เมื่อฉบับที่แล้วดิฉันนำบทความของลูกชายคนเล็กที่เขียนถึงความรู้สึกของการที่อยู่โรงเรียนประจำชายล้วนมาตลอดระยะเวลา 9 ปี และปีนี้เป็นปีสุดท้ายที่กำลังจะจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนจะก้าวไปสู่ระดับอุดมศึกษาต่อไป…
ทำให้กลับมาคิดถึงวันที่ตัดสินใจเลือกโรงเรียนประจำแห่งนี้ให้ลูกชายทั้งสองคน !
จำได้ตั้งแต่วันแรกที่ส่งลูกชายคนโตไปเรียนโรงเรียนประจำชายล้วน จำอารมณ์ความรู้สึกวันแรก และวันต่อๆ ไปได้ดี เข้าใจคำว่าคิดถึงใจจะขาดเป็นอย่างไร แต่เมื่อรู้ว่าเป้าหมายปลายทางของเราคืออะไร ก็ทำให้ต้องมาจัดการอารมณ์ และวางแนวทางการใช้ชีวิตที่ต้องปรับตัวร่วมกันในครอบครัว
การตัดสินใจส่งลูกเข้าสู่รั้วโรงเรียนประจำชายล้วนตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะกว่าจะตกผลึกว่าเราจะเลือกโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยให้ลูก ก็ต้องทำการบ้านมิใช่น้อย
เริ่มจากการหาข้อมูลของโรงเรียนว่ามีแนวทางการศึกษาอย่างไร และมีปรัชญาการศึกษาแบบไหน ก็พบว่าในขณะนั้น ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นผู้บังคับการโรงเรียน ท่านเป็นคนนำแนวทางและคิดศัพท์คำว่า Play + Learn มาเป็น Plean หรือ “เพลิน” จากการติดตามผลงานของท่านก็ต้องถือว่าเป็นแนวทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของครอบครัวเรา เพราะก่อนหน้านั้น ก็ได้เลือกโรงเรียนแนวเตรียมความพร้อมให้ลูกเรียนมาตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กจนถึงชั้นประถมต้น
ลูกชายดิฉันทั้ง 2 คน ผ่านโรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ ซึงเป็นโรงเรียนแนวเตรียมความพร้อม โดยในขณะนั้น ผศ.ดร.นภเนตร ธรรมบวร เป็นหลักทางด้านวิชาการของโรงเรียน น่าเสียดายที่ปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว ท่านเป็นผู้จัดการศึกษาแนวใหม่ จัด “ห้องพิเศษ” ขึ้นในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 โดยนำเอาการเล่านิทานมาบูรณาการเป็นการเรียนรู้ และใช้แนวทาง Portfolio จุดเด่นที่สุดของอาจารย์นภเนตร คือ เน้นเรื่องกระบวนการคิดให้เด็ก ก็เรียนที่นั่นจนกระทั่งถึงชั้นประถม 3 ก็ตัดสินใจเลือกที่จะย้ายไปอยู่ที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยที่เริ่มเปิดรับเด็กตั้งแต่ชั้นประถม 4 ขึ้นไป ยังจำได้ดีว่า อาจารย์นภเนตร ท่านเห็นด้วย และสนับสนุน เพราะเชื่อว่าจะเชื่อมรอยต่อในแนวทางได้ เนื่องจากดิฉันไม่ศรัทธากับระบบโครงสร้างการศึกษาบ้านเราอย่างที่เป็นอยู่ ที่เน้นให้เด็กแข่งขันเรื่องวิชาการมากเกินวัยของเด็ก อันเป็นสาเหตุหลักของการที่พ่อแม่ยุคนี้ส่งลูกไปเรียนกวดวิชากันเต็มบ้านเต็มเมือง จึงไม่ต้องการให้ลูกเข้าไปติดกับดักการศึกษาในรูปแบบนี้
