โดย...สิรวุฒิ รวีไชยวัฒน์
ประเทศไทยประกาศสงครามกับยาเสพติดมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่มี พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2465 รวมระยะเวลาแล้ว 95 ปี แต่ดูเหมือนการปราบปรามให้หมดสิ้นไป ดูจะเป็นความหวังที่เลือนราง จนเมื่อ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี ซึ่งขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นั้น ได้ออกกลยุทธ์ใหม่ เปลี่ยนแนวทางการทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเน้นผู้เสพคือผู้ป่วย เนื่องจากผู้เสพถือเป็นเหยื่อของผู้ค้า ควรได้รับการบำบัดและโอกาส

สำหรับวิธีการบำบัดรักษาการติดยาเสพติดนั้น วิธีการก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของยาเสพติดที่ติด เช่น หากเป็นการติดฝิ่น หรือ เฮโรอีน การบำบัดในกลุ่มคนที่ไม่สามารถเลิกเสพได้นั้น มี “เมทาโดน” ซึ่งเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่สังเคราะห์จากฝิ่น แต่มีฤทธิ์รุนแรงน้อยกว่า ถือเป็นกลยุทธ์การใช้ “ยาเสพติด” ที่มี “ฤทธิ์เบากว่า” ในการบำบัดผู้เสพติดเฮโรอีน ซึ่งขณะนี้ “เมทาโดน” ได้รับการบรรจุเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) แล้ว ขณะที่ “ยาบ้า” หรือ “เมทแอมเฟตามีน” ซึ่งมีฤทธิ์รุนแรงนั้น ก็มีแนวคิดที่จะใช้ “แอมเฟตามีน” หรือ “ยาม้า” ในอดีตที่มีฤทธิ์รุนแรงน้อยกว่ามากในการช่วยบำบัด
ประเด็นคือ การใช้ยาเสพติดมาบำบัดยาเสพติด เป็นวิธีการที่ดีจริงหรือไม่ เรื่องนี้ นายจิตรนรา นวรัตน์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการสูงสุด ได้สะท้อนมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า ที่ผ่านมา ไทยใช้แนวทางการปราบปรามยาเสพติดมาตลอด แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และมักมีความคิดที่ว่าคนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็นคนไม่ดี ต้องลงโทษ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้เสพยา ถือว่าเป็นเหยื่อของผู้ค้า เมื่อเสพติดแล้วถือว่าเป็นผู้ป่วยต้องได้รับการบำบัด เพื่อคืนโอกาสกลับสู่สังคมให้สามารถทำงานได้ เลี้ยงครอบครัว มีรายได้ และสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้

“หากดูจำนวนผู้ต้องขังทั่วประเทศไทยในปี 2559 จะพบว่า มีมากกว่า 307,000 คน ถือว่ามีผู้ต้องขังจำนวนมากเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยพบว่าร้อยละ 70 คน ในเรือนจำถูกดำเนินคดีในคดียาเสพติด ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงผู้เสพ หรือมียาเสพติดในครอบครองเพียงเล็กน้อย เมื่อพิจารณาเพียงผู้ต้องขังหญิง จะพบว่าติดคุก เพราะคดียาเสพติดถึงร้อยละ 90 สาเหตุเพราะถูกหลอกให้เป็นผู้รับขน ถูกหลอกลวงให้เข้ามาเกี่ยวข้อง จะดีกว่าหรือไม่ หากผลักนักโทษที่เป็นผู้เสพเหล่านี้ออกไปเป็นผู้ป่วย เพื่อบำบัดให้กลับคืนสู่สังคมได้ ยกเว้นผู้ค้าที่จะต้องลงโทษเช่นเดิม” นายจิตรนรา กล่าว
จากการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีหนึ่งๆ นั้น ซึ่งรวมทั้งเงินเดือนของผู้ที่เกี่ยวข้อง ค่าสถานที่ ค่าดำเนินการราชทัณฑ์ ฯลฯ เฉลี่ยอยู่ที่คดี และ 51,000 บาทต่อคดี นายจิตรนรา ระบุว่า จากข้อมูลดังกล่าว จะดีกว่าหรือไม่หากสามารถนำเงินตรงนี้ไปพัฒนาอย่างอื่นได้อีกมาก และในทางกลับกันเมื่อบำบัดผู้เสพจนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ มีการทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ก็จะเกิดรายได้ขึ้น ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนและประเทศไทย อย่างผู้เสพติดเฮโรอีนรายหนึ่งเมื่อบำบัดด้วย “เมทาโดน” จนหายแล้ว สามารถประกอบอาชีพได้ ปลูกอะโวคาโดส่งขาย มีคนมารับถึงที่มีรายได้ปีละ 2 ล้านบาท ถือว่าเป็นตัวอย่างที่สะท้อนว่าเกิดประโยชน์มากกว่าหรือไม่

“ส่วนการบำบัดด้วยยาเสพติดที่มีฤทธิ์อ่อนกว่านั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การปราบปรามยาเสพติดให้หมดสิ้นไปเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องใช้การบำบัด แต่กลุ่มคนที่ยังต้องพึ่งยาเสพติดไปตลอดไม่สามารถเลิกได้ ก็จำเป็นต้องใช้ยาเสพติดชนิดเดียวกันแต่มีฤทธิ์อ่อนกว่ามาช่วยบำบัด อย่างยาเมทาโดนก็ช่วยลดอาการปวดที่เกิดจากการเสพฝิ่น เฮโรอีน ซึ่งก็จัดว่าเป็นสิ่งเสพติดเช่นกัน แต่สามารถช่วยให้ผู้เสพมีอาการดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ทำงานและมีรายได้ ไม่ต้องกลับไปพึ่งยาเสพติดอีก ยาเสพติดอย่างฝิ่นและเฮโรอีนก็ไม่จำเป็นในที่สุด สุดท้ายก็จะขายไม่ได้อีกต่อไป เพราะเรามีเมทาโดน และไม่เกิดอาชญากรรม เพราะไม่มีฤทธิ์รุนแรงที่จะก่อเรื่อง หรือเสพจนทำงานไม่ได้จนต้องไปก่ออาชญากรรมเพื่อหาเงินไปซื้อยา” นายจิตรนรา กล่าว
ในการทำงานด้านยาเสพติดด้วยการบำบัดเช่นนี้ นายจิตรนรา ย้ำว่า ไม่ได้เป็นการสนับสนุนส่งเสริม แต่เป็นการแก้ปัญหาตามข้อเท็จจริง และเจ้าหน้าที่รัฐที่ดำเนินการด้วยวิธีการเช่นนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ เพราะการจับกุมผู้ประทำความผิดนั้น ความผิดมี 2 ลักษณะ คือ 1. ความผิดในตัวเอง คือ ความผิดในศีลธรรม จริยธรรม หากเจ้าหน้าที่รัฐละเว้นถือว่ามีความผิด และ 2. ความผิดที่รัฐกำหนดว่าเป็นความผิด เพื่อป้องกันไม่ให้คนเข้าไปยุ่งเกี่ยว ซึ่งยาเสพติดถือเป็นความผิดลักษณะนี้ เจ้าหน้าที่รัฐสามารถพิจารณาและเลือกวิธีในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดได้ ดังนั้น การใช้สารเสพติดชนิดเบากว่ามาช่วยบำบัดรักษา และสามารถคืนเหยื่อกลับคืนสู่สังคมได้ ย่อมเป็นหนทางที่ดีกว่า หรืออย่างการให้ผู้เสพมารับเข็มฉีดยาที่สะอาด ก็เป็นการช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคติดต่ออื่นๆ ทั้งต่อตัวผู้เสพเองและผู้คนในสังคม ก็ถือว่าเป็นการส่งเสริมสุขภาพ จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อย่างที่เข้าใจ
