อาการเจ็บป่วยเล็กน้อยคนทั่วไปสามารถหยิบยาสามัญประจำบ้านมารักษาได้ แต่สำหรับผู้พิการทางสายตาถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย หากจะหยิบยามาดูแลรักษาด้วยตัวเอง เพราะหากหยิบยามาผิดก็อาจเป็นอันตรายต่อตนเองได้ จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาคนสายตาปกติในการจัดยามาให้
นักศึกษาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาวิชามีเดียอาตส์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขามีเดียอาตส์ คือ น.ส.ธัชพรรณ จีนเวชศาสตร์ น.ส.ปพิชญา รอดแผ้วพาล และ น.ส.วรรณวดี เหลืองสุทธิพันธ์ ได้เห็นปัญหานี้และรวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ต่อสังคม และเพิ่มความสะดวกสบายในการบริการด้านเภสัชกรรมให้แก่ผู้พิการทางสายตามากขึ้น
ทั้งสองได้ผลิตผลงาน “การออกแบบฉลากยาสามัญประจำบ้านสำหรับผู้พิการทางสายตา” ซึ่ง ธัชพรรณ หนึ่งในทีมกล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลพบว่า โดยปกติแล้วยาที่ผู้พิการทางสายตาสามารถทานเองได้ก็คือยาสามัญประจำบ้าน แต่ทุกครั้งจะต้องให้คนที่มีสายตาปกติหยิบให้ จึงคิดออกแบบฉลากยาที่ผู้พิการทางสายตาสามารถเลือกทานได้โดยการช่วยเหลือตัวเอง
“ผู้พิการทางสายตา หรือตาบอดมีทั้งบอดเลือนราง และบอดสนิท ซึ่งที่เรารู้กันคือคนเหล่านี้ต้องเรียนรู้การอ่านอักษรเบล แต่การอ่านอักษรเบรลนั้นไม่ง่ายนัก และยังมีคนตาบอดอีกมากที่ยังอ่านอักษรเบลไม่ออก ดังนั้น เราจึงทำฉลากยาขึ้นมาในรูปแบบสติกเกอร์ที่มีสัญลักษณ์ลายเส้นกราฟิกนูนแบบต่างๆ เพื่อนำไปแปะกับซองหรือขวดยาสามัญประจำบ้านแต่ละประเภท เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเลือกรับประทานยาได้ด้วยตัวเองจากการจำสัญลักษณ์นั้นๆ”
ทางด้าน ปพิชญา กล่าวเสริมว่า ออกแบบสัญลักษณ์ต่างๆ โดยนำหลักทฤษฎีทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์มาประยุกต์ใช้ โดยนำความหมายของเส้นมาโยงเข้ากับอาการเจ็บป่วย เช่น ยาแก้เมารถ ออกแบบฉลากที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งแบบก้นหอย เป็นเส้นที่มีลักษณะหมุนวน สื่อถึงอาการวิงเวียนศีรษะ ยาแก้ลดไข้ ออกแบบฉลากยาที่มีลักษณะเป็นเส้นประมีความหมายถึงความไม่ต่อเนื่อง และความเครียด สื่อถึงอาการปวดหัว ตัวร้อน หรือคั่นเนื้อคั่นตัว และยาธาตุน้ำขาว ออกแบบฉลากให้มีลักษณะเป็นเส้นซิกแซ็ก เป็นเส้นที่มีความหมายไม่ราบเรียบ การเคลื่อนไหว ความรุนแรง สื่อถึงอาการปวดท้องหรือแสบท้อง
ส่วน วรรณวดี กล่าวทิ้งท้าย ว่า หลังจากออกแบบฉลากยาเรียบร้อยแล้ว ได้นำไปทดลองใช้กับผู้พิการทางสายตาในสถานที่ต่างๆ อาทิ โรงเรียนพระมหาไถ่ ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการที่บางขุนเทียนและนครปฐม เพื่อทดสอบเกี่ยวกับการใช้งาน 3 ส่วน คือ ความนูนของสัญลักษณ์เพื่อให้ง่ายต่อการสัมผัส ขนาดของเส้น และลักษณะของสัญลักษณ์ต่างๆ และเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำจึงมีการแบ่งยาสามัญประจำบ้านเป็น 4 หมวดที่สำคัญตามหลักเภสัชกรรม คือ ยาที่เกี่ยวกับอาการปวดท้อง การขับถ่าย กลุ่มยาบรรเทาอาการ และระบบทางเดินหายใจ โดยแบ่งเป็น 9 ตัวยาต่อ 1 หมวดหมู่ ซึ่งในอนาคตมีโครงการที่จะนำฉลากยาเหล่านี้ไปมอบให้กับผู้พิการทางสายตาทั้ง 3 แห่งที่กล่าวไว้ข้างต้นด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นักศึกษาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรศิลปบัณฑิตสาขาวิชามีเดียอาตส์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขามีเดียอาตส์ คือ น.