ประการสำคัญ ต้องการเน้นให้ลูกมีทักษะชีวิตในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะมิติด้านกีฬา ดนตรี และความเป็นสุภาพบุรุษ ฯลฯ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยตอบโจทย์ได้หมด โรงเรียนนี้ทำในสิ่งที่โรงเรียนอื่นยากที่จะทำได้ เพราะมีความพร้อมในด้านสภาพแวดล้อมที่มีพื้นที่ธรรมชาติให้เด็กได้เล่นกีฬา ออกกำลังกาย ไม่ใช่มีแต่ตึกและสนามซีเมนต์ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 6 ที่สร้างโรงเรียนแนว Public school ขึ้นมา โดยทรงมีสายพระเนตรยาวไกลอย่างยิ่ง พระองค์ท่านไม่ต้องการตำราเดินได้ แต่ต้องการสุภาพบุรุษที่มีทักษะในชีวิตรอบด้าน
และประเด็นที่ตอกย้ำหนักแน่นขึ้นไปอีก ก็คือ เรื่องการจราจรที่ชีวิตของลูกไม่ต้องแขวนอยู่ในรถยนต์วันละ 2 - 3 ชั่วโมงต่อวัน จึงมีช่วงเวลาของการเรียนรู้นอกห้องเรียนในด้านอื่นๆ เพิ่มมาสัปดาห์ละเกือบ 10 - 15 ชั่วโมง รวม 9 ปี ลูกชายทั้งสองของดิฉันกำไรเวลาไปแล้วไม่น้อยเลย
ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ และยังมีรายละเอียดประกอบอื่นอีกมาก
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีข้อเสียนะคะ เพียงแต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบและพูดคุยกับลูกแบบตรงไปตรงมาว่าลูกต้องเผชิญกับอะไรบ้าง โดยเฉพาะการที่ต้องจากพ่อแม่ที่เคยเจอกันทุกวัน ไปเป็น 2 สัปดาห์กลับมาเจอกันครั้งหนึ่ง นี่เป็นเรื่องที่ยากที่สุดที่จะหักใจได้ง่ายๆ สุดท้ายก็ให้ลูกตัดสินใจเองด้วยเหตุด้วยผล
แม้ลูกจะตัดสินใจแล้ว ปีแรก โดยเฉพาะเดือนแรก ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ลูกร้องไห้ทุกวัน แม้จะไม่ได้ร้องทั้งวันก็ตาม และดิฉันเองก็น้ำตาไหลตอนกลางคืน บางขณะถามตัวเองเหมือนกันว่าเราตัดสินใจผิดหรือเปล่า บางอารมณ์เกือบจะตัดสินใจใหม่เสียด้วยซ้ำ แต่ในที่สุดก็ผ่านมาได้ทั้งแม่ทั้งลูก
อย่างไรก็ตาม เหตุผลของแต่ละครอบครัวในการเลือกโรงเรียนให้ลูกไม่เหมือนกัน และไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน และก็ไม่ควรไปคิดแทนใครว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือผิด เพราะไม่มีใครรู้ดีเท่ากับตัวเรา ครอบครัวของเรา และลูกของเราว่ามีลักษณะนิสัยอย่างไร และเหมาะหรือไม่ที่จะอยู่ ร.ร.ประจำ หรือเหมาะกับโรงเรียนประเภทไหน
แต่กระนั้นก็มีข้อคิดคำนึงสำหรับคนที่ตัดสินใจจะส่งลูกไปเรียนโรงเรียนประจำอย่างง่ายที่สุดที่จะขอแลกเปลี่ยนกัน ก็คือ กรุณาอย่าส่งลูกไปเรียนโรงเรียนประจำเพราะเหตุผลเหล่านี้
ข้อแรก - วัยของลูกเล็กเกินไป
ถ้าลูกเล็กเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปฐมวัย เป็นช่วงเวลาที่เด็กควรใกล้ชิดกับพ่อแม่ การสร้างรากฐานทางด้านความรัก ความอบอุ่น รวมไปถึงความมั่นคงทางอารมณ์เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
ข้อสอง - ไม่มีเวลา
ถ้าด้วยเหตุผลนี้ โปรดรู้ไว้ว่าเท่ากับเป็นการสร้างปัญหาใหม่ เพราะจะทำให้ลูกเข้าใจว่างานของพ่อแม่สำคัญกว่าตัวเขา ยิ่งถ้าขาดการสื่อสารก็อาจจะทำให้เด็กเกิดปัญหาในภายหลัง
ข้อสาม - อยากให้ลูกฝึกวินัย