“ที่สำคัญ ยาเสพติดก็เป็นเพียงสิ่งที่รัฐกำหนดว่าอะไรบ้างที่เป็นยาเสพติด เอาจริงๆ อย่างเหล้าและบุหรี่เป็นสิ่งเสพติดหรือไม่ แต่ก็ไม่ได้กำหนดว่าเป็นยาเสพติดที่เมื่อค้าขายแล้วจะถูกลงโทษ ดังนั้น ยาเสพติดตัวอื่นก็เช่นกัน อยู่ที่รัฐจะกำหนดว่าเป็นยาเสพติดหรือไม่” นายจิตรนรา กล่าว

สำหรับการติดฝิ่นของทางภาคเหนือนั้น นายมานะ อาชัง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลบ้านช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า ตนเป็นชาวอาข่า ซึ่งพื้นเพของชนเผ่าจะมีการปลูกฝิ่น เพราะมีสรรพคุณรักษาโรคหลายอย่าง ทั้งแก้ปวด ปวดท้อง อาการไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย แรกๆ ก็เป็นการใช้เป็นยา แต่เมื่อใช้มากเข้าก็ติด อย่างตนที่ไม่ติดฝิ่นเพราะไปเรียนต่างเมืองแต่เด็ก เพราะคนที่ติดส่วนใหญ่ก็ติดตั้งแต่ยังวัยรุ่น

สำหรับการบำบัดฝิ่นและเฮโรอีนด้วย “เมทาโดน” รพ.แม่แตง และ รพ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ถือเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่มีการจัดระบบบริการบำบัดด้วย “เมทาโดน” ที่ประสบความสำเร็จสูง โดยการจัดระบบบริการดังกล่าว เป็นไปตามโครงการเพื่อบำบัดฟื้นฟูผู้เสพฝิ่น ภายใต้โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อการแก้ไขพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน

พญ.พอใจ มหาเทพ หัวหน้างานยาเสพติดและจิตเวช รพ.แม่แตง กล่าวว่า พื้นที่ อ.แม่แตง เป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นและเป็นเส้นทางผ่านในการลำเลียงยาเสพติด ทำให้ชาวบ้านเข้าถึงยาเสพติดได้ง่าย ซึ่งการดำเนินงานโครงการดังกล่าว มีโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาการดำเนินงาน โดยเริ่มต้นจากการเข้าไปสร้างความไว้วางใจจากชาวบ้านก่อนว่าเราเป็นบุคลากรทางการแพทย์จริง มาเพื่อช่วยเหลือ แล้วค่อยเปิดใจสอบถามถึงการเข้ารับบำบัดยาเสพติด โดยยืนยันว่า ไม่มีการจับกุมแน่นอน เมื่อชาวบ้านไว้ใจและเปิดใจอยากเข้ารับการบำบัด ก็เริ่มดำเนินการ โดยมีการสอบถามประวัติการเสพยาว่าเป็นอย่างไร เพื่อประมาณจำนวน “เมทาโดน” ว่า ต้องใช้มากน้อยเพียงใด แต่ช่วงแรกประสบปัญหา เนื่องจากจัดบริการโดยชาวบ้านต้องมากินเมทาโดนถึงโรงพยาบาล ทำให้ชาวบ้านไม่มา จึงปรับเปลี่ยนใหม่เป็นการให้บริการเชิงรุก โดยออกตรวจเยี่ยมถึงชุมชน ซึ่งในผู้ป่วยที่มารับการบำบัดครั้งแรกจะมีการสอนการกินยาว่าต้องกินอย่างไร และให้กิน ณ จุดบริการเลย แต่หากเป็นผู้ป่วยที่มาบำบัดต่อเนื่องแล้วก็จะให้เมทโดนกลับไปกินที่บ้าน ซึ่งผู้ป่วยมาเข้ามารับการบำบัดจำนวนมากก็เกิดจากการบอกต่อ เพราะว่าเห็นผลชัดเจนว่าการกินเมทาโดน ช่วยลดอาการปวดจากการใช้ฝิ่น สามารถทำงานมีรายได้เลี้ยงครอบครัว ไม่ต้องกลับไปพึ่งฝิ่นที่ต้องเสียเงินเพื่อซื้อมาเสพ

“ขณะนี้มีผู้เข้ารับการบำบัดด้วยเมทาโดนจำนวน 38 คน และพบว่าสามารถเลิกฝิ่นและการใช้เมทาโดนได้เด็ดขาดจำนวน 3 คน เป็นครอบครัวเดียวกัน สำหรับการตั้งเป้าให้คนเลิกฝิ่นและเลิกการใช้เมทาโดนได้ด้วยนั้น จะต้องมีการประเมินก่อน อันดับแรกคือความเข้มแข็งของจิตใจ หากมีความเครียด งานหนัก ถือว่ายังไม่พร้อม และต้องทำความเข้าใจเตรียมพร้อมก่อน ว่าหากลดปริมาณเมทาโดนลงจะเกิดอาการปวด ก็ต้องรับมือให้ได้ ซึ่งหากมีความเครียด งานหนักก็อาจส่งผลให้กลับไปเสพเหมือนเดิม” พญ.พอใจ กล่าว

