กลุ่มเภสัชกรภาคใต้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4 ขอ รมว.สธ. และ ครม. ยกเลิกร่าง พ.ร.บ. ยา หลังผ่านการพิจารณาชั้นกฤษฎีกา วอนทบทวนเรื่องแบ่งประเภทยา การนำยาขึ้นทะเบียนแล้วมาผสมใหม่ การแบ่งบรรจุยาที่ขึ้นทะเบียนแล้ว และการค้ายาแบ่งบรรจุโดยไม่ต้องขออนุญาต
วันนี้ (19 ก.พ.) กลุ่มเภสัชกรภาคใต้ ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4 คัดค้านร่าง พ.ร.บ. ยา พ.ศ. ... ฉบับที่ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เนื่องจากยังไม่ได้มีการปรับแก้ตามมติการประชุมของตัวแทนสหวิชาชีพ ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2557 โดยแถลงการณ์ระบุว่า มีหลายประเด็นที่ยังไม่เป็นไปตามหลักสากล ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบยาของประเทศไทย ต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในการใช้ยาของประชาชน และขัดขวางการพัฒนาอุตสาหกรรมยาเพื่อการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน โดยขอเรียกร้องให้แก้ร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับที่ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยเฉพาะการแบ่งประเภทยา ขอให้แบ่งประเภทยาตามหลักสากล คือ ยาที่ต้องใช้ใบสั่งยา ยาที่เภสัชกรเป็นผู้สั่งจ่าย และยาที่ประชาชนเลือกใช้ได้เอง
นอกจากนี้ ขอให้ตัดข้อยกเว้นมาตรา 24 (2) เรื่องการนำยาที่ขึ้นทะเบียนแล้วมาผสมใหม่ มาตรา 24 (4) การแบ่งบรรจุยาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับไว้แล้ว มาตรา 24 (5) การค้ายาแบ่งบรรจุโดยไม่ต้องขออนุญาต ซึ่งเป็นการทำลายระบบประกันความปลอดภัยของผู้ใช้ยา ซึ่งเภสัชกรถือเป็นผู้ที่เรียนรู้เรื่องอันตรายของยาและความปลอดภัยของผู้ป่วย หากผู้ขายหรือจำหน่ายยามีองค์ความรู้ไม่เพียงพอจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การตีกันของยา การแพ้ยา เป็นต้น กลุ่มเภสัชกรภาคใต้ จึงขอให้ รมว.สาธารณสุข และ ครม. พิจารณายกเลิก และทบทวนประเด็นข้อเสนอข้างต้นก่อนส่งร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับดังกล่าวเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (19 ก.พ.) กลุ่มเภสัชกรภาคใต้ ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 4 คัดค้านร่าง พ.ร.บ. ยา พ.ศ. ... ฉบับที่ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เนื่องจากยังไม่ได้มีการปรับแก้ตามมติการประชุมของตัวแทนสหวิชาชีพ ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2557 โดยแถลงการณ์ระบุว่า มีหลายประเด็นที่ยังไม่เป็นไปตามหลักสากล ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบยาของประเทศไทย ต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในการใช้ยาของประชาชน และขัดขวางการพัฒนาอุตสาหกรรมยาเพื่อการแข่งขันในภูมิภาคอาเซียน โดยขอเรียกร้องให้แก้ร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับที่ผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยเฉพาะการแบ่งประเภทยา ขอให้แบ่งประเภทยาตามหลักสากล คือ ยาที่ต้องใช้ใบสั่งยา ยาที่เภสัชกรเป็นผู้สั่งจ่าย และยาที่ประชาชนเลือกใช้ได้เอง
นอกจากนี้ ขอให้ตัดข้อยกเว้นมาตรา 24 (2) เรื่องการนำยาที่ขึ้นทะเบียนแล้วมาผสมใหม่ มาตรา 24 (4) การแบ่งบรรจุยาที่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับไว้แล้ว มาตรา 24 (5) การค้ายาแบ่งบรรจุโดยไม่ต้องขออนุญาต ซึ่งเป็นการทำลายระบบประกันความปลอดภัยของผู้ใช้ยา ซึ่งเภสัชกรถือเป็นผู้ที่เรียนรู้เรื่องอันตรายของยาและความปลอดภัยของผู้ป่วย หากผู้ขายหรือจำหน่ายยามีองค์ความรู้ไม่เพียงพอจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การตีกันของยา การแพ้ยา เป็นต้น กลุ่มเภสัชกรภาคใต้ จึงขอให้ รมว.สาธารณสุข และ ครม. พิจารณายกเลิก และทบทวนประเด็นข้อเสนอข้างต้นก่อนส่งร่าง พ.ร.บ. ยา ฉบับดังกล่าวเข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่