ก่อนจะไปดูหนังที่สร้างจากหนังสือยอดเยี่ยมเรื่องอะไรก็ตาม ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ต้องทำใจไว้ก่อน เพราะเกรงว่าหนังทำได้ไม่ถึงเท่าหนังสือ
การไปชมภาพยนตร์ฉบับการ์ตูนอนิเมชัน เรื่อง เจ้าชายน้อย (The Little Prince) ก็เช่นกัน แต่เรื่องนี้ขอแนะนำให้อ่านหนังสือก่อนไปชม จะทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
เพราะเมื่อไปชมแล้ว ทำให้ได้มีโอกาสทบทวนถึงเนื้อหาของหนังสือเจ้าชายน้อยอีกครั้ง และก็ได้รับการคลายความสงสัยว่าผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องเจ้าชายน้อยจะผลิตออกมาแนวไหน เดินเรื่องอย่างไร ก็ได้รับคำตอบและรู้สึกว่าไม่ผิดหวัง
ยิ่งเมื่อรู้ว่าเขาใช้เวลาการสร้างถึง 4 ปีเต็ม มีการดัดแปลง ตีความเพิ่มเติม และปรับบริบทให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งต้นฉบับเดิมตีพิมพ์ตั้งแต่ 1943 โดยยังคงสาระและนัยสำคัญของหนังสือต้นฉบับของ Antoine de Saint-Exupery ไว้ได้เป็นอย่างดี ยิ่งทำให้น่าสนใจหนักมาก
Mark Osborne เป็นผู้กำกับเรื่องนี้ ใช้วิธีเดินเรื่องซ้อนเรื่องได้อย่างน่าสนใจ นำเนื้อหาในหนังสือมาเชื่อมโยงกับคนในยุคปัจจุบันผ่านมุมมองของเด็กผู้หญิง โดยใช้เทคนิคเล่าเรื่องผ่านภาพ ในโลกปัจจุบันก็จะเป็นอนิเมชัน 3D พอเข้าสู่เรื่องราวของเจ้าชายน้อยกลายเป็นสต็อปโมชันคล้ายตัวละครที่สร้างขึ้นจากกระดาษที่ดูเก๋มาก ใครที่อ่านเรื่องเจ้าชายน้อยก็จะได้ความรู้สึกว่าภาพวาดที่คุ้นชินพลันมีชีวิตขยับขับเคลื่อนได้
เนื้อเรื่องเปิดด้วยแม่ลูกคู่หนึ่ง แม่เป็นผู้หญิงทำงาน ดูแลหนูน้อยเด็กหญิงวัย 9 ขวบ ซึ่งถูกเลี้ยงดูอย่างเคร่งครัดต่อการใช้ชีวิต ถูกเลี้ยงให้อยู่ในกรอบ กฎระเบียบ และมีแผนที่ชีวิตอย่างละเอียด
สองแม่ลูกย้ายบ้านใหม่เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนใหม่ เด็กหญิงได้รู้จักกับคุณลุงใจดีข้างบ้านที่วัน ๆ หมกมุ่นอยู่กับการซ่อมเครื่องบินลำเก่า และได้ฟังคุณลุงนักบินเล่าเรื่อง สมัยหนุ่ม ๆ ที่เขาขับเครื่องบินไปตกกลางทะเลทรายซาฮาร่าและพบกับเจ้าชายน้อย
เจ้าชายน้อยที่คุณลุงนักบินไปพบนั้น มาจากดาวเล็ก ๆ และทั้งดาวมีแค่เขากับดอกกุหลาบแสนสวยที่เขาทิ้งมา เจ้าชายน้อยเดินทางไปดาวต่าง ๆ ได้เจอและเรียนรู้อะไรจากผู้ใหญ่แปลก ๆ ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระราชา, คนหลงตัวเอง, นักธุรกิจหน้าเงิน, คนจุดโคม, สุนัขจิ้งจอก และแน่นอน...งูพิษแอฟริกา อย่างที่คนอ่านหนังสือเจ้าชายน้อยจะรู้ดีอยู่แล้ว แต่หนังเรื่องนี้ตัดสลับระหว่างเรื่องราวในหนังสือกับเรื่องราวที่สร้างขึ้นมาใหม่ เหมือนเป็นหนังซ้อนหนัง ก่อนจะนำไปสู่การเพิ่มคำถามและการตีความใหม่ในช่วงท้าย
คำถามใหม่ที่ว่าถ้าเจ้าชายน้อยโตเป็นผู้ใหญ่ เขาจะยังคงมีความเป็นเจ้าชายน้อยเหมือนเดิมหรือไม่ ?