นายเอ (นามสมมติ) ชาวอายุ 50 ปี หนึ่งในผู้รับการบำบัดด้วย “เมทาโดน” ในพื้นที่ อ.แม่แตง เล่าว่า เริ่มสูบฝิ่นตั้งแต่อายุ 30 ปี สูบวันละ 3 มวน สูบจนติด สูบแล้วก็มีความเคลิ้ม แต่พอหมดฤทธิ์ก็จะมีอาการปวดนาน ที่ตัดสินใจเข้ามารับการบำบัดด้วยเมทาโดน เพราะคนในชุมชนที่ไปรับบำบัดบอกว่าดี ก็ได้มาลองด้วยตัวเอง เพราะอยากเลิกเสพแล้ว ก็พบว่าดีจริง ทำให้ไม่ปวด จิตใจดีขึ้น ปัจจุบันใช้อยู่ที่ 30 มิลลิลิตร กินวันละ 3 ฝา จำนวน 2 ครั้งต่อวัน ก็ช่วยให้สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ สามารถทำงานได้ ซึ่งช่วงเสพฝิ่นทำงานแทบไม่ได้เลย ก็ทำให้มีรายได้มีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ “เมทาโดน” จัดเป็นยาเสพติดประเภท 2 ต้องมีการควบคุมพิเศษ เนื่องจากเสพติดได้ และเป็นอันตรายแก่ผู้รับบริการถึงชีวิต ผู้ให้บริการจึงต้องมีความรู้ เพื่อใช้ปริมาณที่เหมาะสมในการรักษาได้ ส่วนสถานพยาบาลที่มีสิทธิเบิกจ่ายยาเมทาโดน ต้องผ่านการขออนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาล พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และต้องมีคุณสมบัติ 3 เรื่อง คือ 1. ต้องเป็นหน่วยบริการที่ให้การรักษาผู้ติดยาเสพติดครบ 4 ขั้นตอน ทั้งการเตรียมการ การถอนพิษยา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการติดตาม 2. แพทย์ผู้ทำการบำบัดต้องผ่านการอบรมหรือมีประสบการณ์รักษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และ 3. หน่วยบริการจะต้องจัดทำทะเบียนผู้เข้ารับการรักษาที่เข้าร่วมโครงการ และรายงานความคืบหน้าในการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อกรมการแพทย์ และรายงานการใช้ยาเมทาโดนต่อ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า บอร์ด สปสช. อนุมัติสิทธิประโยชน์การบำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว โดยใช้งบเฉพาะในการจ่ายเงินชดเชยให้แก่โรงพยาบาลที่ให้บริการ ซึ่งผู้สมัครใจเข้ารับการบำบัดนี้แม้พื้นที่ภาคเหนือที่ติดกับชายแดน ผู้เข้ารับการบำบัดจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่มีสิทธิบัตรทอง แต่โรงพยาบาลที่ให้บริการก็สามารถเบิกเพื่อรับเงินชดเชยการบำบัดด้วยเมทาโดนได้ เพราะเป็นการเบิกตามจริงตามจำนวนครั้งที่ใช้ คือ 35 บาทต่อครั้ง ไม่ได้ดูว่าต้องเป็นสิทธิบัตรทองหรือไม่ ทั้งนี้ ปี 2559 มีผู้รับการบำบัดด้วยเมทาโดนสะสม 9,573 ราย
การใช้สารเสพติดฤทธิ์เบาอย่างเมทาโดน มาช่วยบำบัดการติดฝิ่น และ เฮโรอีน จึงถือเป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยเหลือผู้เสพที่เป็นผู้ป่วย ดังนั้น หากจะใช้ “แอมเฟตามีน” ในการบำบัดคนติดยาบ้า ก็มีความเป็นไปได้สูง และเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้คนไม่หันไปเสพยาบ้า
