โดย…สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ระบุว่า ปัจจุบันมีบัณฑิตจบใหม่จากทุกมหาวิทยาลัยมากกว่า 1 แสนคนต่อปี แต่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 27% ของจำนวนบัณฑิตจบใหม่ เรียกได้ว่าบัณฑิตจบใหม่ตกงานถึง 1 ใน 4 เลยทีเดียว สกอ. จึงมีนโยบายให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ปรับตัว เน้นเปิดสอนสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญ ยกเลิกหลักสูตรที่ไม่มีผู้เรียน หรือลดการรับนักศึกษาในหลักสูตรที่ไม่ใช่ความต้องการของประเทศ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นอีกคณะหนึ่งที่มีการปรับตัวขนานใหญ่ เนื่องจากไม่ใช่คณะที่นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกที่จะเรียน เช่น บัญชี วิศวะ นิเทศศาสตร์ หรือแม้แต่พยาบาล โดย รศ.ปกรณ์ เสริมสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาคณะวิทย์เป็นคณะที่มีคนเรียนน้อย เพราะไม่ใช่สายวิชาชีพที่ได้รับความนิยม ซึ่งนักเรียนที่เรียนสายวิทย์มาส่วนใหญ่ก็พบว่าจะไปเข้าเรียนด้านนิติศาสตร์ หรือสื่อสารมวลชน หรือไม่ก็จะไปด้านคณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์เลย แต่เลือกเรียนคณะวิทยาศาสตร์จะน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แนวโน้มการเรียนวิทยาศาสตร์จะเปลี่ยนไป เชื่อว่านักเรียนจะให้ความสนใจเข้ามาเรียนเพิ่มมากขึ้น

“สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะรัฐบาลกำลังขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เน้นเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยอาศัยการพัฒนานวัตกรรม สร้างผู้ประกอบการรายใหม่ อย่างที่คนให้ความสนใจมากตอนนี้คือเรื่องของธุรกิจ Start Up ซึ่งการจะพัฒนานวัตกรรมขึ้นมาได้นั้น แน่นอนว่า ต้องอาศัยความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่แค่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องมีความรู้เรื่องของธุรกิจด้วยจึงจะไปรอดได้ คณะวิทย์ มธ. จึงปรับการเรียนการสอนและหลักสูตร โดยชูในเรื่องของวิทยาศาสตร์และธุรกิจ หรือ Sci+Business” รศ.ปกรณ์ กล่าว
รศ.ปกรณ์ บอกว่า ขณะนี้โลกเปลี่ยนไปเร็วมาก ไม่สามารถบอกได้เลยว่า “อาชีพ” ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ในอนาคตจะหายไปหรือไม่ หรือเราจะตกงานเมื่อไร แต่การเรียนในแนวคิด “วิทย์+ธุรกิจ” จะทำให้บัณฑิตสามารถพึ่งตนเองได้ จบแล้วสามารถเลือกทำธุรกิจของตัวเองได้ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในแต่ละสาขาที่ตนเรียนมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมที่จะเอาไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ หรือแม้แต่กลุ่มที่ได้งานทำในองค์กร เมื่อตกงานก็สามารถเอาตัวรอดได้
“การเรียนแบบ Sci+Business ของ มธ. จะเข้มในเรื่องของวิทยาศาสตร์ตามแต่ละสาขาอย่างมาก รวมถึงเรื่องของการคิดค้น กระบวนการวิจัยต่างๆ ขณะเดียวกัน ก็จะสอนให้เขารู้จักการคิดทำวิจัยที่ไม่ใช่แค่ตอบสนองความต้องการของตัวเองเท่านั้น แต่ต้องคิดวิเคราะห์ได้ว่าตอบสนองความต้องการของคนอื่นหรือไม่ หากทำเป็นธุรกิจแล้วจะสร้างมูลค่าได้หรือไม่ สามารถคำนวณต้นทุนต่างๆ ได้ ซึ่งขณะนี้ได้ปรับการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรเก่า และคิดหลักสูตรใหม่โดยใช้แนวคิด Sci+Business ทั้งหมด และยังมีการอบรมอาจารย์ให้สอนในลักษณะของ Active Learning ด้วย ที่เน้นให้เด็กได้ค้นคว้า ลงมือปฏิบัติ และมีการวิพากษ์กัน” รศ.ปกรณ์ กล่าว

หนึ่งในหลักสูตรของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ที่มีความโดดเด่น คือ หลักสูตร เทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (Creative Digital Technology :CDT) และ หลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (Innovative Digital Design :IDD) ซึ่งเป็นหลักสูตรนานาชาติที่ได้รับการพัฒนาโดยศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี และสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน สหรัฐอเมริกา เป็นการเรียนที่ประยุกต์ศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และการติดต่อสื่อสาร

