การออกเยี่ยมดูแลสุขภาพประชาชนตามบ้านเรือน เป็นหนึ่งในภารกิจที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) แต่ละแห่งดำเนินการเป็นงานปกติ แต่เมื่อกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ไฟเขียวนโยบายทีมหมอครอบครัว การลงพื้นที่ไปดูแลสุขภาพประชาชนจึงเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ด้วยหวังว่าแนวทางดังกล่าวจะเป็นการพลิกโฉมหน้าระบบบริการสุขภาพ ที่คนไข้ต่างมารอคิวตรวจตั้งแต่เช้ามืด ต้องรอเป็นวัน และแออัดหนาแน่นเต็มพื้นที่โรงพยาบาลจะจางหายไป
หนึ่งในพื้นที่ที่เริ่มดำเนินการแล้วได้มีการสร้างระบบของตัวเองได้ย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ จนทำให้ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี คือ อ.ระโนด จ.สงขลา ซึ่งมีการสร้างนวัตกรรมแผนที่ในการดูแลสุขภาพของชาวอำเภอระโนดได้อย่างละเอียดลออ
แผนที่ดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า “เจแมป (J-Map)”
แผนที่สุขภาพนี้เป็นอย่างไร นายนพพร นิลรัตน์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) ระโนด จ.สงขลา มีคำตอบ
“เจแมปเป็นนวัตกรรมข้อมูลสุขภาพของประชาชน อ.ระโนด ทั้งหมด ซึ่งมีอยู่ประมาณ 6 - 7 หมื่นคน ถือเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเอง โดยข้อมูลสุขภาพนี้ได้มาจากการเชื่อมข้อมูลประวัติการรักษาของโรงพยาบาลในพื้นที่ ทำให้ทราบว่าแต่ละคนนั้นเคยป่วยเป็นโรคใดมาก่อน มีแนวทางการรักษาอย่างไร มีโรคประจำตัวใดหรือไม่ หากรับการรักษาอยู่ ได้รับการรักษาแบบใด ใช้ยาตัวใด เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ทีมหมอครอบครัวในการจัดสรรบุคลากรในการลงไปดูแลสุขภาพแบบถึงบ้าน นอกจากนี้ เจแมปจะยังแสดงพื้นที่ในการตรวจเยี่ยมสุขภาพตามบ้านเรือนอีกว่า บ้านไหนตรวจแล้วหรือไม่ ซึ่งพื้นที่ที่ยังไม่ตรวจจะโชว์เป็นพื้นที่สีเหลือง ส่วนพื้นที่ที่ตรวจแล้วจะแสดงเป็นสีเขียว”
นายนพพร เล่าอีกว่า ความตั้งใจหนึ่งของทีมหมอครอบครัวคือจะเปลี่ยนพื้นที่สีเหลืองให้เป็นพื้นที่สีเขียวทั้งหมด นั่นคือทุกครัวเรือนได้รับการดูแลสุขภาพแบบถึงบ้านแล้ว ซึ่งทีมหมอครอบครัวของ อ.ระโนด มีทั้งหมด 3 ทีม ซึ่งจะแบ่งโซนกันดูแล ซึ่งมีทั้งหมด 12 รพ.สต. และ 2 สุขศาลาอนามัยหรือพีซียู โดยการออกตรวจดูแลสุขภาพนั้นจะดำเนินการเดือนละ 1 ครั้ง ตลอดช่วงครึ่งวันบ่าย เนื่องจากช่วงเช้ายังต้องให้บริการที่สถานพยาบาลตามปกติ โดยการตรวจเยี่ยมแต่ละครั้งจะได้ประมาณ 5 เคส
“ทีมหมอครอบครัวจะเป็นทีมสหวิชาชีพ มีแพทย์จากโรงพยาบาลชุมชน พยาบาล นักกายภาพ เภสัชกร แพทย์แผนไทย ฯลฯ ซึ่งการจัดแต่ละวิชาชีพลงมาดูแลก็จะพิจารณาจากข้อมูลผู้ป่วยของแต่ละบ้านด้วย โดยการออกตรวจแต่ละครั้งก็จะเลือกเคสที่ต้องใช้วิชาชีพเดียวกันเป็นหลัก เพื่อที่จะได้ลงไปตรวจเยี่ยมแบบทีเดียว”
การจะเปลี่ยนพื้นที่สีเหลืองให้เป็นเขียวทั่วทั้งอำเภอ แต่การตรวจเยี่ยมเพียงเดือนละครั้ง อาจมองว่าไม่เพียงพอและเป็นความล่าช้า นายนพพร ได้ชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าว ไม่ใช่ เพราะทีมหมอครอบครัวที่ลงตรวจเพียงเดือนละครั้งนั้นเป็นทีมใหญ่ระดับอำเภอ แต่ความเป็นจริงยังมีทีมระดับตำบลที่ออกเยี่ยมสุขภาพแต่ละครอบครัวทุกวันด้วยต่างหาก