ประเทศไทยประกาศสงครามกับยาเสพติดมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่มี พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2465 รวมระยะเวลาแล้ว 95 ปี แต่ดูเหมือนการปราบปรามให้หมดสิ้นไป ดูจะเป็นความหวังที่เลือนราง จนเมื่อ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี ซึ่งขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม นั้น ได้ออกกลยุทธ์ใหม่ เปลี่ยนแนวทางการทำงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยเน้นผู้เสพคือผู้ป่วย เนื่องจากผู้เสพถือเป็นเหยื่อของผู้ค้า ควรได้รับการบำบัดและโอกาส
สำหรับวิธีการบำบัดรักษาการติดยาเสพติดนั้น วิธีการก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของยาเสพติดที่ติด เช่น หากเป็นการติดฝิ่น หรือ เฮโรอีน การบำบัดในกลุ่มคนที่ไม่สามารถเลิกเสพได้นั้น มี “เมทาโดน” ซึ่งเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่งที่สังเคราะห์จากฝิ่น แต่มีฤทธิ์รุนแรงน้อยกว่า ถือเป็นกลยุทธ์การใช้ “ยาเสพติด” ที่มี “ฤทธิ์เบากว่า” ในการบำบัดผู้เสพติดเฮโรอีน ซึ่งขณะนี้ “เมทาโดน” ได้รับการบรรจุเป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) แล้ว ขณะที่ “ยาบ้า” หรือ “เมทแอมเฟตามีน” ซึ่งมีฤทธิ์รุนแรงนั้น ก็มีแนวคิดที่จะใช้ “แอมเฟตามีน” หรือ “ยาม้า” ในอดีตที่มีฤทธิ์รุนแรงน้อยกว่ามากในการช่วยบำบัด
ประเด็นคือ การใช้ยาเสพติดมาบำบัดยาเสพติด เป็นวิธีการที่ดีจริงหรือไม่ เรื่องนี้ นายจิตรนรา นวรัตน์ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดียาเสพติด สำนักงานอัยการสูงสุด ได้สะท้อนมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ ว่า ที่ผ่านมา ไทยใช้แนวทางการปราบปรามยาเสพติดมาตลอด แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และมักมีความคิดที่ว่าคนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเป็นคนไม่ดี ต้องลงโทษ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้เสพยา ถือว่าเป็นเหยื่อของผู้ค้า เมื่อเสพติดแล้วถือว่าเป็นผู้ป่วยต้องได้รับการบำบัด เพื่อคืนโอกาสกลับสู่สังคมให้สามารถทำงานได้ เลี้ยงครอบครัว มีรายได้ และสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้
“หากดูจำนวนผู้ต้องขังทั่วประเทศไทยในปี 2559 จะพบว่า มีมากกว่า 307,000 คน ถือว่ามีผู้ต้องขังจำนวนมากเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยพบว่าร้อยละ 70 คน ในเรือนจำถูกดำเนินคดีในคดียาเสพติด ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงผู้เสพ หรือมียาเสพติดในครอบครองเพียงเล็กน้อย เมื่อพิจารณาเพียงผู้ต้องขังหญิง จะพบว่าติดคุก เพราะคดียาเสพติดถึงร้อยละ 90 สาเหตุเพราะถูกหลอกให้เป็นผู้รับขน ถูกหลอกลวงให้เข้ามาเกี่ยวข้อง จะดีกว่าหรือไม่ หากผลักนักโทษที่เป็นผู้เสพเหล่านี้ออกไปเป็นผู้ป่วย เพื่อบำบัดให้กลับคืนสู่สังคมได้ ยกเว้นผู้ค้าที่จะต้องลงโทษเช่นเดิม” นายจิตรนรา กล่าว
จากการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) พบว่า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีหนึ่งๆ นั้น ซึ่งรวมทั้งเงินเดือนของผู้ที่เกี่ยวข้อง ค่าสถานที่ ค่าดำเนินการราชทัณฑ์ ฯลฯ เฉลี่ยอยู่ที่คดี และ 51,000 บาทต่อคดี นายจิตรนรา ระบุว่า จากข้อมูลดังกล่าว จะดีกว่าหรือไม่หากสามารถนำเงินตรงนี้ไปพัฒนาอย่างอื่นได้อีกมาก และในทางกลับกันเมื่อบำบัดผู้เสพจนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ มีการทำงานหาเลี้ยงครอบครัว ก็จะเกิดรายได้ขึ้น ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนและประเทศไทย อย่างผู้เสพติดเฮโรอีนรายหนึ่งเมื่อบำบัดด้วย “เมทาโดน” จนหายแล้ว สามารถประกอบอาชีพได้ ปลูกอะโวคาโดส่งขาย มีคนมารับถึงที่มีรายได้ปีละ 2 ล้านบาท ถือว่าเป็นตัวอย่างที่สะท้อนว่าเกิดประโยชน์มากกว่าหรือไม่
“ส่วนการบำบัดด้วยยาเสพติดที่มีฤทธิ์อ่อนกว่านั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การปราบปรามยาเสพติดให้หมดสิ้นไปเป็นไปไม่ได้ ดังนั้น จึงต้องใช้การบำบัด แต่กลุ่มคนที่ยังต้องพึ่งยาเสพติดไปตลอดไม่สามารถเลิกได้ ก็จำเป็นต้องใช้ยาเสพติดชนิดเดียวกันแต่มีฤทธิ์อ่อนกว่ามาช่วยบำบัด อย่างยาเมทาโดนก็ช่วยลดอาการปวดที่เกิดจากการเสพฝิ่น เฮโรอีน ซึ่งก็จัดว่าเป็นสิ่งเสพติดเช่นกัน แต่สามารถช่วยให้ผู้เสพมีอาการดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้เป็นปกติ ทำงานและมีรายได้ ไม่ต้องกลับไปพึ่งยาเสพติดอีก ยาเสพติดอย่างฝิ่นและเฮโรอีนก็ไม่จำเป็นในที่สุด สุดท้ายก็จะขายไม่ได้อีกต่อไป เพราะเรามีเมทาโดน และไม่เกิดอาชญากรรม เพราะไม่มีฤทธิ์รุนแรงที่จะก่อเรื่อง หรือเสพจนทำงานไม่ได้จนต้องไปก่ออาชญากรรมเพื่อหาเงินไปซื้อยา” นายจิตรนรา กล่าว
ในการทำงานด้านยาเสพติดด้วยการบำบัดเช่นนี้ นายจิตรนรา ย้ำว่า ไม่ได้เป็นการสนับสนุนส่งเสริม แต่เป็นการแก้ปัญหาตามข้อเท็จจริง และเจ้าหน้าที่รัฐที่ดำเนินการด้วยวิธีการเช่นนี้ก็ไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นการละเว้นปฏิบัติหน้าที่ เพราะการจับกุมผู้ประทำความผิดนั้น ความผิดมี 2 ลักษณะ คือ 1. ความผิดในตัวเอง คือ ความผิดในศีลธรรม จริยธรรม หากเจ้าหน้าที่รัฐละเว้นถือว่ามีความผิด และ 2. ความผิดที่รัฐกำหนดว่าเป็นความผิด เพื่อป้องกันไม่ให้คนเข้าไปยุ่งเกี่ยว ซึ่งยาเสพติดถือเป็นความผิดลักษณะนี้ เจ้าหน้าที่รัฐสามารถพิจารณาและเลือกวิธีในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดได้ ดังนั้น การใช้สารเสพติดชนิดเบากว่ามาช่วยบำบัดรักษา และสามารถคืนเหยื่อกลับคืนสู่สังคมได้ ย่อมเป็นหนทางที่ดีกว่า หรืออย่างการให้ผู้เสพมารับเข็มฉีดยาที่สะอาด ก็เป็นการช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคติดต่ออื่นๆ ทั้งต่อตัวผู้เสพเองและผู้คนในสังคม ก็ถือว่าเป็นการส่งเสริมสุขภาพ จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อย่างที่เข้าใจ
