ผลสำรวจพบคนไทยรู้กฎหมายห้ามขาย ห้ามก๊งเหล้าในที่ราชการ สาธารณะ แต่ยังฝ่าฝืนขายเพียบในสถานที่จัดงานลอยกระทง ส่งเสียงขอไม่เอาประทัด เหล้า ทะเลาะวิวาท และลวนลาม ระบุ 80% หนุนจัดงานปลอดเหล้า เจ้าภาพไม่รับสปอนเซอร์ธุรกิจน้ำเมา ชี้เที่ยวงานปลอดเหล้ารู้สึกปลอดภัย 81%
นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 1,893 คน ในปี 2555 เรื่อง “ประเพณีลอยกระทงกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” พบว่า เป็นเทศกาลที่คนไทยให้ความสำคัญรองจากปีใหม่ และสงกรานต์ ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 92 รับรู้ รับทราบกฎหมายห้ามขาย ห้ามดื่มเหล้าในสถานที่ราชการ สถานศึกษา วัด หรือสวนสาธารณะ แต่ปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 80 ระบุว่ายังพบเห็นการขาย การดื่มในพื้นที่จัดลอยกระทงในปีที่ผ่านมา สะท้อนว่าประชาชนส่วนใหญ่ รู้กฎหมาย แต่ยังฝ่าฝืนกระทำผิด โดยสิ่งที่ประชาชนไม่อยากให้เกิดขึ้นในวันลอยกระทงมี 4 เรื่อง คือ การจุดประทัด พลุไฟร้อยละ 29 การทะเลาะวิวาทร้อยละ 26 การดื่มสุราร้อยละ 23 และการล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 19
นพ.บัณฑิต กล่าวว่า สำหรับการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมลอยกระทงปลอดเหล้า-บุหรี่ ปี 2556 ที่ผ่านมาของภาคเหนือ จำนวน 555 คน ใน จ.ตาก พบว่า ประชาชนเห็นด้วยในการสนับสนุนให้มีการจัดงานลอยกระทง ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ภายในบริเวณงาน ร้อยละ 80 สนับสนุนให้เจ้าภาพจัดงานไม่รับสปอนเซอร์จากธุรกิจเหล้าเบียร์ ร้อยละ 55 ทั้งนี้ เมื่อมาเที่ยวงานลอกกระทงปลอดเหล้า-บุหรี่แล้วรู้สึกปลอดภัยมากถึงร้อยละ 81 ขณะเดียวกัน ในส่วนของผู้จำหน่ายสินค้าในเทศกาลงานลอยกระทงปลอดแอลกอฮอล์ภาคเหนือ พบว่า จากการสำรวจจำนวน 281 คน พบว่า ร้อยละ 86 ผู้จำหน่ายสินค้าในจังหวัดตาก เห็นด้วยต่อการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานลอยกระทง โดยร้อยละ 43 ระบุว่า การห้ามจำหน่ายแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงานไม่มีผลต่อยอดจำหน่ายสินค้า
“งานประเพณีปลอดเหล้า เป็นสิ่งที่ สสส.และเครือข่ายงดเหล้าสนับสนุนมาโดยตลอด และเกือบมีทุกประเพณี เช่น ประเพณีกระทงสาย ไหลประทีป ของเทศบาลเมืองตาก ถือเป็นต้นแบบที่ดีในการจัดประเพณีปลอดเหล้า ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีที่ 3 ถือว่าเป็นต้นแบบที่ดีในการจัดงานประเพณีลอยกระทงปลอดเหล้าบุหรี่ ที่ได้รับความร่วมมือจากหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชน และประชาชน จนประสบความสำเร็จ ซึ่งงานลอยกระทงเป็นงานที่ครอบครัวระดับครอบครัวมาเที่ยว ดังนั้น ต้องสร้างความรู้สึกอบอุ่น และปลอดภัยด้วยการจัดให้เป็นพื้นที่ปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ ที่สำคัญคือ ซึ่งประเพณีที่ดีงามย่อมไม่มีใครอยากให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นเลย เมื่อดูจากการจัดงานลอยกระทงปลอดเหล้าที่ผ่านมา พบว่า อุบัติเหตุการเมาสุราแทบเป็นศูนย์” นพ.