xs
xsm
sm
md
lg

รวมพลังหน่วยงานรัฐและท้องถิ่น หยุด! มหันตภัยจาก “ยาฆ่าหญ้า”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


รศ.ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลายภาคส่วนได้มอบสิ่งดีดี ให้คนไทยปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดวัชพืช หรือ ยาฆ่าหญ้า
“นายกเทศมนตรีเมืองพัทลุงที่ประกาศหยุดฉีดสารเคมีกำจัดวัชพืชในเขตเทศบาล โดยปัจจุบันได้หันมาใช้การจ้างแรงงานแทน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมต่อประชาชนในเขตเทศบาล”
“แขวงการทางพัทลุงไม่มีนโยบายในการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชในเขตทางหลวงแต่ประการใด โดยได้กำชับมิให้เจ้าหน้าที่ฉีดยาฆ่าหญ้าโดยเด็ดขาด”
“ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย ตัวแทนจากกรมวิชาการเกษตร กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กรมโรงงานอุตสาหกรรม และนักวิชาการด้านสุขภาพ ได้เสนอให้มีมาตรการควบคุมการใช้ยาฆ่าหญ้าอย่างเข้มงวดตั้งแต่การกำหนดให้ยาฆ่าหญ้าบางชนิด ให้เป็นสารเคมีอันตรายประเภทที่สี่ (ห้ามนำเข้า ห้ามใช้ ห้ามจำหน่าย) ไปจนถึงควบคุมการใช้อย่างเข้มงวด เช่น ห้ามใช้ในพื้นที่สูงพื้นที่ต้นน้ำ แม่น้ำลำคลอง แหล่งน้ำ พื้นที่ใกล้เคียง พื้นที่สาธารณะ และเขตชุมชน”
นับว่าเป็นการตัดสินใจเชิงนโยบายที่น่ายกย่อง แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างจริงใจ
เพราะยาฆ่าหญ้า มีพิษสูงมาก เป็นสาเหตุของโรคหลายโรค เช่น โรคมะเร็งหลายชนิด โรคไตวาย สมองเสื่อม สติปัญญาด้อยลง โรคเบาหวาน ผิวหนังลอกไหม้ ผิวหนังแข็ง เล็บหลุด รบกวนการทำงานต่อมไร้ท่อ อวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เป็นหมัน และทำให้เด็กเกิดมาพิการ (http://bit.ly/2nQMzX6และhttp://bit.ly/2nOjhJeและhttp://bit.ly/1IOcErd)
การโปรยยาฆ่าหญ้าเกือบ 20 ล้านแกลลอน ในช่วงสงครามที่ประเทศเวียดนามเมื่อ 50 ปีก่อน ส่งผลให้เด็กบริสุทธิ์ ลูกของคนเวียตนามและทหารผ่านศึกอเมริกัน เกิดมาเป็นมะเร็งและมีความพิการของอวัยวะต่างๆ เป็นจำนวนมากและเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน จนองค์การทหารผ่านศึกของอเมริกาต้องตั้งงบประมาณชดเชยให้รวมแล้วมากกว่า 47 ล้านเหรียญ(http://bit.ly/2n2W55cและhttp://bit.ly/2nUgFJXและhttp://bit.ly/2o4n4yZ)
ประเทศไทยนำเข้า ยาฆ่าหญ้ามาโปรยว่านใส่แผ่นดินเพิ่มสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวางจนทำให้แผ่นดินไทยเป็นเสมือน “แผ่นดินอาบสารพิษ”

สถิติการนำเข้ายาฆ่าหญ้าของไทย ปี พ.ศ. 2550 - 2559 (กิโลกรัม)
ที่มา: http://bit.ly/2nUbedT
จึงต้องขอชื่นชมหน่วยงานภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่หันมาดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง
กำลังโหลดความคิดเห็น