สปสช.ฟุ้ง บริการผ่าตัดต้อกระจก 7 ปี ช่วยผู้ป่วยแล้วเกือบ 1 ล้านราย ลดผู้ป่วยตกค้างรอคิวผ่าตัด ช่วยกลับมามองเห็นได้อีกครั้ง เตรียมเดินหน้าต่อเนื่อง เน้นพื้นที่จำกัดเพื่อดูแลผู้ป่วยอย่างทั่วถึง
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ก่อนมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่าประชาชนมีปัญหาการเข้าถึงการรักษาโรคตาอย่างมาก เหตุหน่วยบริการและบุคลากรทางการแพทย์จำกัด สามารถผ่าตัดต้อกระจกให้กับผู้ป่วยได้เพียง 40,000 รายต่อปี ทำให้มีผู้ป่วยต้อกระจกตกค้างรอคิวผ่าตัดจำนวนมาก จำนวนนี้มีภาวะตาบอดรวมอยู่ด้วย หากไม่เร่งจัดบริการผ่าตัด จะมีคนตาบอดจากโรคต้อกระจกเพิ่มขึ้น สปสช.จึงกำหนดให้มีการบริหารจัดการโรคต้อกระจกขึ้นมาเป็นบริการเฉพาะ จัดบริการเชิงรุกในพื้นที่ที่เป็นปัญหาการเข้าถึงบริการ
ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จากการดำเนินการตั้งแต่ปี 2550-2557 มีผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดไปแล้ว 988,308 ราย คิดเป็นร้อยละ 45.9 ของกลุ่มผู้ป่วยที่ควรได้รับการผ่าตัดตามเกณฑ์ที่กำหนด ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะตาบอด 128,480 ราย และจากที่ได้บริหารเชิงรุกยังส่งผลให้ผู้ป่วยต้อกระจกได้รับการผ่าตัดเพิ่มขึ้นจาก 65,000 ราย ในปี 2555 เป็น 100,000 ราย ในปี 2556 ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะตาบอดจากต้อกระจกที่ตกค้างการรักษาได้รับบริการเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 15.7 ในปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25.1 ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2557 ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น
"แม้อัตราการเข้าถึงบริการผ่าตัดของผู้ป่วยโรคต้อกระจกจะดีขึ้นกว่าในระยะแรกมาก แต่พบว่าบางพื้นที่ยังมีข้อจำกัดด้านบริการ เช่น จำนวนจักษุแพทย์ไม่เพียงพอ ไม่สอดคล้องกับจำนวนประชากร เช่น บางจังหวัดในเขตภาคอีสาน พื้นที่เสี่ยงภัย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นจำเป็นที่ สปสช.และ สธ.ต้องร่วมกันสนับสนุนให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเข้าถึงบริการเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป" รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า ก่อนมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่าประชาชนมีปัญหาการเข้าถึงการรักษาโรคตาอย่างมาก เหตุหน่วยบริการและบุคลากรทางการแพทย์จำกัด สามารถผ่าตัดต้อกระจกให้กับผู้ป่วยได้เพียง 40,000 รายต่อปี ทำให้มีผู้ป่วยต้อกระจกตกค้างรอคิวผ่าตัดจำนวนมาก จำนวนนี้มีภาวะตาบอดรวมอยู่ด้วย หากไม่เร่งจัดบริการผ่าตัด จะมีคนตาบอดจากโรคต้อกระจกเพิ่มขึ้น สปสช.จึงกำหนดให้มีการบริหารจัดการโรคต้อกระจกขึ้นมาเป็นบริการเฉพาะ จัดบริการเชิงรุกในพื้นที่ที่เป็นปัญหาการเข้าถึงบริการ
ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จากการดำเนินการตั้งแต่ปี 2550-2557 มีผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดไปแล้ว 988,308 ราย คิดเป็นร้อยละ 45.9 ของกลุ่มผู้ป่วยที่ควรได้รับการผ่าตัดตามเกณฑ์ที่กำหนด ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในระยะตาบอด 128,480 ราย และจากที่ได้บริหารเชิงรุกยังส่งผลให้ผู้ป่วยต้อกระจกได้รับการผ่าตัดเพิ่มขึ้นจาก 65,000 ราย ในปี 2555 เป็น 100,000 ราย ในปี 2556 ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะตาบอดจากต้อกระจกที่ตกค้างการรักษาได้รับบริการเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 15.7 ในปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25.1 ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2557 ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาเพิ่มขึ้น
"แม้อัตราการเข้าถึงบริการผ่าตัดของผู้ป่วยโรคต้อกระจกจะดีขึ้นกว่าในระยะแรกมาก แต่พบว่าบางพื้นที่ยังมีข้อจำกัดด้านบริการ เช่น จำนวนจักษุแพทย์ไม่เพียงพอ ไม่สอดคล้องกับจำนวนประชากร เช่น บางจังหวัดในเขตภาคอีสาน พื้นที่เสี่ยงภัย 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้นจำเป็นที่ สปสช.และ สธ.ต้องร่วมกันสนับสนุนให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเข้าถึงบริการเช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป" รองเลขาธิการ สปสช. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่