บัณฑิต กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.บัณฑิต ศรไพศาล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 1,893 คน ในปี 2555 เรื่อง “ประเพณีลอยกระทงกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” พบว่า เป็นเทศกาลที่คนไทยให้ความสำคัญรองจากปีใหม่ และสงกรานต์ ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 92 รับรู้ รับทราบกฎหมายห้ามขาย ห้ามดื่มเหล้าในสถานที่ราชการ สถานศึกษา วัด หรือสวนสาธารณะ แต่ปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 80 ระบุว่ายังพบเห็นการขาย การดื่มในพื้นที่จัดลอยกระทงในปีที่ผ่านมา สะท้อนว่าประชาชนส่วนใหญ่ รู้กฎหมาย แต่ยังฝ่าฝืนกระทำผิด โดยสิ่งที่ประชาชนไม่อยากให้เกิดขึ้นในวันลอยกระทงมี 4 เรื่อง คือ การจุดประทัด พลุไฟร้อยละ 29 การทะเลาะวิวาทร้อยละ 26 การดื่มสุราร้อยละ 23 และการล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 19
นพ.บัณฑิต กล่าวว่า สำหรับการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมลอยกระทงปลอดเหล้า-บุหรี่ ปี 2556 ที่ผ่านมาของภาคเหนือ จำนวน 555 คน ใน จ.ตาก พบว่า ประชาชนเห็นด้วยในการสนับสนุนให้มีการจัดงานลอยกระทง ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ภายในบริเวณงาน ร้อยละ 80 สนับสนุนให้เจ้าภาพจัดงานไม่รับสปอนเซอร์จากธุรกิจเหล้าเบียร์ ร้อยละ 55 ทั้งนี้ เมื่อมาเที่ยวงานลอกกระทงปลอดเหล้า-บุหรี่แล้วรู้สึกปลอดภัยมากถึงร้อยละ 81 ขณะเดียวกัน ในส่วนของผู้จำหน่ายสินค้าในเทศกาลงานลอยกระทงปลอดแอลกอฮอล์ภาคเหนือ พบว่า จากการสำรวจจำนวน 281 คน พบว่า ร้อยละ 86 ผู้จำหน่ายสินค้าในจังหวัดตาก เห็นด้วยต่อการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในงานลอยกระทง โดยร้อยละ 43 ระบุว่า การห้ามจำหน่ายแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงานไม่มีผลต่อยอดจำหน่ายสินค้า
“งานประเพณีปลอดเหล้า เป็นสิ่งที่ สสส.และเครือข่ายงดเหล้าสนับสนุนมาโดยตลอด และเกือบมีทุกประเพณี เช่น ประเพณีกระทงสาย ไหลประทีป ของเทศบาลเมืองตาก ถือเป็นต้นแบบที่ดีในการจัดประเพณีปลอดเหล้า ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีที่ 3 ถือว่าเป็นต้นแบบที่ดีในการจัดงานประเพณีลอยกระทงปลอดเหล้าบุหรี่ ที่ได้รับความร่วมมือจากหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชุมชน และประชาชน จนประสบความสำเร็จ ซึ่งงานลอยกระทงเป็นงานที่ครอบครัวระดับครอบครัวมาเที่ยว ดังนั้น ต้องสร้างความรู้สึกอบอุ่น และปลอดภัยด้วยการจัดให้เป็นพื้นที่ปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ ที่สำคัญคือ ซึ่งประเพณีที่ดีงามย่อมไม่มีใครอยากให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นเลย เมื่อดูจากการจัดงานลอยกระทงปลอดเหล้าที่ผ่านมา พบว่า อุบัติเหตุการเมาสุราแทบเป็นศูนย์” นพ.บัณฑิต กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่