หรือก็แค่เป็นนายเจ้าชายน้อย ผู้ใหญ่อีกคนที่เหมือนผู้ใหญ่ทั่วไป ??
วันหนึ่งเด็กสาวขับเครื่องบินเพื่อสานฝันและไปตามหาเจ้าชายน้อยแทนคุณลุงนักบินซึ่งกำลังป่วยหนักตามความชราภาพ เธอไปลงจอดที่ดาวแห่งหนึ่งซึ่งมีแต่ผู้ใหญ่ ไม่มีเด็กเลยสักคน และได้พบกับเจ้าชายน้อย ซึ่งปัจจุบันโตเต็มตัวกลายเป็น Mr.Prince หรือนายเจ้าชายน้อยแล้ว และท่าทางเหมือนจะลืมวัยเยาว์ของตนรวมถึงนักบินที่เขาเจอกลางทะเลทรายไปแล้ว เด็กหญิงจึงต้องพยายามดึงสติ Mr. Prince กลับมา และพาเขากลับไปดาวบ้านเกิด เพื่อกลับไปหาดอกกุหลาบที่เขาเคยทิ้งไป
และแน่นอนเมื่อดูภาพยนตร์เรื่องนี้จบ แต่เรื่องราวในสมองไม่ได้จบไปด้วย กลับรู้สึกได้ว่ามีข้อคิดอะไรดี ๆ ติดออกมาด้วย และเป็นข้อคิดดี ๆ ในมุมสำหรับคนเป็นพ่อแม่ด้วย
ข้อแรกอย่าใช้ชีวิตเป็นแพทเทิร์น
แม่ของหนูน้อยวัย 9 ขวบ เป็นสัญลักษณ์และมุมสะท้อนของพ่อแม่คนเมืองที่ใช้ชีวิตตามแพทเทิร์นประจำวัน ทำงานหนัก ก้มหน้าก้มตาหาเงิน เคร่งครัดต่อชีวิต มีเป้าหมายชัด และก็ต้องการให้ลูกเดินตามรอยด้วย รวมไปถึงการออกแบบตึกรามบ้านช่อง ที่ผู้สร้างต้องการสะท้อนให้เห็นว่าทุกอย่างจะเป็นกรอบ เป็นเหลี่ยม และเป็นแพทเทิร์นเหมือนกันไปหมด มองบางมุมมันก็ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยดี แต่ความเป็นระเบียบนั้นก็น่าเบื่อและขาดชีวิตชีวาเช่นกัน
ข้อสองอย่าขีดเส้นชีวิตให้ลูกเดิน
เด็กผู้หญิงวัย 9 ปี คนหนึ่ง ถูกแม่กำกับบัญชาทุกอย่างในชีวิต ทุกอย่างต้องเป๊ะตามแผนชีวิตที่แม่วางเอาไว้ คอยวางแผนจัดการชีวิตลูก ประหนึ่งลูกเป็นเบี้ยบนกระดาน โดยที่ไม่เคยถามถึงความต้องการของลูกเลย จนวันนึงเมื่อเด็กน้อยได้รู้จักกับชายชราที่ผู้คนส่วนใหญ่มองว่าท่าทางบ๊อง ๆ ข้างบ้าน ความสนุกในวัยเด็กของเธอก็กลับมาอีกครั้ง
จริง ๆ แล้วชีวิตวัยเด็กเป็นสิ่งสำคัญและสวยงาม เด็กไม่ควรรีบโตเป็นผู้ใหญ่ก่อนวัยอันควร เพราะมิฉะนั้นอาจจะสูญเสียสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดไป ผู้ใหญ่ไม่ควรตีกรอบ บงการ ปิดกั้น หรือจำกัดชีวิตและจินตนาการของเด็ก ถ้าอยากให้เขาโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่งดงาม ก็ควรปล่อยให้เขาเติบโตในแบบของเขา
ข้อสามอย่าลืมชีวิตในวัยเด็ก
