สทศ. เล็งจัดสอบ O-Net ปี 2559 โดยใช้แนวข้อสอบ PISA Liked เน้นการคิดวิเคราะห์มากขึ้น ชี้แนวข้อสอบใหม่จะช่วยให้ครูปรับการสอน ฝึกเด็กคิดวิเคราะห์ รู้จักนำไปใช้ มั่นใจลดลดปัญหากวดวิชา เพราะโจทย์เกิดขึ้นจากสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาสาระ ไม่ใช่โจทย์ตายตัวคิดตามสูตรแล้วจะได้คำตอบ
รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า สทศ. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแนวข้อสอบ PISA Liked ขึ้น ตามกรอบแนวคิดในการวัดสมรรถนะผู้เรียนแบบเดียวกับ PISA โดยข้อสอบ PISA Liked นั้น จะเน้นการคิดวิเคราะห์เพื่อการนำไปใช้ได้จริง และอิงตามหลักสูตรที่เรียนในชั้นเรียน เพื่อวัดสมรรถนะของผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้นมีความรู้ความเข้าใจในแต่ละวิชาจริงๆ และรู้จักการนำไปใช้ได้ ไม่ใช่มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด คิดไม่ได้เพราะไปท่องจำมาใช้
“สทศ. ได้พัฒนาจัดทำแนวข้อสอบ PISA Liked มาตั้งแต่ปี 2555 และขณะนี้มีข้อสอบอยู่ในคลังข้อสอบเรียบร้อยแล้ว โดยรูปแบบข้อสอบ จะตั้งโจทย์คำถามเชื่อมโยงเนื้อหาสาระในแต่ละวิชาเข้ากับเรื่องราวในชีวิตประจำวัน สร้างสถานการณ์ให้เด็กต้องนำความรู้จากหลักสูตรมาคิดวิเคราะห์ ประมวลผล ซึ่งการที่เด็กจะทำข้อสอบได้นั้นส่วนหนึ่งก็ต้องเกิดจากการเรียนรู้ในชั้นเรียน ดังนั้น การเรียนการสอนในชั้นเรียนต้องมีการเปลี่ยนแปลง ครูต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอน ทำหน้าที่กระตุ้นให้เด็กคิด สร้างสถานการณ์ในชั้นเรียนให้เด็กได้ลองเรียนรู้เพื่อฝึกฝน ตั้งคำถาม และให้รู้จักนำไปใช้ ไม่ใช่สอนให้เด็กท่องจำนำไปใช้” รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าว
ผอ.สทศ. กล่าวต่อว่า สำหรับการนำแนวข้อสอบ PISA Liked ดังกล่าวมาใช้จะส่งผลให้โรงเรียน ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ และรู้จักนำไปใช้แล้ว ยังเป็นการสกัดกั้นไม่ให้เด็กไปเรียนกวดวิชาอีกด้วย เพราะข้อสอบที่ออกเป็นการนำความรู้วิเคราะห์ใช้กับสถานการณ์เรื่องราวในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่โจทย์ตายตัวที่ต้องคิดตามสูตรอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม แนวข้อสอบ PISA Liked จะนำมาเป็นข้อสอบในการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net ซึ่งไม่ใช่เป็นการยกเลิกการสอบ O-Net แต่เป็นเพียงการเปลี่ยนแนวข้อสอบจากเดิมเท่านั้น โดยคาดว่าจะใช้แนวข้อสอบ PISA Liked ทั้งระดับประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการสอบ O-Net ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559 นี้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า สทศ. ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแนวข้อสอบ PISA Liked ขึ้น ตามกรอบแนวคิดในการวัดสมรรถนะผู้เรียนแบบเดียวกับ PISA โดยข้อสอบ PISA Liked นั้น จะเน้นการคิดวิเคราะห์เพื่อการนำไปใช้ได้จริง และอิงตามหลักสูตรที่เรียนในชั้นเรียน เพื่อวัดสมรรถนะของผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้นมีความรู้ความเข้าใจในแต่ละวิชาจริงๆ และรู้จักการนำไปใช้ได้ ไม่ใช่มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด คิดไม่ได้เพราะไปท่องจำมาใช้
“สทศ. ได้พัฒนาจัดทำแนวข้อสอบ PISA Liked มาตั้งแต่ปี 2555 และขณะนี้มีข้อสอบอยู่ในคลังข้อสอบเรียบร้อยแล้ว โดยรูปแบบข้อสอบ จะตั้งโจทย์คำถามเชื่อมโยงเนื้อหาสาระในแต่ละวิชาเข้ากับเรื่องราวในชีวิตประจำวัน สร้างสถานการณ์ให้เด็กต้องนำความรู้จากหลักสูตรมาคิดวิเคราะห์ ประมวลผล ซึ่งการที่เด็กจะทำข้อสอบได้นั้นส่วนหนึ่งก็ต้องเกิดจากการเรียนรู้ในชั้นเรียน ดังนั้น การเรียนการสอนในชั้นเรียนต้องมีการเปลี่ยนแปลง ครูต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอน ทำหน้าที่กระตุ้นให้เด็กคิด สร้างสถานการณ์ในชั้นเรียนให้เด็กได้ลองเรียนรู้เพื่อฝึกฝน ตั้งคำถาม และให้รู้จักนำไปใช้ ไม่ใช่สอนให้เด็กท่องจำนำไปใช้” รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าว
ผอ.สทศ. กล่าวต่อว่า สำหรับการนำแนวข้อสอบ PISA Liked ดังกล่าวมาใช้จะส่งผลให้โรงเรียน ครูต้องจัดการเรียนการสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ และรู้จักนำไปใช้แล้ว ยังเป็นการสกัดกั้นไม่ให้เด็กไปเรียนกวดวิชาอีกด้วย เพราะข้อสอบที่ออกเป็นการนำความรู้วิเคราะห์ใช้กับสถานการณ์เรื่องราวในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่โจทย์ตายตัวที่ต้องคิดตามสูตรอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม แนวข้อสอบ PISA Liked จะนำมาเป็นข้อสอบในการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-Net ซึ่งไม่ใช่เป็นการยกเลิกการสอบ O-Net แต่เป็นเพียงการเปลี่ยนแนวข้อสอบจากเดิมเท่านั้น โดยคาดว่าจะใช้แนวข้อสอบ PISA Liked ทั้งระดับประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการสอบ O-Net ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2559 นี้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่