เด็กสมัยนี้ส่วนใหญ่แก้ปัญหาเองไม่เป็น จริงหรือ !
เรื่องนี้อย่าว่าแต่เด็กเลย เพราะผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยก็แก้ปัญหาเองไม่ได้มิใช่หรือ ส่วนหนึ่งก็เป็น เพราะไม่ได้ถูกฝึกให้แก้ปัญหาด้วยตัวเองตั้งแต่เด็กเช่นกัน
เด็กทุกวันนี้กำลังขาดความฉลาดในความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ เพราะความฉลาดที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและต้องการมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเป็นพ่อแม่ ก็คือ อยากให้ลูกมีไอคิวที่ดี หรือมีความฉลาดทางสติปัญญา (IQ : Intelligence Quotient) ส่วนความฉลาดทางด้านอื่นๆ ก็กลายเป็นเรื่องรอง หรือไม่ได้นึกถึง ไม่ว่าจะเป็นความฉลาดทางด้านอารมณ์ (EQ : Emotional Quotient) หรือ ความฉลาดทางด้านศีลธรรม(MQ: Moral Quotient)
รวมไปถึงความสามารถในการแก้ไขปัญหา เป็นความฉลาดด้านหนึ่งของมนุษย์ หรือที่เรียกว่า (AQ : Adversity Quotient ) หมายถึง การมีความสามารถในการเอาชนะฝ่าฟันอุปสรรค ความอดทนต่อความยากลำบากโดยไม่ท้อแท้ เป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมยุคปัจจุบันที่พ่อแม่พึงนำมาฝึกทักษะให้กับตัวเองและลูก เพื่อที่จะทำให้ลูกสามารถเอาตัวรอดอยู่ในสังคม และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
นับเป็นทักษะที่มีความสำคัญมาก แต่กลับถูกละเลย และกลายเป็นปัญหาใหญ่ของเด็กยุคนี้ ที่ไม่สามารถรับมือกับปัญหาหรือเผชิญอุปสรรคได้อย่างมีสติ หรือไม่ก็เลือกที่จะหนีปัญหาไปเลย
แล้วจะทำอย่างไร เพื่อฝึกให้ลูกมีทักษะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
ประการแรก - พ่อแม่ต้องสำรวจตัวเองก่อน
เราเป็นพ่อแม่แบบไหน คอยแก้ปัญหาให้ลูกมาโดยตลอดหรือเปล่า เวลาเผชิญปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือใหญ่ ต้องผ่านพ่อแม่ก่อน เพราะคิดว่าลูกยังเล็กเกินไป หรือกลัวลูกลำบาก ก็เลยแก้ปัญหาให้ลูกหมด จนลูกไม่เคยสัมผัสกับคำว่าปัญหาเลย
ถ้าคุณเข้าข่ายเช่นนี้แล้วล่ะก็ ลูกของคุณจะมีภูมิต้านทานทักษะชีวิตต่ำ เพราะเมื่อเกิดปัญหา จะไม่รู้ว่าต้องทำอะไร อย่างไร ต้องคอยเรียกพ่อแม่หรือคนที่แก้ปัญหาชีวิตให้เขา
ประการที่สอง - ฝึกให้รู้ว่าทุกเรื่องแก้ไขได้
เท่ากับเป็นการสอนให้เขามองโลกในแง่ดี เด็กที่ได้รับการฝึกฝนให้เรียนรู้การแก้ไขปัญหามักเชื่อว่าปัญหาทุกอย่างสามารถแก้ไขได้ และทุกเรื่องมีทางออก พ่อแม่อาจจำลองสถานการณ์เพื่อให้ลูกลองแก้ปัญหาง่ายๆ โดยคำนึงถึงวัยของลูกด้วย จากนั้นก็ค่อยๆ เพิ่มเติมสถานการณ์ที่ยากขึ้น หรือสลับซับซ้อนมากขึ้น
ประการที่สาม - หมั่นตั้งคำถามบ่อยๆ
