อ.พญ. ชโลบล เฉลิมศรี
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
ผู้ป่วยสมองเสื่อมกับการรับประทานอาหารนั้น เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากดูแลใส่ใจอย่างถูกต้องแล้ว จะช่วยลดปัญหาการดูแลไปได้มากทีเดียว
โดยทั่วไป ผู้ป่วยสมองเสื่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดอาหาร สาเหตุอาจเกิดจากความจำ ความสามารถในการประกอบอาหารลดลง การกลืนที่ผิดปกติ รวมทั้งปัญหาเรื่องพฤติกรรมและอารมณ์
ทั้งนี้ ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีปัญหาในการรับประทานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และระยะของภาวะสมองเสื่อมรวมถึงโรคร่วมที่เป็น
โดยคุณหมอชโลบลแนะนำว่า อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยสมองเสื่อม ควรมีพลังงาน โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามินเพียงพอในแต่ละวัน มีสีสันสวยงาม มีผักผลไม้รับประทานกันท้องผูก แต่อาหารที่มีไขมันมากนั้น ควรรับประทานแต่น้อย
ในผู้ป่วยที่ไม่มีปัญหาโรคหัวใจหรือโรคไต ควรดื่มน้ำให้เพียงพอหรือประมาณ 6 - 8 แก้วต่อวัน และเนื่องจากผู้ป่วยสมองเสื่อมมีแนวโน้มที่จะรับประทานอาหารช้าและรับประทานอาหารในแต่ละมื้อได้น้อยกว่าคนทั่วไป จึงอาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานของว่างเล็กน้อย หรือผลไม้ในช่วงบ่ายของแต่ละวัน
ในรายที่มีปัญหาการกลืน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินความสามารถในการรับประทานอาหาร เนื่องจากการกลืนที่ผิดปกติ หรือสำลักระหว่างรับประทานอาหารนั้น อาจก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ปอดอักเสบจากการสำลัก นอกจากนี้ บรรยากาศในการรับประทานอาหาร ควรเป็นบรรยากาศที่มีความสุข ผ่อนคลาย มีสมาชิกในครอบครัวอยู่พร้อมหน้า
สำหรับการจัดโต๊ะอาหารหรือที่นั่งรับประทานอาหารนั้น ผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมควรต้องปรับการดูแลให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆ เช่น บางรายอาจชอบรับประทานอาหารที่เดิม ๆ ที่คุ้นเคย บางรายอาจชอบรับประทานอาหารนอกสถานที่ เป็นต้น แต่ในรายที่ไม่สามารถตักอาหารเข้าปากเองได้นั้น ผู้ดูแลควรปรับอาหารให้ขนาดพอคำก่อนป้อนอาหารช้า ๆ
อย่างไรก็ดี การดูแลเรื่องอาหารการกินในผู้ป่วยสมองเสื่อม เราควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเองให้มากที่สุดและทำเองได้นานที่สุด โดยให้ผู้ป่วยเป็นผู้เลือกรายการอาหารที่ชื่นชอบและมีคุณค่าทางอาหารด้วยตัวเอง หากแต่บุคคลในครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญ เพียงเอาใจใส่สม่ำเสมอ ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงและดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีได้เช่นกัน
-----------
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
ช่อง 5 รายการพิเศษวันมหิดล เวลา 22.20 น.
เสาร์ 19 ก.ย. นี้ พลาดไม่ได้กับรายการพิเศษวันมหิดล ในธีม “พลังแห่งการให้ พลังแห่งความสุข” จากผลงาน 3 ผู้กำกับมากฝีมือ ปรัชญา ปิ่นแก้ว บัณฑิต ทองดี ภาคภูมิ วงศ์จินดา กับชีวิตจริงของคนไข้ 1. “ปาฏิหาริย์” เมื่อตับได้รับการเปลี่ยน นำโดย ปู แบล็กเฮด โต้ง บุดดาเบลส แน็ต -เอวิตรา 2. “ปานแต่กำเนิด” ปมในใจของแพทย์ที่นำไปสู่การช่วยเหลือคนไข้รายอื่น โดย หมอก้อง-สรวิชญ์ โอ๊ค-กีรติ 3. “นิดา” เป็น HIV ก็สร้างครอบครัวได้ โดย ตี๋ - หนิม AF พร้อมเจาะลึกในรายการพิเศษ “เจาะใจ” แล้วพบกับมิวสิกวิดีโอเพลง “สองหมื่น” จากแสตมป์-อภิวัชร์ ที่ให้ข้อคิดดี ๆ มาพร้อมสาระบันเทิงมากมาย ติดตามชมเต็ม ๆ และร่วมบริจาคในรายการทาง ช่อง 5 และถ่ายทอดสดทาง TNN 2 ในระบบ KU Band ช่อง 784 รายได้ช่วยผู้ป่วยด้อยโอกาส รพ.ศิริราช
