สั่ง ตั้ง กก.ตรวจสอบความเสียหายและทรัพย์สิน สกสค.พร้อมเรียกคืนรถ-ไอโฟนเงินกู้จากบอร์ดเก่าเล็งฟันโทษแพ่ง-อาญา ประธานกองทุน ช.พ.ค.ไม่ตรวจสอบ
วันนี้ (29 พ.ค.) รศ.นพ.กำจร ตติยกวี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการศธ. เปิดเผยผลการตรวจสอบทรัพย์สินที่บริษัท บิลเลี่ยน อินโนเวเท็ด กรุ๊ป จำกัด นำมาใช้ในการแลกตั๋วเงินกับกองทุนสนับสนุนพิเศษ กองทุนฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการ ศึกษา(สกสค.)จำนวน 2,500 ล้าน บาท ซึ่งพบว่าเงินสกุลคูนา ของประเทศโครเอเซีย เป็นเงินที่ยกเลิกการใช้แล้ว และไม่ค่าเท่าจำนวนเงินเดิม ส่วนดราฟหรือตั๋วแลกเงินประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐของธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ประเทศ ไทย ก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นของปลอม เพราะไม่มีสถานที่ปลายทางที่ระบุอยู่จริง ขณะที่เช็คเงินสดจากธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์ จำนวน 2,100 ล้านบาท ก็ไม่ได้รับการยืนยันว่าเบิกจ่ายได้จริงหรือไม่ ว่า ในที่ประชุมคณะ กรรมการ สกสค. มอบหมายให้สกสค.ไปปรึกษาฝ่ายกฎหมายให้ถี่ถ้วน เรื่องของหลักทรัพย์ค้ำประกันที่ยังไม่มีมูลค่าใด ๆ ในฐานะที่สกสค.เป็นเจ้าหนี้ ที่สามารถจะนำเช็คไปขึ้นเงินได้ และหากขึ้นเงินแล้ว ไม่มีเงินในเช็คก็สามารถตามหนี้จากลูกหนี้ซึ่งก็คือบริษัท บิลเลี่ยนฯได้ ซึ่งหากลูกหนี้ไม่มีเงินมาชำระก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งเท่าที่ตรวจสอบเบื้องต้นเช็คเงินสดจากธนาคารแลนด์แอนด์เฮาท์ จำนวน 2,100 ล้านบาท ไม่มีเงิน แต่ก็ต้องตรวจสอบให้รอบคอบ ซึ่งตั๋วสัญญาครบกำหนดการชำระเงินตั้งแต่เมื่อเดือนธันวาคม 2557ซึ่งเป็นประเด็นที่มีปัญหาในเรื่องการดำเนินการของสกสค.ที่ผ่านมา
ปลัด ศธ. กล่าวต่อว่า ส่วนที่นายสมศักดิ์ ตาไชย เลขาธิการ สกสค.ออกมาระบุว่า เงินจำนวนดังกล่าว ไม่ใช่เงินของสกสค. แต่เป็นเงินของกองทุนฯ ฯนั้น ตนขอบอกว่าไม่ว่าจะเป็นเงินของส่วนใดก็ตาม แต่สกสค.ต้องรับผิดชอบ จะมาอ้างว่าเป็นเงินของกองทุนฯ ไม่เกี่ยวกับสกสค.คงไม่ถูกต้องเพราะกองทุนฯ อยู่ในความดูแลของสกสค. รวมทั้งนิติกรรม ที่ไปทำกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งบริษัท บิลเลี่ยนฯ และธนาคารต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช็คแลนด์แอนด์เฮาท์ก็สั่งจ่ายสกสค. ไม่ได้สั่งจ่ายกองทุนฯเพราะกองทุนฯไม่ได้มีฐานะเป็นนิติบุคล จึงหนีความรับผิดชอบไม่ได้ ไม่ ใช่ว่าจะให้เงินของใครเข้ามาโดยมิชอบได้ ต้องเข้ามาอย่างถูกต้องและต้องใช้จ่ายอย่างถูกต้องด้วย ไม่อย่างนั้นก็อาจทำให้มีการฟอกเงินได้
“มันมีความไม่ชอบมาพากลอยู่แล้วว่า ทำไมหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำประกันมีจำนวนมาก และไม่แน่ใจว่าเหตุใดถึงมีการ รับหลักทรัพย์ดังกล่าวเข้ามา ตรงนี้ต้องไปหาข้อเท็จจริง แม้จะไม่มีใครมายอมรับ ว่าใครเป็นคนรับไว้ก็ตาม แต่ก็พอมีหลักฐานเอกสารบางเรื่องที่ชี้ไปถึงผู้ ที่รับผิดชอบอยู่ รวมถึงกรณีที่กองทุนฯ ไม่สามารถนำเงินกลับคืนมาได้ พร้อมผลประโยชน์ ก็ต้องมีคนรับผิดชอบซึ่ง ผู้ที่เป็นประธานบริหารกองทุนฯ ในขณะนั้นก็คือนายเกษม กลั่นยิ่ง ซึ่งต้องรับผิดชอบเพราะเป็นผู้ที่ตัดสิน ใจให้คนนำเงินไปให้คนกู้ และไม่มีการตรวจสอบว่าหลักทรัพย์ที่นำมาค้ำเป็นของจริงหรือของปลอม ส่วนจะเรียกมาให้ข้อมูลหรือไม่นั้น ทางคณะกรรมการสกสค.ไม่สามารถทำได้ เพราะ นายเกษม พ้นจากความเป็นข้าราชการและไม่ได้เป็นบุคคลภายในสกสค.แล้ว ดังนั้นก็ต้องเป็นเรื่องของการดำเนินคดีทางแพ่งและอาญาต่อไป”รศ.นพ.กำจร กล่าว
ปลัด ศธ. กล่าวอีกว่า นอกจากนั้นในการประชุมคณะกรรมการสกสค. ยังมีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการไปตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นเพื่อจะหาผู้ กระทำความผิด เท่าที่ดูมูลค่าความเสียหายน่าจะอยู่ที่ประมาณ6,000-7,000 ล้านบาท โดยสกสค.มีทรัพย์สินทั้งหมดประมาณ 10,000ล้าน บาท ขณะเดียวกันยังขอให้สกสค.ตรวจสอบทรัพย์สิน ที่เคยมอบให้กับ อดีตผู้บริหารกองทุนฯ และอดีตที่ปรึกษาสกสค. ซึ่งมีทั้งรถประจำตำแหน่ง โทรศัพท์มือถือไอโฟน 6รวมถึงกรณีที่ออกระเบียบให้ คณะกรรมการยืมเงินออกไปจำนวนมากออกไป และขอให้เร่งดำเนินการนำทรัพย์สิน กลับมาเพื่อนำไปใช้ในการช่วยเหลือครูต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่