ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน เปิดผลสำรวจชัด จัดระเบียบราคาสลากไร้ผล ชาวบ้านยังถูกเอาเปรียบเหมือนเดิม ระบุไม่มีทางเลือกอื่นต้องจำใจซื้อ ชี้ยี่ปั่วรายใหญ่ผูกขาดปั่นราคาต้นเหตุสลากแพง ด้าน “พลเดช” จี้ต้องปฎิรูปสลาก กระตุกคสช.ใช้ยาแรงปราบแก้ปัญหาคนกลางกินหัวคิว ก่อนยกเครื่องแก้กม.จัดระเบียบทั้งระบบ
วันนี้ (15พ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผอ.ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นายธน หาพิพัฒน์ ผอ.ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) ร่วมแถลงผลสำรวจ “ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ค้าสลากรายย่อยและผู้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลต่อการจัดการปัญหาของสำนักงานสลากฯ”จากการลงพื้นที่สำรวจใน9จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ แพร่ อยุธยา สระแก้ว ขอนแก่น ศรีษะเกษ สุราษฎร์ธานี และพัทลุง ระหว่างวันที่7-15 ต.ค.57 พบว่า กลุ่มผู้ซื้อสลากฯที่ทำการสำรวจ อายุระหว่าง18-69ปี 3,005 ตัวอย่าง 56.5% ซื้อสลากทุกงวดหรือเกือบทุกงวด91.8% ซื้อสลากในราคาเกินคู่ละ100บาท86.2% ซื้อสลากงวดละ1-3คู่ และ 72.2% ระบุว่าซื้อหวยใต้ดินด้วย ทั้งนี้ผู้ซื้อสลาก81.3%ระบุว่านโยบายควบคุมราคาของรัฐบาลปัจจุบันไม่มีผล เนื่องจากยังซื้อสลากราคาเท่าเดิม สำหรับความคิดเห็นต่อปัญหาการขายสลากเกินราคาผู้ซื้อมากกว่า60%คิดว่ามาจาก2สาเหตุสำคัญ คือยี่ปั๊วรายใหญ่ปั่นราคาและมีการขายต่อหลายทอดที่สำคัญ75.6%เชื่อว่า"หวยล็อค"มีจริง
“ผลสำรวจกลุ่มผู้ค้าสลากรายย่อย422ตัวอย่างพบว่า เกือบ 60% ประกอบอาชีพขายสลากฯอย่างเดียว 76.3% ได้ลงทะเบียนผู้ค้าสลาก แต่มีเพียง1ใน5เท่านั้นที่ได้รับโควตาสลากฯจริงโดย92.1%ต้องซื้อสลากจากพ่อค้าคนกลาง(ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว) ราคาที่ซื้อเฉลี่ยอยู่ที่เล่มละ9,441บาท หรือมีต้นทุนประมาณ 94-95 บาทต่อคู่ ผู้ค้าสลาก81.3% ระบุถึงปัญหาต้นทุนที่ซื้อมาแพง ทำให้ขายยาก กำไรน้อย และในงวดวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา43.6% ประสบปัญหา ต้องขายลดราคาหรือรับซื้อสลากที่ขายเหลือไว้เอง”นายธน กล่าว
นายธน กล่าวอีกว่า ทั้งกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มผู้ค้าสลากฯมากกว่า80%ขึ้นไป เห็นตรงกันว่า ควรเพิ่มสัดส่วนการกระจายสลากให้ถึงมือผู้ค้าสลากรายย่อยโดยตรงให้มีไม่น้อยว่า50%และควรให้ความสำคัญในการจัดสรรโควตาให้กับกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุที่ไม่มีบำนาญ ผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มองค์กรสาธารณะกุศลที่จำหน่ายสลากจริงรวมถึงมีการขึ้นทะเบียนผู้จำหน่ายสลาก