สบส. ตั้งทีมวิศวกร 30 ทีม ประเมิน รพ. หวังลดผลกระทบจากพายุฤดูร้อน ดูแลความมั่นคงปลอดภัยอาคาร ระบบการสื่อสาร เครื่องมือแพทย์ ระบบไฟฟ้าสำรอง พร้อมปฏิบัติการ 24 ชั่วโมง พร้อมปรับเปลี่ยนแบบก่อสร้างอาคารบริการ ใช้ฝ้าเพดานชนิดเรียบทั้งหมด
นพ.ธงชัย กีรติหัตยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า จากการประเมินสถานการณ์พายุฤดูร้อนในปีนี้ มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชาชน และอาคารโรงพยาบาลหลายแห่ง ล่าสุด ที่โรงพยาบาลอุดรธานี ได้รับความเสียหายหลายจุด กรม สบส. ได้ส่งทีมวิศวกรโยธา และวิศวกรรมเครื่องมือแพทย์จากส่วนกลาง และสำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 8 จังหวัดขอนแก่น ลงไปประเมินความปลอดภัย ทั้งในเรื่องของอาคารบริการ และเครื่องมือแพทย์ เป็นการด่วน ขณะเดียวกัน กรม สบส. ได้วางแผนความพร้อมการรับมือเหตุฉุกเฉินทุกประเภท ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ในช่วงวันที่ 8 - 12 พฤษภาคม 2559 นี้ พายุฟ้าคะนองจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง และ ตะวันออก โดยตั้งทีมวิศวกร 30 ทีม ประกอบด้วย วิศวกรโยธา และวิศวกรรมเครื่องมือแพทย์ ในส่วนกลาง 6 ทีม และส่วนภูมิภาค คือ ที่สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพที่มี 12 เขตครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศอีก 24 ทีม พร้อมให้การสนับสนุนโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตสุขภาพ ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้โรงพยาบาลมีความมั่นคงปลอดภัย มีประสิทธิภาพต่อการให้บริการรักษาพยาบาลประชาชนที่เจ็บป่วยตลอดเวลา
นพ.ธงชัย กล่าวต่อว่า ในส่วนของทีมวิศวกรฉุกเฉินนี้ จะตรวจประเมินความปลอดภัยก่อนเกิดเหตุ เพื่อป้องกัน ลดผลกระทบให้ได้มากที่สุดและมีความพร้อมใช้งาน และภายหลังเกิดเหตุ เพื่อซ่อมแซมฟื้นฟูให้กลับมาใช้งานได้โดยเร็วที่สุด โดยวิศวกรโยธานั้น จะดูแลด้านการตรวจประเมินความปลอดภัยของอาคารบริการของโรงพยาบาลทุกระดับ ตรวจสอบจุดที่มีความเสี่ยงต่าง ๆ รวมทั้งลงตรวจประเมินความเสียหายและซ่อมแซมฟื้นฟูสถานที่ ในส่วนของทีมวิศกรรมเครื่องมือแพทย์ จะเน้นทำงาน 3 ส่วนหลัก ๆ ในการให้บริการประชาชน ได้แก่ การตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ตรวจสอบระบบไฟฟ้าสำรองของโรงพยาบาล และระบบเครื่องมือสื่อสาร ซึ่งใช้ในการประสานงานการส่งต่อผู้ป่วยใช้รักษาทางไกล หรือใช้สำรองหากโทรศัพท์ทั่วไปไม่สามารถใช้การได้ โดยสถานพยาบาลสามารถติดต่อประสานงานที่สำนักงานสนับสนุนเขตสุขภาพทั้ง 12 เขต ตลอด 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม จากการประเมินผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่เกิดในช่วงนี้ พบว่า ส่วนใหญ่จะมีปัญหาฝ้าเพดานพังโดยในส่วนของโรงพยาบาลในสังกัด มักจะพบในอาคารรุ่นเก่า ๆ จึงได้ให้กองแบบแผนปรับการออกแบบก่อสร้าง โดยอาคารรุ่นใหม่ทั้งหมดจะให้ใช้เป็นฝ้าเพดานแบบเรียบทั้งหมด ซึ่งจะมีความปลอดภัยกว่าการใช้แบบทีบาร์ ในส่วนของบ้านเรือนประชาชนก็เช่นกัน หากจะติดฝ่าเพดาน ขอให้ใช้แบบเพดานเรียบ สามารถทนต่อแรงลมได้ และหากบ้านใดที่ติดฝ่าเพดานแบบทีบาร์แล้ว ในช่วงที่เกิดลมพายุ ขอให้ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด จะช่วยป้องกันไม่ให้ลมเข้าไปดันฝ่าเพดานได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ธงชัย กีรติหัตยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ว่า จากการประเมินสถานการณ์พายุฤดูร้อนในปีนี้ มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนประชาชน และอาคารโรงพยาบาลหลายแห่ง ล่าสุด ที่โรงพยาบาลอุดรธานี ได้รับความเสียหายหลายจุด กรม สบส. ได้ส่งทีมวิศวกรโยธา และวิศวกรรมเครื่องมือแพทย์จากส่วนกลาง และสำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 8 จังหวัดขอนแก่น ลงไปประเมินความปลอดภัย ทั้งในเรื่องของอาคารบริการ และเครื่องมือแพทย์ เป็นการด่วน ขณะเดียวกัน กรม สบส. ได้วางแผนความพร้อมการรับมือเหตุฉุกเฉินทุกประเภท ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ในช่วงวันที่ 8 - 12 พฤษภาคม 2559 นี้ พายุฟ้าคะนองจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นที่ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง และ ตะวันออก โดยตั้งทีมวิศวกร 30 ทีม ประกอบด้วย วิศวกรโยธา และวิศวกรรมเครื่องมือแพทย์ ในส่วนกลาง 6 ทีม และส่วนภูมิภาค คือ ที่สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพที่มี 12 เขตครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศอีก 24 ทีม พร้อมให้การสนับสนุนโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในเขตสุขภาพ ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้โรงพยาบาลมีความมั่นคงปลอดภัย มีประสิทธิภาพต่อการให้บริการรักษาพยาบาลประชาชนที่เจ็บป่วยตลอดเวลา
นพ.ธงชัย กล่าวต่อว่า ในส่วนของทีมวิศวกรฉุกเฉินนี้ จะตรวจประเมินความปลอดภัยก่อนเกิดเหตุ เพื่อป้องกัน ลดผลกระทบให้ได้มากที่สุดและมีความพร้อมใช้งาน และภายหลังเกิดเหตุ เพื่อซ่อมแซมฟื้นฟูให้กลับมาใช้งานได้โดยเร็วที่สุด โดยวิศวกรโยธานั้น จะดูแลด้านการตรวจประเมินความปลอดภัยของอาคารบริการของโรงพยาบาลทุกระดับ ตรวจสอบจุดที่มีความเสี่ยงต่าง ๆ รวมทั้งลงตรวจประเมินความเสียหายและซ่อมแซมฟื้นฟูสถานที่ ในส่วนของทีมวิศกรรมเครื่องมือแพทย์ จะเน้นทำงาน 3 ส่วนหลัก ๆ ในการให้บริการประชาชน ได้แก่ การตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องมือแพทย์ต่าง ๆ ตรวจสอบระบบไฟฟ้าสำรองของโรงพยาบาล และระบบเครื่องมือสื่อสาร ซึ่งใช้ในการประสานงานการส่งต่อผู้ป่วยใช้รักษาทางไกล หรือใช้สำรองหากโทรศัพท์ทั่วไปไม่สามารถใช้การได้ โดยสถานพยาบาลสามารถติดต่อประสานงานที่สำนักงานสนับสนุนเขตสุขภาพทั้ง 12 เขต ตลอด 24 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตาม จากการประเมินผลกระทบจากพายุฤดูร้อนที่เกิดในช่วงนี้ พบว่า ส่วนใหญ่จะมีปัญหาฝ้าเพดานพังโดยในส่วนของโรงพยาบาลในสังกัด มักจะพบในอาคารรุ่นเก่า ๆ จึงได้ให้กองแบบแผนปรับการออกแบบก่อสร้าง โดยอาคารรุ่นใหม่ทั้งหมดจะให้ใช้เป็นฝ้าเพดานแบบเรียบทั้งหมด ซึ่งจะมีความปลอดภัยกว่าการใช้แบบทีบาร์ ในส่วนของบ้านเรือนประชาชนก็เช่นกัน หากจะติดฝ่าเพดาน ขอให้ใช้แบบเพดานเรียบ สามารถทนต่อแรงลมได้ และหากบ้านใดที่ติดฝ่าเพดานแบบทีบาร์แล้ว ในช่วงที่เกิดลมพายุ ขอให้ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด จะช่วยป้องกันไม่ให้ลมเข้าไปดันฝ่าเพดานได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่