เด็กส่วนใหญ่เรียนรู้การนับโดยการใช้นิ้ว แต่เมื่อเริ่มโตขึ้นการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์จะเป็นนามธรรมที่ยากขึ้น จึงทำให้การชูนิ้วมือขึ้นมานับกลายเป็นเรื่องหลายคนคิดว่ายุ่งยาก และซับซ้อน บางคนถือว่าเป็นเรื่องที่น่าอาย และดูเหมือนเป็นวิธีการคิดที่ไม่ฉลาดเท่าไหร่ แต่อย่างไรก็ตาม นักการศึกษา ผู้ปกครอง หรือนักเรียนที่สงสัยต่อประสิทธิภาพการใช้นิ้วมือในการนับเลข อาจจะเสียโอกาสที่ดีในการพัฒนา และสร้างเครือข่ายในการสร้างเส้นใยสมองที่สำคัญต่อชีวิตก็เป็นได้
ศาสตราจารย์ท่านหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องประโยชน์ของการใช้นิ้วมือกับระบบประสาท ซึ่งส่งผลต่อการสร้างความคิดที่ก้าวไกลในเรื่องของคณิตศาสตร์
จากผลการวิจัยพบว่า การที่ไม่ให้เด็กใช้นิ้วมือในการนับ ในขณะที่เด็กอยู่ในวัยที่สามารถจะนับได้ ทำให้สมองมีความล่าช้าทางคณิตศาสตร์ได้ นิ้วมือเป็นเหมือนเครื่องมือที่มองเห็นได้ และมีประโยชน์มากที่สุดที่จะส่งผลต่อเมื่อเข้าวัยผู้ใหญ่ด้วย เราจะเห็นความสำคัญ และความจำเป็นของการใช้นิ้วมือได้ชัดเจนจากนักดนตรี หรือผู้ที่ใช้ความสามารถในการใช้นิ้วมือ ว่า ส่วนใหญ่มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์สูงมากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนรู้ทางด้านการเล่นเครื่องดนตรี
ได้มีการพัฒนางานวิจัย และหลักสูตรที่จะสนับสนุนเกี่ยวกับความคิดเรื่องของการสอนคณิตศาสตร์ในเรื่องของความสามารถในการมองเห็นจำนวน และบันทึกภาพเหล่านั้นลงในสมองของเด็ก โดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด พบว่า การที่เด็กจะมีความเข้าใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์เมื่อเริ่มเข้าสู่ความเป็นนามธรรม และเพิ่มจำนวนมากขึ้นนั้น เด็กๆ ต้องอาศัยความจำมากมายในเรื่องของจำนวน สูตร และการทำแบบฝึกหัดต่างๆ ดังนั้น การมีพื้นฐานความคิด และความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นภาพเข้าไปสู่สมองโดยการนับนิ้วมือจะช่วยทำให้เด็กๆ ง่ายต่อความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ และรักในวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้นด้วย
นักวิเคราะห์ทางสมอง ได้กล่าวว่า การใช้นิ้วมือในการนับเป็นการใช้ประสาทสัมผัสของนิ้วมือให้เป็นเสมือนตัวแทน และทำให้เกิดภาพขึ้นในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กๆ ซึ่งต้องเรียนรู้โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ดังนั้น ภาพของนิ้วมือ การใช้ประสาทสัมผัสจะติดอยู่ในสมอง ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ใช้คิดคำนวณตัวเลขก็ตาม นักวิจัยยังค้นพบอีกว่า เด็กในวัย 8-13 ปี ที่ต้องแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน ระบบประสาทสัมผัสของนิ้วมือจะเกิดขึ้นอัตโนมัติ โดยที่เด็กๆ ไม่ได้ยกนิ้วมือขึ้นมาใช้ก็ตาม
งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งกล่าวอีกว่า หากเด็กๆ มีความสามารถในการใช้นิ้วมือในชั้นประถมปีที่หนึ่ง เขาจะมีคะแนนเรื่องของคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้นในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่สองอีกด้วย
การศึกษาเรื่องระบบประสาท และพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ค้นพบว่า เมื่อคนได้รับการฝึกฝนโดยการใช้นิ้วมือ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับทางด้านนี้แล้ว เขาจะสามารถเข้าใจ และประสบความสำเร็จในวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น และจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ดีต่อไปในอนาคต
