ประกันสังคมออกโรงโต้ คุณภาพยารักษาโรคได้มาตรฐานตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ชี้จ่ายยาตามคำสั่งแพทย์ แนะมีปัญหาให้เข้าร้องเรียนโดยตรง หากพบแพทย์วินิจฉัยโรคพลาด รพ. ต้องรับผิดชอบ
วันนี้ (26 พ.ย.) นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้ตรวจสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในฐานะโฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวถึงกรณีที่ รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกมาระบุว่า ยาที่ผู้ประกันได้รับจากการใช้สิทธิประกันสังคม มีคุณภาพด้อยกว่ายาที่ใช้รักษาของระบบข้าราชการ ใน 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. ยาไขมัน 2. กลุ่มยาไวรัสตับอักเสบซีและบี 3. ยาลดกรด 4. ยาต้านเชื้อรา และ 5. ยาแก้ปวด ว่า การใช้สิทธิข้าราชการมาเป็นบรรทัดฐานในการตีความว่า ยาที่แพทย์สั่งดีกว่าสิทธิประกันสังคมนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากการใช้ยาแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้สั่งว่ายาตัวใดเหมาะสมกับผู้ป่วยรายใด ผู้ป่วยแต่ละคนแม้เป็นโรคเดียวกันแพทย์อาจสั่งใช้ยาต่างกัน ขึ้นกับอาการปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแพทย์ใช้หลักการของการประกอบโรคศิลปะในการพิจารณาวิธีการรักษา
“ ยาที่ สปส. ใช้นั้นเป็นยาที่ไม่ด้อยไปกว่ายาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในบางครั้งก็มีการจ่ายยาในบัญชียา จ. (2) คือ ยาที่มีราคาสูงขึ้นมา แต่ต้องใช้โดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการอนุมัติสั่งยาเท่านั้น ทั้งนี้ การที่บางครั้งแพทย์ใช้ยาที่มีราคาแพงเนื่องจากยาในบัญชียาหลักอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรักษาเฉพาะรายนั้นๆ” นายโกวิท กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่รพ.จ่ายยาราคาถูกให้ผู้ประกันตนเพื่อเป็นการลดต้นเรื่องนี้มีข้อจริงเท็จแค่ไหน นายโกวิท กล่าวว่า สปส.จะเป็นผู้จัดส่งยาทุกตัวให้โรงพยาบาล ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับที่ สปสช.ใช้ เพราะฉะนั้นมั่นใจได้ว่ามีคุณภาพ โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยจ่ายยาตามอาการที่เป็น และจะต้องเป็นไปตามลำดับอาการไม่สามารถจ่ายยาที่รุนแรงเกินไปได้ แต่ที่เป็นเด็นเนื่องจากผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษามองว่าตนจะต้องได้รับยาที่ดีที่สุดจึงอาจจะเลยขั้นตอนของการรักษาโดยอยากรับยาที่แรงขึ้น อีกสาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากการที่รพ.มีการแยกส่วนของการรักษาเช่น แยกตึกสำหรับผู้ประกันตน และตึกพิเศษที่สามารถจ่ายยาที่นอกเหนือจากสิทธิประกันสังคม ทำให้ถูกมองว่ามีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้น
“หลังจากที่มีการร้องเรียนและกรณีต่างเกิดขึ้นมาต่อเนื่องทางสปส.จึงจะจัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเพื่อชี้แจงในประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ให้ประชาชนและสื่อมวลชนรับทราบเพื่อจะได้ทำความเข้าใจในสิทธิของตนเองและวิธีการเข้ารับการรักษารวมถึงการร้องเรียนในกรณีที่เกิดปัญหาต่างๆ คาดว่าจะสามารถจัดงานดังกล่าวขึ้นในเดือนธันวาคมนี้” นายโกวิท กล่าว