นายธนัช จิรวารศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัล กล่าวว่า หลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบ ความสวยงามของชิ้นงาน การออกแบบระบบ และความเหมาะสมของการใช้งาน แบ่งเป็น 2 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาเอกอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ และ สาขาวิชาเอกศิลปะและการออกแบบเกม ส่วนหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ จะบูรณาการด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์กราฟิก คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และศิลปะ เข้าด้วยกัน เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ แบบจำลอง และ งานสร้างสรรค์รูปแบบต่างๆ แบ่งเป็น 2 สาขา ได้แก่ สาขาการจำลองการโต้ตอบแบบดิจิทัล และสาขาวิศวกรรมและการออกแบบเกม
“เด็กที่เรียนหลักสูตรดังกล่าวก็จะสามารถออกแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลได้ เช่น เว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์ เกม ฯลฯ แต่ที่แตกต่างคือจะได้รับการเรียนการสอนด้านธุรกิจ ยกตัวอย่าง การออกแบบเกม เขาก็จะรู้ว่าควรออกแบบเกมอะไร มีต้นทุนอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะสามารถขายได้ ไม่ใช่แค่ออกแบบแค่เกมเท่านั้น แต่จะใช้ความรู้ทางธุรกิจเพื่อทำให้เกมของตัวเองขายได้ ต่อยอดทางพาณิชย์ได้ มีกระบวนการคิดให้ได้เงินจากการทำเกม เป็นต้น อย่างเกมก็มีหลาย Platform หากเป็นแอปพลิเคชัน แต่ละวันมีแอปพลิเคชันเกิดใหม่กว่า 400 แอป การจะขายได้ก็อาจจะยาก แต่หากเป็นเกมคอนโซล เกมมีจำนวนประมาณ 1,600 เกม โอกาสต่อยอดก็มีได้มาก หากพัฒนาเกมออกมาได้ดีมีคุณภาพ” นายธนัช กล่าว

นายธนัช กล่าวว่า การเรียนการสอนจึงต้องมีความเข้มข้นมาก มีอาจารย์ที่ทำงานระดับโลกอย่างมาร์เวลมาร่วมสอน โดยเอาประสบการณ์โดยตรงจากการทำงานจริงมาสอนเลย การคิดการทำอะไรก็จะเหมือนการทำงานในสตูดิโอ วิพากษ์วิจารณ์ตรงๆ ไม่ผ่านก็คือตก เรียกได้ว่าเน้นในส่วนของวิชาชีพอย่างเข้มข้นจริงๆ อย่างตอนนี้นักศึกษาเพียงชั้นปีที่ 1 และ 2 ก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้แล้ว อย่างเกมสไตล์คุกกี้รันที่ฮิตกันนั้น นักศึกษาก็สามารถออกแบบให้สามารถเล่นได้ หลายๆ ผลงานที่นักศึกษารังสรรค์ออกมาทำให้บริษัทจากภายนอกก็มีอยากได้ตัวไปทำงานตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ

ไม่เพียงแต่สาขาด้านการออกแบบนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้น สาขาวิชาอื่นๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ.ก็ใช้แนวคิดเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร เคมี ฟิสิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ สิ่งทอ หรือสิ่งแวดล้อม พื้นฐานคือจะต้องแน่นในความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สาขาที่เรียนมา เพื่อสามารถออกแบบนวัตกรรมที่ตนมีความเชี่ยวชาญได้ ขณะเดียวกัน ก็สามารถบริหารจัดการและมีกระบวนการคิดที่จะต่อยอดในเชิงธุรกิจได้ด้วย
หากมีความรู้ติดตัวเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง แต่สามารถใช้ความรู้ความสามารถที่ตัวเองมีพึ่งพาตนเอง ผลิตผลงานของตัวเองได้ ยิ่งขณะนี้ธุรกิจสตาร์ทอัปกำลังกระพือ เยาวชนคนรุ่นใหม่มีความอยากรู้อยากเห็นว่า เหตุใดคนจึงทำธุรกิจสตาร์ทอัปแล้วประสบความสำเร็จ
แนวคิด Sci+Business เชื่อว่า น่าจะสามารถตอบโจทย์ผู้ที่มีความสนใจที่จะเป็นผู้ประกอบการและสร้างนวัตกรรมด้วยตัวเองได้ เรียกได้ว่าเรียนจบไม่ตกงานแน่นอน!!
ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ระบุว่า ปัจจุบันมีบัณฑิตจบใหม่จากทุกมหาวิทยาลัยมากกว่า 1 แสนคนต่อปี แต่อัตราการว่างงานอยู่ที่ 27% ของจำนวนบัณฑิตจบใหม่ เรียกได้ว่าบัณฑิตจบใหม่ตกงานถึง 1 ใน 4 เลยทีเดียว สกอ. จึงมีนโยบายให้มหาวิทยาลัยต่างๆ ปรับตัว เน้นเปิดสอนสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยมีความเชี่ยวชาญ ยกเลิกหลักสูตรที่ไม่มีผู้เรียน หรือลดการรับนักศึกษาในหลักสูตรที่ไม่ใช่ความต้องการของประเทศ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นอีกคณะหนึ่งที่มีการปรับตัวขนานใหญ่ เนื่องจากไม่ใช่คณะที่นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกที่จะเรียน เช่น บัญชี วิศวะ นิเทศศาสตร์ หรือแม้แต่พยาบาล โดย รศ.ปกรณ์ เสริมสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาคณะวิทย์เป็นคณะที่มีคนเรียนน้อย เพราะไม่ใช่สายวิชาชีพที่ได้รับความนิยม ซึ่งนักเรียนที่เรียนสายวิทย์มาส่วนใหญ่ก็พบว่าจะไปเข้าเรียนด้านนิติศาสตร์ หรือสื่อสารมวลชน หรือไม่ก็จะไปด้านคณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์เลย แต่เลือกเรียนคณะวิทยาศาสตร์จะน้อยมาก อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แนวโน้มการเรียนวิทยาศาสตร์จะเปลี่ยนไป เชื่อว่านักเรียนจะให้ความสนใจเข้ามาเรียนเพิ่มมากขึ้น
“สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะรัฐบาลกำลังขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เน้นเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยอาศัยการพัฒนานวัตกรรม สร้างผู้ประกอบการรายใหม่ อย่างที่คนให้ความสนใจมากตอนนี้คือเรื่องของธุรกิจ Start Up ซึ่งการจะพัฒนานวัตกรรมขึ้นมาได้นั้น แน่นอนว่า ต้องอาศัยความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่แค่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องมีความรู้เรื่องของธุรกิจด้วยจึงจะไปรอดได้ คณะวิทย์ มธ. จึงปรับการเรียนการสอนและหลักสูตร โดยชูในเรื่องของวิทยาศาสตร์และธุรกิจ หรือ Sci+Business” รศ.ปกรณ์ กล่าว
รศ.ปกรณ์ บอกว่า ขณะนี้โลกเปลี่ยนไปเร็วมาก ไม่สามารถบอกได้เลยว่า “อาชีพ” ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ในอนาคตจะหายไปหรือไม่ หรือเราจะตกงานเมื่อไร แต่การเรียนในแนวคิด “วิทย์+ธุรกิจ” จะทำให้บัณฑิตสามารถพึ่งตนเองได้ จบแล้วสามารถเลือกทำธุรกิจของตัวเองได้ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในแต่ละสาขาที่ตนเรียนมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมที่จะเอาไปต่อยอดเชิงพาณิชย์ได้ หรือแม้แต่กลุ่มที่ได้งานทำในองค์กร เมื่อตกงานก็สามารถเอาตัวรอดได้
“การเรียนแบบ Sci+Business ของ มธ. จะเข้มในเรื่องของวิทยาศาสตร์ตามแต่ละสาขาอย่างมาก รวมถึงเรื่องของการคิดค้น กระบวนการวิจัยต่างๆ ขณะเดียวกัน ก็จะสอนให้เขารู้จักการคิดทำวิจัยที่ไม่ใช่แค่ตอบสนองความต้องการของตัวเองเท่านั้น แต่ต้องคิดวิเคราะห์ได้ว่าตอบสนองความต้องการของคนอื่นหรือไม่ หากทำเป็นธุรกิจแล้วจะสร้างมูลค่าได้หรือไม่ สามารถคำนวณต้นทุนต่างๆ ได้ ซึ่งขณะนี้ได้ปรับการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรเก่า และคิดหลักสูตรใหม่โดยใช้แนวคิด Sci+Business ทั้งหมด และยังมีการอบรมอาจารย์ให้สอนในลักษณะของ Active Learning ด้วย ที่เน้นให้เด็กได้ค้นคว้า ลงมือปฏิบัติ และมีการวิพากษ์กัน” รศ.ปกรณ์ กล่าว
หนึ่งในหลักสูตรของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ที่มีความโดดเด่น คือ หลักสูตร เทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ (Creative Digital Technology :CDT) และ หลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (Innovative Digital Design :IDD) ซึ่งเป็นหลักสูตรนานาชาติที่ได้รับการพัฒนาโดยศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัลและเทคโนโลยี และสถาบันเทคโนโลยีดิจิเพน สหรัฐอเมริกา เป็นการเรียนที่ประยุกต์ศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และการติดต่อสื่อสาร