ดังนั้น หากเราพยายามให้เด็กเลิกนับนิ้วมือก่อนถึงวัยอันควร ภาพในสมองจะไม่สมบูรณ์ และเด็กจะมีความยุ่งยากในการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ได้ เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอค่ะ
ศาสตราจารย์ท่านหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องประโยชน์ของการใช้นิ้วมือกับระบบประสาท ซึ่งส่งผลต่อการสร้างความคิดที่ก้าวไกลในเรื่องของคณิตศาสตร์
จากผลการวิจัยพบว่า การที่ไม่ให้เด็กใช้นิ้วมือในการนับ ในขณะที่เด็กอยู่ในวัยที่สามารถจะนับได้ ทำให้สมองมีความล่าช้าทางคณิตศาสตร์ได้ นิ้วมือเป็นเหมือนเครื่องมือที่มองเห็นได้ และมีประโยชน์มากที่สุดที่จะส่งผลต่อเมื่อเข้าวัยผู้ใหญ่ด้วย เราจะเห็นความสำคัญ และความจำเป็นของการใช้นิ้วมือได้ชัดเจนจากนักดนตรี หรือผู้ที่ใช้ความสามารถในการใช้นิ้วมือ ว่า ส่วนใหญ่มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์สูงมากกว่าคนที่ไม่ได้เรียนรู้ทางด้านการเล่นเครื่องดนตรี
ได้มีการพัฒนางานวิจัย และหลักสูตรที่จะสนับสนุนเกี่ยวกับความคิดเรื่องของการสอนคณิตศาสตร์ในเรื่องของความสามารถในการมองเห็นจำนวน และบันทึกภาพเหล่านั้นลงในสมองของเด็ก โดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด พบว่า การที่เด็กจะมีความเข้าใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์เมื่อเริ่มเข้าสู่ความเป็นนามธรรม และเพิ่มจำนวนมากขึ้นนั้น เด็กๆ ต้องอาศัยความจำมากมายในเรื่องของจำนวน สูตร และการทำแบบฝึกหัดต่างๆ ดังนั้น การมีพื้นฐานความคิด และความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ซึ่งเป็นภาพเข้าไปสู่สมองโดยการนับนิ้วมือจะช่วยทำให้เด็กๆ ง่ายต่อความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ และรักในวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มมากขึ้นด้วย
นักวิเคราะห์ทางสมอง ได้กล่าวว่า การใช้นิ้วมือในการนับเป็นการใช้ประสาทสัมผัสของนิ้วมือให้เป็นเสมือนตัวแทน และทำให้เกิดภาพขึ้นในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กๆ ซึ่งต้องเรียนรู้โดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ดังนั้น ภาพของนิ้วมือ การใช้ประสาทสัมผัสจะติดอยู่ในสมอง ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้ใช้คิดคำนวณตัวเลขก็ตาม นักวิจัยยังค้นพบอีกว่า เด็กในวัย 8-13 ปี ที่ต้องแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน ระบบประสาทสัมผัสของนิ้วมือจะเกิดขึ้นอัตโนมัติ โดยที่เด็กๆ ไม่ได้ยกนิ้วมือขึ้นมาใช้ก็ตาม
งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งกล่าวอีกว่า หากเด็กๆ มีความสามารถในการใช้นิ้วมือในชั้นประถมปีที่หนึ่ง เขาจะมีคะแนนเรื่องของคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้นในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่สองอีกด้วย
การศึกษาเรื่องระบบประสาท และพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ค้นพบว่า เมื่อคนได้รับการฝึกฝนโดยการใช้นิ้วมือ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับทางด้านนี้แล้ว เขาจะสามารถเข้าใจ และประสบความสำเร็จในวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น และจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ดีต่อไปในอนาคต
ดังนั้น หากเราพยายามให้เด็กเลิกนับนิ้วมือก่อนถึงวัยอันควร ภาพในสมองจะไม่สมบูรณ์ และเด็กจะมีความยุ่งยากในการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ได้ เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวเสมอค่ะ