xs
xsm
sm
md
lg

เปิดไกด์ไลน์การใช้ “โซเชียลมีเดีย” บุคลากรด้านสุขภาพ วิธีให้คำปรึกษา “ผู้ป่วย” ผ่านออนไลน์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


คลอดแล้ว! ไกด์ไลน์การใช้โซเชียลมีเดีย “บุคลากรทางการแพทย์” ครอบคลุมเว็บบอร์ด เว็บฝากข้อมูล บล็อก เกมออนไลน์ แนะยึดหลักการ “คิดก่อนโพสต์” วางตัวให้เหมาะสมกับวิชาชีพทั้งในเวลา และนอกเวลางาน ไม่ควรโพสต์ภาพวาบหวิว อวดเรือนร่าง ดื่มเหล้าเมายา ย้ำเช็กก่อนแชร์ ไม่โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ พร้อมแนะนำวิธีให้คำปรึกษา “ผู้ป่วย” ผ่านออนไลน์

ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาจะพบเห็นข่าวการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของ “บุคลากรทางการแพทย์” ที่อาจละเมิดสิทธิผู้ป่วย หรือมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่เหมาะสม เช่น การถ่ายเซลฟีของแพทย์ในห้องผ่าตัดโดยเห็นหน้าผู้ป่วย การถ่ายภาพในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น เรียกได้ว่า การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรทางการแพทย์ยังไม่มีบรรทัดฐานที่ชัดเจนว่าอย่างไรจึงจะเหมาะสม หรือไม่เหมาะสม

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จึงจัดทำแนวทางปฏิบัติการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของบุคลากรทางการแพทย์ขึ้น หรือที่เรียกว่า “ไกด์ไลน์” โดยมี นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้จัดทำร่างดังกล่าว โดยมีการรวบรวมข้อมูลจากต่างประเทศ รวมถึงนำเคสที่เคยเกิดขึ้นต่างๆ มาเป็นต้นแบบในการร่างไกด์ไลน์ขึ้น โดยเมื่อร่างเสร็จแล้วจะมีการทำประชาพิจารณ์ พร้อมเสนอไปยังสภาวิชาชีพด้านสาธารณสุขในการให้ความเห็น จากนั้นจึงจะประกาศใช้โดยทั่วกัน

ล่าสุด เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2560 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้มีการประกาศไกด์ไลน์ดังกล่าวออกมาใช้แล้ว คือ ประกาศคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559 ลงนามโดย พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 2559

โดยประกาศดังกล่าวระบุว่า “ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 บัญญัติให้ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลเป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้นโดยตรงหรือมีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้เล็งเห็นความสำคัญในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ เนื่องจากปัจจุบันมีการนำสื่อสังคมออนไลน์ (social media) มาใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในเรื่องการทำงานและเรื่องการดำเนินชีวิต หากมีการใช้ไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดปัญหาในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลด้านสุขภาพของผู้รับบริการสาธารณสุข จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานด้านสุขภาพ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กว้างขวางมากขึ้น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 (10) แห่ง พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2559 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจึงประกาศแนวทางปฏิบัติในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ พ.ศ. 2559 ตามท้ายประกาศนี้เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป”

“ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพ” หมายถึงใคร?

ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพในที่นี้ หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และผู้ประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน รวมไปถึงผูใหบริการทางสุขภาพและบุคลากรอื่นที่ทํางานในระบบสุขภาพ ไมวาจะเปนงานทางคลินิก หรืองานดานสาธารณสุข ทั้งเชิงรับและเชิงรุก ตลอดจนผูที่ทํางานเกี่ยวของกับขอมูลสารสนเทศสุขภาพ หรือการสื่อสารสุขภาพ และนิสิต นักศึกษาที่กําลังศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวของกับสุขภาพด้วย

“สื่อสังคมออนไลน์” มีอะไรบ้าง

ตามแนวทางฉบับนี้จะแบ่งการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Media หรือ Social Network ออกเป็น 7 ประเภท คือ

1. กระดานข่าว (web board หรือ online forums)

2. เครือขายสังคมออนไลน (social networking services) เชน เฟซบุ๊ก กูเกิลพลัส Myspace LINE, WhatsApp Skype เป็นต้น

3. สื่อสําหรับการเผยแพรและแลกเปลี่ยนเนื้อหาที่เปนภาพนิ่ง เสียง วีดิทัศน หรือ แฟมขอมูล หรือใหบริการเนื้อที่เก็บขอมูลบนอินเทอรเน็ต เชน Flickr, Podcast, YouTube, Instagram, Dropbox, Google Drive