ตอบข้อซักถามที่ผ่านมา มีผู้ประกันตนบางรายร้องว่า ผู้ประกันตนไปพบแพทย์หลายครั้งที่โรงพยาบาลเดิมแต่กลับได้รับยาและการรักษาแบบเดิมทั้งที่อาการไม่ดีขึ้น โดยที่ไม่มีการวินิจฉัยเพิ่มเติมจนต้องไปรักษาเองที่โรงพยาบาลอื่น นายโกวิท บอกว่า อยากให้ผู้ประกันตนร้องเรียนมายัง สปส. หรือทางคณะกรรมการอุทธรณ์ ของ สปส. ที่มีตัวแทนแพทย์ นายจ้าง ลูกจ้าง ร่วมกันพิจารณา ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ แต่แพทย์ของ รพ. ในระบบประกันสังคมวินิจฉัยว่าเป็นอาการปวดท้องธรรมดา เมื่อผู้ประกันตนไปรักษาที่ รพ. อื่น รพ. ในระบบประกันสังคมที่ผู้ประกันตนมีสิทธิก็ต้องรับผิดชอบคนไข้ เนื่องจากการวินิจฉัยไม่ได้มาตรฐาน และต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้ประกันตน เนื่องจากเป็นความผิดพลาดของแพทย์ นอกจากนี้ ก็จะนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการการแพทย์ (บอร์ดการแพทย์) ของ สปส. เพื่อพิจารณาว่า รพ. นี้มีมาตรฐานในการรักษาหรือไม่ หากไม่มีก็จะนำไปสู่การยกเลิกสัญญา
“อยากให้ผู้ประกันตนที่ประสบปัญหาเรื่องนี้และไม่มีเงินค่ารักษาพยาบาลที่เพียงพอจะไปรักษาเอง รีบยื่นเรื่องมาที่สำนักบริการทางแพทย์ เพื่อให้มีบอร์ดประชุมพิจารณาและดำเนินการตรวจสอบประวัติคนไข้ รวมทั้งประวัติการรักษาพยาบาลว่ามีมาตรฐานหรือไม่ ด้วยการให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย โดยจะใช้เวลาในการพิจารณา 1 - 2 เดือน ซึ่งระหว่างการยื่นเรื่องมาที่ สปส. ก็ให้ผู้ประกันตนทำการรักษาพยาบาลไปตามปกติ แต่หากผู้ประกันตนยินดีจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองก่อน และมายื่นอุทรณ์ในภายหลังอาจต้องใช้เวลาประมาณ 5 - 6 เดือน เนื่องจากมีเรื่องยื่นเข้ามาเป็นจำนวนมาก” โฆษก สปส. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 พ.ย.) นายโกวิท สัจจวิเศษ ผู้ตรวจสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในฐานะโฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวถึงกรณีที่ รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ออกมาระบุว่า ยาที่ผู้ประกันได้รับจากการใช้สิทธิประกันสังคม มีคุณภาพด้อยกว่ายาที่ใช้รักษาของระบบข้าราชการ ใน 5 กลุ่ม ได้แก่ 1. ยาไขมัน 2. กลุ่มยาไวรัสตับอักเสบซีและบี 3. ยาลดกรด 4. ยาต้านเชื้อรา และ 5. ยาแก้ปวด ว่า การใช้สิทธิข้าราชการมาเป็นบรรทัดฐานในการตีความว่า ยาที่แพทย์สั่งดีกว่าสิทธิประกันสังคมนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากการใช้ยาแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้สั่งว่ายาตัวใดเหมาะสมกับผู้ป่วยรายใด ผู้ป่วยแต่ละคนแม้เป็นโรคเดียวกันแพทย์อาจสั่งใช้ยาต่างกัน ขึ้นกับอาการปัจจัยที่เกี่ยวข้องและแพทย์ใช้หลักการของการประกอบโรคศิลปะในการพิจารณาวิธีการรักษา