“ทีมระดับตำบลจาก รพ.สต.ก็จะลงไปดู ไปเยี่ยม ไปดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยแต่ละเคสในแต่ละวัน โดยการลงไปในช่วงบ่ายเช่นกัน ซึ่งหลังจากตรวจเยี่ยมแล้วก็จะมีการบันทึกข้อมูลลงไปในเจแมปว่าตรวจหลังคาไหนไปแล้ว เพื่อเปลี่ยนสีเหลืองให้เป็นเขียว และมีการตรวจดูแลอะไรอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลในการลงมาตรวจรีเช็กของทีมหมอครอบครัวระดับอำเภออีกครั้ง ซึ่ง สสอ.จะสุ่มในการตรวจเยี่ยมว่าการตรวจดูแลได้คุณภาพหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และส่วนท้องถิ่นในการร่วมออกตรวจเยี่ยมด้วย”
นายนพพร บอกอีกว่า หลังจากเดินหน้าทีมหมอครอบครัวแล้วพบว่า ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากคนในพื้นที่ ซึ่งจะนำมาเป็นหนึ่งในการประเมินเพื่อเพิ่มเงินเดือนให้แก่บุคลากรที่ทำหน้าที่ด้วย
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานทีมหมอครอบครัว แต่ท้ายที่สุดแล้วจะสามารถลดจำนวนผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ จากการเจ็บป่วยทั่วไปได้หรือไม่นั้น ยังต้องดำเนินการไปอีกสักระยะ แต่หากสามารถสร้างความคุ้นชินกับการดูแลสุขภาพแบบถึงบ้านต่อประชาชนได้แล้ว การไปโรงพยาบาลก็จะไม่เป็นตัวเลือกแรกๆ ที่ประชาชนพิจารณาตัดสินใจ เป็นการช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล และภาระงานที่หนักหนา โอกาสการพัฒนาศักยภาพต่างๆ ของโรงพยาบาลก็จะเพิ่มขึ้นอีก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
ด้วยหวังว่าแนวทางดังกล่าวจะเป็นการพลิกโฉมหน้าระบบบริการสุขภาพ ที่คนไข้ต่างมารอคิวตรวจตั้งแต่เช้ามืด ต้องรอเป็นวัน และแออัดหนาแน่นเต็มพื้นที่โรงพยาบาลจะจางหายไป
หนึ่งในพื้นที่ที่เริ่มดำเนินการแล้วได้มีการสร้างระบบของตัวเองได้ย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ จนทำให้ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี คือ อ.ระโนด จ.สงขลา ซึ่งมีการสร้างนวัตกรรมแผนที่ในการดูแลสุขภาพของชาวอำเภอระโนดได้อย่างละเอียดลออ
แผนที่ดังกล่าวได้รับการตั้งชื่อว่า “เจแมป (J-Map)”
แผนที่สุขภาพนี้เป็นอย่างไร นายนพพร นิลรัตน์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) ระโนด จ.สงขลา มีคำตอบ
“เจแมปเป็นนวัตกรรมข้อมูลสุขภาพของประชาชน อ.ระโนด ทั้งหมด ซึ่งมีอยู่ประมาณ 6 - 7 หมื่นคน ถือเป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเอง โดยข้อมูลสุขภาพนี้ได้มาจากการเชื่อมข้อมูลประวัติการรักษาของโรงพยาบาลในพื้นที่ ทำให้ทราบว่าแต่ละคนนั้นเคยป่วยเป็นโรคใดมาก่อน มีแนวทางการรักษาอย่างไร มีโรคประจำตัวใดหรือไม่ หากรับการรักษาอยู่ ได้รับการรักษาแบบใด ใช้ยาตัวใด เป็นต้น เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ทีมหมอครอบครัวในการจัดสรรบุคลากรในการลงไปดูแลสุขภาพแบบถึงบ้าน นอกจากนี้ เจแมปจะยังแสดงพื้นที่ในการตรวจเยี่ยมสุขภาพตามบ้านเรือนอีกว่า บ้านไหนตรวจแล้วหรือไม่ ซึ่งพื้นที่ที่ยังไม่ตรวจจะโชว์เป็นพื้นที่สีเหลือง ส่วนพื้นที่ที่ตรวจแล้วจะแสดงเป็นสีเขียว”
