สกศ.เล็งโชว์แผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะ 15 ปี ฟุ้งทำได้จริง คาดเสนอ ครม.สิงหาคมนี้
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะ 15 ปี (พ.ศ.2560-2574) คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจด้านจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะ 15 ปี โดยมี ผศ. ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ เป็นประธาน ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้ว ล่าสุด ได้วางกรอบทิศทางและโครงสร้างของแผนฯให้มีความสอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมี 2 มาตราที่กล่าวถึงการศึกษาไว้ คือ 1.การศึกษาต้องมุ่งทำให้ผู้เรียนมีวินัย สามารถเรียนรู้ตามความถนัด และมีความสุขในชีวิต 2.การศึกษาภาคบังคับ รัฐต้องจัดให้เรียนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และมีการจัดการศึกษาตั้งแต่ก่อนวัยเรียน โดยสกศ. ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูล และทำประชาพิจารณ์จากหน่วยงานที่มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษาต่าง ๆ มาเป็นเวลา 1 ปี จึงได้ข้อสรุปและกรอบทิศทางจัดทำแผนฯดังกล่าว โดยมีเป้าหมายให้ทุกหน่วยงานที่จัดการศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่แค่แผนที่เขียนในกระดาษเท่านั้น
นายกมล กล่าวว่า สกศ.จะขอความเห็นชอบจากพล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว. ศึกษาธิการ ในเดือนกุมภาพันธ์ และกรรมการสภาการศึกษาก่อนที่จะประกาศเปิดตัวให้สังคมได้รับรู้รวมทั้งจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมอีก 6 เดือน เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อแผนฯจากทุกภาคส่วน เปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแผนฯให้ตรงกับความต้องการของผู้นำไปใช้ให้มากที่สุด จุดเด่นของแผนการศึกษาชาติฉบับใหม่คือการนำบทเรียนที่ทรงคุณค่า ที่เป็นผลงานเด่นในวงการศึกษาและเกิดเป็นรูปธรรมมานำเสนอต่อประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เช่น แนวทางการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ซึ่งจะขยายจาก 3,831 โรงเรียนเป็นครบทุกโรงเรียน โครงการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้วยDLTV และDLIT รวมไปถึงโครงการคืนครูสู่ห้องเรียน ฯลฯ
"สิ่งเหล่านี้เป็นการยืนยันว่าแผนการศึกษาแห่งชาติสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน อย่างไรก็ตาม เมื่อดำเนินการรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนแล้ว จะสามารถสรุปเนื้อหาของแผนฯได้อย่างสมบูรณ์ประมาณเดือนกรกฎาคม หรือสิงหาคม เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาประกาศใช้แผนการศึกษาชาติอย่างเป็นทางการต่อไป" นายกมล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะ 15 ปี (พ.ศ.2560-2574) คณะอนุกรรมการสภาการศึกษาเฉพาะกิจด้านจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะ 15 ปี โดยมี ผศ. ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ เป็นประธาน ขณะนี้มีความคืบหน้าไปมากแล้ว ล่าสุด ได้วางกรอบทิศทางและโครงสร้างของแผนฯให้มีความสอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมี 2 มาตราที่กล่าวถึงการศึกษาไว้ คือ 1.การศึกษาต้องมุ่งทำให้ผู้เรียนมีวินัย สามารถเรียนรู้ตามความถนัด และมีความสุขในชีวิต 2.การศึกษาภาคบังคับ รัฐต้องจัดให้เรียนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และมีการจัดการศึกษาตั้งแต่ก่อนวัยเรียน โดยสกศ. ได้ดำเนินการศึกษาข้อมูล และทำประชาพิจารณ์จากหน่วยงานที่มีส่วนได้เสียในการจัดการศึกษาต่าง ๆ มาเป็นเวลา 1 ปี จึงได้ข้อสรุปและกรอบทิศทางจัดทำแผนฯดังกล่าว โดยมีเป้าหมายให้ทุกหน่วยงานที่จัดการศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่แค่แผนที่เขียนในกระดาษเท่านั้น
นายกมล กล่าวว่า สกศ.จะขอความเห็นชอบจากพล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว. ศึกษาธิการ ในเดือนกุมภาพันธ์ และกรรมการสภาการศึกษาก่อนที่จะประกาศเปิดตัวให้สังคมได้รับรู้รวมทั้งจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมอีก 6 เดือน เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อแผนฯจากทุกภาคส่วน เปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแผนฯให้ตรงกับความต้องการของผู้นำไปใช้ให้มากที่สุด จุดเด่นของแผนการศึกษาชาติฉบับใหม่คือการนำบทเรียนที่ทรงคุณค่า ที่เป็นผลงานเด่นในวงการศึกษาและเกิดเป็นรูปธรรมมานำเสนอต่อประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เช่น แนวทางการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ซึ่งจะขยายจาก 3,831 โรงเรียนเป็นครบทุกโรงเรียน โครงการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาด้วยDLTV และDLIT รวมไปถึงโครงการคืนครูสู่ห้องเรียน ฯลฯ
"สิ่งเหล่านี้เป็นการยืนยันว่าแผนการศึกษาแห่งชาติสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน อย่างไรก็ตาม เมื่อดำเนินการรับฟังข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนแล้ว จะสามารถสรุปเนื้อหาของแผนฯได้อย่างสมบูรณ์ประมาณเดือนกรกฎาคม หรือสิงหาคม เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาประกาศใช้แผนการศึกษาชาติอย่างเป็นทางการต่อไป" นายกมล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่