประเด็นนี้ทีมข่าวคุณภาพชีวิต MGROnline มีโอกาสได้พูดคุยกับจิตแพทย์ระดับแถวหน้าของประเทศไทย โดย นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ หัวหน้ากลุ่มที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อธิบายว่า วัฒนธรรมของแต่ละสังคมจะมีความชอบหรือไม่ชอบที่ต่างกัน บางสังคมชอบความเป็นอิสระในการคิด บางสังคมชอบเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งสังคมไทยเองก็มีชื่อมานานแล้วในเรื่องของสังคมที่ชอบในเรื่องของอารมณ์ความรู้สึก อย่างสมัยก่อนที่สะท้อนเห็นเด่นชัดที่สุด ก็คือ “ละครทีวี” ในการเสพอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ จากละครเพราะเหมือนเราได้ระบาย ได้ชดเชยอารมณ์บางอย่างที่เรามี แต่คราวนี้เมื่อลักษณะของสังคมเปลี่ยนไป รูปแบบเปลี่ยนเป็นสังคมออนไลน์มากขึ้น คนก็เลยมาแสดงออกเรื่องของความรู้สึกกันในสังคมออนไลน์นี้
“ส่วนสาเหตุที่แต่ละคนแสดงความคิดเห็นรุนแรง แสดงอารมณ์ความรู้สึกเกลียดชังใส่กันในสังคมออนไลน์อย่าง่ายดาย ตามหลักจิตวิทยาแล้วนั้น พบว่า การส่งสารไม่เหมาะสมออกไปนั้น เพราะนึกว่าจะไม่มีใครเห็น จึงทำให้เวลาอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ หน้าโซเชียลมีเดีย จึงมักจะส่งสารที่รุนแรงกว่าธรรมดาออกไป เพราะนึกว่าจะไม่มีใครเห็น แต่จริงๆ แล้วมีคนเห็นเยอะมาก” นพ.ยงยุทธ กล่าว
การที่มีผู้คนเห็นข้อความที่แสดงออกถึงความรุนแรง อารมณ์ความรู้สึกเกลียดชังมากๆ ถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะ นพ.ยงยุทธ ชี้ชัดว่า ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้เสพดรามาด้วย
“การเสพดรามา การเสพอารมณ์ความรู้สึก โดยเฉพาะความรุนแรงต่างๆ ในสังคมออนไลน์ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตอย่างแน่นอน ที่แน่ชัดคือ อ่านแล้วเครียดขึ้น นอกจากนี้การใส่อารมณ์ความรู้สึกเกลียดชังลงไปในสื่อออนไลน์มากๆ และส่งต่อออกไปมากๆ ก็จะมีคนรับสารเหล่านี้ซ้ำๆ มากขึ้นเรื่อยๆ มีผลต่อจิตใจแน่นอน โดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงหรือมีความล่อแหลม เช่น มีความเปราะบางด้านจิตใจอยู่แล้ว อาจเสียสุขภาพด้วยเหตุต่างๆ อาจมีความเครียดมากขึ้น แนวโน้มอารมณ์รุนแรงมากขึ้น และนำไปสู่ความรุนแรงทางกายภาพได้ ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่คนในสังคมต้องช่วยกันแก้ไข” นพ.ยงยุทธ กล่าว
อาจเรียกได้ว่า การเสพดรามาในปัจจุบันเท่ากับการที่เราไปรับอารมณ์ความรุนแรงจากผู้อื่นมา และหากจิตใจไม่มีความสตรองพอที่จะต่อสู้กับอารมณ์ความรู้สึกด้านลบเหล่านี้ เราก็จะเป็นผู้แพ้และกลายเป็นผู้ที่นิยมความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่บ่งบอกว่าเราเริ่มเสพติดความรุนแรงเข้าแล้วนั้น นพ.ยงยุทธ บอกว่า การรับความรุนแรงมาแล้วไปกระทำความรุนแรงต่อคนอื่นต่อนั้น จะมีระดับอยู่ โดยจะเริ่มไต่ระดับจากน้อยไปหามาก คือเริ่มจากในจิตใจก่อน แล้วค่อยแสดงออกมาในรูปแบบของวาจา การสื่อสารในโซเชียลมีเดียที่เริ่มรุนแรงขึ้น มีการดูหมิ่นเหยียดหยาม ด่าทอกัน เร่งเร้าอารมณ์โกรธกันก่อน และสุดท้ายก็จะเป็นการกระทำ ซึ่งอาจนำไปสู่การของการทำร้ายกันได้