เจ้าชายน้อยทำให้เกิดคำถามว่า สิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ มันคือความสุขใช่ไหม จริง ๆ แล้วเราลืมความสุขที่แท้จริงไปรึเปล่า การจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เราต้องหันหลังให้ความสุขวัยเด็กกันเลยหรือ มีหลายอย่างที่สะท้อนว่าการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ การแข่งขัน การอ่านหนังสือหัวปักหัวปำเพื่อได้เรียนโรงเรียนที่มีชื่อเสียง เพียงหวังว่าโตขึ้นจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีงานดี มีฐานะที่ดีในสังคม แล้วมันคือความสุขที่แท้จริงหรือ
ในเรื่องนี้ หนูน้อยได้เรียนรู้ว่า เป็นผู้ใหญ่ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่การลืมวัยเด็กต่างหากที่เลวร้าย
ข้อสี่สิ่งสำคัญไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา แต่สามารถรับรู้ได้ด้วยหัวใจ
หนังเรื่องนี้มีปรัชญาที่นำให้เราได้กลับมาคิดทบทวนตัวเองหลายอย่าง มุมมองความคิด การใช้ชีวิต แม้กระทั่งเรื่องมิตรภาพที่สุนัขจิ้งจอกได้สอนเอาไว้ สิ่งสำคัญบางอย่าง ก็ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา แต่ด้วยหัวใจต่างหาก
จริงหรือไม่ที่บางครั้งคนเป็นพ่อแม่ก็ใช้สายตาของพ่อแม่ในการตัดสินลูก โดยมิได้เข้าใจหรือเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้จักตัวเองอย่างแท้จริง เราสนใจแต่เรื่องรูปลักษณ์และภาพลักษณ์มากกว่าที่จะมองลูกด้วยหัวใจ มองว่าลูกต้องการอะไร ลูกชอบอะไร และทำอะไรได้ดีหรือเปล่า
ข้อห้าจินตนาการสำคัญสำหรับเด็กมาก
หลายฉากในภาพยนตร์ที่เด็กหญิงมีความสุขกับการท่องไปในโลกจินตนาการทำให้เด็กน้อยมีชีวิตชีวามาก ต่างจากการที่ต้องถูกแม่ชีดแผนชีวิตให้เดินอย่างชัดเจน เด็กหญิงได้ออกไปเปิดโลกกว้าง และได้ค้นพบว่าจริง ๆ แล้ว “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ในตำราเท่านั้น”
เด็กหญิงได้พบว่าเจ้าชายน้อยอาศัยอยู่บนดาวดวงหนึ่งที่มีภูเขาไปสามลูกแล้วก็มีดอกกุหลาบเป็นเพื่อน เจ้าชายน้อยเฝ้าดูแลดอกกุหลาบอย่างดี แต่ก็ไม่วายทะเลาะกัน สุดท้ายเจ้าชายน้อยก็เกาะฝูงนกอพยพไปยังดวงดาวอื่น ๆ รอบข้างเพื่อหาเพื่อน จนวันหนึ่งได้มายังโลกมนุษย์ ได้พบเพื่อนใหม่เป็นสุนัขจิ้งจอก และนักบินกลางทะเลทราย ทำให้เจ้าชายน้อยได้เรียนรู้และพบกับสิ่งที่ออกตามหาก่อนจะกลับไปยังดาวบ้านเกิด ทั้งหมดนี้คือโลกแห่งจินตนาการที่เด็กหญิงค้นพบความหมายแห่งชีวิตมากมายระหว่างทาง
ข้อหกปล่อยให้ลูกเป็นเด็กตามวัย
จากการเลี้ยงดูของแม่ ส่งผลให้เด็กหญิงเป็นเด็กที่ค่อนข้างโตเป็นผู้ใหญ่ในทุกๆ ด้าน ฉลาด มีความคิด มีความรับผิดชอบ จนเหมือนเป็นผู้ใหญ่ในร่างเด็ก แต่ขาดสังคม ขาดเพื่อน จนกระทั่งมาเจอคุณลุงนักบินที่มาเติมเต็มชีวิตในวัยเด็ก ผู้ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นทั้งเพื่อนสนิท ญาติผู้ใหญ่ และพ่อคนที่สองของเธอ ที่สำคัญยังเป็นผู้เปิดโลกแห่งจินตนาการให้กับเธออีกด้วย ได้ทำให้หนูน้อยเข้าสู่ประตูแห่งจินตนาการ และกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
การได้ดูภาพยนตร์เรื่องเจ้าชายน้อย ทำให้ได้รับการกระตุ้นต่อมวัยเด็กอีกครั้ง และเรียนรู้ว่ายิ่งเราเป็นผู้ใหญ่ มีวุฒิภาวะทำให้เราคิดได้ว่าการจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ไม่จำเป็นต้องลืมความสุขในวัยเด็กก็ได้
ในโลกที่เต็มไปด้วยความชาชินของชีวิตประจำวันที่ต้องประนีประนอมกับสรรพสิ่งและสภาพแวดล้อมรอบตัว บางทีการได้หวลกลับไปรำลึกถึงวัยเด็กหรืออุดมคติในอดีตบ้างก็ทำให้ชีวิตชุ่มชื้นขึ้นได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
การไปชมภาพยนตร์ฉบับการ์ตูนอนิเมชัน เรื่อง เจ้าชายน้อย (The Little Prince) ก็เช่นกัน แต่เรื่องนี้ขอแนะนำให้อ่านหนังสือก่อนไปชม จะทำให้เข้าใจอย่างลึกซึ้ง
เพราะเมื่อไปชมแล้ว ทำให้ได้มีโอกาสทบทวนถึงเนื้อหาของหนังสือเจ้าชายน้อยอีกครั้ง และก็ได้รับการคลายความสงสัยว่าผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องเจ้าชายน้อยจะผลิตออกมาแนวไหน เดินเรื่องอย่างไร ก็ได้รับคำตอบและรู้สึกว่าไม่ผิดหวัง
ยิ่งเมื่อรู้ว่าเขาใช้เวลาการสร้างถึง 4 ปีเต็ม มีการดัดแปลง ตีความเพิ่มเติม และปรับบริบทให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ซึ่งต้นฉบับเดิมตีพิมพ์ตั้งแต่ 1943 โดยยังคงสาระและนัยสำคัญของหนังสือต้นฉบับของ Antoine de Saint-Exupery ไว้ได้เป็นอย่างดี ยิ่งทำให้น่าสนใจหนักมาก
Mark Osborne เป็นผู้กำกับเรื่องนี้ ใช้วิธีเดินเรื่องซ้อนเรื่องได้อย่างน่าสนใจ นำเนื้อหาในหนังสือมาเชื่อมโยงกับคนในยุคปัจจุบันผ่านมุมมองของเด็กผู้หญิง โดยใช้เทคนิคเล่าเรื่องผ่านภาพ ในโลกปัจจุบันก็จะเป็นอนิเมชัน 3D พอเข้าสู่เรื่องราวของเจ้าชายน้อยกลายเป็นสต็อปโมชันคล้ายตัวละครที่สร้างขึ้นจากกระดาษที่ดูเก๋มาก ใครที่อ่านเรื่องเจ้าชายน้อยก็จะได้ความรู้สึกว่าภาพวาดที่คุ้นชินพลันมีชีวิตขยับขับเคลื่อนได้
เนื้อเรื่องเปิดด้วยแม่ลูกคู่หนึ่ง แม่เป็นผู้หญิงทำงาน ดูแลหนูน้อยเด็กหญิงวัย 9 ขวบ ซึ่งถูกเลี้ยงดูอย่างเคร่งครัดต่อการใช้ชีวิต ถูกเลี้ยงให้อยู่ในกรอบ กฎระเบียบ และมีแผนที่ชีวิตอย่างละเอียด
สองแม่ลูกย้ายบ้านใหม่เพื่อเตรียมพร้อมก่อนเข้าโรงเรียนใหม่ เด็กหญิงได้รู้จักกับคุณลุงใจดีข้างบ้านที่วัน ๆ หมกมุ่นอยู่กับการซ่อมเครื่องบินลำเก่า และได้ฟังคุณลุงนักบินเล่าเรื่อง สมัยหนุ่ม ๆ ที่เขาขับเครื่องบินไปตกกลางทะเลทรายซาฮาร่าและพบกับเจ้าชายน้อย
เจ้าชายน้อยที่คุณลุงนักบินไปพบนั้น มาจากดาวเล็ก ๆ และทั้งดาวมีแค่เขากับดอกกุหลาบแสนสวยที่เขาทิ้งมา เจ้าชายน้อยเดินทางไปดาวต่าง ๆ ได้เจอและเรียนรู้อะไรจากผู้ใหญ่แปลก ๆ ต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นพระราชา, คนหลงตัวเอง, นักธุรกิจหน้าเงิน, คนจุดโคม, สุนัขจิ้งจอก และแน่นอน...งูพิษแอฟริกา อย่างที่คนอ่านหนังสือเจ้าชายน้อยจะรู้ดีอยู่แล้ว แต่หนังเรื่องนี้ตัดสลับระหว่างเรื่องราวในหนังสือกับเรื่องราวที่สร้างขึ้นมาใหม่ เหมือนเป็นหนังซ้อนหนัง ก่อนจะนำไปสู่การเพิ่มคำถามและการตีความใหม่ในช่วงท้าย
คำถามใหม่ที่ว่าถ้าเจ้าชายน้อยโตเป็นผู้ใหญ่ เขาจะยังคงมีความเป็นเจ้าชายน้อยเหมือนเดิมหรือไม่ ?
หรือก็แค่เป็นนายเจ้าชายน้อย ผู้ใหญ่อีกคนที่เหมือนผู้ใหญ่ทั่วไป ??
วันหนึ่งเด็กสาวขับเครื่องบินเพื่อสานฝันและไปตามหาเจ้าชายน้อยแทนคุณลุงนักบินซึ่งกำลังป่วยหนักตามความชราภาพ เธอไปลงจอดที่ดาวแห่งหนึ่งซึ่งมีแต่ผู้ใหญ่ ไม่มีเด็กเลยสักคน และได้พบกับเจ้าชายน้อย ซึ่งปัจจุบันโตเต็มตัวกลายเป็น Mr.Prince หรือนายเจ้าชายน้อยแล้ว และท่าทางเหมือนจะลืมวัยเยาว์ของตนรวมถึงนักบินที่เขาเจอกลางทะเลทรายไปแล้ว เด็กหญิงจึงต้องพยายามดึงสติ Mr. Prince กลับมา และพาเขากลับไปดาวบ้านเกิด เพื่อกลับไปหาดอกกุหลาบที่เขาเคยทิ้งไป
และแน่นอนเมื่อดูภาพยนตร์เรื่องนี้จบ แต่เรื่องราวในสมองไม่ได้จบไปด้วย กลับรู้สึกได้ว่ามีข้อคิดอะไรดี ๆ ติดออกมาด้วย และเป็นข้อคิดดี ๆ ในมุมสำหรับคนเป็นพ่อแม่ด้วย
ข้อแรกอย่าใช้ชีวิตเป็นแพทเทิร์น
แม่ของหนูน้อยวัย 9 ขวบ เป็นสัญลักษณ์และมุมสะท้อนของพ่อแม่คนเมืองที่ใช้ชีวิตตามแพทเทิร์นประจำวัน ทำงานหนัก ก้มหน้าก้มตาหาเงิน เคร่งครัดต่อชีวิต มีเป้าหมายชัด และก็ต้องการให้ลูกเดินตามรอยด้วย รวมไปถึงการออกแบบตึกรามบ้านช่อง ที่ผู้สร้างต้องการสะท้อนให้เห็นว่าทุกอย่างจะเป็นกรอบ เป็นเหลี่ยม และเป็นแพทเทิร์นเหมือนกันไปหมด มองบางมุมมันก็ดูเป็นระเบียบเรียบร้อยดี แต่ความเป็นระเบียบนั้นก็น่าเบื่อและขาดชีวิตชีวาเช่นกัน
ข้อสองอย่าขีดเส้นชีวิตให้ลูกเดิน
เด็กผู้หญิงวัย 9 ปี คนหนึ่ง ถูกแม่กำกับบัญชาทุกอย่างในชีวิต ทุกอย่างต้องเป๊ะตามแผนชีวิตที่แม่วางเอาไว้ คอยวางแผนจัดการชีวิตลูก ประหนึ่งลูกเป็นเบี้ยบนกระดาน โดยที่ไม่เคยถามถึงความต้องการของลูกเลย จนวันนึงเมื่อเด็กน้อยได้รู้จักกับชายชราที่ผู้คนส่วนใหญ่มองว่าท่าทางบ๊อง ๆ ข้างบ้าน ความสนุกในวัยเด็กของเธอก็กลับมาอีกครั้ง
จริง ๆ แล้วชีวิตวัยเด็กเป็นสิ่งสำคัญและสวยงาม เด็กไม่ควรรีบโตเป็นผู้ใหญ่ก่อนวัยอันควร เพราะมิฉะนั้นอาจจะสูญเสียสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดไป ผู้ใหญ่ไม่ควรตีกรอบ บงการ ปิดกั้น หรือจำกัดชีวิตและจินตนาการของเด็ก ถ้าอยากให้เขาโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่งดงาม ก็ควรปล่อยให้เขาเติบโตในแบบของเขา
ข้อสามอย่าลืมชีวิตในวัยเด็ก
เจ้าชายน้อยทำให้เกิดคำถามว่า สิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้ มันคือความสุขใช่ไหม จริง ๆ แล้วเราลืมความสุขที่แท้จริงไปรึเปล่า การจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เราต้องหันหลังให้ความสุขวัยเด็กกันเลยหรือ มีหลายอย่างที่สะท้อนว่าการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ การแข่งขัน การอ่านหนังสือหัวปักหัวปำเพื่อได้เรียนโรงเรียนที่มีชื่อเสียง เพียงหวังว่าโตขึ้นจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีงานดี มีฐานะที่ดีในสังคม แล้วมันคือความสุขที่แท้จริงหรือ
ในเรื่องนี้ หนูน้อยได้เรียนรู้ว่า เป็นผู้ใหญ่ไม่ใช่เรื่องเลวร้าย แต่การลืมวัยเด็กต่างหากที่เลวร้าย
ข้อสี่สิ่งสำคัญไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา แต่สามารถรับรู้ได้ด้วยหัวใจ
หนังเรื่องนี้มีปรัชญาที่นำให้เราได้กลับมาคิดทบทวนตัวเองหลายอย่าง มุมมองความคิด การใช้ชีวิต แม้กระทั่งเรื่องมิตรภาพที่สุนัขจิ้งจอกได้สอนเอาไว้ สิ่งสำคัญบางอย่าง ก็ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา แต่ด้วยหัวใจต่างหาก
