วิกฤตน้ำท่วมในหลายจังหวัดภาคใต้ นอกจากเรื่องยาและเวชภัณฑ์ที่ส่วนกลางจัดส่งลงไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ เรื่องของอาหารและน้ำดื่ม ที่จัดส่งลงไปช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่พี่น้องชาวใต้ ซึ่งประชาชนคนไทยพร้อมที่จะช่วยเหลือ แต่เหนือสิ่งอื่นใดที่ต้องคำนึงถึงคือ อาหารต้องดีต่อสุขภาพของผู้ประสบภัยด้วย ซึ่งกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีคำแนะนำในการเตรียมปรุงอาหารช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดังนี้
1. ต้องล้างวัตถุดิบต่างๆ ให้สะอาดก่อนนำมาปรุงอาหาร
2. ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงด้วยความร้อน
3. ปิดอาหารปรุงสำเร็จและอาหารพร้อมบริโภคทุกชนิด
4. ไม่วางอาหารและภาชนะบนพื้น
5. ควรแยกบรรจุกับข้าวที่มีส่วนผสมของน้ำใส่ในถุงพลาสติกก่อนใส่ลงในกล่องข้าว
6. อาหารกล่องหรือข้าวกล่อง ต้องระบุประเภทอาหารและวันเวลาที่ปรุงบนภาชนะ และไม่ควรบริโภคภายหลัง 4 ชั่วโมง
7. อาการหล่องสำเร็จรูปควรเป็นอาหารที่ไม่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ เช่น เนื้อสัตว์ทอด ข้าวเหนียว น้ำพริกแห้ง ไข่เค็ม กุนเชียง ไข่ต้มสุก
และ 8. ผู้เตรียมและผู้ปรุงอาหารต้องสวมผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม ล้างมือให้สะอาด และไม่ใช้มือหยิบจับอาหารโดยตรง
สำหรับผู้ประสบภัยแนะนำว่าให้ยึดหลักการเดิม คือ กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่จะมากับอาหาร เพราะหากอาหารไม่สะอาด มีการเตรียมการ หรือ ปรุงที่ไม่ดี ไม่บอกวันเวลาที่ปรุงให้ชัดเจน แล้วเกิดการทิ้งอาหารไว้นานจนบูด ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ประสบภัยได้ และจากความปรารถนาดี อาจกลายเป็นการซ้ำเติมให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมต้องเจ็บป่วยซ้ำเพิ่มเติมได้นั่นเอง
1. ต้องล้างวัตถุดิบต่างๆ ให้สะอาดก่อนนำมาปรุงอาหาร
2. ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงด้วยความร้อน
3. ปิดอาหารปรุงสำเร็จและอาหารพร้อมบริโภคทุกชนิด
4. ไม่วางอาหารและภาชนะบนพื้น
5. ควรแยกบรรจุกับข้าวที่มีส่วนผสมของน้ำใส่ในถุงพลาสติกก่อนใส่ลงในกล่องข้าว
6. อาหารกล่องหรือข้าวกล่อง ต้องระบุประเภทอาหารและวันเวลาที่ปรุงบนภาชนะ และไม่ควรบริโภคภายหลัง 4 ชั่วโมง
7. อาการหล่องสำเร็จรูปควรเป็นอาหารที่ไม่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ เช่น เนื้อสัตว์ทอด ข้าวเหนียว น้ำพริกแห้ง ไข่เค็ม กุนเชียง ไข่ต้มสุก
และ 8. ผู้เตรียมและผู้ปรุงอาหารต้องสวมผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม ล้างมือให้สะอาด และไม่ใช้มือหยิบจับอาหารโดยตรง
สำหรับผู้ประสบภัยแนะนำว่าให้ยึดหลักการเดิม คือ กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อป้องกันโรคต่างๆ ที่จะมากับอาหาร เพราะหากอาหารไม่สะอาด มีการเตรียมการ หรือ ปรุงที่ไม่ดี ไม่บอกวันเวลาที่ปรุงให้ชัดเจน แล้วเกิดการทิ้งอาหารไว้นานจนบูด ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ประสบภัยได้ และจากความปรารถนาดี อาจกลายเป็นการซ้ำเติมให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วมต้องเจ็บป่วยซ้ำเพิ่มเติมได้นั่นเอง