เหตุผลข้อนี้มักได้ยินอยู่เสมอๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงเรื่องการฝึกวินัยต้องเริ่มจากพ่อแม่ก่อน ไม่ใช่ยกเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องของโรงเรียน เพราะสุดท้ายเขาก็จะเป็นเด็กมีวินัยเฉพาะที่โรงเรียน เพราะกฏเกณฑ์ของโรงเรียน แต่พออยู่บ้านถ้าไม่ฝึกเรื่องนี้ด้วย สุดท้ายอยู่บ้านก็ไร้วินัยอยู่ดี
ข้อสี่ - ลูกเกเร
พ่อแม่บางคนไม่สามารถจัดการกับพฤติกรรมบางด้านของลูกได้ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม แต่เมื่อเกิดปัญหาแล้วจัดการไม่ได้ ก็เลยจะให้โรงเรียนเป็นฝ่ายแก้ปัญหา โดยหารู้ไม่ว่าเป็นการสร้างปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมอีกต่างหาก
ข้อห้า - พ่อแม่แยกทางกัน
ข้อนี้สำคัญมาก อย่านำปัญหาเรื่องการหย่าร้างมาเป็นเงื่อนไขชีวิตในการส่งลูกไปเรียนโรงเรียนประจำ เพราะเท่ากับจะยิ่งทำให้ลูกเกิดปัญหาได้ เรื่องนี้ลูกชายดิฉันเคยเล่าให้ฟังเมื่อครั้งเข้าไปเรียนได้ไม่นาน ว่าสงสารเพื่อนมาก เพื่อนเขาร้องไห้ทุกวัน เพราะพ่อแม่แยกทางกัน เวลาโทรกลับบ้านแต่ละครั้งก็จะร้องไห้ทุกครั้ง เขาเห็นเพื่อนจมกับความทุกข์ทรมานทางด้านจิตใจยาวนานทีเดียว แม้สุดท้ายจะผ่านเหตุการณ์ไปได้ แต่แผลทางใจที่ติดตัวเขาไปล่ะ
สุดท้ายแล้ว อยากย้ำอีกครั้งว่าไม่มีสูตรสำเร็จในเรื่องนี้ แต่ปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้คือความรัก ความเข้าใจ และการสร้างรากฐานจากครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ นั่นเป็นสิ่งวิเศษสุดก่อนตัดสินใจส่งลูกไปโรงเรียนประจำ
ทำให้กลับมาคิดถึงวันที่ตัดสินใจเลือกโรงเรียนประจำแห่งนี้ให้ลูกชายทั้งสองคน !
จำได้ตั้งแต่วันแรกที่ส่งลูกชายคนโตไปเรียนโรงเรียนประจำชายล้วน จำอารมณ์ความรู้สึกวันแรก และวันต่อๆ ไปได้ดี เข้าใจคำว่าคิดถึงใจจะขาดเป็นอย่างไร แต่เมื่อรู้ว่าเป้าหมายปลายทางของเราคืออะไร ก็ทำให้ต้องมาจัดการอารมณ์ และวางแนวทางการใช้ชีวิตที่ต้องปรับตัวร่วมกันในครอบครัว
การตัดสินใจส่งลูกเข้าสู่รั้วโรงเรียนประจำชายล้วนตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 4 เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะกว่าจะตกผลึกว่าเราจะเลือกโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยให้ลูก ก็ต้องทำการบ้านมิใช่น้อย
เริ่มจากการหาข้อมูลของโรงเรียนว่ามีแนวทางการศึกษาอย่างไร และมีปรัชญาการศึกษาแบบไหน ก็พบว่าในขณะนั้น ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นผู้บังคับการโรงเรียน ท่านเป็นคนนำแนวทางและคิดศัพท์คำว่า Play + Learn มาเป็น Plean หรือ “เพลิน” จากการติดตามผลงานของท่านก็ต้องถือว่าเป็นแนวทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของครอบครัวเรา เพราะก่อนหน้านั้น ก็ได้เลือกโรงเรียนแนวเตรียมความพร้อมให้ลูกเรียนมาตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กจนถึงชั้นประถมต้น
