ศธ. เล็งยุติโครงการมหา’ลัยวิจัย หลังได้รับงบที่ค้างอยู่กว่า 400 ล้านบาท เรียบร้อย รับปัญหาเยอะทำให้งานวิจัยไม่คืบ พร้อมเตรียมของบปี 59 ประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท ดันมหา’ลัยไทยสู่มหา’ลัยโลกแทน เน้นสร้างงานวิจัยที่นำมาพัฒนาประเทศได้จริง
วันนี้ (9 มี.ค.) นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีแนวคิดที่จะจัดตั้งซูเปอร์บอร์ดทางการศึกษา โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 6 ประการ ได้แก่ 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษา (ป.) ปีที่ 1 จะต้องอ่านออกเขียนได้ 2. เปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา (ม.) ปีที่ 1 - 6 เลือกเรียนวิชาเสริมในลักษณะวิชาชีพมากขึ้น 3. มีความเชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับการส่งเสริมวิชาชีพ ให้ตรงตามความต้องการของตลาดงานทั้งท้องถิ่น และประเทศ 4. ระดับอุดมศึกษาอยากให้เน้นการวิจัย เชื่อมต่อกับภาคอุตสาหกรรมของเอกชน 5. ยกระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษจากเจ้าของภาษา 6. ผลิตบุคลากรครูอย่างเข้มข้น มีความรู้ความสามารถ เพื่อตอบรับการสอนให้ได้อย่างแท้จริง และมีการสอนครูเฉพาะกิจเพื่อปูพื้นฐานในแน่นขึ้น ซึ่งเท่าที่ฟังนายกฯ ได้ย้ำเรื่องการปฏิรูปการศึกษา แก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ โดยเฉพาะส่งเสริมให้เด็กสนใจมาเรียนในสายอาชีพมากขึ้น โดยในส่วนของระดับอุดมศึกษา อยากให้เน้นสร้างงานวิจัยที่เชื่อมต่อกับภาคอุตสาหกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ก็เน้นย้ำให้มหาวิทยาลัยพัฒนางานวิจัยที่หลายหลาย โดยเฉพาะงานวิจัยที่จะมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม และงานวิจัยที่ช่วยพัฒนาประเทศ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งส่งเสริมขณะนี้คืออาจารย์ในระดับปริญญาเอกที่ต้องพัฒนา และกระตุ้นให้สร้างงานวิจัยมากขึ้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สกอ. ได้เสนอของบประมาณปี 2559 ในการสนับสนุนโครงการพัฒนาบุคลากรและงานวิจัย อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ในอุดมศึกษา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงบริบทโลก ระยะเวลา 15 ปี งบประมาณรวม 44,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกขึ้นไป จำนวน 16,000 ทุน โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก ระยะเวลา 5 ปี งบประมาณรวม 25,000 ล้านบาท เป็นการสนับสนุนทุนวิจัยให้มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เป็นต้น
“ส่วนโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 นั้น หากได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ที่ยังค้างอยู่อีก 400 กว่าล้านบาท ก็คิดว่าจะยุติโครงการดังกล่าวลง เพราะที่ผ่านมาโครงการนี้ค่อนข้างมีปัญหา ได้รับงบประมาณล่าช้า ทำให้งานวิจัยต่างๆ ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมหรือมีความคืบหน้าไปมากนัก จึงคิดว่าหากได้รับงบที่เหลือทั้งหมดแล้ว ก็คงจะไม่ดำเนินการต่อ โดยจะของบสนับสนุนโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลกแทน ซึ่งโครงการนี้จะเน้นพัฒนามหาวิทยาลัยที่สร้างงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดและเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศได้จริงและเห็นเป็นรูปธรรม”นายกฤษณพงศ์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (9 มี.ค.) นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีแนวคิดที่จะจัดตั้งซูเปอร์บอร์ดทางการศึกษา โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 6 ประการ ได้แก่ 1. นักเรียนชั้นประถมศึกษา (ป.) ปีที่ 1 จะต้องอ่านออกเขียนได้ 2. เปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา (ม.) ปีที่ 1 - 6 เลือกเรียนวิชาเสริมในลักษณะวิชาชีพมากขึ้น 3. มีความเชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับการส่งเสริมวิชาชีพ ให้ตรงตามความต้องการของตลาดงานทั้งท้องถิ่น และประเทศ 4. ระดับอุดมศึกษาอยากให้เน้นการวิจัย เชื่อมต่อกับภาคอุตสาหกรรมของเอกชน 5. ยกระดับความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษจากเจ้าของภาษา 6. ผลิตบุคลากรครูอย่างเข้มข้น มีความรู้ความสามารถ เพื่อตอบรับการสอนให้ได้อย่างแท้จริง และมีการสอนครูเฉพาะกิจเพื่อปูพื้นฐานในแน่นขึ้น ซึ่งเท่าที่ฟังนายกฯ ได้ย้ำเรื่องการปฏิรูปการศึกษา แก้ปัญหาการอ่านออกเขียนได้ โดยเฉพาะส่งเสริมให้เด็กสนใจมาเรียนในสายอาชีพมากขึ้น โดยในส่วนของระดับอุดมศึกษา อยากให้เน้นสร้างงานวิจัยที่เชื่อมต่อกับภาคอุตสาหกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้จริง โดยที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ก็เน้นย้ำให้มหาวิทยาลัยพัฒนางานวิจัยที่หลายหลาย โดยเฉพาะงานวิจัยที่จะมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม และงานวิจัยที่ช่วยพัฒนาประเทศ โดยสิ่งสำคัญที่ต้องเร่งส่งเสริมขณะนี้คืออาจารย์ในระดับปริญญาเอกที่ต้องพัฒนา และกระตุ้นให้สร้างงานวิจัยมากขึ้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สกอ. ได้เสนอของบประมาณปี 2559 ในการสนับสนุนโครงการพัฒนาบุคลากรและงานวิจัย อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ในอุดมศึกษา เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงบริบทโลก ระยะเวลา 15 ปี งบประมาณรวม 44,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการให้ทุนการศึกษาระดับปริญญาเอกขึ้นไป จำนวน 16,000 ทุน โครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก ระยะเวลา 5 ปี งบประมาณรวม 25,000 ล้านบาท เป็นการสนับสนุนทุนวิจัยให้มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เป็นต้น
“ส่วนโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2553 นั้น หากได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ที่ยังค้างอยู่อีก 400 กว่าล้านบาท ก็คิดว่าจะยุติโครงการดังกล่าวลง เพราะที่ผ่านมาโครงการนี้ค่อนข้างมีปัญหา ได้รับงบประมาณล่าช้า ทำให้งานวิจัยต่างๆ ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมหรือมีความคืบหน้าไปมากนัก จึงคิดว่าหากได้รับงบที่เหลือทั้งหมดแล้ว ก็คงจะไม่ดำเนินการต่อ โดยจะของบสนับสนุนโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยไทยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลกแทน ซึ่งโครงการนี้จะเน้นพัฒนามหาวิทยาลัยที่สร้างงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ต่อยอดและเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศได้จริงและเห็นเป็นรูปธรรม”นายกฤษณพงศ์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่