และจัดสรรรายได้ส่วนหนึ่งมาจัดตั้งเป็นกองทุนรับซื้อคืนสลากที่จำหน่ายไม่หมดและเป็นสวัสดิการให้ผู้ค้าสลากรายย่อยได้กู้ยืมโดยผู้ค้าสลากฯ92.6%ระบุว่าสำนักงานสลากฯควรจัดสรรโควตาให้ผู้ค้าสลากรายย่อยรายละไม่เกิน10เล่ม ขณะที่ผู้ซื้อ93%เห็นว่าการออกสลากฯควรเปลี่ยนเป้าหมายจากการหารายได้เข้ารัฐเป็น “สลากเพื่อสังคม” นำเงินมาอุดหนุน/ส่งเสริมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาสังคมโดยมีตัวแทนภาคประชาชนร่วมกำกับดูแล
นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) กล่าวว่า เมื่อปีที่แล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญ วุฒิสภา ได้ศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูประบบการบริหารจัดการสลากในประเทศไทยเสร็จแล้ว ผลการสำรวจในวันนี้ตอกย้ำให้เห็นวังวนของปัญหาที่ไม่มีทางแก้ไข นอกจากจะมีการปฏิรูปการบริหารจัดการสลากทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่เรื่องปรัชญา แม้สลากจะถูกมองว่ามีข้อเสียน้อยกว่าการพนันประเภทอื่น แต่ไม่ใช่สิ่งที่รัฐควรส่งเสริมให้ประชาชนเล่นพนันหรือใช้สลากเป็นเครื่องมือแสวงหารายได้เข้ารัฐ การเก็บเงินจากการขายสลากเข้าแผ่นดิน 28% เปรียบเสมือนเป็นภาษีคนจนอย่างหนึ่ง ถือว่าสูงมาก ควรลดสัดส่วนการนำส่งเงินนี้ และจัดสรรรายได้ส่วนหนึ่งไปพัฒนาสังคม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม โดยการยกเลิกกฎหมายที่ใช้อยู่ แล้วให้มีกฎหมายว่าด้วยกิจการสลากเพื่อสังคม แยกโครงสร้างอำนาจการกำกับดูแลนโยบาย การบริหารกิจการ และการบริหารกองทุน เป็นคณะกรรมการ 3คณะ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และตรวจสอบได้
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า การปฏิรูปสลาก ควรเริ่มต้นจากการปฏิรูปความคิด ทำความเข้าใจร่วมกันเป็นอันดับแรกของคนในสังคมเพื่อไปในทิศทางเดียวกันในประเด็น 2 สำคัญคือ แก้ปัญหาสลากแพงให้ได้ และการบริหารจัดการเพื่อคืนเงินกลับสังคม เมื่อเข้าใจสู่ทิศทางเดียวกัน ก็นำไปสู่การปฏิรูปตามแนวคิดนี้ ขณะเดียวกัน เรื่อง ของ พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 ซึ่งก็ต้องมีการแก้ไข หรือ หากไม่แก้ไข คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ก็ต้องใช้อำนาจเด็ดขาดแก้ปัญหา ยี่ปั้ว ซาปั้ว ที่เป็นต้นเหตุปัญหาสลากแพง แล้วให้ผู้ขายรายย่อย ที่ลงทะเบียนไว้ขายโดยไม่ต้องผ่านคนกลางพวกนี้
"คสช.เด็ดขาดเชื่อว่าแก้ไขปัญหานี้ได้ เลิกระบบยี่ปั้ว โดยไม่ต้องมีคนกลางมากินหัวคิวในกรณีที่ไม่ต้องแก้กฎหมาย แต่ในทางเดียวกันหากมีการแก้กฎหมาย ก็ถือว่า สามารถรื้อระบบได้หมด รื้อกระดานกันใหม่ในแนวทางปฏิรูป ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี จัดระเบียบโดยเขียนกฎหมายพร้อมกับการบริหารจัดการกองทุนเงินเพื่อคืนสังคมไปพร้อมกันเป็นแบบทูอินวัน อย่างไรก็ตาหาก คสช.