นักวิชาการห่วงรื้อถอนซากโรงงานระเบิด หวั่นคนงาน ประชาชน ได้รับผลกระทบจากแร่ใยหิน แนะสวมหน้ากากป้องกันเฉพาะ ทำวัสดุรื้อถอนให้เปียกลดการฟุ้งกระจาย ใส่ถุงเฉพาะเพื่อลดการแตกหัก ชี้กรณีตัวอย่างเห็นควรยกเลิกใช้แร่ใยหิน
รศ.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส) กล่าวว่า เหตุบอยเลอร์ต้มน้ำโรงงานย้อมผ้า จ.สมุทรปราการ ระเบิดนั้น นอกจากจะมีคนงานบาดเจ็บจำนวนมากแล้ว ยังเกิดปัญหาฝุ่นฟุ้งกระจายในอากาศจากเศษวัสดุ ของโรงงานที่พังลงมาทั้งหลัง โดยเฉพาะหลังคาที่พบว่า แผ่นกระเบื้องได้แตกเสียหายเกือบทั้งหมด ซึ่งจะมีฝุ่นใยหินอยู่ด้วย อาจจะมีอันตรายได้ เพราะจากผลการศึกษาพบว่า ฝุ่นใยหินนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็ง
รศ.ภก.วิทยา กล่าวว่า การรื้อถอนเศษกระเบื้อง เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ฝุ่นยิ่งฟุ้งกระจาย จึงขอแนะนำให้ผู้ใช้แรงงาน หรือประชาชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว มีการป้องกันตนเองไม่ให้ได้รับฝุ่นใยหิน โดยไม่ทำให้กระเบื้องแตกกระจาย ไม่บดหรือทุบกระเบื้องให้แตกมีฝุ่นใยหินฟุ้งกระจาย อาจใช้น้ำเทราดป้องกันการฟุ้ง ก่อนเคลื่อนย้ายต้องห่อหุ้มด้วยพลาสติก และเคลื่อนย้ายกระเบื้องอย่างระมัดระวัง กรณีเช่นนี้ควรเป็นอุทาหรณ์ให้มีการเร่งยกเลิกการใช้ใยหินในวัสดุก่อสร้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาโรคมะเร็งจากฝุ่นใยหิน เพราะฝุ่นลักษณะนี้จะกระจายไปได้ทั่ว ป้องกันได้ยาก หากรัฐบาลเร่งรัดมาตรการยกเลิกใยหินน่าจะป้องกันปัญหาการเกิดโรคมะเร็งจากโรคใยหินได้
“การรื้อถอน ซ่อมแซมบ้านเรือน อาคารสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีวัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ จำเป็นต้องมีวิธีการป้องกัน เพื่อไม่ให้ผู้รื้อถอนได้รับอันตรายจากแร่ใยหิน โดยมีมาตรการสำคัญ คือ 1. ผู้รื้อถอนต้องสวมใส่หน้ากากป้องกันให้เหมาะสม เพราะละอองจากแร่ใยหินมีขนาดอนุภาคเล็กมาก หน้ากากโดยทั่วไปไม่สามารถป้องกันได้ 2. ป้องกันไม่ให้เกิดอนุภาคหรือฝุ่นละอองในระหว่างที่มีการรื้อถอน ทุบทำลาย หรือขนย้าย ต้องทำให้วัสดุเปียกก่อน เพื่อลดการฟุ้งกระจาย และ 3. คัดแยกเศษวัสดุที่มีแร่ใยหินโดยใส่ถุงเฉพาะ ป้องกันไม่ให้เกิดการแตกหักที่จะทำให้ฟุ้งกระจายไม่ให้มีการนำมาใช้อีก” รศ.ภก.วิทยา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
รศ.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส) กล่าวว่า เหตุบอยเลอร์ต้มน้ำโรงงานย้อมผ้า จ.สมุทรปราการ ระเบิดนั้น นอกจากจะมีคนงานบาดเจ็บจำนวนมากแล้ว ยังเกิดปัญหาฝุ่นฟุ้งกระจายในอากาศจากเศษวัสดุ ของโรงงานที่พังลงมาทั้งหลัง โดยเฉพาะหลังคาที่พบว่า แผ่นกระเบื้องได้แตกเสียหายเกือบทั้งหมด ซึ่งจะมีฝุ่นใยหินอยู่ด้วย อาจจะมีอันตรายได้ เพราะจากผลการศึกษาพบว่า ฝุ่นใยหินนั้นเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็ง
รศ.ภก.วิทยา กล่าวว่า การรื้อถอนเศษกระเบื้อง เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ฝุ่นยิ่งฟุ้งกระจาย จึงขอแนะนำให้ผู้ใช้แรงงาน หรือประชาชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว มีการป้องกันตนเองไม่ให้ได้รับฝุ่นใยหิน โดยไม่ทำให้กระเบื้องแตกกระจาย ไม่บดหรือทุบกระเบื้องให้แตกมีฝุ่นใยหินฟุ้งกระจาย อาจใช้น้ำเทราดป้องกันการฟุ้ง ก่อนเคลื่อนย้ายต้องห่อหุ้มด้วยพลาสติก และเคลื่อนย้ายกระเบื้องอย่างระมัดระวัง กรณีเช่นนี้ควรเป็นอุทาหรณ์ให้มีการเร่งยกเลิกการใช้ใยหินในวัสดุก่อสร้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาโรคมะเร็งจากฝุ่นใยหิน เพราะฝุ่นลักษณะนี้จะกระจายไปได้ทั่ว ป้องกันได้ยาก หากรัฐบาลเร่งรัดมาตรการยกเลิกใยหินน่าจะป้องกันปัญหาการเกิดโรคมะเร็งจากโรคใยหินได้
“การรื้อถอน ซ่อมแซมบ้านเรือน อาคารสถานที่ต่างๆ ซึ่งมีวัสดุที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ จำเป็นต้องมีวิธีการป้องกัน เพื่อไม่ให้ผู้รื้อถอนได้รับอันตรายจากแร่ใยหิน โดยมีมาตรการสำคัญ คือ 1. ผู้รื้อถอนต้องสวมใส่หน้ากากป้องกันให้เหมาะสม เพราะละอองจากแร่ใยหินมีขนาดอนุภาคเล็กมาก หน้ากากโดยทั่วไปไม่สามารถป้องกันได้ 2. ป้องกันไม่ให้เกิดอนุภาคหรือฝุ่นละอองในระหว่างที่มีการรื้อถอน ทุบทำลาย หรือขนย้าย ต้องทำให้วัสดุเปียกก่อน เพื่อลดการฟุ้งกระจาย และ 3. คัดแยกเศษวัสดุที่มีแร่ใยหินโดยใส่ถุงเฉพาะ ป้องกันไม่ให้เกิดการแตกหักที่จะทำให้ฟุ้งกระจายไม่ให้มีการนำมาใช้อีก” รศ.ภก.วิทยา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่