กำหนดราคากลางเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลสะดุด ศิริราชเผย สธ. ไม่มีการหารือร่วมหลังเปลี่ยนรัฐบาล ย้ำหากเดินหน้าต่อต้องรักษาสมดุลการเข้าถึงบริการ คุณภาพการรักษา และค่าใช้จ่าย ด้าน สบส. ระบุอยู่ที่นโยบายของฝ่ายการเมือง
ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความคืบหน้าการกำหนดราคากลางเพื่อเป็นมาตรฐานประเทศในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเป็นแนวคิดสมัย นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า ช่วงที่ นพ.ประดิษฐ เป็น รมว.สาธารณศุข ก็มีการหารือถึงเรื่องนี้เป็นระยะๆ ระหว่าง สธ. กลุ่มโรงเรียนแพทย์ และสถานบริการในสังกัดอื่นๆ แต่หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ก็ไม่ได้มีการหารือในเรื่องนี้ต่อ แต่เชื่อว่าทาง สธ. น่าจะมีการดำเนินการเรื่องนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากย้ำในเรื่องการกำหนดราคากลางก็คือจะต้องรักษาสมดุลใน 3 เรื่องให้ได้ คือ การเข้าถึงบริการ เรื่องคุณภาพ และค่าใช้จ่าย เพราะหากราคาสูงเกินไป แม้จะได้คุณภาพในการรักษา แต่การเข้าถึงบริการอาจมีปัญหา เป็นต้น
ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลป (สบรส.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า เรื่องค่ารักษาพยาบาลนั้น ที่ผ่านมา พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 กำหนดแต่เพียงให้โรงพยาบาลต้องประกาศค่ารักษาพยาบาลให้ประชาชนเห็นได้ชัดเจน สามารถสอบถามได้ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ไม่ได้มีข้อกำหนดในเรื่องของราคากลางว่า รักษาเช่นนี้ค่ารักษาเท่าไร ซึ่งขณะนี้กรมฯ ยังไม่ได้มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว เพราะต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของฝ่ายการเมืองด้วยว่าจะขับเคลื่อนในเรื่องนี้ต่อไปหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เรื่องกำหนดราคาค่ารักษาพยาบาลนั้น ในส่วนของโรงพยาบาลรัฐบาลมีมีกรมบัญชีกลางเป็นผู้กำหนดอยู่แล้ว ส่วนโรงพยาบาลเอกชนยังไม่มี
ทพ.อาคม กล่าวว่า การกำหนดราคากลางนั้นเป็นอีกกลไกหนึ่งในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล แต่ถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก เพราะหากกำหนดราคากลางที่ชัดเจนเกินไปก็อาจมีปัญหาในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การกำหนดราคากลางเป็นแนวคิดที่จะดำเนินการในช่วงที่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็น รมว.สาธารณสุข โดยจะกำหนดราคากลางสำหรับเป็นมาตรฐานของประเทศในการเบิกจ่าย เพื่อมาแทนที่การเบิกจ่ายตามเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการรักษาที่มีประสิทธิภาพและโรคแทรกซ้อนน้อยที่สุด โดยเกณฑ์ DRG จะนำมาใช้ระบบการประเมินผลการดำเนินการของโรงพยาบาลแทน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงความคืบหน้าการกำหนดราคากลางเพื่อเป็นมาตรฐานประเทศในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเป็นแนวคิดสมัย นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ว่า ช่วงที่ นพ.ประดิษฐ เป็น รมว.สาธารณศุข ก็มีการหารือถึงเรื่องนี้เป็นระยะๆ ระหว่าง สธ. กลุ่มโรงเรียนแพทย์ และสถานบริการในสังกัดอื่นๆ แต่หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ก็ไม่ได้มีการหารือในเรื่องนี้ต่อ แต่เชื่อว่าทาง สธ. น่าจะมีการดำเนินการเรื่องนี้อยู่ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่อยากย้ำในเรื่องการกำหนดราคากลางก็คือจะต้องรักษาสมดุลใน 3 เรื่องให้ได้ คือ การเข้าถึงบริการ เรื่องคุณภาพ และค่าใช้จ่าย เพราะหากราคาสูงเกินไป แม้จะได้คุณภาพในการรักษา แต่การเข้าถึงบริการอาจมีปัญหา เป็นต้น
ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลป (สบรส.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า เรื่องค่ารักษาพยาบาลนั้น ที่ผ่านมา พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 กำหนดแต่เพียงให้โรงพยาบาลต้องประกาศค่ารักษาพยาบาลให้ประชาชนเห็นได้ชัดเจน สามารถสอบถามได้ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ไม่ได้มีข้อกำหนดในเรื่องของราคากลางว่า รักษาเช่นนี้ค่ารักษาเท่าไร ซึ่งขณะนี้กรมฯ ยังไม่ได้มีการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว เพราะต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของฝ่ายการเมืองด้วยว่าจะขับเคลื่อนในเรื่องนี้ต่อไปหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เรื่องกำหนดราคาค่ารักษาพยาบาลนั้น ในส่วนของโรงพยาบาลรัฐบาลมีมีกรมบัญชีกลางเป็นผู้กำหนดอยู่แล้ว ส่วนโรงพยาบาลเอกชนยังไม่มี
ทพ.อาคม กล่าวว่า การกำหนดราคากลางนั้นเป็นอีกกลไกหนึ่งในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพการรักษาพยาบาล แต่ถือเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก เพราะหากกำหนดราคากลางที่ชัดเจนเกินไปก็อาจมีปัญหาในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การกำหนดราคากลางเป็นแนวคิดที่จะดำเนินการในช่วงที่ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ เป็น รมว.สาธารณสุข โดยจะกำหนดราคากลางสำหรับเป็นมาตรฐานของประเทศในการเบิกจ่าย เพื่อมาแทนที่การเบิกจ่ายตามเกณฑ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการรักษาที่มีประสิทธิภาพและโรคแทรกซ้อนน้อยที่สุด โดยเกณฑ์ DRG จะนำมาใช้ระบบการประเมินผลการดำเนินการของโรงพยาบาลแทน
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่