โดย...กิตติศักดิ์ อ้อมชาติ
ในยุคสมัยที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะด้านโทรคมนาคมที่มีอิทธิพลต่อการติดต่อสื่อสารแทบทุกช่องทาง มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่มความสะดวกสบายโดยมีเป้าหมายให้ทุกคนเข้าถึง ซึ่งปัจจุบันหลายองค์กรพยายามพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาคนเพื่อขยายตลาด ขยายกลุ่มเป้าหมายและเพื่อเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี พร้อมกับจัดโครงการส่งเสริมให้ความรู้กับเด็กรุ่นใหม่ที่เป็นเมล็ดพันธุ์สำคัญในการสืบทอดองค์ความรู้ต่อไปในอนาคต
โครงการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออนาคต (Telecom Seeds For The Future) ที่จัดขึ้นโดยบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นองค์กรผู้จัดหาโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบครบวงจรชั้นนำในระดับโลก โดยคัดเลือกนักศึกษาไปเรียนรู้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในสำนักงานใหญ่ที่เมืองเสิ่นเจิ้น ประเทศจีน นาย โจ เคลลี่ (Joe Kelly) รองประธานด้านบริหารงานสื่อนานาชาติ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนกว่า 4 พันล้านคนทั่วโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ซึ่งอาจเกิดจากเหตุผลง่ายๆ คือ ไม่มีโครงสร้างพื้นฐาน หรือมันแพงเกินไป บ้างไม่มีรู้ว่าอินเตอร์เน็ตใช้งานอย่างไร และเนื่องจากหัวเว่ยไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง จึงร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เพื่อให้มีโครงสร้างอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์มากยิ่งขึ้น และพยายามทำราคาให้ถูกลง ทั้งจากการลดต้นทุนด้านเครือข่าย โดยการคิดค้นและออกแบบนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมา หวังว่าจะเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์กับเด็ก รุ่นใหม่ สร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านไอซีทีให้มากขึ้น โดยเจาะไปที่กลุ่มเด็กนักศึกษา เพื่อให้นำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับคนอื่นๆ และสร้างคนที่มีความเข้าใจด้านไอซีทีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องสำคัญไม่ใช่แค่เอาไว้เชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดียเท่านั้น แต่ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศจะรับสมัครพนักงานทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้น หากคุณไม่มีใช้ ก็เท่ากับหมดโอกาสในการมีงานทำ
“ปัจจุบันมีนักเรียนกว่า 10,000 คนจากทั่วโลกผ่านการฝึกอบรมจากโครงการดังกล่าว และ 10% มาจากประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงนัยยะสำคัญในการสนับสนุนไอซีทีของไทย เราเชื่อว่าในอนาคต บุคลากรที่มีทักษะไอซีทีจะมีความต้องการมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องส่งเสริมให้เยาวชนเห็นว่าอาชีพด้านไอซีทีมีคุณค่าและน่าดึงดูดใจ เป็นอาชีพที่ได้รับรายได้สูง เด็กรุ่นใหม่จะมีความกระตือรือร้น และมีความสบายใจที่จะใช้เทคโนโลยี นอกจากนี้พวกเขายังมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนอื่นๆ ซึ่งความรู้และประสบการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนที่มีความใส่ใจ สิ่งที่หัวเว่ยทำในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น 5G หรือ คลาวด์ คอมพิวติ้ง ล้วนเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจในอนาคต เราต้องการที่จะกระตุ้นให้พวกเด็กมีความกระตือรือร้น นั่นคือการมอบโอกาสในการเข้าถึง และการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้เข้าไปเห็นห้องทดลอง เราต้องการให้เขามีความชอบที่จะสร้างเทคโนโลยี เช่นเดียวกับที่พวกเขาชอบที่จะใช้เทคโนโลยี”
