อย. เผยแนวโน้มตู้กดน้ำอัตโนมัติตกมาตรฐานเพิ่มขึ้น พบกรดด่าง น้ำกระด้าง ไม่มีคุณภาพ สะท้อนปนเปื้อน ระบุข้างตู้กดไม่มีฉลากแสดงวันเดือนปีเปลี่ยนไส้กรอง จี้เทศบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแล
น.ส.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ธุรกิจตู้น้ำกดอัตโนมัติปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมาก ทั่วประเทศมีตู้น้ำกดอัตโนมัติประมาณ 60,000 ตู้ ธุรกิจมีมูลค่าการตลาดหลายพันล้านบาท ที่น่าเป็นห่วงคือ คุณภาพของน้ำ ซึ่งมาตรฐานจะยึดตามมาตรฐานของน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท โดยดูทั้งเรื่องของความเป็นกรดด่าง ความกระด้าง เชื้อโคลิฟอร์ม ซึ่งสะท้อนคุณภาพการกรอง การปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม โดย อย. ได้มีการสุ่มตรวจอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ได้สำรวจคุณภาพของน้ำจากตู้กดอัตโนมัติ พบว่า ในปี 2556 จำนวน 2,511 ตู้ ตกมาตรฐาน 949 ตู้ หรือร้อยละ 36.9 ปี 2557 สำรวจ 1,746 ตู้ ตกมาตรฐาน 671 ตู้ หรือร้อยละ 38.4 นั่นคือ มีแนวโน้มตกมาตรฐานมากขึ้น สะท้อนถึงการขาดการบำรุงรักษา เปลี่ยนไส้กรองตามระยะเวลา โดยคุณภาพของน้ำที่ตกมาตรฐานมากที่สุด คือ ค่าความเป็นกรด-ด่าง รองลงมาคือ ความกระด้าง
น.ส.ทิพย์วรรณ กล่าวว่า น้ำดื่มแบบขวด อย. สามารถควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน แต่ตู้น้ำกดมีหลายหน่วยงานดูแล โดยมาตรฐานตู้และไส้กรอง ต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ฉลากข้างตู้น้ำกด ซึ่งควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ที่กำหนดให้ติดฉลากข้างตู้เพื่อแสดงวันเดือนปีที่เปลี่ยนไส้กรอง คำแนะนำ และ คำเตือน ซึ่งพบว่ามีการติดฉลากดังกล่าวเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น แสดงคำเตือนร้อยละ 20 และ คำแนะนำร้อยละ 32 ซึ่งทำให้ประชาชนไม่สามารถทราบได้เลยว่าตู้นั้นมีการเปลี่ยนไส้กรองตามมาตรฐานหรือไม่
“จริงๆ แล้วการควบคุมตู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานเป็นอำนาจท้องถิ่น เทศบาล ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ จำเป็นต้องร่วมมือเพื่อดูแลเรื่องดังกล่าว เพราะน้ำดื่มเป็นเครื่องอุปโภคที่สำคัญ ส่วนข้อสังเกตตู้น้ำที่ปลอดภัยได้ดูได้จาก ความสะอาดของตู้กด เช่น ที่ตั้งไม่ใกล้ถังขยะ อยู่ในที่ร่ม ไม่มีตะไคร่ที่หัวจ่ายน้ำ มีฝาเปิดปิด ไม่มีคราบสกปรก หัวจ่ายน้ำทำจากสเตนเลส สังเกตฉลากที่ข้างตู้ ต้องมีการบอกวันเดือนปีที่เปลี่ยนไส้กรอง ซึ่งไส้กรองมีด้วยกันหลายชิ้น มีระยะการเปลี่ยนตั้งแต่ 4 เดือน - 1 ปี หากพบว่า น้ำมีสี กลิ่น รสชาติ ที่ไม่ดีควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้ ควรใช้ภาชนะที่สะอาดมาบรรจุน้ำ และไม่สัมผัสหัวจ่ายด้วยมือ” ผอ.สำนักอาหาร กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
