จากกรณีการสอบสอบคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวย การสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี 2558 เมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบความผิดพลาดของข้อสอบ เป็นเหตุให้ชะลอการบรรจุและจัดการสอบขึ้นใหม่ อีกทั้งมีกลุ่มผู้เข้าสอบได้ร้องขอความเป็นธรรมในกรณีผิดพลาดดังกล่าวมาก ขึ้นเรื่อยๆ จากหลักสิบเป็นหลักร้อย
สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2558 ผู้เข้าสอบจำนวน 23 คน ได้ร้องทุกข์ต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขอดูข้อสอบ คะแนนสอบ พร้อมเฉลย พบว่า ข้อสอบบางข้ออาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการเฉลย และบางข้ออาจไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ จำนวน 11 ข้อ
วันที่ 20 เมษายน 2558 ผู้เข้าสอบขอคัดสำเนาข้อสอบพร้อมเฉลย และกระดาษ คำตอบจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แต่ถูกปฏิเสธ โดยอ้างว่า สพฐ.ไม่อนุญาต
วันที่ 21 เมษายน 2558 ผู้เข้าสอบจำนวน 135 คน ดูคะแนนสอบ ข้อเฉลย และกระดาษคำตอบจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบว่า ข้อสอบบางข้อมีความคลาดเคลื่อนในการเฉลย และบางข้ออาจคลาดเคลื่อนในหลักวิชาการจริงรวมทั้งหมด 11 ข้อ จึงได้ขอให้มหาวิทยาลัยได้ทบทวนความคลาดเคลื่อนของข้อสอบ และแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาดำเนินการต่อไป
แต่ต่อมาในวันต่อ วันที่ 24 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ดำเนินการและจัดสอบจะออกมาแสดงความรับชอบความคลาดเคลื่อนในตัวข้อสอบ พร้อม เหตุผล จำนวน 6 ข้อ (เป็นข้อสอบ ผอ. 4 ข้อ และเป็นข้อสอบรอง ผอ. 2 ข้อ) ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพิจารณาอย่างเป็นทางการ ผู้เข้าสอบจึงได้ร้องทุกข์ต่อ สพฐ.ว่ามีความคลาดเคลื่อนของข้อสอบมากกว่าที่ มศว.สรุป
และแม้ว่าล่าสุด สพฐ. จะมีหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 225 เขตที่จัดสอบให้ชะลอการบรรจุแต่งตั้ง ผอ.และรอง ผอ.สถานศึกษา จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 4 พ.ค.ไว้ก่อน เพื่อให้ มศว.ตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งเรื่องของข้อสอบและกระบวนการตรวจข้อสอบที่มีผู้สงสัย และให้ส่งเอกสารที่ถูกต้องที่มีการเปลี่ยนแปลง พร้อมคะแนนกลับมายัง สพฐ.อีกครั้งในวันที่ 7 พ.ค.นี้ จากนั้น ผอ.เขตพื้นที่ฯ จะรับคะแนนไปดำเนินการในวันที่ 8 พ.ค.และหากผลคะแนนใหม่มีการเปลี่ยนแปลง ให้เสนอคณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (อกคศ.) เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาคำประกาศ เพิ่มเติมตามผลคะแนนใหม่
แต่กระนั้นจนถึงกระทั่งถึงตอนนี้ก็ไม่มีท่าทีจะยุติลงตามหลักนโยบาย หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยยึดถือระบบคุณธรรม ความเสมอภาค ความโปร่งใส ซ้ำยังสร้างความเคลือบแคลงสงสัยต่อการตรวจสอบที่อาจมีส่วนได้ส่วนเสียในการ ออกข้อสอบของผู้เชี่ยวชาญที่ดำเนินการตรวจสอบ รวมไปถึง “ประชาชน” คนทั่วไป ที่ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
ดร.สุรพล พิมพ์สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัชรวิทยา สพม.เขต 41 บอกถึงต้นตอของเรื่องที่เกิดขึ้นมานี้ว่า “เรื่องที่เกิดขึ้นก็คือการสอบที่มีข้อผิดพลาด ปัญหามันเกิดขึ้นจากข้อผิดพลาดของข้อสอบที่ สพฐ. ต้องเป็นผู้ทำจัดออกข้อสอบ แต่ว่า สพฐ.ว่าจ้างให้ มศว. สถาบันชั้นนำในเรื่องการวัดประเมินผลทำหน้าที่นี้แทน เพราะว่ากลัวเกิดการทุจริต แต่เผอิญอาจจะด้วยระยะเวลาที่สั้น ความเร่งรีบ ความกระชั้นชิดในการประสานงานในการที่จะออกข้อสอบ แล้วทางมหาวิทยาลัยไม่ถนัดรูปแบบการดำเนินงาน ระเบียบของกระทรวงศึกษา ทำให้คลาดเคลื่อน