การตั้งคำถามบ่อยๆ ใช้ได้ในทุกสถานการณ์ จะได้ช่วยกระตุ้นให้ลูกฝึกคิด อาจใช้เหตุการณ์จริง แล้วตั้งคำถามว่าถ้าเป็นลูกจะแก้ปัญหาอย่างไร ทำไมถึงเลือกวิธีนั้น ซึ่งจะทำให้เรารู้วิธีคิดของลูกด้วย รวมถึงบอกถึงวิธีการของพ่อแม่ด้วย ว่าถ้าเป็นพ่อแม่จะแก้ปัญหาอย่างไร เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ว่าวิธีการแก้ปัญหามีหลายแบบ และทุกวิธีก็มีข้อดีข้อด้อยต่างกันอย่างไร เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันด้วย
ประการที่สี่ - สอนให้ควบคุมอารมณ์ตัวเอง
เวลาเกิดปัญหาใดๆ ก็ตาม ส่วนใหญ่ทุกคนจะเกิดความกังวล เกิดความรู้สึกไม่พอใจ โกรธ ฯลฯ ต้องฝึกให้ลูกเรียนรู้ว่ามีโอกาสเกิดความรู้สึกได้มากมาย แต่เราต้องไม่ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา เพราะการใช้อารมณ์ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ตรงกันข้ามอาจทำให้ปัญหาบานปลายได้ ควรต้องใช้สติ และค่อยๆ แก้ปัญหาหรือหาทางออก
ประการที่ห้า - ฝึกให้คิดวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ
ถึงเวลาหนึ่ง เมื่อลูกสามารถควบคุมอารมณ์ และอยู่ในสภาวะปกติ ควรจะหาโอกาสสนทนาภาษาครอบครัว แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รวมไปถึงการฝึกให้เป็นเด็กช่างสังเกต กระตุ้นให้ลูกคิดวิเคราะห์ เพื่อช่วยในการขยายกรอบความคิด ไม่ยึดติดกับการปัญหาหรือวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ และคิดหาวิธีการหรือแนวทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่ ๆ เพื่อให้เขาเรียนรู้ว่าในหนึ่งปัญหาสามารถหาทางออกได้หลายทาง
ประการสุดท้าย - สอนเรื่องความมุ่งมั่น
สิ่งสำคัญอย่างมากที่ควรปลูกฝังลูกหลานของเราก็คือ การสอนให้มีความเพียรพยายามอย่างสร้างสรรค์ มีความมุ่งมั่น และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาและอุปสรรค ซึ่งการให้เขามีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตอย่างมีแบบแผน ก็สามารถช่วยได้
ทั้งหมดนี้ พ่อแม่ต้องเป็นคนเข้าใจปัญหา และเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่กลัวที่จะต้องเผชิญกับอุปสรรคปัญหาใด ๆ ด้วย แต่มองว่าปัญหาเป็นสิ่งที่ต้องผ่านไปให้ได้ ลูกจะเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากพ่อแม่
ในต่างประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในการปลูกฝังเยาวชนของชาติ เขาจะกำหนดให้มีเรื่องนี้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนและพัฒนาโปรแกรมสำหรับการสอนในครอบครัว เรื่องการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์
แต่ในบ้านเราคงเป็นเรื่องอีกห่างไกลจากความเป็นจริง จึงควรต้องเริ่มต้นจากรากฐานครอบครัว เริ่มจากคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องมองเห็นว่าทักษะการแก้ปัญหาเป็นเรื่องจำเป็น เป็นเรื่องสำคัญ และควรจะถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันด้วย