ลูกชายดิฉันทั้ง 2 คน ผ่านโรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ ซึงเป็นโรงเรียนแนวเตรียมความพร้อม โดยในขณะนั้น ผศ.ดร.นภเนตร ธรรมบวร เป็นหลักทางด้านวิชาการของโรงเรียน น่าเสียดายที่ปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว ท่านเป็นผู้จัดการศึกษาแนวใหม่ จัด “ห้องพิเศษ” ขึ้นในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 โดยนำเอาการเล่านิทานมาบูรณาการเป็นการเรียนรู้ และใช้แนวทาง Portfolio จุดเด่นที่สุดของอาจารย์นภเนตร คือ เน้นเรื่องกระบวนการคิดให้เด็ก ก็เรียนที่นั่นจนกระทั่งถึงชั้นประถม 3 ก็ตัดสินใจเลือกที่จะย้ายไปอยู่ที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยที่เริ่มเปิดรับเด็กตั้งแต่ชั้นประถม 4 ขึ้นไป ยังจำได้ดีว่า อาจารย์นภเนตร ท่านเห็นด้วย และสนับสนุน เพราะเชื่อว่าจะเชื่อมรอยต่อในแนวทางได้ เนื่องจากดิฉันไม่ศรัทธากับระบบโครงสร้างการศึกษาบ้านเราอย่างที่เป็นอยู่ ที่เน้นให้เด็กแข่งขันเรื่องวิชาการมากเกินวัยของเด็ก อันเป็นสาเหตุหลักของการที่พ่อแม่ยุคนี้ส่งลูกไปเรียนกวดวิชากันเต็มบ้านเต็มเมือง จึงไม่ต้องการให้ลูกเข้าไปติดกับดักการศึกษาในรูปแบบนี้
ประการสำคัญ ต้องการเน้นให้ลูกมีทักษะชีวิตในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะมิติด้านกีฬา ดนตรี และความเป็นสุภาพบุรุษ ฯลฯ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยตอบโจทย์ได้หมด โรงเรียนนี้ทำในสิ่งที่โรงเรียนอื่นยากที่จะทำได้ เพราะมีความพร้อมในด้านสภาพแวดล้อมที่มีพื้นที่ธรรมชาติให้เด็กได้เล่นกีฬา ออกกำลังกาย ไม่ใช่มีแต่ตึกและสนามซีเมนต์ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 6 ที่สร้างโรงเรียนแนว Public school ขึ้นมา โดยทรงมีสายพระเนตรยาวไกลอย่างยิ่ง พระองค์ท่านไม่ต้องการตำราเดินได้ แต่ต้องการสุภาพบุรุษที่มีทักษะในชีวิตรอบด้าน
และประเด็นที่ตอกย้ำหนักแน่นขึ้นไปอีก ก็คือ เรื่องการจราจรที่ชีวิตของลูกไม่ต้องแขวนอยู่ในรถยนต์วันละ 2 - 3 ชั่วโมงต่อวัน จึงมีช่วงเวลาของการเรียนรู้นอกห้องเรียนในด้านอื่นๆ เพิ่มมาสัปดาห์ละเกือบ 10 - 15 ชั่วโมง รวม 9 ปี ลูกชายทั้งสองของดิฉันกำไรเวลาไปแล้วไม่น้อยเลย
ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ และยังมีรายละเอียดประกอบอื่นอีกมาก
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีข้อเสียนะคะ เพียงแต่เมื่อนำมาเปรียบเทียบและพูดคุยกับลูกแบบตรงไปตรงมาว่าลูกต้องเผชิญกับอะไรบ้าง โดยเฉพาะการที่ต้องจากพ่อแม่ที่เคยเจอกันทุกวัน ไปเป็น 2 สัปดาห์กลับมาเจอกันครั้งหนึ่ง นี่เป็นเรื่องที่ยากที่สุดที่จะหักใจได้ง่ายๆ สุดท้ายก็ให้ลูกตัดสินใจเองด้วยเหตุด้วยผล
แม้ลูกจะตัดสินใจแล้ว ปีแรก โดยเฉพาะเดือนแรก ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ลูกร้องไห้ทุกวัน แม้จะไม่ได้ร้องทั้งวันก็ตาม และดิฉันเองก็น้ำตาไหลตอนกลางคืน บางขณะถามตัวเองเหมือนกันว่าเราตัดสินใจผิดหรือเปล่า บางอารมณ์เกือบจะตัดสินใจใหม่เสียด้วยซ้ำ แต่ในที่สุดก็ผ่านมาได้ทั้งแม่ทั้งลูก
