วธ. เล็งเสนอ 4 ยุทธศาสตร์เชิงรุก ส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย ต่อคณะรัฐมนตรี
วันนี้ (20 มิ.ย.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังการประชุมร่างแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ครั้งที่ 1 /2559 ว่า ในที่ประชุมได้หารือถึงการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ครั้งแรกของประเทศไทย เพราะที่ผ่านมา สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ไม่เคยมีการจัดทำแผนงาน จึงทำให้การดำเนินงานไร้ทิศทาง โดย สศร. ได้มีการรายงาน การวิเคราะห์สถานการณ์จุดอ่อนและจุดแข็ง ของงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย พบว่า ที่ผ่านมา มีการแบ่งงานออกเป็น 2 ด้าน คือ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ และมีการแตกย่อยรายละเอียดการดำเนินงานของศิลปะร่วมสมัยในแต่ละสาขาออกไปเป็น 9 สาขา จึงไม่สามารถพัฒนาผลการทำงานได้ชัดเจน ที่สำคัญ มีการมุ่งส่งเสริมงานในสาขาทัศนศิลป์ เป็นหลัก นอกจากนี้ ยังขาดการสนับสนุนและสร้างเครือข่ายบูรณาการทำงานร่วมกัน ดังนั้น ที่ประชุมเห็นว่า แผนยุทธศาสตร์จะต้องนำไปสู่การประยุกต์ใช้ได้ในปัจจุบันที่มีการพัฒนาประเทศ และจำเป็นจะต้องใช้หลักการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ให้กับงานศิลปะร่วมสมัยทุกสาขาให้ได้ ไม่ใช่เพียงการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้เท่านั้น
นายวีระ กล่าวว่า วันนี้ สศร. ได้นำเสนอยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. การส่งเสริมการศึกษาวิจัย องค์ความรู้ ที่ขาดแคลนด้านศิลปะร่วมสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ศิลปะร่วมสมัย สู่ระบบดิจิตอล เชื่อมโยงกับเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ และสร้างเครือข่ายใหม่กับประชาชนทุกกลุ่มให้สามารถใช้ประโยชน์ได้จากการค้นคว้า จัดจำหน่ายสินค้าและบริการ 2. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาพื้นที่การแสดงศิลปะร่วมสมัย และแหล่งเรียนรู้ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน จะส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารจัดการพื้นที่การแสดงศิลปะร่วมสมัย และสื่อสาร และประชาสัมพันธ์การแสดงงานศิลปะร่วมสมัยเชิงรุก เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สนใจงานทุกแขนง
3. ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่สร้างคุณค่าทางสังคม และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และ 4. บูรณาการความร่วมมือเชิงรุกเพื่อพัฒนางานศิลปะร่วมสมัยของทุกภาคส่วนทั้งใน และต่างประเทศ ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่าการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการต่างประเทศ จึงขอให้มีการจัดประชุม ร่วมกับทุกหน่วยงาน เพื่อบูรณาการทำงานให้เป็นระบบ ก่อนนำเสนอยุทธศาสตร์ดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (20 มิ.ย.) นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวภายหลังการประชุมร่างแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ครั้งที่ 1 /2559 ว่า ในที่ประชุมได้หารือถึงการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ครั้งแรกของประเทศไทย เพราะที่ผ่านมา สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) ไม่เคยมีการจัดทำแผนงาน จึงทำให้การดำเนินงานไร้ทิศทาง โดย สศร. ได้มีการรายงาน การวิเคราะห์สถานการณ์จุดอ่อนและจุดแข็ง ของงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย พบว่า ที่ผ่านมา มีการแบ่งงานออกเป็น 2 ด้าน คือ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ และมีการแตกย่อยรายละเอียดการดำเนินงานของศิลปะร่วมสมัยในแต่ละสาขาออกไปเป็น 9 สาขา จึงไม่สามารถพัฒนาผลการทำงานได้ชัดเจน ที่สำคัญ มีการมุ่งส่งเสริมงานในสาขาทัศนศิลป์ เป็นหลัก นอกจากนี้ ยังขาดการสนับสนุนและสร้างเครือข่ายบูรณาการทำงานร่วมกัน ดังนั้น ที่ประชุมเห็นว่า แผนยุทธศาสตร์จะต้องนำไปสู่การประยุกต์ใช้ได้ในปัจจุบันที่มีการพัฒนาประเทศ และจำเป็นจะต้องใช้หลักการสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ให้กับงานศิลปะร่วมสมัยทุกสาขาให้ได้ ไม่ใช่เพียงการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ และสร้างองค์ความรู้เท่านั้น
นายวีระ กล่าวว่า วันนี้ สศร. ได้นำเสนอยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. การส่งเสริมการศึกษาวิจัย องค์ความรู้ ที่ขาดแคลนด้านศิลปะร่วมสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากรเพื่อพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ศิลปะร่วมสมัย สู่ระบบดิจิตอล เชื่อมโยงกับเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ และสร้างเครือข่ายใหม่กับประชาชนทุกกลุ่มให้สามารถใช้ประโยชน์ได้จากการค้นคว้า จัดจำหน่ายสินค้าและบริการ 2. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาพื้นที่การแสดงศิลปะร่วมสมัย และแหล่งเรียนรู้ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน จะส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารจัดการพื้นที่การแสดงศิลปะร่วมสมัย และสื่อสาร และประชาสัมพันธ์การแสดงงานศิลปะร่วมสมัยเชิงรุก เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สนใจงานทุกแขนง
3. ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่สร้างคุณค่าทางสังคม และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และ 4. บูรณาการความร่วมมือเชิงรุกเพื่อพัฒนางานศิลปะร่วมสมัยของทุกภาคส่วนทั้งใน และต่างประเทศ ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่าการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการต่างประเทศ จึงขอให้มีการจัดประชุม ร่วมกับทุกหน่วยงาน เพื่อบูรณาการทำงานให้เป็นระบบ ก่อนนำเสนอยุทธศาสตร์ดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่