คนที่เข้าสู่วัย 60 ปีนั้นเป็นวัยแห่งการเกษียณจากงานอีกทั้งเป็นช่วงวัยที่ต้องทำใจยอมรับความจริงว่า...แก่แล้วนะ ดังนั้นการดูแลสุขภาพกายและใจให้สดใสแข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากของคนในช่วงวัยนี้ เรามาดูกันว่าคนในวัย 60 นั้นควรปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้มีสุขอนามัยที่ดีทั้งกายและใจ ดังนี้
1. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อสร้างสีสันให้ชีวิต โดยเรียนรู้สิ่งใหม่ เช่น ไปเที่ยวในสถานที่ใหม่ๆที่ไม่เคยไป คบเพื่อนใหม่ๆ เรียนรู้การเล่นเครื่องดนตรีหรือเรียนรู้การพูดภาษาต่างๆ ประสบการณ์ใหม่ๆเหล่านี้ จะช่วยให้สมองของเรามีการพัฒนาเพื่อไม่เสี่ยงกับการเป็นอัลไซเมอร์
2. ควบคุมและจัดการดูแลเอาใจใส่สุขภาพ โดยรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพหรือออกกำลังกายโดยใช้เครื่องจับเวลาในแต่ละวัน เช็กดูว่าร่างกายต้องการแคลอรีปริมาณเท่าใดในแต่ละวัน และเราควรออกกำลังกายเท่าใดในแต่ละวัน ใช้โทรศัพท์มือถือให้เป็นประโยชน์ในการควบคุมการออกกำลังกายและเผาผลาญแคลอรี
3. ดูแลไขข้อต่างๆ ในร่างกาย การมีวัยที่สูงอายุขึ้นไม่ได้หมายความว่าเราต้องเลิกการวิ่งออกกำลังกายในตอนเช้า หลายคนคิดว่าการออกกำลังกายโดยการวิ่งอาจจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมสภาพลง แต่งานวิจัยได้แนะนำว่าการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง จะช่วยทำให้ข้อต่อและกล้ามเนื้อนั้นมีกำลังแข็งแรงมากขึ้น อีกทั้งช่วยให้การทำงานของข้อต่อต่างๆทำงานได้อย่างสมดุลย์อีกด้วย ส่วนผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องไขข้อ ควรใช้วิธีการเดินหรือขี่จักรยานแทน การวิ่ง
4. เข้าสังคม การใช้เวลากับเพื่อนและครอบครัวจะช่วยให้เรารู้สึกสดชื่นไม่ว้าเหว่ ไม่มีความเสี่ยงในเรื่องของการเป็นโรคซึมเศร้า นอกจากนี้ การมีจิตอาสาเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือชุมชน จะช่วยทำให้เราไม่หมกมุ่นกับตัวเองมากเกินไปและช่วยลดปัญหาโรคหัวใจอีกทั้งยังเป็นการช่วยฝึกสมองอีกด้วย
5. เติมเต็มหัวใจที่ว่างเปล่า ในช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยที่ลูกหลานออกไปมีครอบครัวจึงทำให้คนวัย 60 รู้สึกเหงาว้าเหว่ได้ง่าย ดังนั้น การมีสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน เช่น แมวหรือสุนัขนั้นจะช่วยคลายเหงาได้ดี อีกทั้งมีงานวิจัยชี้ชัดว่าแมวและสุนัขจะช่วยทำให้คอเลสเตอรอลในร่างกายต่ำลง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ เราไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดการเลี้ยงสัตว์จึงดูเหมือนว่าจะช่วยได้แต่อย่างน้อยการพาสัตว์เลี้ยงไปเดินเล่นนอกบ้านก็จะเป็นการออกกำลังกายที่ดีในแต่ละวัน
6. ลดอาหารประเภทโซเดียม การรับประทานโซเดียมมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันสูง ดังนั้นเราควรจะตัดหรือลดอาหารที่มีรสเค็มซึ่งมีโซเดียมอยู่มาก เราควรรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น กล้วยเพราะมีสารโปแตสเซียมซึ่งจะช่วยลดโซเดียมในร่างกายและยังช่วยทำให้ความดันโลหิตเป็นปกติด้วย
7. ลดความเสี่ยงของผู้เป็นโรคความจำเสื่อม โดยการฝึกสมองให้ฉลาดในการเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในวัยนี้มักมีความเสี่ยงในเรื่องของความจำเสื่อม ดังนั้น การออกกำลังกาย เช่น การเดินประมาณ 30 นาที ขี่จักรยาน หรือทำสวนจะช่วยทำให้เส้นเลือดไหลเวียนได้ดีซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้อย่างดี ซึ่งช่วยให้เซลล์ต่างๆ ขยายตัวมากขึ้น
8. รับประทานไขมันที่มีประโยชน์ เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า มีไขมันที่ก่อให้เกิดกรดอิ่มตัวสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพและก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจโรคไขมันที่อุดตัน เส้นเลือดในสมอง นอกจากนี้ การกินอาหารที่มีไขมันมากเกินไปยังทำให้ขาดสมาธิและมีความจำที่ต่ำลง ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงอาหารมันๆ ต่างๆ อีกทั้งเลือกรับประทานอาหารประเภทไขมันปลา ไขมันจากพืช ถั่วต่างๆแทนเพราะว่าเป็นไขมันดีที่มีประโยชน์ทั้งต่อสมองและหัวใจ
9. ลดอาหารประเภทโซเดียม การรับประทานโซเดียมมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันสูง ดังนั้นเราควรจะตัดหรือลดอาหารที่มีรสเค็มซึ่งมีโซเดียมอยู่มาก เราควรรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น กล้วยเพราะมีสารโปแตสเซียมซึ่งจะช่วยลดโซเดียมในร่างกายและทำให้ความดันโลหิตต่ำลงด้วย
10. ลดความเสี่ยงของผู้เป็นโรคความจำเสื่อม โดยการฝึกสมองให้ฉลาดในการเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ในวัยนี้มักมีความเสี่ยงในเรื่องของความจำเสื่อม ดังนั้นการออกกำลังกายเช่นการเดินประมาณ 30 นาที ขี่จักรยานหรือทำสวนจะช่วยทำให้เส้นเลือดไหลเวียนได้ดีซึ่งทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้อย่างดี ซึ่งช่วยให้เซลล์ต่างๆขยายตัวมากขึ้น
อย่าทำให้ชีวิตวัย 60 ปี เป็นช่วงวัยที่ไร้คุณค่า แต่ให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ที่จะทำให้มีจิตใจเพลิดเพลินไม่ซึมเศร้าเหงาหงอย อีกทั้งฝึกตัวเองให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและกินอาหารที่มีประโยชน์เพื่อที่จะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ทำให้เรามีชีวิตอยู่อย่างยืนยาวเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลานไปอีกนานแสนนาน