วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน World Homeless Day หรือวันผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะโลก สำหรับในประเทศไทยมีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะหรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าเป็นคนไร้บ้านหรือคนเร่ร่อนเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีๆละประมาณ 5-10% ซึ่งปี พ.ศ. 2557 พบว่า มีผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,249 ราย
ผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะนี้มักจะอาศัยหลับนอนให้เราเห็นอยู่เป็นประจำอยู่ตามสวนสาธารณะ สถานีรถไฟสถานีขนส่ง ป้ายรถประจำทางและตามทางเท้า บางครั้งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมควบคุมตัวไว้ แต่เมื่อถึงเวลาถูกปล่อยตัวมาแล้วก็กลับมาใช้ชีวิตเป็นคนเร่ร่อนแบบเดิม จึงสามารถกล่าวได้ว่าปัญหานี้จึงยังคงเป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุดสักที
สาเหตุของการเป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเกิดจาก
1. ปัญหาครอบครัว ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่แตกแยก ขาดความรักความอบอุ่นภายในครอบครัว ครอบครัวมีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง การถูกกระทำรุนแรงทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจที่ทำให้เกิดความคับแค้นกดดันจนทำให้เลือกที่จะออกมาใช้ชีวิตเร่ร่อนนอกบ้านในที่สุด
2. ปัญหาความยากจน มีคนเร่ร่อนจำนวนมากที่ประสบปัญหาการขาดแคลนรายได้เนื่องจากไม่มีอาชีพ หรือมีอาชีพแต่รายได้น้อยไม่เพียงพอในการดำรงชีวิต อย่างเช่นคนที่อยู่ในเขตชนบทที่ต้องออกจากถิ่นฐานมาแสวงโชคหางานทำในกรุงเทพฯหรือเมืองใหญ่ๆ หลายคนประสบกับความผิดหวังเพราะหางานทำไม่ได้ ไม่มีเงินกินอยู่ยังไม่พอ หนำซ้ำยังไม่มีเงินที่จะกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดได้อีก จึงกลายมาเป็นคนเร่ร่อนไร้ที่อยู่ในเมืองใหญ่ไป บางคนต้องเป็นขอทานหรือเก็บขยะขายเพื่อประทังชีวิต แต่ที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือขายบริการทางเพศ ที่ทำให้เกิดเป็นปัญหาสังคมอย่างร้ายแรงตามมา
3. ปัญหาผู้ที่ถูกปล่อยตัวออกมาจากเรือนจำ มีบุคคลเหล่านี้จำนวนมากที่เมื่อถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำก็ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน เนื่องจากไม่มีบ้านหรือไม่กล้ากลับไปหาญาติพี่น้องของตน จึงตัดสินใจใช้ชีวิตเป็นคนเร่ร่อนกินนอนอยู่ตามที่สาธารณะ นอกจากนี้ ยังมีบุคคลในกลุ่มนี้เป็นจำนวนมากที่เมื่อไม่สามารถหางานที่จะเลี้ยงตนเองได้อย่างสุจริตก็มักจะเป็นพวกลักขโมย ฉัอโกง ค้ายาเสพติด หรือเป็นพวกมิจฉาชีพซึ่งเป็นภัยสังคมที่น่ากลัวอย่างยิ่ง
4. ปัญหาความเจ็บป่วย บางทีเราอาจจะเห็นได้ว่าบุคคลไร้บ้านหรือบุคคลเร่ร่อนบางคนนั้นมีปัญหาทางด้านสุขภาพทางกายหรือทางใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ป่วยเป็นโรคจิตประสาท เป็นโรคเอดส์ เป็นโรคที่มีสภาพไม่น่าดู ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนเหล่านี้มักจะถูกรังเกียจจากคนในครอบครัวจนถูกไล่ออกมาจากบ้าน จึงทำให้เขามาเป็นคนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอยู่อย่างทรมานกายใจไปวันๆ
5. ปัญหาบุคคลไร้สัญชาติ บุคคลเหล่านี้ไม่ได้ขึ้นทะเบียนราษฎรทำให้ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนหรือไม่มีเอกสารแสดงตนใดๆ ทำให้คนเหล่านี้ไม่มีโอกาสได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานในด้านต่างๆ อีกทั้งไม่สามารถเรียนหนังสือหรือประกอบอาชีพได้ จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ต้องกลายเป็นคนเร่ร่อนในที่สุด