จริงหรือไม่ที่บางครั้งคนเป็นพ่อแม่ก็ใช้สายตาของพ่อแม่ในการตัดสินลูก โดยมิได้เข้าใจหรือเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้จักตัวเองอย่างแท้จริง เราสนใจแต่เรื่องรูปลักษณ์และภาพลักษณ์มากกว่าที่จะมองลูกด้วยหัวใจ มองว่าลูกต้องการอะไร ลูกชอบอะไร และทำอะไรได้ดีหรือเปล่า
ข้อห้าจินตนาการสำคัญสำหรับเด็กมาก
หลายฉากในภาพยนตร์ที่เด็กหญิงมีความสุขกับการท่องไปในโลกจินตนาการทำให้เด็กน้อยมีชีวิตชีวามาก ต่างจากการที่ต้องถูกแม่ชีดแผนชีวิตให้เดินอย่างชัดเจน เด็กหญิงได้ออกไปเปิดโลกกว้าง และได้ค้นพบว่าจริง ๆ แล้ว “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้ในตำราเท่านั้น”
เด็กหญิงได้พบว่าเจ้าชายน้อยอาศัยอยู่บนดาวดวงหนึ่งที่มีภูเขาไปสามลูกแล้วก็มีดอกกุหลาบเป็นเพื่อน เจ้าชายน้อยเฝ้าดูแลดอกกุหลาบอย่างดี แต่ก็ไม่วายทะเลาะกัน สุดท้ายเจ้าชายน้อยก็เกาะฝูงนกอพยพไปยังดวงดาวอื่น ๆ รอบข้างเพื่อหาเพื่อน จนวันหนึ่งได้มายังโลกมนุษย์ ได้พบเพื่อนใหม่เป็นสุนัขจิ้งจอก และนักบินกลางทะเลทราย ทำให้เจ้าชายน้อยได้เรียนรู้และพบกับสิ่งที่ออกตามหาก่อนจะกลับไปยังดาวบ้านเกิด ทั้งหมดนี้คือโลกแห่งจินตนาการที่เด็กหญิงค้นพบความหมายแห่งชีวิตมากมายระหว่างทาง
ข้อหกปล่อยให้ลูกเป็นเด็กตามวัย
จากการเลี้ยงดูของแม่ ส่งผลให้เด็กหญิงเป็นเด็กที่ค่อนข้างโตเป็นผู้ใหญ่ในทุกๆ ด้าน ฉลาด มีความคิด มีความรับผิดชอบ จนเหมือนเป็นผู้ใหญ่ในร่างเด็ก แต่ขาดสังคม ขาดเพื่อน จนกระทั่งมาเจอคุณลุงนักบินที่มาเติมเต็มชีวิตในวัยเด็ก ผู้ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นทั้งเพื่อนสนิท ญาติผู้ใหญ่ และพ่อคนที่สองของเธอ ที่สำคัญยังเป็นผู้เปิดโลกแห่งจินตนาการให้กับเธออีกด้วย ได้ทำให้หนูน้อยเข้าสู่ประตูแห่งจินตนาการ และกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
การได้ดูภาพยนตร์เรื่องเจ้าชายน้อย ทำให้ได้รับการกระตุ้นต่อมวัยเด็กอีกครั้ง และเรียนรู้ว่ายิ่งเราเป็นผู้ใหญ่ มีวุฒิภาวะทำให้เราคิดได้ว่าการจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดี ไม่จำเป็นต้องลืมความสุขในวัยเด็กก็ได้
ในโลกที่เต็มไปด้วยความชาชินของชีวิตประจำวันที่ต้องประนีประนอมกับสรรพสิ่งและสภาพแวดล้อมรอบตัว บางทีการได้หวลกลับไปรำลึกถึงวัยเด็กหรืออุดมคติในอดีตบ้างก็ทำให้ชีวิตชุ่มชื้นขึ้นได้
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่