“ประเด็นปัญหาการสอบครั้งนี้ เป็นข้อสอบทั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการ มี 2 ฉบับ ภาคเช้า 1 ฉบับ ภาคบ่าย 1 ฉบับ แล้วก็ข้อสอบเมื่อสอบออกมาแล้วเกณฑ์ของทุกคนจะต้องผ่าน ร้อยละ60 ที่จะขึ้นบัญชี แต่ปรากฏว่า พอสอบเสร็จแล้ว ประกาศผลออกมา มีกลุ่มคนผู้สงสัยขอดูคะแนน พอขอดูคะแนนไปพบข้อสอบที่เฉลยผิดหรือข้อสอบคลาดเคลื่อน จึงไปแจ้งเรื่องไว้กับทาง สพฐ.แต่ว่าทาง สพฐ.ขอรอรับรายงานจาก มศว.ก่อน
“หลังจากนั้นทาง มศว.ในครั้งแรก ก็ออกยืนยันว่าข้อสอบถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่เมื่อวันที่ 20 และวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมา ก็มีผู้เข้าดูข้อสอบอีก 135 คน ทว่า มศว.ไม่ให้ดูข้อสอบ แต่ให้ดูเฉลยกับกระดาษคำตอบอย่างเดียว ทางผู้สอบก็เลยทำหนังสือถึง มศว.แล้วก็ทำหนังสือถึงเลขา สพฐ.ว่าข้อสอบมันผิดพลาด อยากให้ตรวจสอบแก้ไขใหม่”
“ปรากฏว่า มศว.ก็เชิญผู้ออกข้อสอบมาตรวจ ครั้งนี้พบว่ามีข้อบกพร่อง มีความคลาดเคลื่อนของข้อสอบ แต่จำนวนกี่ข้อนี้ไม่บอก จนกระทั่งวันที่ 23 เมษายน นำเรื่องเข้าที่ประชุมกรรมการบริหาร มศว.วันต่อมาจึงออกมาแถลงว่า ข้อสอบมีความคลาดเคลื่อนจริง เป็นข้อสอบของ ผอ.4 ข้อ รอง ผอ.2 ข้อ รวมเป็น 6 ข้อ เลขาฯ สพฐ.ก็บอกว่ากลุ่มผู้เข้าสอบที่ร้องทุกข์ บอกว่ามีมากกว่านั้น ให้กลับไปตรวจสอบ”
“เหตุมันเป็นอย่างนี้...” ดร.สุรพล เผย ก่อนจะเสริมต่อถึงจุดไม่ชอบมาพากลที่เพิ่มขึ้นจนเป็นประเด็นในทุกวันนี้
“เพราะปัญหาความผิดพลาดมันอยู่ที่ตัวข้อสอบ มันไปกระทบกับผลของคนที่สอบผ่านที่ไปอบรมกำลังเข้าสู่ตำแหน่ง แล้วมันไปกระทบสิทธิ์ของคนที่ไปร้องทุกข์ไว้ ข้อสอบผิดพลาดจะต้องทำอย่างไร สพฐ.ในขณะนี้ก็เลยจะนัด ผอ.เขตทั่วประเทศไปรับผลวันที่ 8 ซึ่งเป็นการรับผลที่รวดเร็วมาก ขณะที่ผู้ร้องทุกข์เองก็ยังไม่พอใจ
“คือจริงๆ ผู้ร้องทุกข์เขาอยากให้มีคณะกรรมการกลางออกมาเคลียร์ข้อสอบให้ชัดเจน ให้ถูกต้องก่อน แล้วจึงจะมีการตรวจใหม่ ตรวจใหม่เสร็จแล้วค่อยประมวลผลใหม่ มันถึงจะให้ความเป็นธรรมกับทุกคนที่เข้าสอบ 2 หมื่นกว่าคน”
และจากเรื่องที่มาของประเด็นปัญหา หลายๆ คนอาจจะยังสงสัย ในส่วนของตัวข้อสอบที่มีความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดในระดับการสอบชั้นนำของ ประเทศว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
“ในเรื่องนี้เขาก็เฉลยตามหลักทางวิชา ยกตัวอย่างคำถามง่ายๆ เช่น “นโยบายของท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้ไว้กับรัฐสภาข้อใดเป็นลำดับแรกที่ให้ไว้” อย่างนี้มันเป็นข้อมูลที่ชัดเจน มีคำตอบข้อที่1-2-3-4-5 จากนโยบายทั้ง 7-8 ข้อ ปรากฏว่าเขาเฉลยผิด อย่างนี้เขาเรียกว่าข้อสอบที่เฉลยผิดพลาด ส่วนคำถามอีกแบบคือคำถามที่มีคำตอบกำกวม มีคำถามตอบได้มากกว่า 1 ข้อ หลักๆ มี 2 แบบ”
“ซึ่งทาง มศว.ก็ยอมรับว่าเฉลยผิด เขาก็แสดงค่าระยะทางสถิติค่าความคลาดเคลื่อนที่พอยอมรับได้ อย่างเวลาเราทำวิจัยต่างๆ เราจะมีค่าคลาดเคลื่อนที่สามารถยอมรับได้ แต่สถิติอันนี้ก็เป็นข้อสงสัยของผู้เข้าสอบเหมือนกัน หมายความว่าต้องยอมรับ ให้เกิดการยอมรับได้ว่า ข้อสอบมีมาตรฐาน ก็คือหน้าตาของ มศว.ถ้าไปยอมรับมากกว่านั้นแสดงว่ามันจะเกี่ยวพันกับข้อสอบที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถวัดผลได้ มันจะนำไปสู่การยกเลิกข้อสลบ แล้ว มศว.ก็จะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย...หรือเปล่า”
นอกจากความ "เคลือบแคลง" สงสัยในการตรวจสอบที่อาจมีส่วนได้ส่วนเสียในการออกข้อสอบของผู้เชี่ยวชาญที่ ดำเนินการตรวจสอบยังไม่พอ ยังลุกลามไปจึงถึงขั้นการทุจริตอื่นๆ หรือที่บ้านๆ เราเรียกกันง่ายๆ ว่า "โกงข้อสอบ" ที่การจัดสอบแทบจะทุกครั้งมักจะมีกระแสข่าวโคมลอยเรื่องการทุจริตแซมมาด้วย เสมอ
“คือการสอบครั้งนี้ต้องขอชมทาง สพฐ.เนื่องการเปิดสอบทุกครั้งจะมีข่าวการทุจริตมาตลอด ตั้งแต่ครูผู้ช่วยอะไรต่างๆ นานา คือมีการสอบเมื่อไหร่ ข่าวโคมลอยเรื่องการทุจริตมีมาทั้งนั้น ไม่จับได้ทันทีก็ภายหลัง แต่ครั้งนี้ต้องยอมรับว่า ท่าน ดร.กมล รอดคล้าย ท่านจริงใจ ผมดูท่านต้องการป้องกันการทุจริตและมีความตั้งใจที่จะให้ออกมาดีที่สุด แต่ก็มาพลาดตรงนี้ ตรงข้อสอบ
