กรมสุขภาพจิตยกเคสคุณป้าบังคับขายดอกไม้ มีความผิดปกติ แนะหากเจอผู้ป่วยทางจิตหรือคาดว่าป่วยทางจิต ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ ชี้มีกฎหมายอนุญาตเรื่องบังคับการรักษา เพื่อคุ้มครองผู้ป่วย
นพ.พงษ์เกษม ไข่มุกด์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรณีคุณป้าบังคับขายดอกไม้ด้วยคำพูดที่รุนแรงและมีบุคลิกที่แปลกไปจากคนทั่วไป ชี้ให้เห็นว่าประชาชนยังไม่เข้าใจเรื่องการเจ็บป่วยทางจิต ซึ่งจากการวิเคราะห์พยาธิสภาพของเคสนี้ สิ่งที่เห็นคือ มีบุคลิกไม่เหมือนคนทั่วไป ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์เพ่มเติมว่าเกิดจากอะไร เช่น ความเครียด ความผิดปกติทางสมอง เนื้องอกบริเวณสมองส่วนหน้าที่เป้นส่วนควบคุมตัวเอง เป็นต้น ซึ่งญาติและคนใกล้ชิดจะทราบความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ดีที่สุด เช่น เคยสงบ สุขุม กลายเป็นคนละคน ก็ควรเข้าไปดูแล แต่อย่างกรณีคุณป้าคนนี้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขสามารถเข้าไปดูแลได้
นพ.พงษ์เกษม กล่าวว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 จะมีหมวดหนึ่งคือการบังคับการรักษา ซึ่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานที่มีบัตรอนุญาตสามารถบังคับรักษาได้ ปัจจุบันมีอยู่ในโรงพยาบาลรัฐราว 3,000 คน แต่กำลังจะมีการแก้กฎหมายให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) เป็นผู้ออกบัตรได้เพิ่มเติมจากอำนาจของอธิบดีกรมสุขภาพจิต ซึ่งการบังคับรักษาเป็นสิ่งที่จะคุ้มครองผู้ป่วย โดยประชาชนสามารถแจ้งพนักงานได้หากพบเห็นผู้ที่มีความผิดปกติหรือสงสัยว่าอาจเจ็บป่วยทางจิต อย่างไรก็ตาม จากที่มี พ.ร.บ.สุขภาพจิต พบว่า ปี 2556 มีผู้แจ้งขอใช้ พ.ร.บ. ประมาณ 6,100 ราย พบว่าเจ็บป่วยจริง 3,700 ราย ซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำ เพราะคาดว่าจะมีผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตซึ่งต้องได้รับการรักษาประมาณ 5 - 7 แสนราย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.พงษ์เกษม ไข่มุกด์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรณีคุณป้าบังคับขายดอกไม้ด้วยคำพูดที่รุนแรงและมีบุคลิกที่แปลกไปจากคนทั่วไป ชี้ให้เห็นว่าประชาชนยังไม่เข้าใจเรื่องการเจ็บป่วยทางจิต ซึ่งจากการวิเคราะห์พยาธิสภาพของเคสนี้ สิ่งที่เห็นคือ มีบุคลิกไม่เหมือนคนทั่วไป ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์เพ่มเติมว่าเกิดจากอะไร เช่น ความเครียด ความผิดปกติทางสมอง เนื้องอกบริเวณสมองส่วนหน้าที่เป้นส่วนควบคุมตัวเอง เป็นต้น ซึ่งญาติและคนใกล้ชิดจะทราบความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ดีที่สุด เช่น เคยสงบ สุขุม กลายเป็นคนละคน ก็ควรเข้าไปดูแล แต่อย่างกรณีคุณป้าคนนี้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขสามารถเข้าไปดูแลได้
นพ.พงษ์เกษม กล่าวว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 จะมีหมวดหนึ่งคือการบังคับการรักษา ซึ่งอนุญาตให้เจ้าพนักงานที่มีบัตรอนุญาตสามารถบังคับรักษาได้ ปัจจุบันมีอยู่ในโรงพยาบาลรัฐราว 3,000 คน แต่กำลังจะมีการแก้กฎหมายให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) เป็นผู้ออกบัตรได้เพิ่มเติมจากอำนาจของอธิบดีกรมสุขภาพจิต ซึ่งการบังคับรักษาเป็นสิ่งที่จะคุ้มครองผู้ป่วย โดยประชาชนสามารถแจ้งพนักงานได้หากพบเห็นผู้ที่มีความผิดปกติหรือสงสัยว่าอาจเจ็บป่วยทางจิต อย่างไรก็ตาม จากที่มี พ.ร.บ.สุขภาพจิต พบว่า ปี 2556 มีผู้แจ้งขอใช้ พ.ร.บ. ประมาณ 6,100 ราย พบว่าเจ็บป่วยจริง 3,700 ราย ซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำ เพราะคาดว่าจะมีผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตซึ่งต้องได้รับการรักษาประมาณ 5 - 7 แสนราย
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่