ส.ธัชพรรณ จีนเวชศาสตร์ น.ส.ปพิชญา รอดแผ้วพาล และ น.ส.วรรณวดี เหลืองสุทธิพันธ์ ได้เห็นปัญหานี้และรวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ต่อสังคม และเพิ่มความสะดวกสบายในการบริการด้านเภสัชกรรมให้แก่ผู้พิการทางสายตามากขึ้น
ทั้งสองได้ผลิตผลงาน “การออกแบบฉลากยาสามัญประจำบ้านสำหรับผู้พิการทางสายตา” ซึ่ง ธัชพรรณ หนึ่งในทีมกล่าวว่า จากการเก็บข้อมูลพบว่า โดยปกติแล้วยาที่ผู้พิการทางสายตาสามารถทานเองได้ก็คือยาสามัญประจำบ้าน แต่ทุกครั้งจะต้องให้คนที่มีสายตาปกติหยิบให้ จึงคิดออกแบบฉลากยาที่ผู้พิการทางสายตาสามารถเลือกทานได้โดยการช่วยเหลือตัวเอง
“ผู้พิการทางสายตา หรือตาบอดมีทั้งบอดเลือนราง และบอดสนิท ซึ่งที่เรารู้กันคือคนเหล่านี้ต้องเรียนรู้การอ่านอักษรเบล แต่การอ่านอักษรเบรลนั้นไม่ง่ายนัก และยังมีคนตาบอดอีกมากที่ยังอ่านอักษรเบลไม่ออก ดังนั้น เราจึงทำฉลากยาขึ้นมาในรูปแบบสติกเกอร์ที่มีสัญลักษณ์ลายเส้นกราฟิกนูนแบบต่างๆ เพื่อนำไปแปะกับซองหรือขวดยาสามัญประจำบ้านแต่ละประเภท เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเลือกรับประทานยาได้ด้วยตัวเองจากการจำสัญลักษณ์นั้นๆ”
ทางด้าน ปพิชญา กล่าวเสริมว่า ออกแบบสัญลักษณ์ต่างๆ โดยนำหลักทฤษฎีทัศนธาตุและองค์ประกอบศิลป์มาประยุกต์ใช้ โดยนำความหมายของเส้นมาโยงเข้ากับอาการเจ็บป่วย เช่น ยาแก้เมารถ ออกแบบฉลากที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งแบบก้นหอย เป็นเส้นที่มีลักษณะหมุนวน สื่อถึงอาการวิงเวียนศีรษะ ยาแก้ลดไข้ ออกแบบฉลากยาที่มีลักษณะเป็นเส้นประมีความหมายถึงความไม่ต่อเนื่อง และความเครียด สื่อถึงอาการปวดหัว ตัวร้อน หรือคั่นเนื้อคั่นตัว และยาธาตุน้ำขาว ออกแบบฉลากให้มีลักษณะเป็นเส้นซิกแซ็ก เป็นเส้นที่มีความหมายไม่ราบเรียบ การเคลื่อนไหว ความรุนแรง สื่อถึงอาการปวดท้องหรือแสบท้อง
ส่วน วรรณวดี กล่าวทิ้งท้าย ว่า หลังจากออกแบบฉลากยาเรียบร้อยแล้ว ได้นำไปทดลองใช้กับผู้พิการทางสายตาในสถานที่ต่างๆ อาทิ โรงเรียนพระมหาไถ่ ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการที่บางขุนเทียนและนครปฐม เพื่อทดสอบเกี่ยวกับการใช้งาน 3 ส่วน คือ ความนูนของสัญลักษณ์เพื่อให้ง่ายต่อการสัมผัส ขนาดของเส้น และลักษณะของสัญลักษณ์ต่างๆ และเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำจึงมีการแบ่งยาสามัญประจำบ้านเป็น 4 หมวดที่สำคัญตามหลักเภสัชกรรม คือ ยาที่เกี่ยวกับอาการปวดท้อง การขับถ่าย กลุ่มยาบรรเทาอาการ และระบบทางเดินหายใจ โดยแบ่งเป็น 9 ตัวยาต่อ 1 หมวดหมู่ ซึ่งในอนาคตมีโครงการที่จะนำฉลากยาเหล่านี้ไปมอบให้กับผู้พิการทางสายตาทั้ง 3 แห่งที่กล่าวไว้ข้างต้นด้วย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่