“ถามว่ามีการทุจริตไหม ในขณะนี้ยังไม่พบ ไม่พบการทุจริตในการสอบหรือทุจริตในการเอื้ออำนวยความสะดวกให้คนบางกลุ่ม เรายังไม่พบ คิดว่าในขั้นตอนวิธีการดี คือการทุจริตมันก็คงยังไม่มี แต่ว่าข้อสอบมันทุจริตตัวมันเอง มันทำให้คนเกิดปัญหา”
ซึ่งทางออกของการแก้ไขปัญหานี้ให้ยุติลงอย่างเป็นธรรมที่สุด ดร.สุรพล สรุปสั้นๆ ว่า“ควรทำตามกฎหมายและตามหลักเกณฑ์ที่ สพฐ.ประกาศ”
“อันนี้มุมทางออกผม มีทางเดียวคือต้องทำตามกฎหมาย ทำตามหลักเกณฑ์ที่ สพฐ.ประกาศ ไม่ต้องไปรีบ เพราะโรงเรียนไม่มี ผอ.โรงเรียนก็อยู่ได้ อย่างบางโรงเรียนไม่มีผู้อำนวยการอยู่ได้เป็นปี เพราะมีคนรักษาการตามหลักของระบบราชการ ฉะนั้นไม่จำเป็นต้องรีบตั้ง”
“แต่ที่ต้องรีบแก้ไข คือต้องแก้ข้อสอบสอบให้ถูกต้องเสียก่อน แล้วการแก้ไขข้อสอบให้ถูกต้อง ก็คือการตั้งกรรมการขึ้นมา อย่างน้อยๆ ขณะนี้ผู้เข้าสอบไม่ไว้ใจ มศว.แล้ว ฉะนั้นตรงนี้ต้องทำให้กระจ่าง เพราะว่าข้อสอบที่พบมันเป็นข้อสอบที่คลาดเคลื่อนจริง จำนวนกี่ข้อ ทำไมไม่ยอมเปิดเผยกัน ไม่ยอมเปิดเผยให้เกิดความโปร่งใส เป็นคำถามของผู้ที่เข้าสอบทุกคนเลย” ดร.สุรพล ย้อนถาม ก่อนจะแนะให้ทั้ง 4 ฝ่าย ตั้งคณะกรรมการกลางโดยคัดเลือกตัวแทนเข้ามาตรวจสอบ
“คือให้ทั้ง คนที่สอบผ่านไปแล้ว ผู้ที่สอบไม่ผ่านผู้ที่ร้องทุกข์ และทาง มศว.กับ สพฐ.ตั้งชุดกรรมการขึ้นมาทั้ง 4 ฝ่าย เข้ามาตรวจสอบดูเลยว่าข้อสอบที่มันคลาดเคลื่อนมันคือข้อไหนบ้าง ดูให้ชัดเจน เมื่อชัดเจน ทุกคนเห็นพ้องว่ามันคลาดเคลื่อนจริง แล้วก็มาทำให้ถูกต้อง
“หรือคุณจะคุยกันถึงเรื่องข้อสอบที่เฉลยผิด มีกี่ข้อ ข้อสอบที่กำกวมข้อสอบที่มีคำตอบมากกว่า 1 ข้อมีกี่ข้อ ต้องยกประโยชน์ให้กับผู้เข้าสอบมีทั้งหมดกี่ข้อกันแน่ ออกตรงคือทางออก ถ้าเราสามารถที่จะเคลียร์ข้อสอบให้ขาวสะอาดหมดจดก่อน มีผู้มีส่วนร่วมเข้าไปดูว่าข้อสอบเป็นอย่างไร แก้ไขอย่างนี้ ถูกต้องเห็นพ้อง แล้วก็ตรวจใหม่ ตรวจใหม่เสร็จแล้วก็ประมวลคะแนนใหม่ แล้วก็ให้ทุกเขตยกเลิกประกาศที่ขึ้นบัญชีไว้ แล้วก็ประมวลผลใหม่ ประกาศขึ้นบัญชีใหม่ แค่นี้ก็จะจบตามหลักเกณฑ์แก้ไข”
“แต่ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วมันก็จะทำให้สังคมส่วนใหญ่ คนที่กำลังรอฟังข่าวนี้อยู่ เกิดความแคลงใจ พูดง่ายๆ ทางออกก็คือทางเดียว สพฐ.คือจะต้องทำตามกฎหมาย ทำตามประกาศที่ให้ไว้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ทำตามประกาศที่ให้ไว้ โอกาสที่ผู้ร้องทุกข์หรือผู้เข้าสอบจะไปร้องขอความเป็นธรรมสำนักงานข้อมูล ข่าวสารเพื่อให้เปิดสำเนาข้อสอบแล้วมาเฉลยมีมาก ถึงวันนั้น สพฐ.และ มศว.อาจจะเสียหายมาก
“ขณะนี้มีข่าวเท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ ยังไม่ได้ตรวจสอบยืนยัน แจ่ว่ามีผู้ร้องทุกข์ส่วนหนึ่งไม่บอกว่ากลุ่มไหน ให้ดูเอาเอง บอกว่า สพฐ.ให้เข้าไปตรวจดูข้อสอบจำนวนร้อยกว่าคน การที่จะทำอย่างนี้ได้ สพฐ.ต้องแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ต้องมีหนังสือ ไม่อย่างนั้นจะเหมือนการแอบตกลงกัน หาความชอบธรรมว่ามีคนเข้าไปตรวจสอบแล้วก็จะสรุปอย่างรวดเร็ว ตรงนี้คือทางออกที่ผิดพลาด แล้วมันก็จะทำให้คนส่วนหนึ่งหรือบางส่วนเล็ดรอดเข้าไปเป็น ผอ.เพราะสรุปว่ามีข้อสอบผิดพลาดแค่ 4 ข้อ 2 ข้อ ถูกไหม…”
ส่วนกรณีที่ร้องเรียนความเป็นธรรมของผู้ที่ผ่านสอบ ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2558 กลุ่มผู้ที่สอบผ่านและเข้ารับการพัฒนา เรียกร้องให้การดำเนินการของ สพฐ.ที่ประมวลผลใหม่ต้องไม่ทำให้คะแนนต่ำกว่าเดิม และให้ผู้ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว บรรจุแต่งตั้งภายในวันที่ 16 พฤษภาคม 2558 ดร.สุรพล คิดเห็นว่า ควรจะรอการตรวจสอบเพื่อความถูกต้อง ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการฉวยโอกาส และการได้รับตำแหน่งที่มิชอบ
