กรมอนามัย นำร่องอบรมครูประจำชั้น ป.1 3 และ 5 เป็นครูอนามัยประจำโรงเรียน ใน 4 ภาค 4 จังหวัด หนุนการเข้าถึงบริการอนามัยในโรงเรียน ส่งเสริมสุขภาพเด็กไทย
จากกรณีผลวิจัยของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ HITAP พบว่า ครูอนามัยประจำโรงเรียน มีเพียง 1 - 2 คนต่อโรงเรียน และไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ หรือไม่เคยผ่านการอบรมงานครูอนามัยมาก่อน ทั้งยังขาดการสนับสนุนจากโรงพยาบาล เครื่องมืออุปกรณ์ชำรุด ล้าสมัย
นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวว่า กรมฯ ได้ดำเนินโครงการบริการอนามัยโรงเรียน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับเด็กวัยเรียน ซึ่งมีขอบเขตการดำเนินงานครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ 1. สุขศึกษา 2. อนามัยสิ่งแวดล้อม 3. บริการอนามัย และ 4. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี พร้อมทั้งพัฒนาระบบบันทึกข้อมูลและจัดอบรมครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 และ 5 รวมถึงผู้บริหารของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในพื้นที่ในเรื่องการจัดการอนามัยเด็กในโรงเรียน มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งได้รับงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเริ่มดำเนินการแก้ปัญหานำร่องใน 4 ภาค 4 จังหวัด คือ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัด อุดรธานี ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดสระบุรี และภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
“งานอนามัยโรงเรียน เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของหลายภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ หน่วยงานในท้องถิ่น และการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน แต่ที่ผ่านมายังประสบปัญหาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ส่งผลให้การดำเนินงานไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การเก็บข้อมูลสุขภาพที่ซ้ำซ้อน ไม่เป็นรูปแบบเดียวกัน ขาดการนำข้อมูลไปใช้ อีกทั้งปัญหาการส่งต่อเด็กที่มีปัญหาสุขภาพไปรับการรักษา เป็นต้น แต่หากการนำร่องแก้ปัญหาประสบความสำเร็จ จะนำผลการศึกษาเสนอต่อผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ และขยายผลไปยังโรงเรียนในสังกัดอื่น ๆ เพื่อพัฒนาระบบการดูแลอนามัยโรงเรียน ให้เด็กไทยมีสุขภาพที่ดี และมีอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพในอนาคต” นพ.อรรถพล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
จากกรณีผลวิจัยของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ หรือ HITAP พบว่า ครูอนามัยประจำโรงเรียน มีเพียง 1 - 2 คนต่อโรงเรียน และไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ หรือไม่เคยผ่านการอบรมงานครูอนามัยมาก่อน ทั้งยังขาดการสนับสนุนจากโรงพยาบาล เครื่องมืออุปกรณ์ชำรุด ล้าสมัย
นพ.อรรถพล แก้วสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวว่า กรมฯ ได้ดำเนินโครงการบริการอนามัยโรงเรียน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคให้กับเด็กวัยเรียน ซึ่งมีขอบเขตการดำเนินงานครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ 1. สุขศึกษา 2. อนามัยสิ่งแวดล้อม 3. บริการอนามัย และ 4. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี พร้อมทั้งพัฒนาระบบบันทึกข้อมูลและจัดอบรมครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 และ 5 รวมถึงผู้บริหารของโรงเรียนสังกัดเทศบาลในพื้นที่ในเรื่องการจัดการอนามัยเด็กในโรงเรียน มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งได้รับงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเริ่มดำเนินการแก้ปัญหานำร่องใน 4 ภาค 4 จังหวัด คือ ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัด อุดรธานี ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดสระบุรี และภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
“งานอนามัยโรงเรียน เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของหลายภาคส่วนเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ หน่วยงานในท้องถิ่น และการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน แต่ที่ผ่านมายังประสบปัญหาการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ส่งผลให้การดำเนินงานไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น การเก็บข้อมูลสุขภาพที่ซ้ำซ้อน ไม่เป็นรูปแบบเดียวกัน ขาดการนำข้อมูลไปใช้ อีกทั้งปัญหาการส่งต่อเด็กที่มีปัญหาสุขภาพไปรับการรักษา เป็นต้น แต่หากการนำร่องแก้ปัญหาประสบความสำเร็จ จะนำผลการศึกษาเสนอต่อผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ และขยายผลไปยังโรงเรียนในสังกัดอื่น ๆ เพื่อพัฒนาระบบการดูแลอนามัยโรงเรียน ให้เด็กไทยมีสุขภาพที่ดี และมีอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพในอนาคต” นพ.อรรถพล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่