สมาคมจัดหางานบังกลาเทศ หารือ ก.แรงงาน ขอนำเข้าแรงงานภาคประมง - ก่อสร้าง “จีรศักดิ์” เผยรอสำรวจการขาดแคลนแรงงาน - ครม. อนุมัติ คาด 9 เดือนรู้ผล
วันนี้ (4 ก.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ นายอาลี ไฮเดอร์ เชาว์ฮูลี (Ali Haider Chowdhury) รองประธานอาวุโสสมาคมจัดหางานระหว่างประเทศบังกลาเทศ (BAIRA) และคณะ ซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทจัดหางานระหว่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลบังกลาเทศจำนวน 1,200 บริษัท ในการจัดหาและส่งแรงงานไร้ฝีมือและแรงงานฝีมือไปทำงานในต่างประเทศ โดยจัดส่งแรงงานได้เข้าพบเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการนำเข้าแรงงานบังกลาเทศมาทำงานด้านประมงทะเลและก่อสร้างในไทย ซึ่งทางสมาคมฯอยากให้ไทยเร่งดำเนินการในเรื่องนี้
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ตนได้ชี้แจงไปว่าตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศได้มีนโยบายในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และการขาดแคลนแรงงาน จึงได้เปิดให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ทั้งพม่า กัมพูชา และ ลาว มาขึ้นทะเบียนให้เป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากนั้น จึงจะนำข้อมูลมาคัดแยกประเภทแรงงานตามกิจการต่างๆ เพื่อสำรวจความต้องการแรงงานของไทยในอีก 4 ปีข้างหน้า ว่า มีจำนวนเท่าใด ซึ่งอยู่ระหว่างการสำรวจของกรมการจัดหางาน (กกจ.) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ และหากผลสำรวจออกมาพบว่าประเทศไทยยังมีความขาดแคลนแรงงานก็จะนำเข้าแรงงานต่อไป ซึ่งแรงงานบังกลาเทศก็เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมาย และก่อนหน้านี้เคยมีการหารือเพื่อจัดทำร่างบันทึกความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างกันไว้แล้ว เหลือเพียงการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าอีก 6 - 9 เดือน จะมีความชัดเจนว่าจะมีการนำเข้าแรงงานหรือไม่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (4 ก.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ นายอาลี ไฮเดอร์ เชาว์ฮูลี (Ali Haider Chowdhury) รองประธานอาวุโสสมาคมจัดหางานระหว่างประเทศบังกลาเทศ (BAIRA) และคณะ ซึ่งมีสมาชิกเป็นบริษัทจัดหางานระหว่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลบังกลาเทศจำนวน 1,200 บริษัท ในการจัดหาและส่งแรงงานไร้ฝีมือและแรงงานฝีมือไปทำงานในต่างประเทศ โดยจัดส่งแรงงานได้เข้าพบเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการนำเข้าแรงงานบังกลาเทศมาทำงานด้านประมงทะเลและก่อสร้างในไทย ซึ่งทางสมาคมฯอยากให้ไทยเร่งดำเนินการในเรื่องนี้
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ตนได้ชี้แจงไปว่าตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศได้มีนโยบายในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และการขาดแคลนแรงงาน จึงได้เปิดให้มีการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ ทั้งพม่า กัมพูชา และ ลาว มาขึ้นทะเบียนให้เป็นแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย หลังจากนั้น จึงจะนำข้อมูลมาคัดแยกประเภทแรงงานตามกิจการต่างๆ เพื่อสำรวจความต้องการแรงงานของไทยในอีก 4 ปีข้างหน้า ว่า มีจำนวนเท่าใด ซึ่งอยู่ระหว่างการสำรวจของกรมการจัดหางาน (กกจ.) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ และหากผลสำรวจออกมาพบว่าประเทศไทยยังมีความขาดแคลนแรงงานก็จะนำเข้าแรงงานต่อไป ซึ่งแรงงานบังกลาเทศก็เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมาย และก่อนหน้านี้เคยมีการหารือเพื่อจัดทำร่างบันทึกความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างกันไว้แล้ว เหลือเพียงการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ ซึ่งคาดว่าอีก 6 - 9 เดือน จะมีความชัดเจนว่าจะมีการนำเข้าแรงงานหรือไม่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่