“เพราะว่าสังคมทุกวันนี้ กรณีที่คุณจะให้แต่งตั้งไปคือว่ามันเกิดความคลาดเคลื่อนของข้อสอบหรือผิด พลาดของข้อสอบ เราต้องหันไปดูที่เหตุ ตอนนี้มันเป็นผล ผลมันเกิดจากเหตุที่ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นคุณถูกแต่งตั้งไป คุณอาจจะสอบไม่ได้ก็ได้จากที่ข้อสอบมันคลาดเคลื่อนหรือตรวจผิด
“แต่ส่วนใหญ่เขาจะได้คะแนนผ่านเกณฑ์ ไม่ตก แต่ว่าลำดับเขาจะเคลื่อนไป โดยเฉพาะกลุ่มประสบการณ์ ก็จะทำให้ตำแหน่งคุณสมบัติประสบการณ์มันเปลี่ยนไป เขาอาจจะได้บรรจุทีหลังอย่างนี้เป็นต้น เขาก็กลัว กลัวว่าปัญหานี้มันจะเกิดขึ้นกับตัวเขาเอง เขาก็เลยเรียกร้อง พยายามเรียกร้อง ซึ่งสิทธิ์ตรงนี้สังคมต้องมารับรู้ด้วยกันว่า มันเป็นความถูกต้องหรือไม่ ที่จะเรียกร้องว่าให้รีบบรรจุก่อน
“เพราะจริงๆ แล้ว เขายังมีคุณสมบัติไม่ครบ คือเขาตรวจสอบแล้วปรากฏว่าในประกาศในหลักเกณฑ์พูดขัดกัน ถ้าพบว่าไม่มีคุณสมบัติครบ เขาสามารถเพิกถอนคำสั่งได้หมดเลยทุกเรื่อง ตรงนี้ก็เลยเป็นเรื่องที่กลุ่มผู้ที่สอบผ่านแล้วอบรมแล้ว เอามาอ้างในข้อที่ 8 ของหลักเกณฑ์เพื่อที่จะเร่งบรรจุ ว่าตัวเองครบถ้วนแล้ว ตัวเองขึ้นบัญชีแล้ว ซึ่งมันเป็นการเห็นแก่ตัวและฉวยโอกาสมากกว่า”
และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ที่ ดร.สุรพลเห็นว่า ถ้าเร่งรีบแต่งตั้ง ทั้งๆ ที่ยังแก้ไขปัญหาไม่ถูกต้องหรือตรงจุด ไม่ใช่แค่เรื่องนี้จะยังเคลือบแคลงใจในระบบราชการและความยุติธรรมของสังคมใน ส่วนนี้ แต่หมายถึงทำให้กลายเป็นต้นแบบของสังคมส่วนใหญ่ที่อาจจะส่งให้ไร้ซึ่งความ โปร่งใสในอนาคตสืบต่อไปด้วย
“เพราะมันจะเป็นบรรทัดฐานที่คนในสังคมมองเห็น คือถ้าครั้งนี้ สพฐ.ไม่ทำความกระจ่างให้ถูกต้อง มันจะเป็นบรรทัดฐานที่ทำให้สังคมเคลือบแคลงใจ แล้วมันเป็นผลเสียต่อการดำเนินงานของส่วนราชการ ที่ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบ้านเมืองที่ดี ไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม แล้วก็ไม่สามารถให้ตรวจสอบได้ ถ้าตัดสินใจลงไปแล้วโดยที่เอาตัวรอด เอาสรุป ง่ายเข้าว่า แล้วไม่เป็นโปร่งใสเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ผมว่าคนที่เขาสอบทั่วประเทศจะรู้ แต่คนประชาชนจะรู้หรือเปล่าผมไม่แน่ใจว่า ถ้าเกิดข้อสอบไม่ถูกต้องแล้วได้คนที่ไม่สมควรที่จะเป็น ผอ. แล้วก็ไปแต่งตั้งจะเกิดความเสียหายต่อทางราชการอย่างใหญ่หลวง
“เพราะว่าการที่เราจะสรรหาผู้บริหาร ผู้บริหารคือผู้นำองค์กรหลัก ซึ่งในเรื่องนี้เป็นองค์กรพื้นฐานในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและผลิตสังคม ที่ดี เราต้องได้คนเหมาะสมเข้าไป” ดร.สุรพล แสดงความคิดเห็น
ทั้งนี้การ "เริ่มต้นใหม่" หรือ "ตัดสรุปจบ" อาจไม่ใช่คำตอบในการแก้ไขยุติปัญหาในเรื่องนี้ที่ดีที่สุด เพราะนี่คือเรื่อง ระบบคุณธรรม ความเสมอภาค ความโปร่งใส ที่จะชี้ชะตากำหนดอนาคต (ของ) บ้านเมืองไทยเรา ที่เราอาจจะต้องย้อนมองกลับไปที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
“เรื่องนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ผู้เข้าสอบทักท้วงท่านเลขา สพฐ.ไว้แล้วว่า ขอคัดสำเนาข้อสอบและขอตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ คือถ้าไม่ให้เขาดู เขาจะขอคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร ขอให้เปิดให้คัดสำเนา แล้วถ้าเกิดความเสียหายขึ้นในภายหลัง ถ้าเกิดวันนั้นผู้เข้าสอบไปพบข้อสอบที่มีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนมากกว่า 4ข้อ 2 ข้อ ปัญหาที่เกิดขึ้น มันไม่ใช่แค่เรื่องของ สพฐ.ละเว้นการปฏิบัติ ยังจะถูกกระบวนการร้องศาลปกครอง แจ้งความดำเนินคดีในมาตรา 57 ที่จะก่อให้เกิดปัญหาความยุ่งยากอีกด้วย