ส่วนความเข้าใจที่ว่าเสพดรามาหรือความรุนแรงแล้วรู้สึกว่าตัวเองหายเครียดนั้น นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า เป็นความเข้าใจที่ผิด ซึ่งการเสพดรามาไม่ใช่วิธีการคลายเครียดทางสุขภาพจิต ไม่ได้เป็นการลดความเครียดที่ดี แต่ที่ดูเหมือนเราหายเครียดนั้น แท้จริงแล้วเป็นการเบี่ยงเบนให้เรามีอารมณ์อะไรต่างๆ เข้ามาแทนที่ เช่น ความสะใจ เป็นต้น แต่ความเครียดจริงๆ ไม่ได้ลดลงเลยแม้แต่น้อย ซึ่งการจะลดความเครียดได้นั้น ก็อย่างที่ทราบคือต้องอาศัยการออกกำลังกาย การฝึกหายใจ คลายเครียด ฝึกสมาธิ ฝึกโยคะ เป็นต้น จึงจะเป็นการลดความเครียดที่แท้จริง นอกจากนี้ หากมีปัญหาอะไรก็สามารถพูดคุยกันในครอบครัวก็จะช่วยบรรเทาปัญหาหรือความเครียดลงไปได้ หากมีปัญหามากก็อาจเข้ารับบริการทางการแพทย์ ซึ่งก็จะสามารถช่วยบรรเทาความเครียดลงไปได้
ส่วนการแก้ปัญหาการเสพดรามา หรือการแสดงออกอย่างรุนแรงในสื่อสังคมออนไลน์ นพ.ยงยุทธ แนะนำว่า ก่อนอื่นต้องเริ่มที่จากตัวเองก่อน อาจจะลดการเสพสิ่งเหล่านี้ลง หากจะแสดงความคิดเห็นอะไรต่างๆ ก็ขอให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ อย่าไปเติมความรุนแรงลงไปในสื่อ สรุปง่ายๆ คือ ไม่ริเริ่ม และไม่ส่งต่อความรุนแรงออกไป นอกจากนี้ เมื่อเห็นคนใกล้ตัวที่แสดงออกด้วยความรุนแรงในสื่อสังคมออนไลน์ก็อาจช่วยกันเตือน ก็จะช่วยให้คนใช้สื่อสังคมออนไลน์ใช้กันอย่างมีสติมากขึ้น
“ส่วนในระดับนโยบายอย่างหน่วยงานหรือบุคลากรทางด้านมนุษย์ เช่น กระทรวงสาธารณสุข หรือกระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น ก็จะต้องเข้ามาช่วยในเรื่องของการลดวัฒนธรรมการเสพดรามาหรือเสพความรุนแรงลงไป เพิ่มการคิดวิเคราะห์ให้ประชาชนรวมไปถึงเยาวชนให้เพิ่มมากขึ้น เน้นเรื่องการตักเตือนกันมากขึ้น ไม่ส่งต่อความรุนแรงออกไป เหล่านี้ถือเป็นการช่วยออกแอคชันกันคนละเล็กคนละน้อย เรียกได้ว่ามีความเป็น “พลเมืองสื่อ” ก็จะทำให้ปัญหาพวกนี้ไม่มากไปกว่านี้หรือลดน้อยลง” นพ.ยงยุทธ ระบุ
สำหรับการป้องกันจิตใจตัวเองต่อความรุนแรงหรือการเสพดรามานั้น นพ.ยงยุทธ ย้ำชัดว่า การมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เครียดก็ต้องเริ่มจากออกกำลังกายเป็นประจำ รวมถึงการมีวิธีการคลายเครียดที่ดี เช่น การฝึกหายใจคลายเครียด ฝึกสมาธิ โยคะ ชี่กง พวกนี้ถือเป็นพื้นฐานที่ดี ทำให้สามารถกลายเป็นเกราะช่วยเรารับมือกับอารมณ์ด้านลบและลดความเครียดในตัวของเราได้
คราวนี้ใครที่ยังชอบรับประทาน “เผือก” หรือยังอยากเสพดรามาอยู่ อาจจะต้องยึดคาถาของ “แม่ช่า” มาช่า วัฒนพานิช อดีตเมนเทอร์แห่ง เดอะเฟส ไทยแลนด์ ซีซั่น 3 ที่ว่า “อย่าอินเกิน!!” จะได้แฮฟสติ ไม่น็อตหลุดไปผสมโรงคอมเมนต์แบบแรงๆ ร่วมกับคนอื่น