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม
ผู้ป่วยสมองเสื่อมกับการรับประทานอาหารนั้น เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากดูแลใส่ใจอย่างถูกต้องแล้ว จะช่วยลดปัญหาการดูแลไปได้มากทีเดียว
โดยทั่วไป ผู้ป่วยสมองเสื่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดอาหาร สาเหตุอาจเกิดจากความจำ ความสามารถในการประกอบอาหารลดลง การกลืนที่ผิดปกติ รวมทั้งปัญหาเรื่องพฤติกรรมและอารมณ์
ทั้งนี้ ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีปัญหาในการรับประทานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุ และระยะของภาวะสมองเสื่อมรวมถึงโรคร่วมที่เป็น
โดยคุณหมอชโลบลแนะนำว่า อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยสมองเสื่อม ควรมีพลังงาน โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามินเพียงพอในแต่ละวัน มีสีสันสวยงาม มีผักผลไม้รับประทานกันท้องผูก แต่อาหารที่มีไขมันมากนั้น ควรรับประทานแต่น้อย
ในผู้ป่วยที่ไม่มีปัญหาโรคหัวใจหรือโรคไต ควรดื่มน้ำให้เพียงพอหรือประมาณ 6 - 8 แก้วต่อวัน และเนื่องจากผู้ป่วยสมองเสื่อมมีแนวโน้มที่จะรับประทานอาหารช้าและรับประทานอาหารในแต่ละมื้อได้น้อยกว่าคนทั่วไป จึงอาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานของว่างเล็กน้อย หรือผลไม้ในช่วงบ่ายของแต่ละวัน
ในรายที่มีปัญหาการกลืน ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินความสามารถในการรับประทานอาหาร เนื่องจากการกลืนที่ผิดปกติ หรือสำลักระหว่างรับประทานอาหารนั้น อาจก่อให้เกิดผลเสีย เช่น ปอดอักเสบจากการสำลัก นอกจากนี้ บรรยากาศในการรับประทานอาหาร ควรเป็นบรรยากาศที่มีความสุข ผ่อนคลาย มีสมาชิกในครอบครัวอยู่พร้อมหน้า
สำหรับการจัดโต๊ะอาหารหรือที่นั่งรับประทานอาหารนั้น ผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมควรต้องปรับการดูแลให้เหมาะสมกับผู้ป่วยเป็นรายๆ เช่น บางรายอาจชอบรับประทานอาหารที่เดิม ๆ ที่คุ้นเคย บางรายอาจชอบรับประทานอาหารนอกสถานที่ เป็นต้น แต่ในรายที่ไม่สามารถตักอาหารเข้าปากเองได้นั้น ผู้ดูแลควรปรับอาหารให้ขนาดพอคำก่อนป้อนอาหารช้า ๆ
อย่างไรก็ดี การดูแลเรื่องอาหารการกินในผู้ป่วยสมองเสื่อม เราควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเองให้มากที่สุดและทำเองได้นานที่สุด โดยให้ผู้ป่วยเป็นผู้เลือกรายการอาหารที่ชื่นชอบและมีคุณค่าทางอาหารด้วยตัวเอง หากแต่บุคคลในครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญ เพียงเอาใจใส่สม่ำเสมอ ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงและดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีได้เช่นกัน
-----------
พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช
ช่อง 5 รายการพิเศษวันมหิดล เวลา 22.20 น.
เสาร์ 19 ก.ย. นี้ พลาดไม่ได้กับรายการพิเศษวันมหิดล ในธีม “พลังแห่งการให้ พลังแห่งความสุข” จากผลงาน 3 ผู้กำกับมากฝีมือ ปรัชญา ปิ่นแก้ว บัณฑิต ทองดี ภาคภูมิ วงศ์จินดา กับชีวิตจริงของคนไข้ 1. “ปาฏิหาริย์” เมื่อตับได้รับการเปลี่ยน นำโดย ปู แบล็กเฮด โต้ง บุดดาเบลส แน็ต -เอวิตรา 2. “ปานแต่กำเนิด” ปมในใจของแพทย์ที่นำไปสู่การช่วยเหลือคนไข้รายอื่น โดย หมอก้อง-สรวิชญ์ โอ๊ค-กีรติ 3. “นิดา” เป็น HIV ก็สร้างครอบครัวได้ โดย ตี๋ - หนิม AF พร้อมเจาะลึกในรายการพิเศษ “เจาะใจ” แล้วพบกับมิวสิกวิดีโอเพลง “สองหมื่น” จากแสตมป์-อภิวัชร์ ที่ให้ข้อคิดดี ๆ มาพร้อมสาระบันเทิงมากมาย ติดตามชมเต็ม ๆ และร่วมบริจาคในรายการทาง ช่อง 5 และถ่ายทอดสดทาง TNN 2 ในระบบ KU Band ช่อง 784 รายได้ช่วยผู้ป่วยด้อยโอกาส รพ.ศิริราช
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่