4. บล็อก (blogs) เชน WordPress, Blogger และไมโครบล็อก (microblogs)

5. เว็บไซตสําหรับการสรางและแกไขเนื้อหารวมกัน (wikis) เชน Wikipedia

6. เกมออนไลนหรือโลกเสมือนที่มีผูใชงานหลายคน (multi-user virtual environments) เชน World of Warcraft, Second Life

และ 7. สื่ออิเล็กทรอนิกสหรือสื่อออนไลนอื่นในลักษณะเดียวกันหรือคลายคลึงกันที่เปดใหใช งานเพื่อเปนชองทางสื่อสารระหวางบุคคล ระหวางกลุมบุคคล หรือกับสาธารณะ

เคารพกฎหมาย-จริยธรรม-ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

สำหรับหลักในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผูปฏิบัติงานดานสุขภาพ ไกด์ไลน์ดังกล่าวแนะนำให้ยึดหลัก 6 ด้านคือ

1. หลักการเคารพกฎหมาย ทั้งประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายวาดวยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร กฎหมายวาดวยสถานพยาบาล กฎหมายวาดวยสุขภาพแหงชาติ กฎหมายของวิชาชีพตางๆ ดานสุขภาพ เปนตน

2. หลักการเคารพในจริยธรรมแหงวิชาชีพ โดยในเรื่องของหลักจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ ให้ยึดหลักการ คือ หลักการป้องกันอันตรายต่อผู้อื่น เช่น พบการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพที่ละเมิดสิทธิผู้ป่วย หรืออาจเกิดอันตรายต่อชีวิต ให้แจ้งผู้กระทำให้หยุดการกระทำ แจ้งผู้ที่อาจได้รับอันตรายจากการกระทำนั้น เท่าที่ฐานะที่จะช่วยอย่งปลอดภัยตามกฎหมาย และใช้หลักการมุ่งประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

3. หลักการเคารพในกฎระเบียบและนโยบายขององคกร 4. หลักการเคารพศักดิ์ศรีความเปนมนุษยและการหลีกเลี่ยงการทําใหผูอื่นเสียหาย 5. หลักการรายงานพฤติกรรมที่ไมเหมาะสมในการใชงานสื่อสังคมออนไลน เช่น ผูปฏิบัติงานดานสุขภาพคนอื่น กระทำไม่เหมาะสม พึงแจงใหผูนั้นทราบเพื่อพิจารณาหยุดการกระทําดังกลาว และแกไขผลที่เกิดขึ้น และ 6.หลักเสรีภาพทางวิชาการ

เป็นมืออาชีพ-คิดก่อนโพสต์

นอกจากนี้ ในไกด์ไลน์ยังพูดถึงความเป็นมืออาชีพ (Profesionalism) ของผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพด้วย ซึ่งการจะใช้งานสื่อสังคมออนไลน์อย่างความเป็นมืออาชีพ ไกด์ไลน์ดังกล่าวแนะนำให้ยึดหลักการ 7 ข้อ คือ 1. หลักการรักษาความเปนวิชาชีพตลอดเวลา คือ พึงรักษาความเปนวิชาชีพดวยการวางตัวอยางเหมาะสม โดยไมจํากัดแตเพียงเฉพาะขณะปฏิบัติหนาที่เทานั้น เนื่องจากการกระทําสวนตัวนอกเวลาปฏิบัติหนาที่ยอมสงผลกระทบตอความนาเชื่อถือและความเปนวิชาชีพในการปฏิบัติหนาที่ด้วย

2. หลัก “คิดกอนโพสต” เนื่องจากเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน อาจคงอยูอยางถาวรตลอดไป และอาจถูกนําไปใช้โดยผูอื่นได จึงพึงมีสติ คํานึงถึงความเหมาะสม ขอดีขอเสีย และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเผยแพรเนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลนกอนทําการเผยแพรเนื้อหาดังกลาวเสมอ

งดภาพวาบหวิว อวดเรือนร่าง ดื่มเหล้าเมายา

3. หลักการมีพฤติกรรมออนไลนอยางเหมาะสม คือ พึงวางตัวอยางเหมาะสมในการใชงานสื่อสังคมออนไลน หลีกเลี่ยง การใชถอยคําที่ไมสุภาพหรือไมเหมาะสมกับกาลเทศะ การเลาเรื่องขําขันที่ลามกหรือไมสุภาพ การถายภาพ และเผยแพรภาพที่อาจแสดงถึงการขาดความเปนมืออาชีพหรือขาดความเปนวิชาชีพ เชน ภาพขณะดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล หรือใชยาเสพติด ภาพที่สอไปในทางเพศหรือลามกอนาจาร ภาพที่อุจาด หวาดเสียว หรือรุนแรง การแสดงตัวหรือทําใหเขาใจไดวาเหยียดหยามหรือดูหมิ่นคนบางกลุม เปนตน พึงระมัดระวัง ในการแสดงความเห็นในลักษณะบนระบายอารมณหรือการนินทาบนสื่อสังคมออนไลน

