กรมควบคุมโรคลงพื้นที่เฝ้าระวังสอบสวนโรคในพื้นที่ หลังไต้หวันพบคนไทยติดเชื้อไวรัสซิกา
วันนี้ (25 พ.ค.) นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานข่าวสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิการายที่ 2 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยผู้ป่วยคนดังกล่าวเป็นชาวไทย ที่เดินทางเข้าไปทำงานในไต้หวัน ว่า กรมฯ ได้ประสานไปยังศูนย์ป้องกันควบคุมโรคไต้หวัน เพื่อตรวจสอบข้อมูล เบื้องต้นพบว่าขณะนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการป่วยและได้เดินทางไปยังที่พักคนงานในไต้หวันแล้ว ในส่วนของการควบคุมโรคในไทย ทันทีที่พบรายงานดังกล่าว ก็ได้ส่งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อดำเนินการสอบสวนควบคุมโรค ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ทันที ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังคงอยู่ในระหว่างการดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคตามมาตรการ โดยมุ่งเน้นการค้นหาผู้ป่วย กำจัดยุงพาหะ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย นอกจากนี้ ยังประสานกับหน่วยงานจัดหางานในประเทศไทย เพื่อดำเนินการตามมาตรการป้องกัน ควบคุมโรคในพื้นที่ที่อยู่ของผู้ป่วย
นพ.อำนวย กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกาทั่วโลกนั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 ประเทศและดินแดนที่มีรายงานพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกามีจำนวน 60 ประเทศ แพร่กระจายในหลายภูมิภาค ส่วนมากอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และอเมริกากลาง ทั้งนี้ WHO จัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่พบมีการติดเชื้อแต่ไม่มีรายงานการเกิดภาวะแทรกซ้อนในทารก ซึ่งจัดอยู่ในคนละกลุ่มกับประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาอย่างแพร่หลายและพบทารกโรคศีรษะเล็กเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
“ขณะนี้ไทยเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ซึ่งเป็นฤดูระบาดที่มีความเสี่ยงที่จะพบที่จะพบการระบาดได้สูงสุดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกซึ่งมีความรุนแรงมากกว่าโรคอื่น กรมฯ จึงให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไป ดังนี้ 1. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย 2. การป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด 3. หญิงตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์ที่สถานบริการสาธารณสุขทั่วไป” อธิบดี คร. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 พ.ค.) นพ.อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานข่าวสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) พบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิการายที่ 2 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยผู้ป่วยคนดังกล่าวเป็นชาวไทย ที่เดินทางเข้าไปทำงานในไต้หวัน ว่า กรมฯ ได้ประสานไปยังศูนย์ป้องกันควบคุมโรคไต้หวัน เพื่อตรวจสอบข้อมูล เบื้องต้นพบว่าขณะนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการป่วยและได้เดินทางไปยังที่พักคนงานในไต้หวันแล้ว ในส่วนของการควบคุมโรคในไทย ทันทีที่พบรายงานดังกล่าว ก็ได้ส่งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อดำเนินการสอบสวนควบคุมโรค ร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ทันที ขณะนี้เจ้าหน้าที่ยังคงอยู่ในระหว่างการดำเนินการสอบสวนควบคุมโรคตามมาตรการ โดยมุ่งเน้นการค้นหาผู้ป่วย กำจัดยุงพาหะ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย นอกจากนี้ ยังประสานกับหน่วยงานจัดหางานในประเทศไทย เพื่อดำเนินการตามมาตรการป้องกัน ควบคุมโรคในพื้นที่ที่อยู่ของผู้ป่วย
นพ.อำนวย กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสซิกาทั่วโลกนั้น นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 ประเทศและดินแดนที่มีรายงานพบผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสซิกามีจำนวน 60 ประเทศ แพร่กระจายในหลายภูมิภาค ส่วนมากอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และอเมริกากลาง ทั้งนี้ WHO จัดให้ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่พบมีการติดเชื้อแต่ไม่มีรายงานการเกิดภาวะแทรกซ้อนในทารก ซึ่งจัดอยู่ในคนละกลุ่มกับประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิกาอย่างแพร่หลายและพบทารกโรคศีรษะเล็กเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
“ขณะนี้ไทยเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว ซึ่งเป็นฤดูระบาดที่มีความเสี่ยงที่จะพบที่จะพบการระบาดได้สูงสุดของโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกซึ่งมีความรุนแรงมากกว่าโรคอื่น กรมฯ จึงให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนทั่วไป ดังนี้ 1. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย 2. การป้องกันไม่ให้ยุงลายกัด 3. หญิงตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์ที่สถานบริการสาธารณสุขทั่วไป” อธิบดี คร. กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่