“อันนี้ผมก็ต้องบอกฝากให้กับสังคมที่คนที่เฝ้าติดตามเรื่องนี้อยู่ว่า ให้ช่วยกันคิดว่าหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานผู้นำในเรื่องของการพัฒนาคน เป็นต้นแบบ ไม่ทำความกระจ่างให้กับผู้ที่ไปร้องขอความเป็นธรรม มันจะทำให้บ้านเมืองมีความไม่เป็นธรรม แล้วสังคมก็จะอยู่กันลำบาก” ดร.สุรพล กล่าวทิ้งท้าย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2558 ผู้เข้าสอบจำนวน 23 คน ได้ร้องทุกข์ต่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อขอดูข้อสอบ คะแนนสอบ พร้อมเฉลย พบว่า ข้อสอบบางข้ออาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการเฉลย และบางข้ออาจไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ จำนวน 11 ข้อ
วันที่ 20 เมษายน 2558 ผู้เข้าสอบขอคัดสำเนาข้อสอบพร้อมเฉลย และกระดาษ คำตอบจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แต่ถูกปฏิเสธ โดยอ้างว่า สพฐ.ไม่อนุญาต
วันที่ 21 เมษายน 2558 ผู้เข้าสอบจำนวน 135 คน ดูคะแนนสอบ ข้อเฉลย และกระดาษคำตอบจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พบว่า ข้อสอบบางข้อมีความคลาดเคลื่อนในการเฉลย และบางข้ออาจคลาดเคลื่อนในหลักวิชาการจริงรวมทั้งหมด 11 ข้อ จึงได้ขอให้มหาวิทยาลัยได้ทบทวนความคลาดเคลื่อนของข้อสอบ และแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาดำเนินการต่อไป
แต่ต่อมาในวันต่อ วันที่ 24 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ดำเนินการและจัดสอบจะออกมาแสดงความรับชอบความคลาดเคลื่อนในตัวข้อสอบ พร้อม เหตุผล จำนวน 6 ข้อ (เป็นข้อสอบ ผอ. 4 ข้อ และเป็นข้อสอบรอง ผอ. 2 ข้อ) ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อพิจารณาอย่างเป็นทางการ ผู้เข้าสอบจึงได้ร้องทุกข์ต่อ สพฐ.ว่ามีความคลาดเคลื่อนของข้อสอบมากกว่าที่ มศว.สรุป
และแม้ว่าล่าสุด สพฐ. จะมีหนังสือแจ้งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั้ง 225 เขตที่จัดสอบให้ชะลอการบรรจุแต่งตั้ง ผอ.และรอง ผอ.สถานศึกษา จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 4 พ.ค.ไว้ก่อน เพื่อให้ มศว.ตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งเรื่องของข้อสอบและกระบวนการตรวจข้อสอบที่มีผู้สงสัย และให้ส่งเอกสารที่ถูกต้องที่มีการเปลี่ยนแปลง พร้อมคะแนนกลับมายัง สพฐ.อีกครั้งในวันที่ 7 พ.ค.นี้ จากนั้น ผอ.เขตพื้นที่ฯ จะรับคะแนนไปดำเนินการในวันที่ 8 พ.ค.และหากผลคะแนนใหม่มีการเปลี่ยนแปลง ให้เสนอคณะอนุกรรมการข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (อกคศ.) เขตพื้นที่การศึกษา พิจารณาคำประกาศ เพิ่มเติมตามผลคะแนนใหม่
แต่กระนั้นจนถึงกระทั่งถึงตอนนี้ก็ไม่มีท่าทีจะยุติลงตามหลักนโยบาย หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยยึดถือระบบคุณธรรม ความเสมอภาค ความโปร่งใส ซ้ำยังสร้างความเคลือบแคลงสงสัยต่อการตรวจสอบที่อาจมีส่วนได้ส่วนเสียในการ ออกข้อสอบของผู้เชี่ยวชาญที่ดำเนินการตรวจสอบ รวมไปถึง “ประชาชน” คนทั่วไป ที่ติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด
ดร.สุรพล พิมพ์สอน รองผู้อำนวยการโรงเรียนวัชรวิทยา สพม.เขต 41 บอกถึงต้นตอของเรื่องที่เกิดขึ้นมานี้ว่า “เรื่องที่เกิดขึ้นก็คือการสอบที่มีข้อผิดพลาด ปัญหามันเกิดขึ้นจากข้อผิดพลาดของข้อสอบที่ สพฐ. ต้องเป็นผู้ทำจัดออกข้อสอบ แต่ว่า สพฐ.ว่าจ้างให้ มศว. สถาบันชั้นนำในเรื่องการวัดประเมินผลทำหน้าที่นี้แทน เพราะว่ากลัวเกิดการทุจริต แต่เผอิญอาจจะด้วยระยะเวลาที่สั้น ความเร่งรีบ ความกระชั้นชิดในการประสานงานในการที่จะออกข้อสอบ แล้วทางมหาวิทยาลัยไม่ถนัดรูปแบบการดำเนินงาน ระเบียบของกระทรวงศึกษา ทำให้คลาดเคลื่อน
“ประเด็นปัญหาการสอบครั้งนี้ เป็นข้อสอบทั้งผู้อำนวยการสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการ มี 2 ฉบับ ภาคเช้า 1 ฉบับ ภาคบ่าย 1 ฉบับ แล้วก็ข้อสอบเมื่อสอบออกมาแล้วเกณฑ์ของทุกคนจะต้องผ่าน ร้อยละ60 ที่จะขึ้นบัญชี แต่ปรากฏว่า พอสอบเสร็จแล้ว ประกาศผลออกมา มีกลุ่มคนผู้สงสัยขอดูคะแนน พอขอดูคะแนนไปพบข้อสอบที่เฉลยผิดหรือข้อสอบคลาดเคลื่อน จึงไปแจ้งเรื่องไว้กับทาง สพฐ.แต่ว่าทาง สพฐ.ขอรอรับรายงานจาก มศว.ก่อน
