มก. วอนรัฐอัดฉีดค่าตอบแทนสัตวแพทย์ด้านปศุสัตว์ ชี้ช่วยกระตุ้นยอดนักศึกษาเลือกเรียนปศุสัตว์มากขึ้น หวั่นอนาคตไทยอาจขาดแคลนหนักขึ้น กระทบการดูแลรักษาสัตว์ใหญ่และ ศก.ของประเทศ เล็งปรับการเรียนการสอน จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาเห็นความสำคัญในการเรียนปศุสัตว์
ศ.น.สพ.ดร.อภินันท์ สุประเสริฐ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่าคณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นหนึ่งในคณะที่ได้รับความนิยมจากนสิตนักศึกษาจำนวนมากในการเข้าเรียน ขณะเดียวกัน ก็มีมหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ มากขึ้น แต่ในส่วนของประเทศไทยกลับพบปัญหาการขาดแคลนสัตวแพทย์ด้านปศุสัตว์ หรือสัตวแพทย์ที่ต้องดูแลสัตว์ใหญ่ เช่น ควาย วัว สุกร ม้า เป็นต้น ทำให้ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ท้องถิ่น หรือกลุ่มธุรกิจการทำฟาร์ม ต่างขาดแคลนสัตวแพทย์ที่คอยดูแลรักษาสัตว์ให้พวกเขา เนื่องจากแม้มีนิสิตนักศึกษาเข้าเรียนสัตวแพทย์มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ส่วนใหญ่กลับเลือกที่จะดูแลสัตว์เล็กอย่างสุนัข แมว เปิดคลินิกของตนเอง หรือทำงานโรงพยาบาลสัตว์ในตัวเมืองมากกว่า เพราะการดูแลสัตว์เล็กนอกจากเป็นงานที่ง่าย สบายกว่า เงินก็ดีกว่า อีกทั้งกลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์เล็กก็มีจำนวนมากขึ้นเรื่องๆ รวมถึงการทำงานในส่วนปศุสัตว์ ส่วนใหญ่ต้องออกนอกพื้นที่ ทำงานในฟาร์ม หรือท้องถิ่น และเป็นงานที่เหนื่อยและหนัก ทำให้นักศึกษาไม่เลือกเรียน
“ตอนนี้มีนักศึกษาเพียง 10 - 20% เท่านั้นที่เลือกเรียนปศุสัตว์ และมีแนวโน้มนักศึกษาที่จะเลือกเรียนด้านนี้ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไปอนาคตประเทศไทยอาจขาดแคลนสัตวแพทย์ปศุสัตว์หนักกว่าเดิม ทั้งที่สัตว์ใหญ่มีความจำเป็นทั้งด้านความเป็นอยู่ อาหาร และด้านเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น มหาวิทยาลัย จึงพยายามผลักดัน ส่งเสริมให้นักศึกษาหันมาเลือกเรียนสัตวแพทย์ด้านปศุสัตว์มากขึ้น โดยจัดกิจกรรม โครงการต่างๆ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา เปิดโอกาสให้เขาได้ลงพื้นที่เรียนรู้การดูแล รักษาสัตว์ใหญ่ ทั้งในประเทศ พื้นที่จังหวัดต่างๆ และในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงพยายามสร้างเครือข่ายและเปิดมุมมองให้เขาได้เห็นโอกาสในการทำงานด้านปศุสัตว์” คณบดีคณะสัตวแพทย์ มก. กล่าว