ด้านนายอภิพงษ์ คุณากรบดินทร์ อัครราชทูตที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประจำกรุง ปักกิ่ง กล่าวว่า โครงการนี้มีมาตั้งแต่ปี 2551 เป็นการช่วยพัฒนาความรู้ของประชากรที่สนใจด้านไอซีที ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาหรือบุคลากรทั่วไปดังนั้นการพัฒนาคนมีความสำคัญ โดยเฉพาะสาขาด้านนี้ เพราะในอนาคตไม่ใช่แค่เรื่องอุปกรณ์สื่อสารเทคโนโลยีทั่วไปแต่จะเป็นในเรื่องของความคิด นวัตกรรม ซึ่งต้องอาศัยคนในการช่วยพัฒนา มองว่าโครงการนี้ได้ทั้งสองฝ่ายทั้งคนให้และคนรับ ซึ่งต้องยอมรับว่าเรื่องเทคโนโลยีของจีนพัฒนาเร็วและก้าวหน้าไปมาก และหัวเว่ยก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ตอนนี้เรียกได้ว่าเป็นผู้นำในอันดับต้นๆ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีโดยเฉพาะการสื่อสารที่มากกว่าการใช้มือถือแต่เป็นระบบขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกันได้รวดเร็วและเด็กที่มากับโครงการจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากกว่าการเรียนในห้องพร้อมจุดประกายความคิดและสามารถนำกลับไปพัฒนาประเทศได้
โครงการดังกล่าวได้มีการคัดเลือกเด็กไทยเข้าร่วมทั้งหมด 10 คน ที่ผ่านคุณสมบัติจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ นายชัยพร ศิริสุทธิเดชา นศ.ชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมโทรคมนาคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หนึ่งในผู้ได้รับเลือก บอกว่า การร่วมโครงการนี้ก็คาดหวังเพื่อมาศึกษาการพัฒนา 3จี, 4จี ของจีน การเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งจากการเรียนในไทยจะได้เรียนในภาคทฤษฎีแต่มาที่นี่จะได้เรียนรู้สัมผัสกับของจริงเพราะอุปกรณ์ต่างๆ ของบ้านเรายังไม่พัฒนาเทียบเท่ากับของจีนซึ่งมองว่าเรายังตามไม่ทัน เชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเล็กๆ ที่เริ่มต้นและดูว่าจะตามเขาทันในระดับไหน นายฐากร แสนเจริญ นายสุรเชษฐ์ คันโธ และน.ส.นิลาวัลย์ จันทร์หอม นศ.สถาบันเดียวกัน กล่าวเสริมว่า ทุกวันนี้การสื่อสารเติบโตเร็วมากเราใช้การสื่อสารทุกวันถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้ เรียกได้ว่าเทคโนโลยีย่อโลก ขณะที่ความต้องการบุคลากรสายงานนี้มองว่าประเทศไทยยังมีความต้องการเยอะ
นส.พิชญา ประเสริฐสังข์ นศ.ชั้นปีที่ 4 สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ สิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ ผู้ที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีของหัวเว่ย บอกว่า มีความสนใจอยากได้ประสบการณ์จริงเพื่อให้รู้ว่าในห้องเรียนอะไรและยังขาดอะไรบ้างที่ต้องเติมเต็ม และสามารถสอบถามจาผู้ที่รู้จริงนอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้อง ตัวเองสนใจในเรื่องนี้อยู่แล้วเชื่อว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน
“คิดว่าเทคโนโลยีในประเทศไทยถ้าเป็นในเมืองก็ถือว่าใช้ได้ แต่หากเป็นต่างจังหวัดบางพื้นที่ยังเข้าไม่ถึงหรืออาจไม่ทั่วถึง ความรู้ที่ได้จากการมาศึกษาจะสามารถเติมตรงจุดนั้นแม้จะเป็นจุดเล็กๆ ส่วนเรื่องบุคลากรด้านนี้ส่วนตัวมองว่ายังไม่พอ เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของทักษะที่ต้องได้รับการอบรบแต่เป็นเรื่องของทัศนคติและความคิดด้วย”
ท้ายที่สุดแล้วแม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้าล้ำสมัยมากแค่ไหนสิ่งที่สำคัญที่สุดและขาดไม่ได้ก็คือกำลังคน หรือบุคลากรที่มีความรู้เพื่อมาพัฒนาคิดค้น ต่อยอดและผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในยุคที่อินเทอร์เน็ตมีผลต่อการดำรงชีวิตสามารถย่อโลกทั้งใบให้เล็กลงได้ ขณะที่การสนับสนุนให้เกิดบุคลากรด้านนี้ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องเร่งพัฒนาไม่แพ้กัน ซึ่งในไทยเชื่อว่ามีคนเก่งจำนวนไม่น้อยแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ หากรัฐหรือเอกชนเข้ามาให้ความสำคัญและร่วมกันส่งเสริมก็จะเป็นการดีที่ประเทศไทยจะพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวทันประเทศอื่นๆ เร็วขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ในยุคสมัยที่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบไม่สิ้นสุด โดยเฉพาะด้านโทรคมนาคมที่มีอิทธิพลต่อการติดต่อสื่อสารแทบทุกช่องทาง มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่มความสะดวกสบายโดยมีเป้าหมายให้ทุกคนเข้าถึง ซึ่งปัจจุบันหลายองค์กรพยายามพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาคนเพื่อขยายตลาด ขยายกลุ่มเป้าหมายและเพื่อเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี พร้อมกับจัดโครงการส่งเสริมให้ความรู้กับเด็กรุ่นใหม่ที่เป็นเมล็ดพันธุ์สำคัญในการสืบทอดองค์ความรู้ต่อไปในอนาคต
โครงการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออนาคต (Telecom Seeds For The Future) ที่จัดขึ้นโดยบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นองค์กรผู้จัดหาโซลูชั่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบครบวงจรชั้นนำในระดับโลก โดยคัดเลือกนักศึกษาไปเรียนรู้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในสำนักงานใหญ่ที่เมืองเสิ่นเจิ้น ประเทศจีน นาย โจ เคลลี่ (Joe Kelly) รองประธานด้านบริหารงานสื่อนานาชาติ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันมีคนกว่า 4 พันล้านคนทั่วโลกที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ซึ่งอาจเกิดจากเหตุผลง่ายๆ คือ ไม่มีโครงสร้างพื้นฐาน หรือมันแพงเกินไป บ้างไม่มีรู้ว่าอินเตอร์เน็ตใช้งานอย่างไร และเนื่องจากหัวเว่ยไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง จึงร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เพื่อให้มีโครงสร้างอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์มากยิ่งขึ้น และพยายามทำราคาให้ถูกลง ทั้งจากการลดต้นทุนด้านเครือข่าย โดยการคิดค้นและออกแบบนวัตกรรมต่างๆ ขึ้นมา หวังว่าจะเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์กับเด็ก รุ่นใหม่ สร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านไอซีทีให้มากขึ้น โดยเจาะไปที่กลุ่มเด็กนักศึกษา เพื่อให้นำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้กับคนอื่นๆ และสร้างคนที่มีความเข้าใจด้านไอซีทีมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องสำคัญไม่ใช่แค่เอาไว้เชื่อมต่อกับโซเชียลมีเดียเท่านั้น แต่ในปัจจุบันหลายๆ ประเทศจะรับสมัครพนักงานทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้น หากคุณไม่มีใช้ ก็เท่ากับหมดโอกาสในการมีงานทำ
“ปัจจุบันมีนักเรียนกว่า 10,000 คนจากทั่วโลกผ่านการฝึกอบรมจากโครงการดังกล่าว และ 10% มาจากประเทศไทย สะท้อนให้เห็นถึงนัยยะสำคัญในการสนับสนุนไอซีทีของไทย เราเชื่อว่าในอนาคต บุคลากรที่มีทักษะไอซีทีจะมีความต้องการมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องส่งเสริมให้เยาวชนเห็นว่าอาชีพด้านไอซีทีมีคุณค่าและน่าดึงดูดใจ เป็นอาชีพที่ได้รับรายได้สูง เด็กรุ่นใหม่จะมีความกระตือรือร้น และมีความสบายใจที่จะใช้เทคโนโลยี นอกจากนี้พวกเขายังมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนอื่นๆ ซึ่งความรู้และประสบการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญ จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนที่มีความใส่ใจ สิ่งที่หัวเว่ยทำในวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น 5G หรือ คลาวด์ คอมพิวติ้ง ล้วนเป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจในอนาคต เราต้องการที่จะกระตุ้นให้พวกเด็กมีความกระตือรือร้น นั่นคือการมอบโอกาสในการเข้าถึง และการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้เข้าไปเห็นห้องทดลอง เราต้องการให้เขามีความชอบที่จะสร้างเทคโนโลยี เช่นเดียวกับที่พวกเขาชอบที่จะใช้เทคโนโลยี”