“หลังจากนั้นทาง มศว.ในครั้งแรก ก็ออกยืนยันว่าข้อสอบถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่เมื่อวันที่ 20 และวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมา ก็มีผู้เข้าดูข้อสอบอีก 135 คน ทว่า มศว.ไม่ให้ดูข้อสอบ แต่ให้ดูเฉลยกับกระดาษคำตอบอย่างเดียว ทางผู้สอบก็เลยทำหนังสือถึง มศว.แล้วก็ทำหนังสือถึงเลขา สพฐ.ว่าข้อสอบมันผิดพลาด อยากให้ตรวจสอบแก้ไขใหม่”
“ปรากฏว่า มศว.ก็เชิญผู้ออกข้อสอบมาตรวจ ครั้งนี้พบว่ามีข้อบกพร่อง มีความคลาดเคลื่อนของข้อสอบ แต่จำนวนกี่ข้อนี้ไม่บอก จนกระทั่งวันที่ 23 เมษายน นำเรื่องเข้าที่ประชุมกรรมการบริหาร มศว.วันต่อมาจึงออกมาแถลงว่า ข้อสอบมีความคลาดเคลื่อนจริง เป็นข้อสอบของ ผอ.4 ข้อ รอง ผอ.2 ข้อ รวมเป็น 6 ข้อ เลขาฯ สพฐ.ก็บอกว่ากลุ่มผู้เข้าสอบที่ร้องทุกข์ บอกว่ามีมากกว่านั้น ให้กลับไปตรวจสอบ”
“เหตุมันเป็นอย่างนี้...” ดร.สุรพล เผย ก่อนจะเสริมต่อถึงจุดไม่ชอบมาพากลที่เพิ่มขึ้นจนเป็นประเด็นในทุกวันนี้
“เพราะปัญหาความผิดพลาดมันอยู่ที่ตัวข้อสอบ มันไปกระทบกับผลของคนที่สอบผ่านที่ไปอบรมกำลังเข้าสู่ตำแหน่ง แล้วมันไปกระทบสิทธิ์ของคนที่ไปร้องทุกข์ไว้ ข้อสอบผิดพลาดจะต้องทำอย่างไร สพฐ.ในขณะนี้ก็เลยจะนัด ผอ.เขตทั่วประเทศไปรับผลวันที่ 8 ซึ่งเป็นการรับผลที่รวดเร็วมาก ขณะที่ผู้ร้องทุกข์เองก็ยังไม่พอใจ
“คือจริงๆ ผู้ร้องทุกข์เขาอยากให้มีคณะกรรมการกลางออกมาเคลียร์ข้อสอบให้ชัดเจน ให้ถูกต้องก่อน แล้วจึงจะมีการตรวจใหม่ ตรวจใหม่เสร็จแล้วค่อยประมวลผลใหม่ มันถึงจะให้ความเป็นธรรมกับทุกคนที่เข้าสอบ 2 หมื่นกว่าคน”
และจากเรื่องที่มาของประเด็นปัญหา หลายๆ คนอาจจะยังสงสัย ในส่วนของตัวข้อสอบที่มีความคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดในระดับการสอบชั้นนำของ ประเทศว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
“ในเรื่องนี้เขาก็เฉลยตามหลักทางวิชา ยกตัวอย่างคำถามง่ายๆ เช่น “นโยบายของท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ให้ไว้กับรัฐสภาข้อใดเป็นลำดับแรกที่ให้ไว้” อย่างนี้มันเป็นข้อมูลที่ชัดเจน มีคำตอบข้อที่1-2-3-4-5 จากนโยบายทั้ง 7-8 ข้อ ปรากฏว่าเขาเฉลยผิด อย่างนี้เขาเรียกว่าข้อสอบที่เฉลยผิดพลาด ส่วนคำถามอีกแบบคือคำถามที่มีคำตอบกำกวม มีคำถามตอบได้มากกว่า 1 ข้อ หลักๆ มี 2 แบบ”
“ซึ่งทาง มศว.ก็ยอมรับว่าเฉลยผิด เขาก็แสดงค่าระยะทางสถิติค่าความคลาดเคลื่อนที่พอยอมรับได้ อย่างเวลาเราทำวิจัยต่างๆ เราจะมีค่าคลาดเคลื่อนที่สามารถยอมรับได้ แต่สถิติอันนี้ก็เป็นข้อสงสัยของผู้เข้าสอบเหมือนกัน หมายความว่าต้องยอมรับ ให้เกิดการยอมรับได้ว่า ข้อสอบมีมาตรฐาน ก็คือหน้าตาของ มศว.ถ้าไปยอมรับมากกว่านั้นแสดงว่ามันจะเกี่ยวพันกับข้อสอบที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถวัดผลได้ มันจะนำไปสู่การยกเลิกข้อสลบ แล้ว มศว.ก็จะถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย...หรือเปล่า”
นอกจากความ "เคลือบแคลง" สงสัยในการตรวจสอบที่อาจมีส่วนได้ส่วนเสียในการออกข้อสอบของผู้เชี่ยวชาญที่ ดำเนินการตรวจสอบยังไม่พอ ยังลุกลามไปจึงถึงขั้นการทุจริตอื่นๆ หรือที่บ้านๆ เราเรียกกันง่ายๆ ว่า "โกงข้อสอบ" ที่การจัดสอบแทบจะทุกครั้งมักจะมีกระแสข่าวโคมลอยเรื่องการทุจริตแซมมาด้วย เสมอ
“คือการสอบครั้งนี้ต้องขอชมทาง สพฐ.เนื่องการเปิดสอบทุกครั้งจะมีข่าวการทุจริตมาตลอด ตั้งแต่ครูผู้ช่วยอะไรต่างๆ นานา คือมีการสอบเมื่อไหร่ ข่าวโคมลอยเรื่องการทุจริตมีมาทั้งนั้น ไม่จับได้ทันทีก็ภายหลัง แต่ครั้งนี้ต้องยอมรับว่า ท่าน ดร.กมล รอดคล้าย ท่านจริงใจ ผมดูท่านต้องการป้องกันการทุจริตและมีความตั้งใจที่จะให้ออกมาดีที่สุด แต่ก็มาพลาดตรงนี้ ตรงข้อสอบ