วิธีที่รัฐจะช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตสาธารณะได้ มีดังนี้
1. รัฐควรจัดสถานที่ให้กับผู้ไร้บ้านผู้เร่ร่อนเป็นหลักแหล่ง โดยเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย และมีกฎเกณฑ์แน่นอน เช่น มีเวลาเปิดและเวลาปิดที่ชัดเจน เพื่อควบคุมให้บุคคลเหล่านี้อยู่เป็นที่เป็นทางและเพื่อให้เขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะอย่างน้อยก็มีที่พักที่คุ้มฟ้าคุ้มฝน และปลอดภัย
2. มีการจัดศูนย์ฝึกอาชีพให้กับบุคคลเหล่านี้ เช่น งานฝีมือ งานช่าง เพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพอย่างสุจริตได้ อีกทั้งจัดหาสถานประกอบการหรือหน่วยงานที่จะรองรับบุคคลเหล่านี้เข้าทำงานได้ด้วย
3. จัดการศึกษาให้อ่านออกเขียนได้ ถ้ายังเป็นเด็กควรจัดให้เรียนตามเกณฑ์ เพื่อที่ความรู้จะทำให้เขามีทางเลือกในชีวิตมากขึ้นและทำสิ่งที่ก่อประโยชน์กับตนเองและผู้อื่นได้มากขึ้นด้วย
4. ขึ้นทะเบียนให้กับคนเหล่านี้เพื่อที่เขาจะสามารถเข้ารับบริการขั้นพื้นฐานของรัฐได้อย่างเหมาะสม เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน
ผู้เขียนเห็นว่าบุคคลเร่ร่อนหรือคนไร้บ้านนี้เป็นบุคคลที่น่าสงสารมาก เพราะบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นมนุษย์เหมือนเราทุกคน มีความต้องการขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกันกับเรา แต่ต้องมาประสบกับความลำบากและภาวะต่างๆที่เป็นความไม่ปลอดภัยในชีวิต เช่น โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากการดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ภยันตรายที่มาจากคนหรือจากยานพาหนะต่างๆ มลพิษในท้องถนน หรือในกรณีของผู้หญิงและเด็กก็เสี่ยงต่อการล่วงละเมิดทางเพศเป็นอย่างมาก
ดังนั้น รัฐจึงควรเข้ามาดูแลจัดการกับบุคคลเหล่านี้อย่างจริงจังมากขึ้น ทั้งทางด้านสวัสดิการและทางด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อที่พวกเขาจะมีโอกาสในสังคมมากยิ่งขึ้นและอยู่ได้อย่างมีความสุขตลอดไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ผู้ที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะนี้มักจะอาศัยหลับนอนให้เราเห็นอยู่เป็นประจำอยู่ตามสวนสาธารณะ สถานีรถไฟสถานีขนส่ง ป้ายรถประจำทางและตามทางเท้า บางครั้งถูกเจ้าหน้าที่จับกุมควบคุมตัวไว้ แต่เมื่อถึงเวลาถูกปล่อยตัวมาแล้วก็กลับมาใช้ชีวิตเป็นคนเร่ร่อนแบบเดิม จึงสามารถกล่าวได้ว่าปัญหานี้จึงยังคงเป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุดสักที
สาเหตุของการเป็นผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะเกิดจาก
1. ปัญหาครอบครัว ผู้ใช้ชีวิตในที่สาธารณะส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่แตกแยก ขาดความรักความอบอุ่นภายในครอบครัว ครอบครัวมีแต่การทะเลาะเบาะแว้ง การถูกกระทำรุนแรงทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจที่ทำให้เกิดความคับแค้นกดดันจนทำให้เลือกที่จะออกมาใช้ชีวิตเร่ร่อนนอกบ้านในที่สุด
2. ปัญหาความยากจน มีคนเร่ร่อนจำนวนมากที่ประสบปัญหาการขาดแคลนรายได้เนื่องจากไม่มีอาชีพ หรือมีอาชีพแต่รายได้น้อยไม่เพียงพอในการดำรงชีวิต อย่างเช่นคนที่อยู่ในเขตชนบทที่ต้องออกจากถิ่นฐานมาแสวงโชคหางานทำในกรุงเทพฯหรือเมืองใหญ่ๆ หลายคนประสบกับความผิดหวังเพราะหางานทำไม่ได้ ไม่มีเงินกินอยู่ยังไม่พอ หนำซ้ำยังไม่มีเงินที่จะกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดได้อีก จึงกลายมาเป็นคนเร่ร่อนไร้ที่อยู่ในเมืองใหญ่ไป บางคนต้องเป็นขอทานหรือเก็บขยะขายเพื่อประทังชีวิต แต่ที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือขายบริการทางเพศ ที่ทำให้เกิดเป็นปัญหาสังคมอย่างร้ายแรงตามมา
3. ปัญหาผู้ที่ถูกปล่อยตัวออกมาจากเรือนจำ มีบุคคลเหล่านี้จำนวนมากที่เมื่อถูกปล่อยตัวออกจากเรือนจำก็ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน เนื่องจากไม่มีบ้านหรือไม่กล้ากลับไปหาญาติพี่น้องของตน จึงตัดสินใจใช้ชีวิตเป็นคนเร่ร่อนกินนอนอยู่ตามที่สาธารณะ นอกจากนี้ ยังมีบุคคลในกลุ่มนี้เป็นจำนวนมากที่เมื่อไม่สามารถหางานที่จะเลี้ยงตนเองได้อย่างสุจริตก็มักจะเป็นพวกลักขโมย ฉัอโกง ค้ายาเสพติด หรือเป็นพวกมิจฉาชีพซึ่งเป็นภัยสังคมที่น่ากลัวอย่างยิ่ง
4. ปัญหาความเจ็บป่วย บางทีเราอาจจะเห็นได้ว่าบุคคลไร้บ้านหรือบุคคลเร่ร่อนบางคนนั้นมีปัญหาทางด้านสุขภาพทางกายหรือทางใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ป่วยเป็นโรคจิตประสาท เป็นโรคเอดส์ เป็นโรคที่มีสภาพไม่น่าดู ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้าที่คนเหล่านี้มักจะถูกรังเกียจจากคนในครอบครัวจนถูกไล่ออกมาจากบ้าน จึงทำให้เขามาเป็นคนที่ใช้ชีวิตในที่สาธารณะอยู่อย่างทรมานกายใจไปวันๆ
5. ปัญหาบุคคลไร้สัญชาติ บุคคลเหล่านี้ไม่ได้ขึ้นทะเบียนราษฎรทำให้ไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนหรือไม่มีเอกสารแสดงตนใดๆ ทำให้คนเหล่านี้ไม่มีโอกาสได้รับการดูแลขั้นพื้นฐานในด้านต่างๆ อีกทั้งไม่สามารถเรียนหนังสือหรือประกอบอาชีพได้ จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้ต้องกลายเป็นคนเร่ร่อนในที่สุด
วิธีที่รัฐจะช่วยเหลือผู้ใช้ชีวิตสาธารณะได้ มีดังนี้
1. รัฐควรจัดสถานที่ให้กับผู้ไร้บ้านผู้เร่ร่อนเป็นหลักแหล่ง โดยเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย และมีกฎเกณฑ์แน่นอน เช่น มีเวลาเปิดและเวลาปิดที่ชัดเจน เพื่อควบคุมให้บุคคลเหล่านี้อยู่เป็นที่เป็นทางและเพื่อให้เขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะอย่างน้อยก็มีที่พักที่คุ้มฟ้าคุ้มฝน และปลอดภัย
2. มีการจัดศูนย์ฝึกอาชีพให้กับบุคคลเหล่านี้ เช่น งานฝีมือ งานช่าง เพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพอย่างสุจริตได้ อีกทั้งจัดหาสถานประกอบการหรือหน่วยงานที่จะรองรับบุคคลเหล่านี้เข้าทำงานได้ด้วย
3. จัดการศึกษาให้อ่านออกเขียนได้ ถ้ายังเป็นเด็กควรจัดให้เรียนตามเกณฑ์ เพื่อที่ความรู้จะทำให้เขามีทางเลือกในชีวิตมากขึ้นและทำสิ่งที่ก่อประโยชน์กับตนเองและผู้อื่นได้มากขึ้นด้วย
4. ขึ้นทะเบียนให้กับคนเหล่านี้เพื่อที่เขาจะสามารถเข้ารับบริการขั้นพื้นฐานของรัฐได้อย่างเหมาะสม เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน
ผู้เขียนเห็นว่าบุคคลเร่ร่อนหรือคนไร้บ้านนี้เป็นบุคคลที่น่าสงสารมาก เพราะบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นมนุษย์เหมือนเราทุกคน มีความต้องการขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกันกับเรา แต่ต้องมาประสบกับความลำบากและภาวะต่างๆที่เป็นความไม่ปลอดภัยในชีวิต เช่น โรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากการดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ภยันตรายที่มาจากคนหรือจากยานพาหนะต่างๆ มลพิษในท้องถนน หรือในกรณีของผู้หญิงและเด็กก็เสี่ยงต่อการล่วงละเมิดทางเพศเป็นอย่างมาก
ดังนั้น รัฐจึงควรเข้ามาดูแลจัดการกับบุคคลเหล่านี้อย่างจริงจังมากขึ้น ทั้งทางด้านสวัสดิการและทางด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อที่พวกเขาจะมีโอกาสในสังคมมากยิ่งขึ้นและอยู่ได้อย่างมีความสุขตลอดไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่