“ ยาที่ สปส. ใช้นั้นเป็นยาที่ไม่ด้อยไปกว่ายาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ในบางครั้งก็มีการจ่ายยาในบัญชียา จ. (2) คือ ยาที่มีราคาสูงขึ้นมา แต่ต้องใช้โดยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการอนุมัติสั่งยาเท่านั้น ทั้งนี้ การที่บางครั้งแพทย์ใช้ยาที่มีราคาแพงเนื่องจากยาในบัญชียาหลักอาจไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรักษาเฉพาะรายนั้นๆ” นายโกวิท กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่รพ.จ่ายยาราคาถูกให้ผู้ประกันตนเพื่อเป็นการลดต้นเรื่องนี้มีข้อจริงเท็จแค่ไหน นายโกวิท กล่าวว่า สปส.จะเป็นผู้จัดส่งยาทุกตัวให้โรงพยาบาล ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกับที่ สปสช.ใช้ เพราะฉะนั้นมั่นใจได้ว่ามีคุณภาพ โดยแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยจ่ายยาตามอาการที่เป็น และจะต้องเป็นไปตามลำดับอาการไม่สามารถจ่ายยาที่รุนแรงเกินไปได้ แต่ที่เป็นเด็นเนื่องจากผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษามองว่าตนจะต้องได้รับยาที่ดีที่สุดจึงอาจจะเลยขั้นตอนของการรักษาโดยอยากรับยาที่แรงขึ้น อีกสาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากการที่รพ.มีการแยกส่วนของการรักษาเช่น แยกตึกสำหรับผู้ประกันตน และตึกพิเศษที่สามารถจ่ายยาที่นอกเหนือจากสิทธิประกันสังคม ทำให้ถูกมองว่ามีความเหลื่อมล้ำเกิดขึ้น
“หลังจากที่มีการร้องเรียนและกรณีต่างเกิดขึ้นมาต่อเนื่องทางสปส.จึงจะจัดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเพื่อชี้แจงในประเด็นข้อสงสัยต่างๆ ให้ประชาชนและสื่อมวลชนรับทราบเพื่อจะได้ทำความเข้าใจในสิทธิของตนเองและวิธีการเข้ารับการรักษารวมถึงการร้องเรียนในกรณีที่เกิดปัญหาต่างๆ คาดว่าจะสามารถจัดงานดังกล่าวขึ้นในเดือนธันวาคมนี้” นายโกวิท กล่าว
ตอบข้อซักถามที่ผ่านมา มีผู้ประกันตนบางรายร้องว่า ผู้ประกันตนไปพบแพทย์หลายครั้งที่โรงพยาบาลเดิมแต่กลับได้รับยาและการรักษาแบบเดิมทั้งที่อาการไม่ดีขึ้น โดยที่ไม่มีการวินิจฉัยเพิ่มเติมจนต้องไปรักษาเองที่โรงพยาบาลอื่น นายโกวิท บอกว่า อยากให้ผู้ประกันตนร้องเรียนมายัง สปส. หรือทางคณะกรรมการอุทธรณ์ ของ สปส. ที่มีตัวแทนแพทย์ นายจ้าง ลูกจ้าง ร่วมกันพิจารณา ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนป่วยด้วยโรคมะเร็งลำไส้ แต่แพทย์ของ รพ. ในระบบประกันสังคมวินิจฉัยว่าเป็นอาการปวดท้องธรรมดา เมื่อผู้ประกันตนไปรักษาที่ รพ. อื่น รพ. ในระบบประกันสังคมที่ผู้ประกันตนมีสิทธิก็ต้องรับผิดชอบคนไข้ เนื่องจากการวินิจฉัยไม่ได้มาตรฐาน และต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลของผู้ประกันตน เนื่องจากเป็นความผิดพลาดของแพทย์ นอกจากนี้ ก็จะนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการการแพทย์ (บอร์ดการแพทย์) ของ สปส. เพื่อพิจารณาว่า รพ. นี้มีมาตรฐานในการรักษาหรือไม่ หากไม่มีก็จะนำไปสู่การยกเลิกสัญญา
“อยากให้ผู้ประกันตนที่ประสบปัญหาเรื่องนี้และไม่มีเงินค่ารักษาพยาบาลที่เพียงพอจะไปรักษาเอง รีบยื่นเรื่องมาที่สำนักบริการทางแพทย์ เพื่อให้มีบอร์ดประชุมพิจารณาและดำเนินการตรวจสอบประวัติคนไข้ รวมทั้งประวัติการรักษาพยาบาลว่ามีมาตรฐานหรือไม่ ด้วยการให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย โดยจะใช้เวลาในการพิจารณา 1 - 2 เดือน ซึ่งระหว่างการยื่นเรื่องมาที่ สปส. ก็ให้ผู้ประกันตนทำการรักษาพยาบาลไปตามปกติ แต่หากผู้ประกันตนยินดีจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองก่อน และมายื่นอุทรณ์ในภายหลังอาจต้องใช้เวลาประมาณ 5 - 6 เดือน เนื่องจากมีเรื่องยื่นเข้ามาเป็นจำนวนมาก” โฆษก สปส. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น