เพราะเราคงไม่อยากเห็นลูกของเราเป็นเด็กที่แก้ปัญหาไม่เป็น และหาทางออกไม่ได้มิใช่หรือ
เรื่องนี้อย่าว่าแต่เด็กเลย เพราะผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อยก็แก้ปัญหาเองไม่ได้มิใช่หรือ ส่วนหนึ่งก็เป็น เพราะไม่ได้ถูกฝึกให้แก้ปัญหาด้วยตัวเองตั้งแต่เด็กเช่นกัน
เด็กทุกวันนี้กำลังขาดความฉลาดในความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ เพราะความฉลาดที่ผู้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและต้องการมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเป็นพ่อแม่ ก็คือ อยากให้ลูกมีไอคิวที่ดี หรือมีความฉลาดทางสติปัญญา (IQ : Intelligence Quotient) ส่วนความฉลาดทางด้านอื่นๆ ก็กลายเป็นเรื่องรอง หรือไม่ได้นึกถึง ไม่ว่าจะเป็นความฉลาดทางด้านอารมณ์ (EQ : Emotional Quotient) หรือ ความฉลาดทางด้านศีลธรรม(MQ: Moral Quotient)
รวมไปถึงความสามารถในการแก้ไขปัญหา เป็นความฉลาดด้านหนึ่งของมนุษย์ หรือที่เรียกว่า (AQ : Adversity Quotient ) หมายถึง การมีความสามารถในการเอาชนะฝ่าฟันอุปสรรค ความอดทนต่อความยากลำบากโดยไม่ท้อแท้ เป็นทักษะชีวิตที่จำเป็นอย่างยิ่งในสังคมยุคปัจจุบันที่พ่อแม่พึงนำมาฝึกทักษะให้กับตัวเองและลูก เพื่อที่จะทำให้ลูกสามารถเอาตัวรอดอยู่ในสังคม และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
นับเป็นทักษะที่มีความสำคัญมาก แต่กลับถูกละเลย และกลายเป็นปัญหาใหญ่ของเด็กยุคนี้ ที่ไม่สามารถรับมือกับปัญหาหรือเผชิญอุปสรรคได้อย่างมีสติ หรือไม่ก็เลือกที่จะหนีปัญหาไปเลย
แล้วจะทำอย่างไร เพื่อฝึกให้ลูกมีทักษะแก้ปัญหาด้วยตัวเอง
ประการแรก - พ่อแม่ต้องสำรวจตัวเองก่อน
เราเป็นพ่อแม่แบบไหน คอยแก้ปัญหาให้ลูกมาโดยตลอดหรือเปล่า เวลาเผชิญปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือใหญ่ ต้องผ่านพ่อแม่ก่อน เพราะคิดว่าลูกยังเล็กเกินไป หรือกลัวลูกลำบาก ก็เลยแก้ปัญหาให้ลูกหมด จนลูกไม่เคยสัมผัสกับคำว่าปัญหาเลย
ถ้าคุณเข้าข่ายเช่นนี้แล้วล่ะก็ ลูกของคุณจะมีภูมิต้านทานทักษะชีวิตต่ำ เพราะเมื่อเกิดปัญหา จะไม่รู้ว่าต้องทำอะไร อย่างไร ต้องคอยเรียกพ่อแม่หรือคนที่แก้ปัญหาชีวิตให้เขา
ประการที่สอง - ฝึกให้รู้ว่าทุกเรื่องแก้ไขได้
เท่ากับเป็นการสอนให้เขามองโลกในแง่ดี เด็กที่ได้รับการฝึกฝนให้เรียนรู้การแก้ไขปัญหามักเชื่อว่าปัญหาทุกอย่างสามารถแก้ไขได้ และทุกเรื่องมีทางออก พ่อแม่อาจจำลองสถานการณ์เพื่อให้ลูกลองแก้ปัญหาง่ายๆ โดยคำนึงถึงวัยของลูกด้วย จากนั้นก็ค่อยๆ เพิ่มเติมสถานการณ์ที่ยากขึ้น หรือสลับซับซ้อนมากขึ้น
ประการที่สาม - หมั่นตั้งคำถามบ่อยๆ