นอกจากนี้ ให้พึงระมัดระวังการแสดงความเห็นที่เปนขอถกเถียงหรือสุมเสี่ยงอยางมากในสังคม เชน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย การเมืองการปกครอง เปนตน และใชความระมัดระวังในการเผยแพรภาพหรือเนื้อหาในขณะปฏิบัติหนาที่ในวิชาชีพ ในลักษณะที่อาจถูกมองวาไมเหมาะสมหรือไมมีความเปนวิชาชีพได เชน ภาพถายในหอผูปวย หองคลอด หรือหองผาตัดขณะมีการดูแล หรือทําหัตถการกับผูปวยอยู ภาพถายขณะใหการดูแลรักษาผูบาดเจ็บหรือเสียชีวิต เปนตน โดยเฉพาะอยางยิ่งหากปรากฏตัวผูปวย หรือขอมูลของผูปวยอยูในภาพหรือเนื้อหาดังกลาวดวย ไมวาจะสามารถระบุตัวตนของผูปวยไดหรือไมก็ตาม

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว-รักษาระยะห่างเหมาะสม "ผู้ป่วย-ลูกน้อง-ลูกศิษย์"

4. หลักการตั้งคาความเปนสวนตัวอยางเหมาะสมและแยกเรื่องสวนตัวกับวิชาชีพ โดยแนะนำให้พึงศึกษาและตั้งคาความเปนสวนตัวของสื่อสังคมออนไลนที่ใชงานอยางเหมาะสม เพื่อจํากัดการเขาถึงเนื้อหาที่เปนเรื่องสวนตัวจากบุคคลภายนอก และอาจพิจารณาแยกบัญชีผูใชงาน หรือเนื้อหาที่เปนเรื่องสวนตัว กับเรื่องทางวิชาชีพออกจากกัน

5. หลักการตรวจสอบเนื้อหาออนไลนของตนอยูเสมอ โดยพึงตรวจสอบเนื้อหาหรือขอมูลของตนหรือเกี่ยวกับตนบนสื่อสังคม ออนไลนและบนอินเทอรเน็ตเปนระยะๆ เพื่อใหแนใจวาขอมูลเกี่ยวกับตนเองมีความถูกตอง และไมมีเนื้อหา ที่ไมเหมาะสมหรืออาจสรางผลเสียใหกับตนในภายหลังหลงเหลืออยู

6. หลักการกําหนดขอบเขตความเปนวิชาชีพกับผูปวย โดยพึงกําหนดขอบเขตความเปนวิชาชีพ และรักษาระยะหางกับผูปวย ใหเหมาะสม

7. หลักการกําหนดขอบเขตความเปนวิชาชีพกับผูอื่น ให้พึงกําหนดขอบเขตความเปนวิชาชีพ และรักษาระยะหางกับผูบังคับบัญชาผูใตบังคับบัญชา เพื่อนรวมงาน อาจารย นิสิตนักศึกษา หรือผูรับการฝกอบรม และบุคคลอื่นที่ไมใชผูปวยใหเหมาะสม และพึงตระหนักและเคารพในความเปนสวนตัวของผูอื่น ตลอดจนไมเปดเผยขอมูลสวนบุคคลที่เปนความลับของผูอื่น

คุมครองความเปนสวนตัวของผูปวย

การคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วยในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์นั้น ไกด์ไลน์ แนะนำว่า 1. ให้ยึดหลักหลักการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและการไมเปดเผยขอมูลสวนบุคคลของผูปวย โดยระมัดระวังไมใหการใชงานสื่อสังคมออนไลนสงผลกระทบสําคัญตอความมั่นคงปลอดภัยหรือละเมิด ความเปนสวนตัวของขอมูลผูปวย และไมใหผูอื่นลวงรูขอมูลผูปวยจากการใชงานสื่อสังคมออนไลน รวมถึงหลีกเลี่ยงการเปดเผยขอมูลสวนบุคคลของผูปวย เวนแต่จะไดรับความยินยอมจากผูปวยหรือผูแทนโดยชอบธรรม และแมจะไดรับความยินยอมแลว ก็ต้องพิจารณาขอดีขอเสียของการเปดเผยขอมูลสวนบุคคล