นายธนัช จิรวารศิริกุล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการออกแบบดิจิทัล กล่าวว่า หลักสูตรการออกแบบเชิงนวัตกรรมดิจิทัล เน้นเรื่องการใช้เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบ ความสวยงามของชิ้นงาน การออกแบบระบบ และความเหมาะสมของการใช้งาน แบ่งเป็น 2 สาขา ได้แก่ สาขาวิชาเอกอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ และ สาขาวิชาเอกศิลปะและการออกแบบเกม ส่วนหลักสูตรเทคโนโลยีดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ จะบูรณาการด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์กราฟิก คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และศิลปะ เข้าด้วยกัน เพื่อการพัฒนาซอฟต์แวร์ แบบจำลอง และ งานสร้างสรรค์รูปแบบต่างๆ แบ่งเป็น 2 สาขา ได้แก่ สาขาการจำลองการโต้ตอบแบบดิจิทัล และสาขาวิศวกรรมและการออกแบบเกม
“เด็กที่เรียนหลักสูตรดังกล่าวก็จะสามารถออกแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลได้ เช่น เว็บไซต์ ผลิตภัณฑ์ เกม ฯลฯ แต่ที่แตกต่างคือจะได้รับการเรียนการสอนด้านธุรกิจ ยกตัวอย่าง การออกแบบเกม เขาก็จะรู้ว่าควรออกแบบเกมอะไร มีต้นทุนอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะสามารถขายได้ ไม่ใช่แค่ออกแบบแค่เกมเท่านั้น แต่จะใช้ความรู้ทางธุรกิจเพื่อทำให้เกมของตัวเองขายได้ ต่อยอดทางพาณิชย์ได้ มีกระบวนการคิดให้ได้เงินจากการทำเกม เป็นต้น อย่างเกมก็มีหลาย Platform หากเป็นแอปพลิเคชัน แต่ละวันมีแอปพลิเคชันเกิดใหม่กว่า 400 แอป การจะขายได้ก็อาจจะยาก แต่หากเป็นเกมคอนโซล เกมมีจำนวนประมาณ 1,600 เกม โอกาสต่อยอดก็มีได้มาก หากพัฒนาเกมออกมาได้ดีมีคุณภาพ” นายธนัช กล่าว
นายธนัช กล่าวว่า การเรียนการสอนจึงต้องมีความเข้มข้นมาก มีอาจารย์ที่ทำงานระดับโลกอย่างมาร์เวลมาร่วมสอน โดยเอาประสบการณ์โดยตรงจากการทำงานจริงมาสอนเลย การคิดการทำอะไรก็จะเหมือนการทำงานในสตูดิโอ วิพากษ์วิจารณ์ตรงๆ ไม่ผ่านก็คือตก เรียกได้ว่าเน้นในส่วนของวิชาชีพอย่างเข้มข้นจริงๆ อย่างตอนนี้นักศึกษาเพียงชั้นปีที่ 1 และ 2 ก็สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้แล้ว อย่างเกมสไตล์คุกกี้รันที่ฮิตกันนั้น นักศึกษาก็สามารถออกแบบให้สามารถเล่นได้ หลายๆ ผลงานที่นักศึกษารังสรรค์ออกมาทำให้บริษัทจากภายนอกก็มีอยากได้ตัวไปทำงานตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ
ไม่เพียงแต่สาขาด้านการออกแบบนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้น สาขาวิชาอื่นๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ.ก็ใช้แนวคิดเช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร เคมี ฟิสิกส์ เทคโนโลยีชีวภาพ สิ่งทอ หรือสิ่งแวดล้อม พื้นฐานคือจะต้องแน่นในความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สาขาที่เรียนมา เพื่อสามารถออกแบบนวัตกรรมที่ตนมีความเชี่ยวชาญได้ ขณะเดียวกัน ก็สามารถบริหารจัดการและมีกระบวนการคิดที่จะต่อยอดในเชิงธุรกิจได้ด้วย
หากมีความรู้ติดตัวเช่นนี้ ไม่จำเป็นต้องไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้าง แต่สามารถใช้ความรู้ความสามารถที่ตัวเองมีพึ่งพาตนเอง ผลิตผลงานของตัวเองได้ ยิ่งขณะนี้ธุรกิจสตาร์ทอัปกำลังกระพือ เยาวชนคนรุ่นใหม่มีความอยากรู้อยากเห็นว่า เหตุใดคนจึงทำธุรกิจสตาร์ทอัปแล้วประสบความสำเร็จ
แนวคิด Sci+Business เชื่อว่า น่าจะสามารถตอบโจทย์ผู้ที่มีความสนใจที่จะเป็นผู้ประกอบการและสร้างนวัตกรรมด้วยตัวเองได้ เรียกได้ว่าเรียนจบไม่ตกงานแน่นอน!!