สพฐ.เตรียมขยายผลหลักสูตรอุทกภัยศึกษา ให้ร.ร.กำหนดเป็นวิชาเลือกเน้นให้เด็กได้มีความรู้และรับมือเมื่อเกิดเหตุน้ำท่วม รวมทั้งขยายผลโครงการพายเรือได้ ว่ายน้ำเป็น ให้ครอบคลุมโรงเรียนทั่วประเทศเพื่อให้เด็กมีทักษะว่ายน้ำเพื่อช่วยเหลือตนเองได้ เริ่มทันทีเทอม 2 ปีการศึกษา 57
วันนี้ (9 ก.ย.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่ตนได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดสุโขทัยพบว่าสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามีการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมอย่างดี มีการส่งเสริมและจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถช่วยเหลือตัวเองเมื่อประสบเหตุน้ำท่วม โดยทั้ง 2 จังหวัดมีการวิธีการเตรียมพร้อมนักเรียนในการรับมือเหตุน้ำท่วมได้น่าสนใจ โดยที่จังหวัดพิษณุโลก มีการจัดทำหลักสูตรอุทกภัยศึกษาให้นักเรียนทุกคนเรียน ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะสอนให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจถึงสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศของจังหวัดพิษณุโลก รู้ว่าเหตุใดพื้นที่อำเภอพรหมพิราม อำบางระก่ำ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อย ฯลฯ ขณะเดียวกัน ก็สอนวิธีการดูแลช่วยเหลือตนเอง รวมไปถึงการป้องกันตนเองจากโรคหรือสัตว์ร้ายที่มากับภัยน้ำท่วม สำหรับที่จังหวัดสุโขทัยนั้น ได้ดำเนินการตามโครงการพายเรือได้ ว่ายน้ำเป็น ซึ่งเป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีรับสั่งไว้เน้นพัฒนาให้นักเรียนทุกคนต้องพายเรือและว่ายน้ำเป็นเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมซึ่งพบว่าที่สุโขทัยได้ทำโครงการนี้จนเป็นผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าควรจะขยายผลโครงการให้ครอบคลุมสถานศึกษาทั่วประเทศ
“ ขณะนี้ขอข้อมูลหลักสูตรอุทกภัยศึกษาของพิษณุโลก เพื่อนำมาจัดพิมพ์คู่มือการสอนนำไปแจกให้กับโรงเรียนพื้นที่อื่น ๆ นำไปใช้สอนเด็กนักเรียน เพราะมองว่าไม่ว่าเด็กหรือโรงเรียนจะอยู่พื้นที่ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นชายทะเลหรือภูเขาก็ควรได้เรียนรู้วิธีการป้องกันและรับมือภัยน้ำท่วมซึ่งจะกำหนดให้โรงเรียนเปิดสอนเป็นวิชาเลือก ขณะที่โครงการพายเรือได้ ว่ายน้ำนั้นผมตั้งใจจะให้ขยายผลไปสู่โรงเรียนทั่วประเทศด้วย เพราะเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญและยังสอดคล้องกับโครงการที่ สพฐ.ที่ให้เขตพื้นที่การศึกษาไปจัดทำโครงการเซฟวิ่งไลฟ์ที่มุ่งเน้นให้เด็กทุกคนว่ายน้ำเป็นเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งทั้งหมดจะให้เริ่มทำทันทีในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557”นายกมล กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (9 ก.ย.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่ตนได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานศึกษาที่ประสบอุทกภัยน้ำท่วม ที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดสุโขทัยพบว่าสถานศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามีการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมอย่างดี มีการส่งเสริมและจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถช่วยเหลือตัวเองเมื่อประสบเหตุน้ำท่วม โดยทั้ง 2 จังหวัดมีการวิธีการเตรียมพร้อมนักเรียนในการรับมือเหตุน้ำท่วมได้น่าสนใจ โดยที่จังหวัดพิษณุโลก มีการจัดทำหลักสูตรอุทกภัยศึกษาให้นักเรียนทุกคนเรียน ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวจะสอนให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจถึงสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศของจังหวัดพิษณุโลก รู้ว่าเหตุใดพื้นที่อำเภอพรหมพิราม อำบางระก่ำ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมบ่อย ฯลฯ ขณะเดียวกัน ก็สอนวิธีการดูแลช่วยเหลือตนเอง รวมไปถึงการป้องกันตนเองจากโรคหรือสัตว์ร้ายที่มากับภัยน้ำท่วม สำหรับที่จังหวัดสุโขทัยนั้น ได้ดำเนินการตามโครงการพายเรือได้ ว่ายน้ำเป็น ซึ่งเป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีรับสั่งไว้เน้นพัฒนาให้นักเรียนทุกคนต้องพายเรือและว่ายน้ำเป็นเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมซึ่งพบว่าที่สุโขทัยได้ทำโครงการนี้จนเป็นผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าควรจะขยายผลโครงการให้ครอบคลุมสถานศึกษาทั่วประเทศ
“ ขณะนี้ขอข้อมูลหลักสูตรอุทกภัยศึกษาของพิษณุโลก เพื่อนำมาจัดพิมพ์คู่มือการสอนนำไปแจกให้กับโรงเรียนพื้นที่อื่น ๆ นำไปใช้สอนเด็กนักเรียน เพราะมองว่าไม่ว่าเด็กหรือโรงเรียนจะอยู่พื้นที่ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นชายทะเลหรือภูเขาก็ควรได้เรียนรู้วิธีการป้องกันและรับมือภัยน้ำท่วมซึ่งจะกำหนดให้โรงเรียนเปิดสอนเป็นวิชาเลือก ขณะที่โครงการพายเรือได้ ว่ายน้ำนั้นผมตั้งใจจะให้ขยายผลไปสู่โรงเรียนทั่วประเทศด้วย เพราะเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญและยังสอดคล้องกับโครงการที่ สพฐ.ที่ให้เขตพื้นที่การศึกษาไปจัดทำโครงการเซฟวิ่งไลฟ์ที่มุ่งเน้นให้เด็กทุกคนว่ายน้ำเป็นเพื่อให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งทั้งหมดจะให้เริ่มทำทันทีในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557”นายกมล กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่