“ถามว่ามีการทุจริตไหม ในขณะนี้ยังไม่พบ ไม่พบการทุจริตในการสอบหรือทุจริตในการเอื้ออำนวยความสะดวกให้คนบางกลุ่ม เรายังไม่พบ คิดว่าในขั้นตอนวิธีการดี คือการทุจริตมันก็คงยังไม่มี แต่ว่าข้อสอบมันทุจริตตัวมันเอง มันทำให้คนเกิดปัญหา”
ซึ่งทางออกของการแก้ไขปัญหานี้ให้ยุติลงอย่างเป็นธรรมที่สุด ดร.สุรพล สรุปสั้นๆ ว่า“ควรทำตามกฎหมายและตามหลักเกณฑ์ที่ สพฐ.ประกาศ”
“อันนี้มุมทางออกผม มีทางเดียวคือต้องทำตามกฎหมาย ทำตามหลักเกณฑ์ที่ สพฐ.ประกาศ ไม่ต้องไปรีบ เพราะโรงเรียนไม่มี ผอ.โรงเรียนก็อยู่ได้ อย่างบางโรงเรียนไม่มีผู้อำนวยการอยู่ได้เป็นปี เพราะมีคนรักษาการตามหลักของระบบราชการ ฉะนั้นไม่จำเป็นต้องรีบตั้ง”
“แต่ที่ต้องรีบแก้ไข คือต้องแก้ข้อสอบสอบให้ถูกต้องเสียก่อน แล้วการแก้ไขข้อสอบให้ถูกต้อง ก็คือการตั้งกรรมการขึ้นมา อย่างน้อยๆ ขณะนี้ผู้เข้าสอบไม่ไว้ใจ มศว.แล้ว ฉะนั้นตรงนี้ต้องทำให้กระจ่าง เพราะว่าข้อสอบที่พบมันเป็นข้อสอบที่คลาดเคลื่อนจริง จำนวนกี่ข้อ ทำไมไม่ยอมเปิดเผยกัน ไม่ยอมเปิดเผยให้เกิดความโปร่งใส เป็นคำถามของผู้ที่เข้าสอบทุกคนเลย” ดร.สุรพล ย้อนถาม ก่อนจะแนะให้ทั้ง 4 ฝ่าย ตั้งคณะกรรมการกลางโดยคัดเลือกตัวแทนเข้ามาตรวจสอบ
“คือให้ทั้ง คนที่สอบผ่านไปแล้ว ผู้ที่สอบไม่ผ่านผู้ที่ร้องทุกข์ และทาง มศว.กับ สพฐ.ตั้งชุดกรรมการขึ้นมาทั้ง 4 ฝ่าย เข้ามาตรวจสอบดูเลยว่าข้อสอบที่มันคลาดเคลื่อนมันคือข้อไหนบ้าง ดูให้ชัดเจน เมื่อชัดเจน ทุกคนเห็นพ้องว่ามันคลาดเคลื่อนจริง แล้วก็มาทำให้ถูกต้อง
“หรือคุณจะคุยกันถึงเรื่องข้อสอบที่เฉลยผิด มีกี่ข้อ ข้อสอบที่กำกวมข้อสอบที่มีคำตอบมากกว่า 1 ข้อมีกี่ข้อ ต้องยกประโยชน์ให้กับผู้เข้าสอบมีทั้งหมดกี่ข้อกันแน่ ออกตรงคือทางออก ถ้าเราสามารถที่จะเคลียร์ข้อสอบให้ขาวสะอาดหมดจดก่อน มีผู้มีส่วนร่วมเข้าไปดูว่าข้อสอบเป็นอย่างไร แก้ไขอย่างนี้ ถูกต้องเห็นพ้อง แล้วก็ตรวจใหม่ ตรวจใหม่เสร็จแล้วก็ประมวลคะแนนใหม่ แล้วก็ให้ทุกเขตยกเลิกประกาศที่ขึ้นบัญชีไว้ แล้วก็ประมวลผลใหม่ ประกาศขึ้นบัญชีใหม่ แค่นี้ก็จะจบตามหลักเกณฑ์แก้ไข”
“แต่ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วมันก็จะทำให้สังคมส่วนใหญ่ คนที่กำลังรอฟังข่าวนี้อยู่ เกิดความแคลงใจ พูดง่ายๆ ทางออกก็คือทางเดียว สพฐ.คือจะต้องทำตามกฎหมาย ทำตามประกาศที่ให้ไว้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่ทำตามประกาศที่ให้ไว้ โอกาสที่ผู้ร้องทุกข์หรือผู้เข้าสอบจะไปร้องขอความเป็นธรรมสำนักงานข้อมูล ข่าวสารเพื่อให้เปิดสำเนาข้อสอบแล้วมาเฉลยมีมาก ถึงวันนั้น สพฐ.และ มศว.อาจจะเสียหายมาก
“ขณะนี้มีข่าวเท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ ยังไม่ได้ตรวจสอบยืนยัน แจ่ว่ามีผู้ร้องทุกข์ส่วนหนึ่งไม่บอกว่ากลุ่มไหน ให้ดูเอาเอง บอกว่า สพฐ.ให้เข้าไปตรวจดูข้อสอบจำนวนร้อยกว่าคน การที่จะทำอย่างนี้ได้ สพฐ.ต้องแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ต้องมีหนังสือ ไม่อย่างนั้นจะเหมือนการแอบตกลงกัน หาความชอบธรรมว่ามีคนเข้าไปตรวจสอบแล้วก็จะสรุปอย่างรวดเร็ว ตรงนี้คือทางออกที่ผิดพลาด แล้วมันก็จะทำให้คนส่วนหนึ่งหรือบางส่วนเล็ดรอดเข้าไปเป็น ผอ.เพราะสรุปว่ามีข้อสอบผิดพลาดแค่ 4 ข้อ 2 ข้อ ถูกไหม…”
ส่วนกรณีที่ร้องเรียนความเป็นธรรมของผู้ที่ผ่านสอบ ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2558 กลุ่มผู้ที่สอบผ่านและเข้ารับการพัฒนา เรียกร้องให้การดำเนินการของ สพฐ.ที่ประมวลผลใหม่ต้องไม่ทำให้คะแนนต่ำกว่าเดิม และให้ผู้ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว บรรจุแต่งตั้งภายในวันที่ 16 พฤษภาคม 2558 ดร.สุรพล คิดเห็นว่า ควรจะรอการตรวจสอบเพื่อความถูกต้อง ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการฉวยโอกาส และการได้รับตำแหน่งที่มิชอบ