แก้ปัญหานี้ได้ จะทำให้มีคะแนนนิยมจากประชาชนอย่างแน่นอน และเงินผลกำไรที่ได้จากกองสลากที่ปฏิรูปเพื่อสังคมก็คืนกลับมาสู่สังคมเพื่อประชาชนอีก” นพ.พลเดช กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (15พ.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ ผอ.ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นายธน หาพิพัฒน์ ผอ.ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) ร่วมแถลงผลสำรวจ “ความคิดเห็นของกลุ่มผู้ค้าสลากรายย่อยและผู้ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลต่อการจัดการปัญหาของสำนักงานสลากฯ”จากการลงพื้นที่สำรวจใน9จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ แพร่ อยุธยา สระแก้ว ขอนแก่น ศรีษะเกษ สุราษฎร์ธานี และพัทลุง ระหว่างวันที่7-15 ต.ค.57 พบว่า กลุ่มผู้ซื้อสลากฯที่ทำการสำรวจ อายุระหว่าง18-69ปี 3,005 ตัวอย่าง 56.5% ซื้อสลากทุกงวดหรือเกือบทุกงวด91.8% ซื้อสลากในราคาเกินคู่ละ100บาท86.2% ซื้อสลากงวดละ1-3คู่ และ 72.2% ระบุว่าซื้อหวยใต้ดินด้วย ทั้งนี้ผู้ซื้อสลาก81.3%ระบุว่านโยบายควบคุมราคาของรัฐบาลปัจจุบันไม่มีผล เนื่องจากยังซื้อสลากราคาเท่าเดิม สำหรับความคิดเห็นต่อปัญหาการขายสลากเกินราคาผู้ซื้อมากกว่า60%คิดว่ามาจาก2สาเหตุสำคัญ คือยี่ปั๊วรายใหญ่ปั่นราคาและมีการขายต่อหลายทอดที่สำคัญ75.6%เชื่อว่า"หวยล็อค"มีจริง
“ผลสำรวจกลุ่มผู้ค้าสลากรายย่อย422ตัวอย่างพบว่า เกือบ 60% ประกอบอาชีพขายสลากฯอย่างเดียว 76.3% ได้ลงทะเบียนผู้ค้าสลาก แต่มีเพียง1ใน5เท่านั้นที่ได้รับโควตาสลากฯจริงโดย92.1%ต้องซื้อสลากจากพ่อค้าคนกลาง(ยี่ปั๊ว ซาปั๊ว) ราคาที่ซื้อเฉลี่ยอยู่ที่เล่มละ9,441บาท หรือมีต้นทุนประมาณ 94-95 บาทต่อคู่ ผู้ค้าสลาก81.3% ระบุถึงปัญหาต้นทุนที่ซื้อมาแพง ทำให้ขายยาก กำไรน้อย และในงวดวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา43.6% ประสบปัญหา ต้องขายลดราคาหรือรับซื้อสลากที่ขายเหลือไว้เอง”นายธน กล่าว
นายธน กล่าวอีกว่า ทั้งกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มผู้ค้าสลากฯมากกว่า80%ขึ้นไป เห็นตรงกันว่า ควรเพิ่มสัดส่วนการกระจายสลากให้ถึงมือผู้ค้าสลากรายย่อยโดยตรงให้มีไม่น้อยว่า50%และควรให้ความสำคัญในการจัดสรรโควตาให้กับกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุที่ไม่มีบำนาญ ผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มองค์กรสาธารณะกุศลที่จำหน่ายสลากจริงรวมถึงมีการขึ้นทะเบียนผู้จำหน่ายสลาก และจัดสรรรายได้ส่วนหนึ่งมาจัดตั้งเป็นกองทุนรับซื้อคืนสลากที่จำหน่ายไม่หมดและเป็นสวัสดิการให้ผู้ค้าสลากรายย่อยได้กู้ยืมโดยผู้ค้าสลากฯ92.6%ระบุว่าสำนักงานสลากฯควรจัดสรรโควตาให้ผู้ค้าสลากรายย่อยรายละไม่เกิน10เล่ม ขณะที่ผู้ซื้อ93%เห็นว่าการออกสลากฯควรเปลี่ยนเป้าหมายจากการหารายได้เข้ารัฐเป็น “สลากเพื่อสังคม” นำเงินมาอุดหนุน/ส่งเสริมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาสังคมโดยมีตัวแทนภาคประชาชนร่วมกำกับดูแล
นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) กล่าวว่า เมื่อปีที่แล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญ วุฒิสภา ได้ศึกษาปัญหาและแนวทางการปฏิรูประบบการบริหารจัดการสลากในประเทศไทยเสร็จแล้ว ผลการสำรวจในวันนี้ตอกย้ำให้เห็นวังวนของปัญหาที่ไม่มีทางแก้ไข นอกจากจะมีการปฏิรูปการบริหารจัดการสลากทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่เรื่องปรัชญา แม้สลากจะถูกมองว่ามีข้อเสียน้อยกว่าการพนันประเภทอื่น แต่ไม่ใช่สิ่งที่รัฐควรส่งเสริมให้ประชาชนเล่นพนันหรือใช้สลากเป็นเครื่องมือแสวงหารายได้เข้ารัฐ การเก็บเงินจากการขายสลากเข้าแผ่นดิน 28% เปรียบเสมือนเป็นภาษีคนจนอย่างหนึ่ง ถือว่าสูงมาก ควรลดสัดส่วนการนำส่งเงินนี้ และจัดสรรรายได้ส่วนหนึ่งไปพัฒนาสังคม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคประชาชน ภาคประชาสังคม โดยการยกเลิกกฎหมายที่ใช้อยู่ แล้วให้มีกฎหมายว่าด้วยกิจการสลากเพื่อสังคม แยกโครงสร้างอำนาจการกำกับดูแลนโยบาย การบริหารกิจการ และการบริหารกองทุน เป็นคณะกรรมการ 3คณะ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และตรวจสอบได้
นพ.พลเดช ปิ่นประทีป สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวว่า การปฏิรูปสลาก ควรเริ่มต้นจากการปฏิรูปความคิด ทำความเข้าใจร่วมกันเป็นอันดับแรกของคนในสังคมเพื่อไปในทิศทางเดียวกันในประเด็น 2 สำคัญคือ แก้ปัญหาสลากแพงให้ได้ และการบริหารจัดการเพื่อคืนเงินกลับสังคม เมื่อเข้าใจสู่ทิศทางเดียวกัน ก็นำไปสู่การปฏิรูปตามแนวคิดนี้ ขณะเดียวกัน เรื่อง ของ พ.ร.บ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 ซึ่งก็ต้องมีการแก้ไข หรือ หากไม่แก้ไข คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ก็ต้องใช้อำนาจเด็ดขาดแก้ปัญหา ยี่ปั้ว ซาปั้ว ที่เป็นต้นเหตุปัญหาสลากแพง แล้วให้ผู้ขายรายย่อย ที่ลงทะเบียนไว้ขายโดยไม่ต้องผ่านคนกลางพวกนี้
"คสช.เด็ดขาดเชื่อว่าแก้ไขปัญหานี้ได้ เลิกระบบยี่ปั้ว โดยไม่ต้องมีคนกลางมากินหัวคิวในกรณีที่ไม่ต้องแก้กฎหมาย แต่ในทางเดียวกันหากมีการแก้กฎหมาย ก็ถือว่า สามารถรื้อระบบได้หมด รื้อกระดานกันใหม่ในแนวทางปฏิรูป ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี จัดระเบียบโดยเขียนกฎหมายพร้อมกับการบริหารจัดการกองทุนเงินเพื่อคืนสังคมไปพร้อมกันเป็นแบบทูอินวัน อย่างไรก็ตาหาก คสช.แก้ปัญหานี้ได้ จะทำให้มีคะแนนนิยมจากประชาชนอย่างแน่นอน และเงินผลกำไรที่ได้จากกองสลากที่ปฏิรูปเพื่อสังคมก็คืนกลับมาสู่สังคมเพื่อประชาชนอีก” นพ.พลเดช กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่