คณบดีคณะสัตวแพทย์ มก. กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนสัตวแพทย์ด้านปศุสัตว์มากขึ้น นอกจากมหาวิทยาลัยต้องจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมศักยภาพ กระตุ้นให้นักศึกษาเห็นความสำคัญในการทำงานด้านปศุสัตว์แล้ว ภาครัฐ หน่วยงานราชการในท้องถิ่นเอง ต้องมีแนวทางส่งเสริม สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องค่าตอบแทน ความเป็นอยู่ ให้แก่ปศุสัตว์ด้วย เพราะต้องยอมรับว่าสัตวแพทย์ด้านปศุสัตว์เป็นอาชีพที่มักถูกละเลย ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.น.สพ.ดร.อภินันท์ สุประเสริฐ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่าคณะสัตวแพทยศาสตร์ เป็นหนึ่งในคณะที่ได้รับความนิยมจากนสิตนักศึกษาจำนวนมากในการเข้าเรียน ขณะเดียวกัน ก็มีมหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ มากขึ้น แต่ในส่วนของประเทศไทยกลับพบปัญหาการขาดแคลนสัตวแพทย์ด้านปศุสัตว์ หรือสัตวแพทย์ที่ต้องดูแลสัตว์ใหญ่ เช่น ควาย วัว สุกร ม้า เป็นต้น ทำให้ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ท้องถิ่น หรือกลุ่มธุรกิจการทำฟาร์ม ต่างขาดแคลนสัตวแพทย์ที่คอยดูแลรักษาสัตว์ให้พวกเขา เนื่องจากแม้มีนิสิตนักศึกษาเข้าเรียนสัตวแพทย์มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ส่วนใหญ่กลับเลือกที่จะดูแลสัตว์เล็กอย่างสุนัข แมว เปิดคลินิกของตนเอง หรือทำงานโรงพยาบาลสัตว์ในตัวเมืองมากกว่า เพราะการดูแลสัตว์เล็กนอกจากเป็นงานที่ง่าย สบายกว่า เงินก็ดีกว่า อีกทั้งกลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์เล็กก็มีจำนวนมากขึ้นเรื่องๆ รวมถึงการทำงานในส่วนปศุสัตว์ ส่วนใหญ่ต้องออกนอกพื้นที่ ทำงานในฟาร์ม หรือท้องถิ่น และเป็นงานที่เหนื่อยและหนัก ทำให้นักศึกษาไม่เลือกเรียน
“ตอนนี้มีนักศึกษาเพียง 10 - 20% เท่านั้นที่เลือกเรียนปศุสัตว์ และมีแนวโน้มนักศึกษาที่จะเลือกเรียนด้านนี้ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ต่อไปอนาคตประเทศไทยอาจขาดแคลนสัตวแพทย์ปศุสัตว์หนักกว่าเดิม ทั้งที่สัตว์ใหญ่มีความจำเป็นทั้งด้านความเป็นอยู่ อาหาร และด้านเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้น มหาวิทยาลัย จึงพยายามผลักดัน ส่งเสริมให้นักศึกษาหันมาเลือกเรียนสัตวแพทย์ด้านปศุสัตว์มากขึ้น โดยจัดกิจกรรม โครงการต่างๆ การแลกเปลี่ยนนักศึกษา เปิดโอกาสให้เขาได้ลงพื้นที่เรียนรู้การดูแล รักษาสัตว์ใหญ่ ทั้งในประเทศ พื้นที่จังหวัดต่างๆ และในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงพยายามสร้างเครือข่ายและเปิดมุมมองให้เขาได้เห็นโอกาสในการทำงานด้านปศุสัตว์” คณบดีคณะสัตวแพทย์ มก. กล่าว
คณบดีคณะสัตวแพทย์ มก. กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนสัตวแพทย์ด้านปศุสัตว์มากขึ้น นอกจากมหาวิทยาลัยต้องจัดการเรียนการสอน และกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมศักยภาพ กระตุ้นให้นักศึกษาเห็นความสำคัญในการทำงานด้านปศุสัตว์แล้ว ภาครัฐ หน่วยงานราชการในท้องถิ่นเอง ต้องมีแนวทางส่งเสริม สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องค่าตอบแทน ความเป็นอยู่ ให้แก่ปศุสัตว์ด้วย เพราะต้องยอมรับว่าสัตวแพทย์ด้านปศุสัตว์เป็นอาชีพที่มักถูกละเลย ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่