มจร. เร่งทำหลักสูตรพระธรรมทูตใหม่ “วิปัสสนา - เผยแพร่หลักคำสอนด้วยภาษาอังกฤษหรือภาษาท้องถิ่นที่จำพรรษา
พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต กล่าวว่า ตามที่ มจร. ได้ดำเนินการก่อตั้งวิทยาลัยพระธรรมทูตขึ้นแล้วนั้น จึงเร่งดำเนินการจัดทำหลักสูตรพระธรรมทูตขึ้นใหม่ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ มจร.หารือกับ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีต รมว.ศึกษาธิการ โดย ศ.ดร.วิจิตร เสนอว่า จะทำอย่างไรให้หลักสูตรพระธรรมทูตสามารถรองรับทั้งพระภิกษุ ฆราวาส และพระภิกษุจากนานาชาติด้วย นอกจากนี้ผลการสำรวจความต้องการพระธรรมทูต พบว่า 1. สอนวิปัสสนากรรมฐานได้ 2. เผยแพร่หลักธรรมคำสอนด้วยภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่นที่จำพรรษาได้ 3. มีความรู้ทางด้านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแตกฉานและเป็นผู้นำได้ 4. จะต้องเป็นผู้ที่เสียสละ หนักแน่น ต่อการเป็นพระธรรมทูต
ทาง มจร. ได้รวบรวมผลสำรวจและข้อคิดเห็นต่างๆ ในการจัดทำหลักสูตรพระธรรมทูต โดยจะเน้นลักษณะพระธรรมทูต หรือ ปัญจลักษณ์ 5 ประการ คือ มีความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา มีความรู้ทางด้านภาษา มีความรู้ทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน มีความเป็นพระธรรมทูต และมีลักษณะเด่น หรือมีความสามารถพิเศษ โดยหลักสูตรใหม่นี้ จะเน้นการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ใช้เวลาเรียน 5 ปี รวมทั้งต้องมีการฝึกปฏิบัติจริงในศูนย์ฝีกพระธรรมทูตที่ มจร. กำหนด โดย มจร. จะเร่งจัดทำหลักสูตรให้แล้วเสร็จ เพื่อเสนอให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณา จากนั้นเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รับรองหลักสูตรต่อไป โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดรับหลักสูตรพระธรรมทูตรุ่นแรก ในปีการศึกษา 2561
พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต กล่าวว่า ตามที่ มจร. ได้ดำเนินการก่อตั้งวิทยาลัยพระธรรมทูตขึ้นแล้วนั้น จึงเร่งดำเนินการจัดทำหลักสูตรพระธรรมทูตขึ้นใหม่ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ มจร.หารือกับ ศ.ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน อดีต รมว.ศึกษาธิการ โดย ศ.ดร.วิจิตร เสนอว่า จะทำอย่างไรให้หลักสูตรพระธรรมทูตสามารถรองรับทั้งพระภิกษุ ฆราวาส และพระภิกษุจากนานาชาติด้วย นอกจากนี้ผลการสำรวจความต้องการพระธรรมทูต พบว่า 1. สอนวิปัสสนากรรมฐานได้ 2. เผยแพร่หลักธรรมคำสอนด้วยภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่นที่จำพรรษาได้ 3. มีความรู้ทางด้านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแตกฉานและเป็นผู้นำได้ 4. จะต้องเป็นผู้ที่เสียสละ หนักแน่น ต่อการเป็นพระธรรมทูต
ทาง มจร. ได้รวบรวมผลสำรวจและข้อคิดเห็นต่างๆ ในการจัดทำหลักสูตรพระธรรมทูต โดยจะเน้นลักษณะพระธรรมทูต หรือ ปัญจลักษณ์ 5 ประการ คือ มีความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา มีความรู้ทางด้านภาษา มีความรู้ทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน มีความเป็นพระธรรมทูต และมีลักษณะเด่น หรือมีความสามารถพิเศษ โดยหลักสูตรใหม่นี้ จะเน้นการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ใช้เวลาเรียน 5 ปี รวมทั้งต้องมีการฝึกปฏิบัติจริงในศูนย์ฝีกพระธรรมทูตที่ มจร. กำหนด โดย มจร. จะเร่งจัดทำหลักสูตรให้แล้วเสร็จ เพื่อเสนอให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณา จากนั้นเสนอให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา รับรองหลักสูตรต่อไป โดยคาดว่าจะเริ่มเปิดรับหลักสูตรพระธรรมทูตรุ่นแรก ในปีการศึกษา 2561