“รัชตะ” สั่ง สปสช. ชี้แจงทุกประเด็น หลัง คตร. ตรวจสอบการการใช้เงิน ภายในวันที่ 15 มิ.ย. ด้าน “ยงยุทธ” ตั้ง คกก. ตรวจสอบการมใช้เงิน ด้าน “หมอประชุมพร” ตั้งข้อสงสัย คตร. ไม่แจ้งผลสอบ หวั่นคนในตั้ง คกก. พิจารณาเป็นการฟอกผิด จี้ตั้ง คกก. คนนอกพิจารณาผลสอบ
วันนี้ (3 มิ.ย.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เตรียมรายงานนายกรัฐมนตรีถึงผลการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบการใช้เงินผิดประเภทและให้ดำเนินการแก้ไข ว่า คตร. ตรวจสอบการทำงานของ สปสช. แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ซึ่งแต่ละประเด็นได้มอบให้ สปสช. ชี้แจงและเสนอกลับ คตร. ภายในวันที่ 15 มิ.ย. ประกอบด้วย 1. ประเด็นอำนาจหน้าที่ของ สปสช. ในการบริหารเงิน ขณะนี้ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแล้ว 1 ชุด มีผู้ตรวจราชการจากสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นประธาน และมีกรรมการทั้งจากคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า 2. ประเด็นงบค่าเสื่อมควร คตร. เห็นว่า ไปดูการใช้จ่ายงบว่าตรงตามเกณฑ์และมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร เรื่องนี้ทั้ง สป.สธ. และ สปสช. ได้ร่วมกันตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ และ 3. กรณีงบองค์การเภสัชกรรม (อภ.) มอบให้ สปสช. จัดสรรให้สถานพยาบาลในสังกัดทำการส่งเสริมวิชาการต่างๆ โดยต้องมีรายละเอียดการจัดทำโครงการ แนวทาง ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น แต่ทาง คตร. มองว่าการใช้งบดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ก็จะมีการพิจารณาด้วย
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) ในฐานะตัวแทนกระทรวงสาธารณสุขผู้ร้องต่อ คตร. กล่าวว่า ขอตั้งคำถามใน 3 ประเด็น คือ 1. ทำไม คตร. ถึงไม่แจ้งผลการตรวจสอบให้ตน ในฐานะผู้ร้องเรื่องนี้ 2. รมว.สธ. คนที่รับผลการตรวจสอบ สปสช. จาก คตร. ทำไมต้องปกปิดให้เรื่องนี้เป็นความลับ และ 3. รมว.สธ. แม้จะเป็นประธานบอร์ด สปสช. แต่มีอำนาจข้อไหนที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาตามข้อเสนอแนะของ คตร. จะเข้าข่ายฟอกผิดให้ตัวเองหรือไม่
“ขอถามว่า รมว.สธ. และ เลขาธิการ สปสช. มีอำนาจอะไรในการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้เอง เพราะเหมือนเป็นการฟอกผิดตัวเอง เรื่องนี้ คตร. ที่เป็นหน่วยงานกลางเป็นผู้เข้ามาตรวจสอบ เพราะฉะนั้นคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้น มาพิจารณาตามข้อเสนอแนะของ คตร.ก็ต้องเป็นคณะกรรมการจากหน่วยงานกลางเหมือนกัน ไม่ใช่ตั้งคนภายใน สปสช. หรือ สธ. โดยเฉพาะประเด็นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระเบียบกระทรวงการคลัง และ สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะมีการจับตาคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นอย่างใกล้ชิด และทำไม รมว.สธ. ถึงไม่กล้าเปิดเผยผลการตรวจสอบของ คตร. ที่ชัดเจนให้ประชาชนรู้ ถ้าจริงใจจริง ทำไมต้องอมพะนำ” พญ.ประชุมพร กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (3 มิ.ย.) ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เตรียมรายงานนายกรัฐมนตรีถึงผลการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พบการใช้เงินผิดประเภทและให้ดำเนินการแก้ไข ว่า คตร. ตรวจสอบการทำงานของ สปสช. แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ซึ่งแต่ละประเด็นได้มอบให้ สปสช. ชี้แจงและเสนอกลับ คตร. ภายในวันที่ 15 มิ.ย. ประกอบด้วย 1. ประเด็นอำนาจหน้าที่ของ สปสช. ในการบริหารเงิน ขณะนี้ นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแล้ว 1 ชุด มีผู้ตรวจราชการจากสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นประธาน และมีกรรมการทั้งจากคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า 2. ประเด็นงบค่าเสื่อมควร คตร. เห็นว่า ไปดูการใช้จ่ายงบว่าตรงตามเกณฑ์และมีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร เรื่องนี้ทั้ง สป.สธ. และ สปสช. ได้ร่วมกันตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อตรวจสอบ และ 3. กรณีงบองค์การเภสัชกรรม (อภ.) มอบให้ สปสช. จัดสรรให้สถานพยาบาลในสังกัดทำการส่งเสริมวิชาการต่างๆ โดยต้องมีรายละเอียดการจัดทำโครงการ แนวทาง ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น แต่ทาง คตร. มองว่าการใช้งบดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ก็จะมีการพิจารณาด้วย
พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สพศท.) ในฐานะตัวแทนกระทรวงสาธารณสุขผู้ร้องต่อ คตร. กล่าวว่า ขอตั้งคำถามใน 3 ประเด็น คือ 1. ทำไม คตร. ถึงไม่แจ้งผลการตรวจสอบให้ตน ในฐานะผู้ร้องเรื่องนี้ 2. รมว.สธ. คนที่รับผลการตรวจสอบ สปสช. จาก คตร. ทำไมต้องปกปิดให้เรื่องนี้เป็นความลับ และ 3. รมว.สธ. แม้จะเป็นประธานบอร์ด สปสช. แต่มีอำนาจข้อไหนที่จะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาตามข้อเสนอแนะของ คตร. จะเข้าข่ายฟอกผิดให้ตัวเองหรือไม่
“ขอถามว่า รมว.สธ. และ เลขาธิการ สปสช. มีอำนาจอะไรในการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้เอง เพราะเหมือนเป็นการฟอกผิดตัวเอง เรื่องนี้ คตร. ที่เป็นหน่วยงานกลางเป็นผู้เข้ามาตรวจสอบ เพราะฉะนั้นคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้น มาพิจารณาตามข้อเสนอแนะของ คตร.ก็ต้องเป็นคณะกรรมการจากหน่วยงานกลางเหมือนกัน ไม่ใช่ตั้งคนภายใน สปสช. หรือ สธ. โดยเฉพาะประเด็นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระเบียบกระทรวงการคลัง และ สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะมีการจับตาคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นอย่างใกล้ชิด และทำไม รมว.สธ. ถึงไม่กล้าเปิดเผยผลการตรวจสอบของ คตร. ที่ชัดเจนให้ประชาชนรู้ ถ้าจริงใจจริง ทำไมต้องอมพะนำ” พญ.ประชุมพร กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่