อย่างไรก็ตาม เหตุผลของแต่ละครอบครัวในการเลือกโรงเรียนให้ลูกไม่เหมือนกัน และไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน และก็ไม่ควรไปคิดแทนใครว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกหรือผิด เพราะไม่มีใครรู้ดีเท่ากับตัวเรา ครอบครัวของเรา และลูกของเราว่ามีลักษณะนิสัยอย่างไร และเหมาะหรือไม่ที่จะอยู่ ร.ร.ประจำ หรือเหมาะกับโรงเรียนประเภทไหน
แต่กระนั้นก็มีข้อคิดคำนึงสำหรับคนที่ตัดสินใจจะส่งลูกไปเรียนโรงเรียนประจำอย่างง่ายที่สุดที่จะขอแลกเปลี่ยนกัน ก็คือ กรุณาอย่าส่งลูกไปเรียนโรงเรียนประจำเพราะเหตุผลเหล่านี้
ข้อแรก - วัยของลูกเล็กเกินไป
ถ้าลูกเล็กเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปฐมวัย เป็นช่วงเวลาที่เด็กควรใกล้ชิดกับพ่อแม่ การสร้างรากฐานทางด้านความรัก ความอบอุ่น รวมไปถึงความมั่นคงทางอารมณ์เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง
ข้อสอง - ไม่มีเวลา
ถ้าด้วยเหตุผลนี้ โปรดรู้ไว้ว่าเท่ากับเป็นการสร้างปัญหาใหม่ เพราะจะทำให้ลูกเข้าใจว่างานของพ่อแม่สำคัญกว่าตัวเขา ยิ่งถ้าขาดการสื่อสารก็อาจจะทำให้เด็กเกิดปัญหาในภายหลัง
ข้อสาม - อยากให้ลูกฝึกวินัย
เหตุผลข้อนี้มักได้ยินอยู่เสมอๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงเรื่องการฝึกวินัยต้องเริ่มจากพ่อแม่ก่อน ไม่ใช่ยกเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องของโรงเรียน เพราะสุดท้ายเขาก็จะเป็นเด็กมีวินัยเฉพาะที่โรงเรียน เพราะกฏเกณฑ์ของโรงเรียน แต่พออยู่บ้านถ้าไม่ฝึกเรื่องนี้ด้วย สุดท้ายอยู่บ้านก็ไร้วินัยอยู่ดี
ข้อสี่ - ลูกเกเร
พ่อแม่บางคนไม่สามารถจัดการกับพฤติกรรมบางด้านของลูกได้ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม แต่เมื่อเกิดปัญหาแล้วจัดการไม่ได้ ก็เลยจะให้โรงเรียนเป็นฝ่ายแก้ปัญหา โดยหารู้ไม่ว่าเป็นการสร้างปัญหาใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมอีกต่างหาก
ข้อห้า - พ่อแม่แยกทางกัน
ข้อนี้สำคัญมาก อย่านำปัญหาเรื่องการหย่าร้างมาเป็นเงื่อนไขชีวิตในการส่งลูกไปเรียนโรงเรียนประจำ เพราะเท่ากับจะยิ่งทำให้ลูกเกิดปัญหาได้ เรื่องนี้ลูกชายดิฉันเคยเล่าให้ฟังเมื่อครั้งเข้าไปเรียนได้ไม่นาน ว่าสงสารเพื่อนมาก เพื่อนเขาร้องไห้ทุกวัน เพราะพ่อแม่แยกทางกัน เวลาโทรกลับบ้านแต่ละครั้งก็จะร้องไห้ทุกครั้ง เขาเห็นเพื่อนจมกับความทุกข์ทรมานทางด้านจิตใจยาวนานทีเดียว แม้สุดท้ายจะผ่านเหตุการณ์ไปได้ แต่แผลทางใจที่ติดตัวเขาไปล่ะ
สุดท้ายแล้ว อยากย้ำอีกครั้งว่าไม่มีสูตรสำเร็จในเรื่องนี้ แต่ปัจจัยหลักที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้คือความรัก ความเข้าใจ และการสร้างรากฐานจากครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ นั่นเป็นสิ่งวิเศษสุดก่อนตัดสินใจส่งลูกไปโรงเรียนประจำ