เร่งพัฒนาโรงพยาบาลเล็กในพะเยาอีก 6 แห่ง ให้ยาสลายลิ่มเลือดเองผู้ป่วยโรคหัวใจได้ หลังดำเนินการแล้ว 1 แห่ง ช่วยลดอัตราป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต การครองเตียงในโรงพยาบาล การตายลดลง
วันนี้ (28 ม.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมสภาพปัญหาโรงพยาบาลตามแนวชายแดนและการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ที่ รพ.เชียงคำ จ.พะเยา ว่า รพ.เชียงคำ อยู่ในเขตสุขภาพที่ 1 มีการใช้ระบบดูแลผู้ป่วยแบบบูรณาการ ส่งเสริมพัฒนาให้เครือข่ายหน่วยบริการให้ยาละลายลิ่มเลือดแก่ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเองได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับยามากขึ้นจากเดิมปี 2555 ได้รับยาร้อยละ 33 เพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็นร้อยละ 66 ในปี 2557 ช่วยลดอัตราการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต จากการได้รับไม่ทัน ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 ลดเวลารอคอยผ่าตัดเหลือ 78 วัน ช่วยให้อัตราการตายลดลง ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการประสานส่งต่อผู้ป่วยไปยังเครือข่ายในเขต เพื่อฉีดสีสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจ และผ่าตัดหัวใจแบบเปิด รวมถึงสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยใน รพ.สต. โดยดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ช่วยให้เข้าถึงบริการมากขึ้น
“ขณะนี้ สธ. ได้ทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเรื่องการจัดซื้อร่วมภายในเขต เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล ลดต้นทุน และได้ยาที่มีมาตรฐานเดียวกัน ส่วนการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของ สธ. สามารถปรับเปลี่ยนได้หากหน่วยงานในภูมิภาคทุกแห่งมีความเข็มแข็ง” ปลัด สธ. กล่าว
พญ.จิรพร ภัทรนุธาพร ผอ.รพ.เชียงคำ กล่าวว่า โรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูง คือ การติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดบวม มะเร็ง รวมถึงโรคหัวใจ ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากหน่วยบริการสาธารณสุขไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ ต้องเดินทางมายัง รพ.เชียงคำ ซึ่งสร้างความยากลำบากต่อผู้ป่วย และบางพื้นที่อยู่ในเขตภูเขา ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ในการสื่อสารได้ เนื่องจากไม่มีสัญญาณ สสจ.พะเยา รพ.พะเยา และ รพ.เชียงคำ จึงแก้ปัญหาโดย 1. พัฒนาบุคลากรและขยายหน่วยบริการให้สามารถให้ยาสลายลิ่มเลือดได้เอง ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ขณะนี้ทำสำเร็จแล้ว 1 แห่ง และเตรียมขยายให้ครบอีก 6 แห่ง ในปีงบประมาณ 2558 และขยายระบบบริการสู่ระดับปฐมภูมิ โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. จะให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจ เน้นอาการเสี่ยงเพื่อเข้ารับการตรวจรักษา ลดอัตราการตายของผู้ป่วย และ 2. ใช้ระบบวิทยุสื่อสาร ในกรณีที่โทรศัพท์ไม่มีสัญญาณ ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (28 ม.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมสภาพปัญหาโรงพยาบาลตามแนวชายแดนและการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ที่ รพ.เชียงคำ จ.พะเยา ว่า รพ.เชียงคำ อยู่ในเขตสุขภาพที่ 1 มีการใช้ระบบดูแลผู้ป่วยแบบบูรณาการ ส่งเสริมพัฒนาให้เครือข่ายหน่วยบริการให้ยาละลายลิ่มเลือดแก่ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเองได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับยามากขึ้นจากเดิมปี 2555 ได้รับยาร้อยละ 33 เพิ่มขึ้น 2 เท่าเป็นร้อยละ 66 ในปี 2557 ช่วยลดอัตราการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต จากการได้รับไม่ทัน ลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 ลดเวลารอคอยผ่าตัดเหลือ 78 วัน ช่วยให้อัตราการตายลดลง ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการประสานส่งต่อผู้ป่วยไปยังเครือข่ายในเขต เพื่อฉีดสีสวนหัวใจ ขยายหลอดเลือดหัวใจ และผ่าตัดหัวใจแบบเปิด รวมถึงสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยใน รพ.สต. โดยดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ช่วยให้เข้าถึงบริการมากขึ้น
“ขณะนี้ สธ. ได้ทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเรื่องการจัดซื้อร่วมภายในเขต เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล ลดต้นทุน และได้ยาที่มีมาตรฐานเดียวกัน ส่วนการปฏิรูประบบบริการสุขภาพของ สธ. สามารถปรับเปลี่ยนได้หากหน่วยงานในภูมิภาคทุกแห่งมีความเข็มแข็ง” ปลัด สธ. กล่าว
พญ.จิรพร ภัทรนุธาพร ผอ.รพ.เชียงคำ กล่าวว่า โรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูง คือ การติดเชื้อในกระแสเลือด ปอดบวม มะเร็ง รวมถึงโรคหัวใจ ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากหน่วยบริการสาธารณสุขไม่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้ ต้องเดินทางมายัง รพ.เชียงคำ ซึ่งสร้างความยากลำบากต่อผู้ป่วย และบางพื้นที่อยู่ในเขตภูเขา ไม่สามารถใช้โทรศัพท์ในการสื่อสารได้ เนื่องจากไม่มีสัญญาณ สสจ.พะเยา รพ.พะเยา และ รพ.เชียงคำ จึงแก้ปัญหาโดย 1. พัฒนาบุคลากรและขยายหน่วยบริการให้สามารถให้ยาสลายลิ่มเลือดได้เอง ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ขณะนี้ทำสำเร็จแล้ว 1 แห่ง และเตรียมขยายให้ครบอีก 6 แห่ง ในปีงบประมาณ 2558 และขยายระบบบริการสู่ระดับปฐมภูมิ โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. จะให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจ เน้นอาการเสี่ยงเพื่อเข้ารับการตรวจรักษา ลดอัตราการตายของผู้ป่วย และ 2. ใช้ระบบวิทยุสื่อสาร ในกรณีที่โทรศัพท์ไม่มีสัญญาณ ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่