“ที่สำคัญ ยาเสพติดก็เป็นเพียงสิ่งที่รัฐกำหนดว่าอะไรบ้างที่เป็นยาเสพติด เอาจริงๆ อย่างเหล้าและบุหรี่เป็นสิ่งเสพติดหรือไม่ แต่ก็ไม่ได้กำหนดว่าเป็นยาเสพติดที่เมื่อค้าขายแล้วจะถูกลงโทษ ดังนั้น ยาเสพติดตัวอื่นก็เช่นกัน อยู่ที่รัฐจะกำหนดว่าเป็นยาเสพติดหรือไม่” นายจิตรนรา กล่าว
สำหรับการติดฝิ่นของทางภาคเหนือนั้น นายมานะ อาชัง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลบ้านช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าว่า ตนเป็นชาวอาข่า ซึ่งพื้นเพของชนเผ่าจะมีการปลูกฝิ่น เพราะมีสรรพคุณรักษาโรคหลายอย่าง ทั้งแก้ปวด ปวดท้อง อาการไอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย แรกๆ ก็เป็นการใช้เป็นยา แต่เมื่อใช้มากเข้าก็ติด อย่างตนที่ไม่ติดฝิ่นเพราะไปเรียนต่างเมืองแต่เด็ก เพราะคนที่ติดส่วนใหญ่ก็ติดตั้งแต่ยังวัยรุ่น
สำหรับการบำบัดฝิ่นและเฮโรอีนด้วย “เมทาโดน” รพ.แม่แตง และ รพ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ถือเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่มีการจัดระบบบริการบำบัดด้วย “เมทาโดน” ที่ประสบความสำเร็จสูง โดยการจัดระบบบริการดังกล่าว เป็นไปตามโครงการเพื่อบำบัดฟื้นฟูผู้เสพฝิ่น ภายใต้โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อการแก้ไขพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน
พญ.พอใจ มหาเทพ หัวหน้างานยาเสพติดและจิตเวช รพ.แม่แตง กล่าวว่า พื้นที่ อ.แม่แตง เป็นพื้นที่ปลูกฝิ่นและเป็นเส้นทางผ่านในการลำเลียงยาเสพติด ทำให้ชาวบ้านเข้าถึงยาเสพติดได้ง่าย ซึ่งการดำเนินงานโครงการดังกล่าว มีโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ เป็นพี่เลี้ยงในการพัฒนาการดำเนินงาน โดยเริ่มต้นจากการเข้าไปสร้างความไว้วางใจจากชาวบ้านก่อนว่าเราเป็นบุคลากรทางการแพทย์จริง มาเพื่อช่วยเหลือ แล้วค่อยเปิดใจสอบถามถึงการเข้ารับบำบัดยาเสพติด โดยยืนยันว่า ไม่มีการจับกุมแน่นอน เมื่อชาวบ้านไว้ใจและเปิดใจอยากเข้ารับการบำบัด ก็เริ่มดำเนินการ โดยมีการสอบถามประวัติการเสพยาว่าเป็นอย่างไร เพื่อประมาณจำนวน “เมทาโดน” ว่า ต้องใช้มากน้อยเพียงใด แต่ช่วงแรกประสบปัญหา เนื่องจากจัดบริการโดยชาวบ้านต้องมากินเมทาโดนถึงโรงพยาบาล ทำให้ชาวบ้านไม่มา จึงปรับเปลี่ยนใหม่เป็นการให้บริการเชิงรุก โดยออกตรวจเยี่ยมถึงชุมชน ซึ่งในผู้ป่วยที่มารับการบำบัดครั้งแรกจะมีการสอนการกินยาว่าต้องกินอย่างไร และให้กิน ณ จุดบริการเลย แต่หากเป็นผู้ป่วยที่มาบำบัดต่อเนื่องแล้วก็จะให้เมทโดนกลับไปกินที่บ้าน ซึ่งผู้ป่วยมาเข้ามารับการบำบัดจำนวนมากก็เกิดจากการบอกต่อ เพราะว่าเห็นผลชัดเจนว่าการกินเมทาโดน ช่วยลดอาการปวดจากการใช้ฝิ่น สามารถทำงานมีรายได้เลี้ยงครอบครัว ไม่ต้องกลับไปพึ่งฝิ่นที่ต้องเสียเงินเพื่อซื้อมาเสพ