“เพราะว่าสังคมทุกวันนี้ กรณีที่คุณจะให้แต่งตั้งไปคือว่ามันเกิดความคลาดเคลื่อนของข้อสอบหรือผิด พลาดของข้อสอบ เราต้องหันไปดูที่เหตุ ตอนนี้มันเป็นผล ผลมันเกิดจากเหตุที่ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นคุณถูกแต่งตั้งไป คุณอาจจะสอบไม่ได้ก็ได้จากที่ข้อสอบมันคลาดเคลื่อนหรือตรวจผิด
“แต่ส่วนใหญ่เขาจะได้คะแนนผ่านเกณฑ์ ไม่ตก แต่ว่าลำดับเขาจะเคลื่อนไป โดยเฉพาะกลุ่มประสบการณ์ ก็จะทำให้ตำแหน่งคุณสมบัติประสบการณ์มันเปลี่ยนไป เขาอาจจะได้บรรจุทีหลังอย่างนี้เป็นต้น เขาก็กลัว กลัวว่าปัญหานี้มันจะเกิดขึ้นกับตัวเขาเอง เขาก็เลยเรียกร้อง พยายามเรียกร้อง ซึ่งสิทธิ์ตรงนี้สังคมต้องมารับรู้ด้วยกันว่า มันเป็นความถูกต้องหรือไม่ ที่จะเรียกร้องว่าให้รีบบรรจุก่อน
“เพราะจริงๆ แล้ว เขายังมีคุณสมบัติไม่ครบ คือเขาตรวจสอบแล้วปรากฏว่าในประกาศในหลักเกณฑ์พูดขัดกัน ถ้าพบว่าไม่มีคุณสมบัติครบ เขาสามารถเพิกถอนคำสั่งได้หมดเลยทุกเรื่อง ตรงนี้ก็เลยเป็นเรื่องที่กลุ่มผู้ที่สอบผ่านแล้วอบรมแล้ว เอามาอ้างในข้อที่ 8 ของหลักเกณฑ์เพื่อที่จะเร่งบรรจุ ว่าตัวเองครบถ้วนแล้ว ตัวเองขึ้นบัญชีแล้ว ซึ่งมันเป็นการเห็นแก่ตัวและฉวยโอกาสมากกว่า”
และที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า ที่ ดร.สุรพลเห็นว่า ถ้าเร่งรีบแต่งตั้ง ทั้งๆ ที่ยังแก้ไขปัญหาไม่ถูกต้องหรือตรงจุด ไม่ใช่แค่เรื่องนี้จะยังเคลือบแคลงใจในระบบราชการและความยุติธรรมของสังคมใน ส่วนนี้ แต่หมายถึงทำให้กลายเป็นต้นแบบของสังคมส่วนใหญ่ที่อาจจะส่งให้ไร้ซึ่งความ โปร่งใสในอนาคตสืบต่อไปด้วย
“เพราะมันจะเป็นบรรทัดฐานที่คนในสังคมมองเห็น คือถ้าครั้งนี้ สพฐ.ไม่ทำความกระจ่างให้ถูกต้อง มันจะเป็นบรรทัดฐานที่ทำให้สังคมเคลือบแคลงใจ แล้วมันเป็นผลเสียต่อการดำเนินงานของส่วนราชการ ที่ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลหรือหลักการบ้านเมืองที่ดี ไม่โปร่งใส ไม่เป็นธรรม แล้วก็ไม่สามารถให้ตรวจสอบได้ ถ้าตัดสินใจลงไปแล้วโดยที่เอาตัวรอด เอาสรุป ง่ายเข้าว่า แล้วไม่เป็นโปร่งใสเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ผมว่าคนที่เขาสอบทั่วประเทศจะรู้ แต่คนประชาชนจะรู้หรือเปล่าผมไม่แน่ใจว่า ถ้าเกิดข้อสอบไม่ถูกต้องแล้วได้คนที่ไม่สมควรที่จะเป็น ผอ. แล้วก็ไปแต่งตั้งจะเกิดความเสียหายต่อทางราชการอย่างใหญ่หลวง
“เพราะว่าการที่เราจะสรรหาผู้บริหาร ผู้บริหารคือผู้นำองค์กรหลัก ซึ่งในเรื่องนี้เป็นองค์กรพื้นฐานในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและผลิตสังคม ที่ดี เราต้องได้คนเหมาะสมเข้าไป” ดร.สุรพล แสดงความคิดเห็น
ทั้งนี้การ "เริ่มต้นใหม่" หรือ "ตัดสรุปจบ" อาจไม่ใช่คำตอบในการแก้ไขยุติปัญหาในเรื่องนี้ที่ดีที่สุด เพราะนี่คือเรื่อง ระบบคุณธรรม ความเสมอภาค ความโปร่งใส ที่จะชี้ชะตากำหนดอนาคต (ของ) บ้านเมืองไทยเรา ที่เราอาจจะต้องย้อนมองกลับไปที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
“เรื่องนี้ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ผู้เข้าสอบทักท้วงท่านเลขา สพฐ.ไว้แล้วว่า ขอคัดสำเนาข้อสอบและขอตั้งกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ คือถ้าไม่ให้เขาดู เขาจะขอคณะกรรมการข้อมูลข่าวสาร ขอให้เปิดให้คัดสำเนา แล้วถ้าเกิดความเสียหายขึ้นในภายหลัง ถ้าเกิดวันนั้นผู้เข้าสอบไปพบข้อสอบที่มีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนมากกว่า 4ข้อ 2 ข้อ ปัญหาที่เกิดขึ้น มันไม่ใช่แค่เรื่องของ สพฐ.ละเว้นการปฏิบัติ ยังจะถูกกระบวนการร้องศาลปกครอง แจ้งความดำเนินคดีในมาตรา 57 ที่จะก่อให้เกิดปัญหาความยุ่งยากอีกด้วย
“อันนี้ผมก็ต้องบอกฝากให้กับสังคมที่คนที่เฝ้าติดตามเรื่องนี้อยู่ว่า ให้ช่วยกันคิดว่าหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานผู้นำในเรื่องของการพัฒนาคน เป็นต้นแบบ ไม่ทำความกระจ่างให้กับผู้ที่ไปร้องขอความเป็นธรรม มันจะทำให้บ้านเมืองมีความไม่เป็นธรรม แล้วสังคมก็จะอยู่กันลำบาก” ดร.สุรพล กล่าวทิ้งท้าย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่