กสร. เตรียมออกหนังสือเตือน บริษัท ไทยแลนด์ไอออนเวิร์ค จ.สมุทรปราการ หลังตรวจพบจ้างบุคคลไม่ใช่พยาบาลมาประจำสถานประกอบการ พร้อมสั่งสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานทั่วประเทศตรวจเข้มไม่ให้เกิดซ้ำ
วันนี้ (5 ก.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณีที่ตรวจพบว่า บริษัท ไทยแลนด์ไอออนเวิร์ค จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ นำบุคคลที่ไม่ใช่พยาบาลมาประจำการตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ว่า จากการตรวจสอบพบว่าสถานประกอบการดังกล่าวมีการจ้างบริษัทเอาต์ซอร์ส คือ บริษัท ปราการพยาบาล ให้จัดเจ้าหน้าที่พยาบาลมาประจำที่สถานประกอบกิจการ แต่บุคคลที่มาประจำนั้นไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล ดังนั้น กสร. จะออกหนังสือตักเตือนสถานประกอบการให้ปฏิบัติตามกฎหมายและเข้มงวดในการตรวจสอบพยาบาลที่มาประจำว่าเป็นผู้มีใบประกอบวิชาชีพจริงหรือไม่ ทั้งนี้ สาเหตุที่ยังไม่ลงโทษตามกฎหมายเนื่องจากสถานประกอบการดังกล่าวมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามกฎหมายแต่ด้วยความประมาท และไม่ได้มีการตรวจสอบจึงเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งในวันที่ 8 กันยายนนี้ ตนจะทำหนังสือเวียนไปยังสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทั่วประเทศให้มีการตรวจสอบพยาบาลประจำสถานประกอบการอย่างละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นอีก
นายพานิช กล่าวว่า ปัจจุบันมีสถานประกอบการที่มีลูกจ้างจำนวน 200 คนขึ้นไป ซึ่งตามกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 ที่ออกตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ระบุว่า ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่พยาบาลระดับเทคนิคขึ้นไป ประจำที่สถานประกอบการอย่างน้อย 1 คน ในช่วงเวลาที่มีลูกจ้างทำงานพร้อมกัน 200 คนขึ้นไป จำนวน 6,365 แห่ง ทั่วประเทศ หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดฐานไม่จัดให้มีสวัสดิการตามมาตรฐานที่กำหนด โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 144 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (5 ก.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณีที่ตรวจพบว่า บริษัท ไทยแลนด์ไอออนเวิร์ค จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ นำบุคคลที่ไม่ใช่พยาบาลมาประจำการตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ว่า จากการตรวจสอบพบว่าสถานประกอบการดังกล่าวมีการจ้างบริษัทเอาต์ซอร์ส คือ บริษัท ปราการพยาบาล ให้จัดเจ้าหน้าที่พยาบาลมาประจำที่สถานประกอบกิจการ แต่บุคคลที่มาประจำนั้นไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพพยาบาล ดังนั้น กสร. จะออกหนังสือตักเตือนสถานประกอบการให้ปฏิบัติตามกฎหมายและเข้มงวดในการตรวจสอบพยาบาลที่มาประจำว่าเป็นผู้มีใบประกอบวิชาชีพจริงหรือไม่ ทั้งนี้ สาเหตุที่ยังไม่ลงโทษตามกฎหมายเนื่องจากสถานประกอบการดังกล่าวมีเจตนาที่จะปฏิบัติตามกฎหมายแต่ด้วยความประมาท และไม่ได้มีการตรวจสอบจึงเกิดปัญหาขึ้น ซึ่งในวันที่ 8 กันยายนนี้ ตนจะทำหนังสือเวียนไปยังสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดทั่วประเทศให้มีการตรวจสอบพยาบาลประจำสถานประกอบการอย่างละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นอีก
นายพานิช กล่าวว่า ปัจจุบันมีสถานประกอบการที่มีลูกจ้างจำนวน 200 คนขึ้นไป ซึ่งตามกฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2548 ที่ออกตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ระบุว่า ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่พยาบาลระดับเทคนิคขึ้นไป ประจำที่สถานประกอบการอย่างน้อย 1 คน ในช่วงเวลาที่มีลูกจ้างทำงานพร้อมกัน 200 คนขึ้นไป จำนวน 6,365 แห่ง ทั่วประเทศ หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดฐานไม่จัดให้มีสวัสดิการตามมาตรฐานที่กำหนด โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 144 ของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่