“ขณะนี้มีผู้เข้ารับการบำบัดด้วยเมทาโดนจำนวน 38 คน และพบว่าสามารถเลิกฝิ่นและการใช้เมทาโดนได้เด็ดขาดจำนวน 3 คน เป็นครอบครัวเดียวกัน สำหรับการตั้งเป้าให้คนเลิกฝิ่นและเลิกการใช้เมทาโดนได้ด้วยนั้น จะต้องมีการประเมินก่อน อันดับแรกคือความเข้มแข็งของจิตใจ หากมีความเครียด งานหนัก ถือว่ายังไม่พร้อม และต้องทำความเข้าใจเตรียมพร้อมก่อน ว่าหากลดปริมาณเมทาโดนลงจะเกิดอาการปวด ก็ต้องรับมือให้ได้ ซึ่งหากมีความเครียด งานหนักก็อาจส่งผลให้กลับไปเสพเหมือนเดิม” พญ.พอใจ กล่าว
นายเอ (นามสมมติ) ชาวอายุ 50 ปี หนึ่งในผู้รับการบำบัดด้วย “เมทาโดน” ในพื้นที่ อ.แม่แตง เล่าว่า เริ่มสูบฝิ่นตั้งแต่อายุ 30 ปี สูบวันละ 3 มวน สูบจนติด สูบแล้วก็มีความเคลิ้ม แต่พอหมดฤทธิ์ก็จะมีอาการปวดนาน ที่ตัดสินใจเข้ามารับการบำบัดด้วยเมทาโดน เพราะคนในชุมชนที่ไปรับบำบัดบอกว่าดี ก็ได้มาลองด้วยตัวเอง เพราะอยากเลิกเสพแล้ว ก็พบว่าดีจริง ทำให้ไม่ปวด จิตใจดีขึ้น ปัจจุบันใช้อยู่ที่ 30 มิลลิลิตร กินวันละ 3 ฝา จำนวน 2 ครั้งต่อวัน ก็ช่วยให้สามารถใช้ชีวิตตามปกติได้ สามารถทำงานได้ ซึ่งช่วงเสพฝิ่นทำงานแทบไม่ได้เลย ก็ทำให้มีรายได้มีเงินเก็บเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ “เมทาโดน” จัดเป็นยาเสพติดประเภท 2 ต้องมีการควบคุมพิเศษ เนื่องจากเสพติดได้ และเป็นอันตรายแก่ผู้รับบริการถึงชีวิต ผู้ให้บริการจึงต้องมีความรู้ เพื่อใช้ปริมาณที่เหมาะสมในการรักษาได้ ส่วนสถานพยาบาลที่มีสิทธิเบิกจ่ายยาเมทาโดน ต้องผ่านการขออนุญาตขึ้นทะเบียนเป็นสถานพยาบาล พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และต้องมีคุณสมบัติ 3 เรื่อง คือ 1. ต้องเป็นหน่วยบริการที่ให้การรักษาผู้ติดยาเสพติดครบ 4 ขั้นตอน ทั้งการเตรียมการ การถอนพิษยา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการติดตาม 2. แพทย์ผู้ทำการบำบัดต้องผ่านการอบรมหรือมีประสบการณ์รักษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และ 3. หน่วยบริการจะต้องจัดทำทะเบียนผู้เข้ารับการรักษาที่เข้าร่วมโครงการ และรายงานความคืบหน้าในการฟื้นฟูสมรรถภาพต่อกรมการแพทย์ และรายงานการใช้ยาเมทาโดนต่อ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า บอร์ด สปสช. อนุมัติสิทธิประโยชน์การบำบัดด้วยเมทาโดนระยะยาว โดยใช้งบเฉพาะในการจ่ายเงินชดเชยให้แก่โรงพยาบาลที่ให้บริการ ซึ่งผู้สมัครใจเข้ารับการบำบัดนี้แม้พื้นที่ภาคเหนือที่ติดกับชายแดน ผู้เข้ารับการบำบัดจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่มีสิทธิบัตรทอง แต่โรงพยาบาลที่ให้บริการก็สามารถเบิกเพื่อรับเงินชดเชยการบำบัดด้วยเมทาโดนได้ เพราะเป็นการเบิกตามจริงตามจำนวนครั้งที่ใช้ คือ 35 บาทต่อครั้ง ไม่ได้ดูว่าต้องเป็นสิทธิบัตรทองหรือไม่ ทั้งนี้ ปี 2559 มีผู้รับการบำบัดด้วยเมทาโดนสะสม 9,573 ราย
การใช้สารเสพติดฤทธิ์เบาอย่างเมทาโดน มาช่วยบำบัดการติดฝิ่น และ เฮโรอีน จึงถือเป็นหนึ่งในแนวทางที่ช่วยเหลือผู้เสพที่เป็นผู้ป่วย ดังนั้น หากจะใช้ “แอมเฟตามีน” ในการบำบัดคนติดยาบ้า ก็มีความเป็นไปได้สูง และเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยให้คนไม่หันไปเสพยาบ้า