น.ส.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ธุรกิจตู้น้ำกดอัตโนมัติปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างมาก ทั่วประเทศมีตู้น้ำกดอัตโนมัติประมาณ 60,000 ตู้ ธุรกิจมีมูลค่าการตลาดหลายพันล้านบาท ที่น่าเป็นห่วงคือ คุณภาพของน้ำ ซึ่งมาตรฐานจะยึดตามมาตรฐานของน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิท โดยดูทั้งเรื่องของความเป็นกรดด่าง ความกระด้าง เชื้อโคลิฟอร์ม ซึ่งสะท้อนคุณภาพการกรอง การปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม โดย อย. ได้มีการสุ่มตรวจอย่างต่อเนื่อง โดยหน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร ได้สำรวจคุณภาพของน้ำจากตู้กดอัตโนมัติ พบว่า ในปี 2556 จำนวน 2,511 ตู้ ตกมาตรฐาน 949 ตู้ หรือร้อยละ 36.9 ปี 2557 สำรวจ 1,746 ตู้ ตกมาตรฐาน 671 ตู้ หรือร้อยละ 38.4 นั่นคือ มีแนวโน้มตกมาตรฐานมากขึ้น สะท้อนถึงการขาดการบำรุงรักษา เปลี่ยนไส้กรองตามระยะเวลา โดยคุณภาพของน้ำที่ตกมาตรฐานมากที่สุด คือ ค่าความเป็นกรด-ด่าง รองลงมาคือ ความกระด้าง
น.ส.ทิพย์วรรณ กล่าวว่า น้ำดื่มแบบขวด อย. สามารถควบคุมกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน แต่ตู้น้ำกดมีหลายหน่วยงานดูแล โดยมาตรฐานตู้และไส้กรอง ต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ฉลากข้างตู้น้ำกด ซึ่งควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ที่กำหนดให้ติดฉลากข้างตู้เพื่อแสดงวันเดือนปีที่เปลี่ยนไส้กรอง คำแนะนำ และ คำเตือน ซึ่งพบว่ามีการติดฉลากดังกล่าวเพียงร้อยละ 8 เท่านั้น แสดงคำเตือนร้อยละ 20 และ คำแนะนำร้อยละ 32 ซึ่งทำให้ประชาชนไม่สามารถทราบได้เลยว่าตู้นั้นมีการเปลี่ยนไส้กรองตามมาตรฐานหรือไม่
“จริงๆ แล้วการควบคุมตู้ให้เป็นไปตามมาตรฐานเป็นอำนาจท้องถิ่น เทศบาล ดังนั้น หน่วยงานต่างๆ จำเป็นต้องร่วมมือเพื่อดูแลเรื่องดังกล่าว เพราะน้ำดื่มเป็นเครื่องอุปโภคที่สำคัญ ส่วนข้อสังเกตตู้น้ำที่ปลอดภัยได้ดูได้จาก ความสะอาดของตู้กด เช่น ที่ตั้งไม่ใกล้ถังขยะ อยู่ในที่ร่ม ไม่มีตะไคร่ที่หัวจ่ายน้ำ มีฝาเปิดปิด ไม่มีคราบสกปรก หัวจ่ายน้ำทำจากสเตนเลส สังเกตฉลากที่ข้างตู้ ต้องมีการบอกวันเดือนปีที่เปลี่ยนไส้กรอง ซึ่งไส้กรองมีด้วยกันหลายชิ้น มีระยะการเปลี่ยนตั้งแต่ 4 เดือน - 1 ปี หากพบว่า น้ำมีสี กลิ่น รสชาติ ที่ไม่ดีควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้ ควรใช้ภาชนะที่สะอาดมาบรรจุน้ำ และไม่สัมผัสหัวจ่ายด้วยมือ” ผอ.สำนักอาหาร กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่