นายนพพร เล่าอีกว่า ความตั้งใจหนึ่งของทีมหมอครอบครัวคือจะเปลี่ยนพื้นที่สีเหลืองให้เป็นพื้นที่สีเขียวทั้งหมด นั่นคือทุกครัวเรือนได้รับการดูแลสุขภาพแบบถึงบ้านแล้ว ซึ่งทีมหมอครอบครัวของ อ.ระโนด มีทั้งหมด 3 ทีม ซึ่งจะแบ่งโซนกันดูแล ซึ่งมีทั้งหมด 12 รพ.สต. และ 2 สุขศาลาอนามัยหรือพีซียู โดยการออกตรวจดูแลสุขภาพนั้นจะดำเนินการเดือนละ 1 ครั้ง ตลอดช่วงครึ่งวันบ่าย เนื่องจากช่วงเช้ายังต้องให้บริการที่สถานพยาบาลตามปกติ โดยการตรวจเยี่ยมแต่ละครั้งจะได้ประมาณ 5 เคส
“ทีมหมอครอบครัวจะเป็นทีมสหวิชาชีพ มีแพทย์จากโรงพยาบาลชุมชน พยาบาล นักกายภาพ เภสัชกร แพทย์แผนไทย ฯลฯ ซึ่งการจัดแต่ละวิชาชีพลงมาดูแลก็จะพิจารณาจากข้อมูลผู้ป่วยของแต่ละบ้านด้วย โดยการออกตรวจแต่ละครั้งก็จะเลือกเคสที่ต้องใช้วิชาชีพเดียวกันเป็นหลัก เพื่อที่จะได้ลงไปตรวจเยี่ยมแบบทีเดียว”
การจะเปลี่ยนพื้นที่สีเหลืองให้เป็นเขียวทั่วทั้งอำเภอ แต่การตรวจเยี่ยมเพียงเดือนละครั้ง อาจมองว่าไม่เพียงพอและเป็นความล่าช้า นายนพพร ได้ชี้แจงข้อสงสัยดังกล่าว ไม่ใช่ เพราะทีมหมอครอบครัวที่ลงตรวจเพียงเดือนละครั้งนั้นเป็นทีมใหญ่ระดับอำเภอ แต่ความเป็นจริงยังมีทีมระดับตำบลที่ออกเยี่ยมสุขภาพแต่ละครอบครัวทุกวันด้วยต่างหาก
“ทีมระดับตำบลจาก รพ.สต.ก็จะลงไปดู ไปเยี่ยม ไปดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยแต่ละเคสในแต่ละวัน โดยการลงไปในช่วงบ่ายเช่นกัน ซึ่งหลังจากตรวจเยี่ยมแล้วก็จะมีการบันทึกข้อมูลลงไปในเจแมปว่าตรวจหลังคาไหนไปแล้ว เพื่อเปลี่ยนสีเหลืองให้เป็นเขียว และมีการตรวจดูแลอะไรอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลในการลงมาตรวจรีเช็กของทีมหมอครอบครัวระดับอำเภออีกครั้ง ซึ่ง สสอ.จะสุ่มในการตรวจเยี่ยมว่าการตรวจดูแลได้คุณภาพหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และส่วนท้องถิ่นในการร่วมออกตรวจเยี่ยมด้วย”
นายนพพร บอกอีกว่า หลังจากเดินหน้าทีมหมอครอบครัวแล้วพบว่า ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากคนในพื้นที่ ซึ่งจะนำมาเป็นหนึ่งในการประเมินเพื่อเพิ่มเงินเดือนให้แก่บุคลากรที่ทำหน้าที่ด้วย
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานทีมหมอครอบครัว แต่ท้ายที่สุดแล้วจะสามารถลดจำนวนผู้มารับบริการที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ จากการเจ็บป่วยทั่วไปได้หรือไม่นั้น ยังต้องดำเนินการไปอีกสักระยะ แต่หากสามารถสร้างความคุ้นชินกับการดูแลสุขภาพแบบถึงบ้านต่อประชาชนได้แล้ว การไปโรงพยาบาลก็จะไม่เป็นตัวเลือกแรกๆ ที่ประชาชนพิจารณาตัดสินใจ เป็นการช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาล และภาระงานที่หนักหนา โอกาสการพัฒนาศักยภาพต่างๆ ของโรงพยาบาลก็จะเพิ่มขึ้นอีก
ติดตาม Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่