ด้านนายอภิพงษ์ คุณากรบดินทร์ อัครราชทูตที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประจำกรุง ปักกิ่ง กล่าวว่า โครงการนี้มีมาตั้งแต่ปี 2551 เป็นการช่วยพัฒนาความรู้ของประชากรที่สนใจด้านไอซีที ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษาหรือบุคลากรทั่วไปดังนั้นการพัฒนาคนมีความสำคัญ โดยเฉพาะสาขาด้านนี้ เพราะในอนาคตไม่ใช่แค่เรื่องอุปกรณ์สื่อสารเทคโนโลยีทั่วไปแต่จะเป็นในเรื่องของความคิด นวัตกรรม ซึ่งต้องอาศัยคนในการช่วยพัฒนา มองว่าโครงการนี้ได้ทั้งสองฝ่ายทั้งคนให้และคนรับ ซึ่งต้องยอมรับว่าเรื่องเทคโนโลยีของจีนพัฒนาเร็วและก้าวหน้าไปมาก และหัวเว่ยก็เป็นองค์กรหนึ่งที่ตอนนี้เรียกได้ว่าเป็นผู้นำในอันดับต้นๆ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีโดยเฉพาะการสื่อสารที่มากกว่าการใช้มือถือแต่เป็นระบบขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกันได้รวดเร็วและเด็กที่มากับโครงการจะได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากกว่าการเรียนในห้องพร้อมจุดประกายความคิดและสามารถนำกลับไปพัฒนาประเทศได้
โครงการดังกล่าวได้มีการคัดเลือกเด็กไทยเข้าร่วมทั้งหมด 10 คน ที่ผ่านคุณสมบัติจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ นายชัยพร ศิริสุทธิเดชา นศ.ชั้นปีที่ 3 คณะวิศวกรรมโทรคมนาคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หนึ่งในผู้ได้รับเลือก บอกว่า การร่วมโครงการนี้ก็คาดหวังเพื่อมาศึกษาการพัฒนา 3จี, 4จี ของจีน การเก็บข้อมูลต่างๆ ซึ่งจากการเรียนในไทยจะได้เรียนในภาคทฤษฎีแต่มาที่นี่จะได้เรียนรู้สัมผัสกับของจริงเพราะอุปกรณ์ต่างๆ ของบ้านเรายังไม่พัฒนาเทียบเท่ากับของจีนซึ่งมองว่าเรายังตามไม่ทัน เชื่อว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเล็กๆ ที่เริ่มต้นและดูว่าจะตามเขาทันในระดับไหน นายฐากร แสนเจริญ นายสุรเชษฐ์ คันโธ และน.ส.นิลาวัลย์ จันทร์หอม นศ.สถาบันเดียวกัน กล่าวเสริมว่า ทุกวันนี้การสื่อสารเติบโตเร็วมากเราใช้การสื่อสารทุกวันถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้ เรียกได้ว่าเทคโนโลยีย่อโลก ขณะที่ความต้องการบุคลากรสายงานนี้มองว่าประเทศไทยยังมีความต้องการเยอะ
นส.พิชญา ประเสริฐสังข์ นศ.ชั้นปีที่ 4 สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติ สิรินธร ม.ธรรมศาสตร์ ผู้ที่มีประสบการณ์ใช้เทคโนโลยีของหัวเว่ย บอกว่า มีความสนใจอยากได้ประสบการณ์จริงเพื่อให้รู้ว่าในห้องเรียนอะไรและยังขาดอะไรบ้างที่ต้องเติมเต็ม และสามารถสอบถามจาผู้ที่รู้จริงนอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้อง ตัวเองสนใจในเรื่องนี้อยู่แล้วเชื่อว่าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน
“คิดว่าเทคโนโลยีในประเทศไทยถ้าเป็นในเมืองก็ถือว่าใช้ได้ แต่หากเป็นต่างจังหวัดบางพื้นที่ยังเข้าไม่ถึงหรืออาจไม่ทั่วถึง ความรู้ที่ได้จากการมาศึกษาจะสามารถเติมตรงจุดนั้นแม้จะเป็นจุดเล็กๆ ส่วนเรื่องบุคลากรด้านนี้ส่วนตัวมองว่ายังไม่พอ เพราะไม่ใช่แค่เรื่องของทักษะที่ต้องได้รับการอบรบแต่เป็นเรื่องของทัศนคติและความคิดด้วย”
ท้ายที่สุดแล้วแม้เทคโนโลยีจะก้าวหน้าล้ำสมัยมากแค่ไหนสิ่งที่สำคัญที่สุดและขาดไม่ได้ก็คือกำลังคน หรือบุคลากรที่มีความรู้เพื่อมาพัฒนาคิดค้น ต่อยอดและผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในยุคที่อินเทอร์เน็ตมีผลต่อการดำรงชีวิตสามารถย่อโลกทั้งใบให้เล็กลงได้ ขณะที่การสนับสนุนให้เกิดบุคลากรด้านนี้ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องเร่งพัฒนาไม่แพ้กัน ซึ่งในไทยเชื่อว่ามีคนเก่งจำนวนไม่น้อยแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ หากรัฐหรือเอกชนเข้ามาให้ความสำคัญและร่วมกันส่งเสริมก็จะเป็นการดีที่ประเทศไทยจะพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวทันประเทศอื่นๆ เร็วขึ้น
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่