xs
xsm
sm
md
lg

จากเวที “มองไปข้างหน้า : บทเรียน 10 ปี CL และการเข้าถึงยาจำเป็น”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


รศ.ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทุกประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก จึงสามารถใชมาตรการ CL เพื่อเพิ่มการเขาถึงยาซึ่งรวมถึงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขการใช้มาตรการ CL ถือว่าเป็นการใชประโยชนตามขอยืดหยุน ของขอตกลงทริปส องค์การการค้าโลก
การใชสิทธิตามสิทธิบัตร (Compulsory Licensing, CL) เป็นหนึ่งในมาตรการยืดหยุนของขอตกลงทางการคาวาดวยทรัพยสินทางปญญาหรือข้อตกลทริปส์ขององค์การการค้าโลก เพื่อบรรเทาปัญหาจากผลกระทบทางลบตอประเทศกําลังพัฒนาและประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ในกรณีที่ยาจําเปนมีราคาแพงจนทําให้ผูที่มีรายไดต่ำไมสามารถเขาถึงยาได
ประเทศไทยกําหนดมาตรการ CL ไว 2ลักษณะคือ
•การใชโดยเอกชน ทำได้ในกรณีที่ไมมีการใชงานสิทธิบัตรใน2ลักษณะไดแก (1) ไมมีการผลิตผลิตภัณฑหรือไมมีการใชกรรมวิธีตามสิทธิบัตรภายในราชอาณาจักรโดยไมมีเหตุผลอันสมควร หรือ (2) ไมมีการขายผลิตภัณฑตามสิทธิบัตรหรือผลิตภัณฑที่ใชกรรมวิธีตามสิทธิบัตร หรือมีการขายผลิตภัณฑดังกลาวในราคาสูงเกินควรหรือไมพอความตองการของประชาชนภายในราชอาณาจักรโดยไมมีเหตุผลอันสมควร
•การใชโดยรัฐ เปนมาตรการใชสิทธิตามสิทธิบัตรเพื่อตอบสนองความตองการของ
สาธารณประโยชนและเปนการใชโดยคําสั่งของรัฐ โดยอาจมอบใหหนวยงานรัฐหรือเอกชนดําเนินการได
ในระหว่างปีพ.ศ. 2549-2551 กระทรวงสาธารณสุขประกาศ CL ในยาที่มีสิทธิบัตรทั้งหมด 7 รายการประกอบด้วย
•ยาต้านไวรัสเอชไอวี ได้แก่ เอฟาไวเรนซ์ และยาสูตรผสมโลพินาเวียร์/ลิโทนาเวียร์
•ยาต้านการแข็งตัวเกล็ดเลือดในโรคหลอดเลือดหัวใจ โคลพิโดเกรล
•ยาบำบัดโรคมะเร็ง ได้แก่ เลโทรโซล โดซีแท็กเซล เออร์โลทินิบ และอิมาทินิบ
สรุปข้อมูลจากงานวิจัย ซึ่งสืบค้นข้อมูลในประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ที่แจ้งต่อสาธารณะในการประกาศใช้ หรือจะใช้ CL ตั้งแต่ 1 มกราคม 2538 ถึง 6 มิถุนายน 2554 พบว่า มีการประกาศใช้ หรือจะใช้ CL จำนวน 24 ครั้ง ใน 17 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการใช้ CL ในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง เกิดขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2546 ถึง 2548 ในยาเอชไอวี / เอดส์
เป็นที่น่าสังเกตว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 การใช้ CL ในประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก มีแนวโน้มลดลงอย่างมากอาจมีสาเหตุจาก
•รัฐบาลกังวลต่อความเสี่ยงในการถูกกดดันทางการเมืองและการตอบโต้ทางการค้า ซึ่งเป็นผลกระทบทางลบที่เกิดขึ้นต่อประเทศขนาดรายได้ปานกลางที่ได้ประกาศใช้ CL
• ความสามารถของอุตสาหกรรมในประเทศยังไมเพียงพอที่จะผลิตยาเองไดในประเทศ หรือ ไม่สามารถหาแหล่งผลิตในต่างประเทศเพื่อนำเข้าได้

คำถามต่อมาคือ สถานการณ์โลกที่ไม่ใช้ CL ทั้งที่เป็นข้อยืดหยุ่นของข้อตกลงทริปส์ที่เกิดขึ้นนี้ จะส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงยาจำเป็นในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางอย่างไร
กำลังโหลดความคิดเห็น