“กรณีที่ผูปฏิบัติงานดานสุขภาพ ประสงคจะเผยแพรเนื้อหาที่มีขอมูลเกี่ยวของกับผูปวย ในสื่อสังคมออนไลน เพื่อประโยชนตางๆ เชน การแลกเปลี่ยนเรียนรูระหวางผูปฏิบัติงานดานสุขภาพดวยกัน การแลกเปลี่ยนความเห็นทางวิชาการ โดยไมไดรับความยินยอมจากผูปวย ผูปฏิบัติงานดานสุขภาพพึงลบ (de-identify) ขอมูลระบุตัวตน (identifiers) ของผูปวยทั้งหมด และรายละเอียดอื่นที่อาจทําใหผูอื่นสามารถ ระบุตัวตนของผูปวยไดออกกอน ผูปฏิบัติงานดานสุขภาพ พึงระมัดระวังการเปดเผยขอมูลเกี่ยวกับผูปวย ที่แมไมไดมี การเปดเผยขอมูลสวนบุคคลในประการที่สามารถระบุตัวตนของผูปวยไดโดยตรง แตมีการระบุรายละเอียดมาก พอที่จะทําใหผูอื่นสามารถคาดเดา หรือระบุตัวตนของผูปวยในภายหลังได (re-identification) เชน แมไมไดมี การระบุชื่อหรือเลขประจําตัวผูปวย แตมีการเปดเผยสถานพยาบาล หอผูปวย และ/หรือ หมายเลขเตียง ที่ผูปวยนอนอยู” ไกด์ไลน์ ระบุ

2. หลักการใหความยินยอมโดยไดรับการบอกกลาว ในการขอความยินยอมจากผูปวยหรือผูแทนโดยชอบธรรม ผูปฏิบัติงานดานสุขภาพ พึงแจง ใหผูนั้นทราบวัตถุประสงค รูปแบบ ชองทาง และผลดีผลเสียของการเก็บรวบรวม ใช และเปดเผยขอมูลสวน บุคคลดังกลาวใหทราบและเขาใจอยางถองแท พรอมทั้งมีโอกาสซักถามกอนใหความยินยอม ทั้งนี้ ตองเปน ความยินยอมโดยสมัครใจอยางแทจริง

ไม่โฆษณา “ผลิตภัณฑ์สุขภาพ” - เปิดข้อมูลครบถ้วน

อีกสิ่งหนึ่งในการใช้โซเชียลมีเดียของบุคลากรทางการแพทย์ คือ การยึดมั่นในความถูกตองชอบธรรมและจริยธรรม ซึ่งในประเด็นนี้ ไกด์ไลน์แนะนำ 5 ประเด็นคือ

1. หลักการไมโฆษณา ใชจาง หรือยินยอมใหผูอื่นโฆษณาการประกอบวิชาชีพ ความรูความชํานาญในการประกอบวิชาชีพ ทั้งของตนและของผูอื่น ที่ขัดกับขอบังคับของสภาวิชาชีพ กฎหมายวาดวยสถานพยาบาล และตองไมโฆษณาผลิตภัณฑสุขภาพในลักษณะที่เปนความผิดตามกฎหมาย ทั้งเครื่องมือแพทย เครื่องสําอาง ยา และอาหาร

2. หลักการเปดเผยขอมูลอยางครบถวน โดยการใหขอมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ผลิตภัณฑสุขภาพ หรือบริการสุขภาพผานสื่อสังคมออนไลน พึงเปดเผยอยางชัดเจน

3. หลักการระบุวิชาชีพและความรูความชํานาญของตน โดยในการใหขอมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ผลิตภัณฑสุขภาพ หรือบริการสุขภาพผานสื่อสังคมออนไลน ผูปฏิบัติงานดานสุขภาพพึงระบุวิชาชีพและความรูความชํานาญของตนที่เกี่ยวของตามความเปนจริง เพื่อใหผูรับขอมูลสามารถประเมินความเหมาะสมของขอมูลดังกลาวไดอยางเต็มที่

4. หลักการหลีกเลี่ยงการสําคัญผิดวาเปนผูแทนองคกร โดยการใชงานสื่อสังคมออนไลน ควรระมัดระวังไมใหผูอื่นเขาใจผิดวา ตนกําลังใหขอมูลหรือทําหนาที่ในฐานะผูแทนขององคกรใดองคกรหนึ่งโดยไมถูกตอง

จำไว้ “เช็กก่อนแชร์”

