ให้ทารกดูดนมจากเต้าแม่บ่อยๆ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ลดอาการปากแตกช่วงหน้าหนาว ย้ำไม่ต้องกินอาหารที่มีคุณค่า เน้นผักและผลไม้ที่ให้วิตามินซีมากที่สุด
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนและหนาวเย็นลง หากดูแลไม่ดีพอ จะทำให้ป่วยเป็นไข้หวัดหรือระบบทางเดินหายใจได้ โดยเฉพาะทารกที่ยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่ดีพอ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้กินนมแม่เป็นประจำเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และเมื่อเจอกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นลูกอาจปากแห้งแตก จึงควรให้ลูกดูดนมแม่จากเต้าบ่อยๆ จะช่วยลดอาการปากแห้งแตกได้ เพราะนมแม่มีน้ำเพียงพออยู่แล้ว ซึ่งตามข้อแนะนำองค์การอนามัยโลกทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนให้ลูก กินนมแม่เพียงอย่างเดียว
“การให้ลูกดูดนมจากเต้าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งคุณค่าน้ำนมที่ลูกกินนั้นจะได้จากสารอาหารที่แม่กินเข้าไป ดังนั้น แม่ควรกินอาหารมีประโยชน์และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยควรกินอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ ทั้งสารอาหารประเภทโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายต้องการ เพื่อเสริมสร้างพลังงาน กินผักและผลไม้ให้มากที่สุดในแต่ละมื้อ เพราะการกินผักและผลไม้ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารประเภทวิตามินและแร่ธาตุที่มีส่วนสำคัญในการสร้างน้ำนม ซึ่งจะช่วยให้ลูกได้รับคุณค่าของสารอาหารนั้นๆ อีกทั้งวิตามินซีจากผักและผลไม้ยังช่วยป้องกันไข้หวัดในช่วงหน้าหนาวด้วย สำหรับลูกนมแม่ยังคงเป็นอาหารเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่เหมาะสมสำหรับทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน หลังจากนั้นยังคงให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยจนลูกอายุครบ 2 ปีหรือมากกว่า” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวว่า นมแม่เป็นสารอาหารที่สำคัญและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดให้กับทารก แม่ทุกคนจึงควรเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองให้นานที่สุด เพราะนมแม่ไม่เพียงแต่ปกป้องสุขภาพทารกเท่านั้นแต่ยังเป็นการให้ภูมิคุ้มกันทางจิตใจแก่ลูก นมแม่ประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับทารก โดยนมแม่ในระยะที่ 1 สัปดาห์แรกเป็นยอดน้ำนม ที่เรียกว่า โคลอสตรัมหรือหัวน้ำนม มีภูมิคุ้มกันสูงสุด แม่ควรให้ลูกได้กินหัวน้ำนม เพื่อช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคเพิ่มความแข็งแรงให้ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ช่วยกำจัดเชื้อโรคทั้งแบคทีเรียและไวรัสที่ติดอยู่บนเยื่อบุทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายลูกได้ยากขึ้น ส่งผลให้ลูกปลอดภัยจากไข้หวัด ปอดอักเสบหรือท้องร่วง และมีโอกาสป่วยน้อยกว่าทารกที่กินนมผสมประมาณ 2 - 7 เท่า ซึ่งการเจ็บป่วยในแต่ละครั้งจะทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของลูกหยุดชะงัก ซึ่งนมแม่จะช่วยให้ทารกสามารถเติบโตและ มีพัฒนาการที่ดี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนและหนาวเย็นลง หากดูแลไม่ดีพอ จะทำให้ป่วยเป็นไข้หวัดหรือระบบทางเดินหายใจได้ โดยเฉพาะทารกที่ยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่ดีพอ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้กินนมแม่เป็นประจำเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และเมื่อเจอกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นลูกอาจปากแห้งแตก จึงควรให้ลูกดูดนมแม่จากเต้าบ่อยๆ จะช่วยลดอาการปากแห้งแตกได้ เพราะนมแม่มีน้ำเพียงพออยู่แล้ว ซึ่งตามข้อแนะนำองค์การอนามัยโลกทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนให้ลูก กินนมแม่เพียงอย่างเดียว
“การให้ลูกดูดนมจากเต้าเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งคุณค่าน้ำนมที่ลูกกินนั้นจะได้จากสารอาหารที่แม่กินเข้าไป ดังนั้น แม่ควรกินอาหารมีประโยชน์และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยควรกินอาหารหลักให้ครบ 5 หมู่ ทั้งสารอาหารประเภทโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายต้องการ เพื่อเสริมสร้างพลังงาน กินผักและผลไม้ให้มากที่สุดในแต่ละมื้อ เพราะการกินผักและผลไม้ช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารประเภทวิตามินและแร่ธาตุที่มีส่วนสำคัญในการสร้างน้ำนม ซึ่งจะช่วยให้ลูกได้รับคุณค่าของสารอาหารนั้นๆ อีกทั้งวิตามินซีจากผักและผลไม้ยังช่วยป้องกันไข้หวัดในช่วงหน้าหนาวด้วย สำหรับลูกนมแม่ยังคงเป็นอาหารเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่เหมาะสมสำหรับทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน หลังจากนั้นยังคงให้นมแม่ควบคู่อาหารตามวัยจนลูกอายุครบ 2 ปีหรือมากกว่า” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
นพ.พรเทพ กล่าวว่า นมแม่เป็นสารอาหารที่สำคัญและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดให้กับทารก แม่ทุกคนจึงควรเลี้ยงลูกด้วยนมตนเองให้นานที่สุด เพราะนมแม่ไม่เพียงแต่ปกป้องสุขภาพทารกเท่านั้นแต่ยังเป็นการให้ภูมิคุ้มกันทางจิตใจแก่ลูก นมแม่ประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับทารก โดยนมแม่ในระยะที่ 1 สัปดาห์แรกเป็นยอดน้ำนม ที่เรียกว่า โคลอสตรัมหรือหัวน้ำนม มีภูมิคุ้มกันสูงสุด แม่ควรให้ลูกได้กินหัวน้ำนม เพื่อช่วยสร้างภูมิต้านทานโรคเพิ่มความแข็งแรงให้ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ช่วยกำจัดเชื้อโรคทั้งแบคทีเรียและไวรัสที่ติดอยู่บนเยื่อบุทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายลูกได้ยากขึ้น ส่งผลให้ลูกปลอดภัยจากไข้หวัด ปอดอักเสบหรือท้องร่วง และมีโอกาสป่วยน้อยกว่าทารกที่กินนมผสมประมาณ 2 - 7 เท่า ซึ่งการเจ็บป่วยในแต่ละครั้งจะทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองของลูกหยุดชะงัก ซึ่งนมแม่จะช่วยให้ทารกสามารถเติบโตและ มีพัฒนาการที่ดี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่