การตั้งคำถามบ่อยๆ ใช้ได้ในทุกสถานการณ์ จะได้ช่วยกระตุ้นให้ลูกฝึกคิด อาจใช้เหตุการณ์จริง แล้วตั้งคำถามว่าถ้าเป็นลูกจะแก้ปัญหาอย่างไร ทำไมถึงเลือกวิธีนั้น ซึ่งจะทำให้เรารู้วิธีคิดของลูกด้วย รวมถึงบอกถึงวิธีการของพ่อแม่ด้วย ว่าถ้าเป็นพ่อแม่จะแก้ปัญหาอย่างไร เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ว่าวิธีการแก้ปัญหามีหลายแบบ และทุกวิธีก็มีข้อดีข้อด้อยต่างกันอย่างไร เป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันด้วย
ประการที่สี่ - สอนให้ควบคุมอารมณ์ตัวเอง
เวลาเกิดปัญหาใดๆ ก็ตาม ส่วนใหญ่ทุกคนจะเกิดความกังวล เกิดความรู้สึกไม่พอใจ โกรธ ฯลฯ ต้องฝึกให้ลูกเรียนรู้ว่ามีโอกาสเกิดความรู้สึกได้มากมาย แต่เราต้องไม่ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหา เพราะการใช้อารมณ์ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ตรงกันข้ามอาจทำให้ปัญหาบานปลายได้ ควรต้องใช้สติ และค่อยๆ แก้ปัญหาหรือหาทางออก
ประการที่ห้า - ฝึกให้คิดวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ
ถึงเวลาหนึ่ง เมื่อลูกสามารถควบคุมอารมณ์ และอยู่ในสภาวะปกติ ควรจะหาโอกาสสนทนาภาษาครอบครัว แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน รวมไปถึงการฝึกให้เป็นเด็กช่างสังเกต กระตุ้นให้ลูกคิดวิเคราะห์ เพื่อช่วยในการขยายกรอบความคิด ไม่ยึดติดกับการปัญหาหรือวิธีการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ และคิดหาวิธีการหรือแนวทางแก้ไขปัญหาแบบใหม่ ๆ เพื่อให้เขาเรียนรู้ว่าในหนึ่งปัญหาสามารถหาทางออกได้หลายทาง
ประการสุดท้าย - สอนเรื่องความมุ่งมั่น
สิ่งสำคัญอย่างมากที่ควรปลูกฝังลูกหลานของเราก็คือ การสอนให้มีความเพียรพยายามอย่างสร้างสรรค์ มีความมุ่งมั่น และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาและอุปสรรค ซึ่งการให้เขามีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตอย่างมีแบบแผน ก็สามารถช่วยได้
ทั้งหมดนี้ พ่อแม่ต้องเป็นคนเข้าใจปัญหา และเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่กลัวที่จะต้องเผชิญกับอุปสรรคปัญหาใด ๆ ด้วย แต่มองว่าปัญหาเป็นสิ่งที่ต้องผ่านไปให้ได้ ลูกจะเรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากพ่อแม่
ในต่างประเทศที่เขาพัฒนาแล้ว และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ในการปลูกฝังเยาวชนของชาติ เขาจะกำหนดให้มีเรื่องนี้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนและพัฒนาโปรแกรมสำหรับการสอนในครอบครัว เรื่องการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์
แต่ในบ้านเราคงเป็นเรื่องอีกห่างไกลจากความเป็นจริง จึงควรต้องเริ่มต้นจากรากฐานครอบครัว เริ่มจากคนเป็นพ่อแม่ที่ต้องมองเห็นว่าทักษะการแก้ปัญหาเป็นเรื่องจำเป็น เป็นเรื่องสำคัญ และควรจะถูกนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันด้วย
เพราะเราคงไม่อยากเห็นลูกของเราเป็นเด็กที่แก้ปัญหาไม่เป็น และหาทางออกไม่ได้มิใช่หรือ