และ 5. เช็กกอนแชร ในการใชงานสื่อสังคมออนไลน ควรตรวจสอบความถูกตองเหมาะสม หรือความนาเชื่อถือของเนื้อหาที่เกี่ยวกับสุขภาพ ผลิตภัณฑสุขภาพ หรือบริการสุขภาพกอนจะเผยแพรตอไป พึงใหขอมูลตามความเปนจริงและตามมาตรฐานวิชาชีพ และพึงหลีกเลี่ยงการเผยแพรขอมูลเท็จ ขอมูลที่มีเจตนาชี้นําโดยมิชอบ หรือขอมูลที่ไมถูกตอง ไมสอดคลองกับความรูทางวิชาการหรือมาตรฐานของวิชาชีพ โดยเฉพาะกรณีที่อาจเปนอันตราย หากทําไดควรอางอิง แหลงที่มา หรือระบุวาเปนเนื้อหาที่มีหลักฐานเชิงประจักษสนับสนุนเพียงใด หรือเปนเพียงความเห็นของตน หรือของผูเชี่ยวชาญบางคนไวดวย

หากผูปฏิบัติงานดานสุขภาพ ไดเผยแพรเนื้อหาที่อาจเปนอันตราย ไมถูกตอง ไมสอดคลอง กับความรูทางวิชาการ หรือมาตรฐานของวิชาชีพไปแลว และทราบภายหลังวาไมถูกตองเหมาะสม ผูปฏิบัติงาน ดานสุขภาพพึงดําเนินการตรวจสอบและแกไขการเผยแพรเนื้อหาดังกลาวหากทําได เชน อาจลบขอความเดิม ที่เปนปญหา แกไขขอความเดิมใหถูกตอง หรือเผยแพรขอความที่แกไขแลวอีกครั้ง เปนตน ตลอดจนระงับ ยับยั้งไมใหมีการเผยแพรเนื้อหาเดิมหากทําได

ให้คำปรึกษาด้าน “สุขภาพ” ผ่านออนไลน์อย่างไร?

ในไกด์ไลน์ ได้ระบุถึงการให้คำปรึกษาออนไลน์ไว้ด้วย โดยแนะนำว่า 1. ใหคําปรึกษาออนไลนอย่างระมัดระวัง โดยพึงพิจารณาผลดีและผลเสียของการใหคําปรึกษาออนไลนอยางรอบคอบ พึงเลือกใชตามความจําเปนและเหมาะสมอยางระมัดระวัง และคํานึงถึงขอจํากัด นอกจากนี้ พึงหลีกเลี่ยงการใหคําปรึกษา ในลักษณะที่แสดงถึงความมั่นใจ ความชัดเจนแนนอน โดยไมไดคํานึงถึงโอกาสเกิดปญหาหรือภาวะแทรกซอน ที่รุนแรงหรือกรณีฉุกเฉิน ซึ่งหากเกิดปญหาขึ้นอาจนําไปสูปญหาความสัมพันธหรือการฟองรองได

กรณีที่พิจารณาแลวเห็นวา ควรใหคําปรึกษาออนไลน ผูประกอบวิชาชีพดานสุขภาพพึงชี้แจงใหผูปวยเขาใจ และตระหนักในความเสี่ยงและขอจํากัดของการให คําปรึกษาออนไลน กอนใหคําปรึกษาหรือคําแนะนํา พรอมทั้งใหขอมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว และการรับบริการในกรณีฉุกเฉินหรือกรณีที่ไมแนใจวาเปนอันตรายหรือไม

ส่วนกรณีไมประสงคจะใหคําปรึกษาออนไลน ให้พึงตอบปฏิเสธอยางสุภาพ โดยอาจชี้แจงเหตุผลประกอบ และแนะนําใหผูนั้นติดตอ ขอคําปรึกษาผานชองทางปกติ ซึ่งอาจรวมถึงการใหบริการการแพทยฉุกเฉินในกรณีจําเปน

2. หลักการบันทึกการสื่อสารที่เกี่ยวของกับการปฏิบัติหนาที่ในวิชาชีพ การให้คำปรึกษาออนไลน์ พึงบันทึกการใหความยินยอมของผูปวย (ถามี) ขอมูลและรายละเอียดการใหคําปรึกษา และรายละเอียดของการติดตอสื่อสารดังกลาวไวเปนสวนหนึ่งของเวชระเบียนหรือประวัติสุขภาพของผูปวย สําหรับการอางอิงและเพื่อความตอเนื่องในการใหบริการผูปวย หากอยูในวิสัยที่สามารถทําได
กำลังโหลดความคิดเห็น